คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หากำไร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไรเข้าข่ายการค้า ต้องเสียภาษีการค้าตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าก่อนวันที่ 5 พฤศจิกายน2502 ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 มาตรา 40. ซึ่งต้องคำนึงถึงค่ารายปีของสถานที่ประกอบการค้าและเสียภาษีตามยอดเงินรายรับส่วนการค้าตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2502 ตลอดมา ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่16) พ.ศ.2502 มาตรา 38 จึงไม่ต้องคำนึงถึงค่ารายปีหรือจำนวนเงินซึ่งสถานการค้าสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆนั้นอีก
โจทก์ซื้อที่ดินเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2485 จำนวน6 โฉนด เนื้อที่ 39 ไร่ ราคา 113,996 บาท. ต่อมาปีเศษ โจทก์ยื่นคำร้องขอรวมที่ดินทั้งหมดนี้เข้าเป็นแปลงเดียวกัน เมื่อเจ้าพนักงานจัดทำให้เสร็จแล้ว ได้ขอแบ่งแยกเป็นที่ดินแปลงย่อยๆ รวม 24 แปลง โจทก์ตัดถนนผ่านที่ดินกว้าง 10 เมตร เป็นถนนคอนกรีตทำเสร็จเมื่อ พ.ศ.2496 และได้ขอต่อไฟฟ้าและน้ำประปาเข้าที่ดินทั้งหมดและในปี พ.ศ.2496 นี้ ได้เริ่มขายที่ดินแปลงย่อย ๆ จนถึง พ.ศ.2504 จำนวน 20 แปลงเป็นเงิน 7,831,803 บาท ตามพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่า โจทก์ประกอบธุรกิจการค้าหากำไรจึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าและภาษีเทศบาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร มีหน้าที่เสียภาษีการค้า แม้จะอ้างเป็นการขายของเดิม
การขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าก่อนวันที่ 5 พฤศจิกายน2502 ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 มาตรา 40 ซึ่งต้องคำนึงถึงค่ารายปีของสถานที่ประกอบการค้าและเสียภาษีตามยอดเงินรายรับส่วนการค้าตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2502 ตลอดมา ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่16) พ.ศ.2502 มาตรา 38 จึงไม่ต้องคำนึงถึงค่ารายปีหรือจำนวนเงินซึ่งสถานการค้าสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆนั้นอีก
โจทก์ซื้อที่ดินเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2485 จำนวน 6 โฉนด เนื้อที่ 39 ไร่ ราคา 113,996 บาท ต่อมาปีเศษ โจทก์ยื่นคำร้องขอรวมที่ดินทั้งหมดนี้เข้าเป็นแปลงเดียวกัน เมื่อเจ้าพนักงานจัดทำให้เสร็จแล้ว ได้ขอแบ่งแยกเป็นที่ดินแปลงย่อยๆ รวม 24 แปลงโจทก์ตัดถนนผ่านที่ดินกว้าง 10 เมตร เป็นถนนคอนกรีตทำเสร็จเมื่อ พ.ศ.2496 และได้ขอต่อไฟฟ้าและน้ำประปาเข้าที่ดินทั้งหมดและในปี พ.ศ.2496 นี้ ได้เริ่มขายที่ดินแปลงย่อยๆจนถึงพ.ศ.2504 จำนวน 20 แปลงเป็นเงิน 7,831,803 บาทตามพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่า โจทก์ประกอบธุรกิจการค้าหากำไรจึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าและภาษีเทศบาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อหากำไรหน้าที่เสียภาษีการค้า พิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับในแต่ละช่วงเวลา
การขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าก่อนวันที่ 5 พฤศจิกายน2502 ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 มาตรา 40. ซึ่งต้องคำนึงถึงค่ารายปีของสถานที่ประกอบการค้าและเสียภาษีตามยอดเงินรายรับ.ส่วนการค้าตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2502 ตลอดมา ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่16) พ.ศ.2502 มาตรา 38. จึงไม่ต้องคำนึงถึงค่ารายปีหรือจำนวนเงินซึ่งสถานการค้าสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆนั้นอีก.
โจทก์ซื้อที่ดินเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2485 จำนวน6 โฉนด เนื้อที่ 39 ไร่ ราคา 113,996 บาท. ต่อมาปีเศษ โจทก์ยื่นคำร้องขอรวมที่ดินทั้งหมดนี้เข้าเป็นแปลงเดียวกัน. เมื่อเจ้าพนักงานจัดทำให้เสร็จแล้ว ได้ขอแบ่งแยกเป็นที่ดินแปลงย่อยๆ รวม 24 แปลง. โจทก์ตัดถนนผ่านที่ดินกว้าง 10 เมตร เป็นถนนคอนกรีตทำเสร็จเมื่อ พ.ศ.2496. และได้ขอต่อไฟฟ้าและน้ำประปาเข้าที่ดินทั้งหมด.และในปี พ.ศ.2496 นี้ ได้เริ่มขายที่ดินแปลงย่อยๆจนถึง พ.ศ.2504 จำนวน 20 แปลงเป็นเงิน 7,831,803 บาท. ตามพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่า โจทก์ประกอบธุรกิจการค้าหากำไรจึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าและภาษีเทศบาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อหากำไรถือเป็นการค้าต้องเสียภาษี หากมีพฤติการณ์เป็นการจัดสรรขายและใช้สถานที่ของบริษัทในการดำเนินการ
การขายที่ดินในกรณีใดจะถือว่าเป็นทางค้าหากำไร ต้องพิจารณาจากกิจการเป็นราย ๆ ไปว่ามีพฤติการณ์เช่นนั้นหรือไม่
พฤติการณ์ที่แสดงว่าได้ดำเนินกิจการในลักษณะเป็น "การค้า" ตามประมวลรัษฎากร
บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการค้าที่มีสถานการค้า ฯลฯ มีหน้าที่เสียภาษีการค้านั้น ไม่ได้หมายความว่าผู้ประกอบการค้าจะต้องเป็นเจ้าของสถานการค้าเอง เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบการค้าได้ใช้สถานการค้าใดดำเนินการค้าของ+ได้ ประมวลรัษฎากรก็ถือว่าผู้ประกอบการค้านั้นมีสถานการค้า และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030-1033/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกระทรวงพาณิชย์: พิจารณาจากขอบเขตหน้าที่ ไม่ใช่การค้าหรือหากำไร
อำนาจหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วในคำพิพากษาฎีกาที่ 950/2491 ว่าเป็นหน่วยอยู่ในราชการบริหาร ไม่มีกรมหรือส่วนราชการใดจัดไว้สำหรับทำการค้า หรือหากำไร ฉะนั้นจึงมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินที่อยู่ในขอบเขตต์อำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น
กระทรวงพาณิชย์เป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้จากจำเลยโดยอ้างว่าสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นองค์การค้าส่วนหนึ่ง ของกระทรวงพาณิชย์จำเลยเป็นลูกจ้างของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดตำแหน่งหัวหน้ากองการค้าได้รับเงินไปจากสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นเงินทดรองค่าใช้จ่ายในการขนน้ำตาลจากต่างจังหวัดมากรุงเทพฯอันเป็นธุระกิจ ของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดและอยู่ในหน้าที่ของจำเลยเมื่อมีเงินเหลือจำเลยต้องส่งคืนจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งเงินที่ขาดอยู่อีกเป็นเงินจำนวนหนึ่งแต่เพิกเฉยเสียจึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้เงินนั้นพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ได้จ่ายทดรองแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างคืนมิใช่เป็นเรื่องของการค้าหรือหากำไรกับบุคคลภายนอกโจกท์จึงมีอำนาจฟ้องได้ ส่วนเรื่องฟ้องบุคคลภายนอกตามสัญญาการค้าหรือหากำไรแล้วก็ไม่อยู่ในขอบเขตต์อำนาจและหน้าที่ของกระทรวง พาณิชย์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าช่วงเพื่อหากำไรไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า และเจ้าของมีสิทธิฟ้องขับไล่ได้
เช่าบ้านอยู่แล้ว แบ่งตอน 1 ให้คนอื่นเช่าช่วงนั้นย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน ถ้าการเช่าช่วงนั้นทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าย่อมฟ้องขับไล่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกลี้ยกล่อมเด็กและลักทรัพย์ – ไม่เข้าข่ายความผิดฐานลักพาตัวเพื่อหากำไร
ฟ้องว่าจำเลยบังอาจเกลี้ยกล่อมพาเด็กอายุ 14 ขวบและ 12 ขวบไปจากผู้ปกครองโดยไม่ระบุว่าเด็กมิได้เต็มใจไปกับจำเลย ถือว่าฟ้องไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 274 เกลี้ยกล่อมพี่สาวเด็กให้ลักเงินจากผู้ปกครองแล้วพาพี่สาวเด็กและเด็กไปจากผู้ปกครอง ไม่ถือว่าเป็นการจะหากำไรโดยตรงจากการลักพาเด็กตามเจตนาของมาตรา 275

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไรและการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ/เงินได้บุคคลธรรมดา กรณีแบ่งขาย/จัดทำสิ่งสาธารณูปโภค
การที่โจทก์นำที่ดินที่แบ่งแยก โดยได้จัดทำถนนและสิ่งสาธารณูปโภคไว้ ไปจดทะเบียนโอนขายให้แก่บุคคลธรรมดา เทศบาลตำบลสว่างแดนดิน และทำสัญญาให้ที่ดินแก่บุตรชอบด้วยกฎหมายถือกรรมสิทธิ์ ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) ประกอบมาตรา 3 (4) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 และมาตรา 4 (4) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 และเงินได้ที่โจทก์ได้มาจากการขายที่ดินดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามมาตรา 48 (4) (ข) โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำเงินได้จากการขายที่ดินดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีตามมาตรา 48 (1) (2) แห่ง ป.รัษฎากร
เมื่อที่ดินมีการแบ่งแยกไว้เพื่อขายโดยจัดทำถนนหรือสิ่งสาธารณูปโภคอื่น ๆ การที่โจทก์ยกที่ดินที่เหลือจากการขายให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายโดยไม่มีค่าตอบแทน ซึ่งถือว่าเป็นการขายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) จึงย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 4 (4) แห่ง พ.ร.ฎ.ฉบับที่ 342 ดังนั้น แม้ต่อมาโจทก์ได้ยกที่ดินจำนวน 49 แปลงให้แก่บุตรก็ไม่ต้องพิจารณาว่าเข้าข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 4 (6) (ง) แห่ง พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าวอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเผยแพร่เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในร้านอาหาร ไม่ถือเป็นความผิดฐานหาผลกำไรโดยตรง
ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ต้องเป็นการเผยแพร่งานนั้นต่อสาธารณชน "เพื่อหากำไร" ซึ่งหมายความว่า กำไรนั้นหากจำเลยได้มาหรือจะได้มาจะต้องเกิดจากการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้นได้ความว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่มจำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง "กำลังใจที่เธอไม่รู้" อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยได้ฟัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปิดเพลงดังกล่าวเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าว หรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเผยแพร่เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในร้านอาหาร ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ หากไม่มีเจตนาหากำไรโดยตรง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง "กำลังใจที่เธอไม่รู้" อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ไม่ปรากฎว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าว ซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
of 7