พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับหุ้นเป็นประกันการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขัดต่อกฎหมายธนาคารพาณิชย์และข้อบังคับธนาคาร
พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์รับหุ้นของธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นประกันการให้สินเชื่อ หรือรับหุ้นของธนาคารพาณิชย์จากธนาคารพาณิชย์อื่นเป็นประกันการให้สินเชื่อ การที่จำเลยซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ ให้ ร.กู้เบิกเงินเกินบัญชี ถือเป็นการให้สินเชื่อตามมาตรา 4 แม้จำเลยจะใช้สิทธิยึดหุ้นของจำเลยจาก ร. ผู้ถือหุ้นไว้เป็นประกันหนี้สินตามข้อบังคับของจำเลยเมื่อ ร. ตกลงจำนำหุ้นไว้กับโจทก์แล้ว อันเป็นการยึดภายหลังจากการทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือการให้สินเชื่อแก่ ร. ก็มีผลเท่ากับจำเลยรับหุ้นของตนเองเป็นประกันการชำระหนี้ จึงเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ข้อบังคับของจำเลยในส่วนที่ให้จำเลยมีสิทธิยึดหุ้นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นหนี้จำเลยไว้เป็นประกันต่างหนี้สินได้ก่อนบุคคลอื่นจึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อหุ้นจากการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้ซื้อ vs. ข้อจำกัดในข้อบังคับบริษัท
โจทก์ซื้อหุ้นพิพาทของบริษัทจำเลยจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีของศาล โจทก์จึงเป็นบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะได้หุ้นเหล่านั้นมาในเหตุบางอย่าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1132 บริษัทจำเลยมีหน้าที่ต้องลงทะเบียนรับโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นเหล่านั้นแทนเจ้าของหุ้นเดิมสืบไป จะอ้างว่าโจทก์ได้หุ้นดังกล่าวมาโดยขัดต่อข้อบังคับของบริษัทจำเลย บังคับให้บริษัทจำเลยจดทะเบียนให้โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยไม่ได้ หาชอบไม่ เพราะการโอนหุ้นตามข้อบังคับของบริษัทเป็นคนละเรื่องกับการได้หุ้นมาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งหุ้นจากการบังคับคดี: หน้าที่ของบริษัทในการจดทะเบียนผู้ถือหุ้นใหม่ แม้ขัดต่อข้อบังคับบริษัท
โจทก์ซื้อหุ้นพิพาทของบริษัทจำเลยจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีของศาล โจทก์จึงเป็นบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะได้หุ้นเหล่านั้นมาในเหตุบางอย่าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1132 บริษัท จำเลยมีหน้าที่ต้องลงทะเบียนรับโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นเหล่านั้นแทนเจ้าของหุ้นเดิมสืบไป จะอ้างว่าโจทก์ได้หุ้นดังกล่าวมาโดยขัดต่อข้อบังคับของบริษัทจำเลยบังคับให้บริษัทจำเลยจดทะเบียนให้โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยไม่ได้หาชอบไม่ เพราะการโอนหุ้นตามข้อบังคับของบริษัทเป็นคนละเรื่องกับการได้หุ้นมาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากการออกหุ้นเพื่อแลกกับสิทธิบัตร: การพิจารณาเงินได้พึงประเมินและหน้าที่เสียภาษี
เมื่อโจทก์ถือว่าคำสั่งเดิมของเจ้าพนักงานประเมินที่ได้นำส่งภาษีเงินได้เป็นคำสั่งถึงบริษัทที่มีชื่อไม่ตรงกับชื่อโจทก์ ก็ชอบที่เจ้าพนักงานประเมินจะออกคำสั่งฉบับใหม่ระบุชื่อโจทก์เสียให้ถูกต้อง โดยยกเลิกคำสั่งฉบับเดิมที่ระบุชื่อไม่ตรงกับชื่อโจทก์นั้นเสีย ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินกระทำเช่นนั้น
การที่โจทก์ออกหุ้นให้บริษัท ฟ. เป็นไปตามข้อสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ฟ. คือเพื่อตอบแทนที่บริษัท ฟ. ได้ให้ข้อสนเทศและบริการแก่โจทก์ โจทก์ต้องจัดสรรหุ้นให้แก่บริษัท ฟ. เป็นหุ้นที่ชำระเต็มมูลค่าแล้ว ภาษีที่จะต้องเสีย โจทก์รับเป็นผู้เสียเองโดยตรง ดังนี้ บริษัท ฟ. ได้รับหุ้นจากโจทก์เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ คือสิทธิบัตรในการผลิตยางซึ่งบริษัท ฟ. ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสหรัฐอเมริกา อันเป็นสิทธิที่โจทก์ยอมรับนับถือ โดยยอมจ่ายค่าตอบแทนสิทธิเช่นว่านี้เป็นหุ้น จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (3) แม้จะเป็นหุ้นไม่ใช่ตัวเงิน หุ้นนั้นก็เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้ตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 39 เมื่อเป็นเงินได้พึงประเมิน โจทก์จึงมีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีเงินได้พึงประเมินนำส่งอำเภอท้องที่ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
การจ่ายเงินได้พึงประเมินไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินจริง ๆ เพราะคำนวณค่าหุ้นออกมาได้แน่นอนแล้วว่า เป็นเงินจำนวนเท่าใด ย่อมคิดหักเป็นภาษีออกมาได้ มิฉะนั้นแล้วอาจมีการหลีกเลี่ยงภาษี คือแทนที่จะจ่ายเป็นตัวเงิน ก็จ่ายเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเสีย
เจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งใหม่ที่ กค. 0804/334 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2508 ถึงโจทก์ แจ้งยกเลิกคำสั่งเดิมและสั่งให้โจทก์นำเงินภาษีเงินได้ไปชำระ หาใช่เป็นการประเมินภาษีไม่ หากเป็นการแจ้งให้โจทก์จัดการนำเงินค่าภาษีไปชำระ เท่ากับเป็นคำเตือนนั่นเอง คำสั่งเช่นว่านี้มิได้ขัดต่อกฎหมาย เมื่อโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นคำนวณภาษีไม่ถูกต้องอย่างไร โจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ได้
การที่โจทก์ออกหุ้นให้บริษัท ฟ. เป็นไปตามข้อสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ฟ. คือเพื่อตอบแทนที่บริษัท ฟ. ได้ให้ข้อสนเทศและบริการแก่โจทก์ โจทก์ต้องจัดสรรหุ้นให้แก่บริษัท ฟ. เป็นหุ้นที่ชำระเต็มมูลค่าแล้ว ภาษีที่จะต้องเสีย โจทก์รับเป็นผู้เสียเองโดยตรง ดังนี้ บริษัท ฟ. ได้รับหุ้นจากโจทก์เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ คือสิทธิบัตรในการผลิตยางซึ่งบริษัท ฟ. ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสหรัฐอเมริกา อันเป็นสิทธิที่โจทก์ยอมรับนับถือ โดยยอมจ่ายค่าตอบแทนสิทธิเช่นว่านี้เป็นหุ้น จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (3) แม้จะเป็นหุ้นไม่ใช่ตัวเงิน หุ้นนั้นก็เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้ตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 39 เมื่อเป็นเงินได้พึงประเมิน โจทก์จึงมีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีเงินได้พึงประเมินนำส่งอำเภอท้องที่ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
การจ่ายเงินได้พึงประเมินไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินจริง ๆ เพราะคำนวณค่าหุ้นออกมาได้แน่นอนแล้วว่า เป็นเงินจำนวนเท่าใด ย่อมคิดหักเป็นภาษีออกมาได้ มิฉะนั้นแล้วอาจมีการหลีกเลี่ยงภาษี คือแทนที่จะจ่ายเป็นตัวเงิน ก็จ่ายเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเสีย
เจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งใหม่ที่ กค. 0804/334 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2508 ถึงโจทก์ แจ้งยกเลิกคำสั่งเดิมและสั่งให้โจทก์นำเงินภาษีเงินได้ไปชำระ หาใช่เป็นการประเมินภาษีไม่ หากเป็นการแจ้งให้โจทก์จัดการนำเงินค่าภาษีไปชำระ เท่ากับเป็นคำเตือนนั่นเอง คำสั่งเช่นว่านี้มิได้ขัดต่อกฎหมาย เมื่อโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นคำนวณภาษีไม่ถูกต้องอย่างไร โจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากการออกหุ้นเพื่อแลกกับสิทธิบัตร ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ผู้ถือหุ้นมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือถึงบริษัทโจทก์ให้นำส่งภาษีเงินได้ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายของบริษัท ฟ. ซึ่งอยู่ต่างประเทศเมื่อโจทก์ถือว่าเป็นคำสั่งถึงบริษัทที่มีชื่อไม่ตรงกับชื่อโจทก์เจ้าพนักงานประเมินก็ชอบที่จะออกคำสั่งใหม่ระบุชื่อโจทก์เสียให้ถูกต้องและยกเลิกคำสั่งฉบับเดิมได้ ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้าม
บริษัท ฟ. ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรการผลิตยางไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โจทก์ได้ออกหุ้นชำระเต็มมูลค่าให้แก่บริษัท ฟ. เพื่อตอบแทนที่บริษัทนั้นยอมให้แบบและความรู้ทางวิศวกรรมในการผลิตยางตามที่โจทก์กับบริษัท ฟ.ทำสัญญากันไว้ ดังนี้บริษัท ฟ. ได้รับหุ้นจากโจทก์เป็นค่าแห่งสิทธิ คือสิทธิบัตรในการผลิตยาง จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(ก) แม้หุ้นจะมิใช่ตัวเงินก็เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งคิดคำนวณได้เป็นเงินจึงเป็นเงินได้ตามความหมายของมาตรา 39 โจทก์จึงมีหน้าที่เป็นผู้หักภาษีเงินได้นำส่งอำเภอท้องที่ตามมาตรา 70
หนังสือเจ้าพนักงานประเมินที่มีถึงโจทก์ แจ้งให้โจทก์จัดการนำเงินภาษีซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายของบริษัท ฟ. พร้อมเงินเพิ่มไปชำระ ไม่ใช่เป็นการประเมินภาษี แต่เป็นการแจ้งให้โจทก์นำภาษีไปชำระ ซึ่งเท่ากับเป็นคำเตือนนั่นเองเมื่อโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นคำนวณภาษีไม่ถูกต้อง ก็ควรที่จะโต้แย้งตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้
บริษัท ฟ. ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรการผลิตยางไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โจทก์ได้ออกหุ้นชำระเต็มมูลค่าให้แก่บริษัท ฟ. เพื่อตอบแทนที่บริษัทนั้นยอมให้แบบและความรู้ทางวิศวกรรมในการผลิตยางตามที่โจทก์กับบริษัท ฟ.ทำสัญญากันไว้ ดังนี้บริษัท ฟ. ได้รับหุ้นจากโจทก์เป็นค่าแห่งสิทธิ คือสิทธิบัตรในการผลิตยาง จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(ก) แม้หุ้นจะมิใช่ตัวเงินก็เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งคิดคำนวณได้เป็นเงินจึงเป็นเงินได้ตามความหมายของมาตรา 39 โจทก์จึงมีหน้าที่เป็นผู้หักภาษีเงินได้นำส่งอำเภอท้องที่ตามมาตรา 70
หนังสือเจ้าพนักงานประเมินที่มีถึงโจทก์ แจ้งให้โจทก์จัดการนำเงินภาษีซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายของบริษัท ฟ. พร้อมเงินเพิ่มไปชำระ ไม่ใช่เป็นการประเมินภาษี แต่เป็นการแจ้งให้โจทก์นำภาษีไปชำระ ซึ่งเท่ากับเป็นคำเตือนนั่นเองเมื่อโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นคำนวณภาษีไม่ถูกต้อง ก็ควรที่จะโต้แย้งตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์: หุ้นของผู้ถือครองอื่น แม้ไม่ใช่ของจำเลย ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียม
คำว่า "ทรัพย์สิน" ตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหมายความถึงทรัพย์ซึ่งมีราคาและถือเอาได้โดยสภาพของตัวทรัพย์นั้นเอง โดยไม่จำกัดว่าบุคคลใดเป็นเจ้าของ
โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดหุ้นมาเพื่อขายทอดตลาดใช้หนี้ตามคำพิพากษาแล้วได้ขอถอนการยึดเสีย แม้ได้ความว่าหุ้นที่ยึดมานั้นไม่ใช่ของจำเลย โจทก์ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดหุ้นมาเพื่อขายทอดตลาดใช้หนี้ตามคำพิพากษาแล้วได้ขอถอนการยึดเสีย แม้ได้ความว่าหุ้นที่ยึดมานั้นไม่ใช่ของจำเลย โจทก์ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467-468/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาฐานฉ้อโกง แม้มีข้อจำกัดในคดีแพ่งเกี่ยวกับหุ้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1114 ที่ได้บัญญัติห้ามมิให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นฟ้องร้องขอให้ศาลเพิกถอนการที่ตนได้เข้าชื่อซื้อ โดยยกเหตุว่าสำคัญผิดหรือต้องข่มขู่หรือถูกลวงล่อฉ้อฉลนั้น ห้ามเฉพาะในกรณีที่ฟ้องร้องกันในทางแพ่งเท่านั้น มิได้มีผลห้ามมิให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นฟ้องในคดีอาญาฐานฉ้อโกง ฉะนั้น ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการ ในเมื่อมีการร้องทุกข์ จึงมีอำนาจดำเนินคดีกับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายหุ้นและกิจการโดยผู้ไม่มีอำนาจ ผลผูกพันของผู้ทำสัญญา และการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ต้องกระทำการไปตามวัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 และอยู่ในครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 และ 1144 เมื่อจำเลยที่ 2 ไปทำสัญญาโอนขายกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำที่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 และบรรดาผู้ถือหุ้นก็ไม่เคยประชุมใหญ่อนุมัติให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาโอนขายได้ และสัญญานั้นจะโอนขายหุ้นทั้งหมดให้แก่โจทก์โดยมิได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 ดังนี้สัญญาโอนหุ้นและกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1ที่จำเลยที่ 2 กระทำไปนั้นจึงไม่ผูกพันบริษัทจำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 2 ทำสัญญาในฐานะผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญาในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 จึงไม่ถูกผูกพันที่จะโอนหุ้นและส่งมอบกิจการของบริษัทให้แก่โจทก์ด้วย
สัญญามีใจความเพียงว่า บริษัทจำเลยที่ 1 ตกลงโอนขายหุ้นของผู้ถือหุ้นทั้งหมดและรับรองว่าจะจัดให้ผู้ถือหุ้นเดิมลงชื่อโอนให้แก่โจทก์ภายใน 15 วัน การทำสัญญาดังนี้ ยังมิใช่การดำเนินการโอนหุ้นจะนำมาตรา 1129 มาบังคับหาได้ไม่ จึงไม่อาจถือว่าข้อตกลงนี้เป็นโมฆะตามมาตราดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาขายหุ้นและกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 แก่โจทก์โดยปราศจากอำนาจที่จะกระทำแทนบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้ให้สัตยาบันแก่การที่จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาและตามข้อเท็จจริงก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รู้อยู่ว่าจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาโดยปราศจากอำนาจ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์โดยลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823, 1167
ตามคำบรรยายฟ้องและสำเนาหนังสือสัญญาท้ายฟ้อง โจทก์กล่าวว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามแทนบริษัทจำเลยที่ 1 โดยแสดงให้ปรากฏในสัญญาว่าจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัทและได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุมของผู้ถือหุ้นแล้ว ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยด้วยกันกับจำเลยที่ 1เช่นนี้ พอให้ถือได้ว่าโจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 ด้วย ในเมื่อไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้
โจทก์รับซื้อกิจการเดินรถของจำเลยเพื่อดำเนินการเดินรถรับส่งคนโดยสาร เมื่อจำเลยไม่มอบกิจการให้ โจทก์ย่อมไม่ได้รับผลประโยชน์อันควรจะได้ นับว่าเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญา แม้โจทก์จะนำสืบแสดงจำนวนค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้แน่นอนว่าเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดจำนวนเงินให้จำเลยชดใช้โจทก์ตามที่เห็นสมควรตามพฤติการณ์แห่งคดี
จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาไม่อาจโอนหุ้นและกิจการเดินรถให้แก่โจทก์ได้จึงต้องคืนเงินที่รับไว้จากโจทก์ และจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดสัญญา เพราะไม่มีสิทธิจะเอาเงินไว้ และถือว่าผิดนัดมาตั้งแต่นั้น
สัญญามีใจความเพียงว่า บริษัทจำเลยที่ 1 ตกลงโอนขายหุ้นของผู้ถือหุ้นทั้งหมดและรับรองว่าจะจัดให้ผู้ถือหุ้นเดิมลงชื่อโอนให้แก่โจทก์ภายใน 15 วัน การทำสัญญาดังนี้ ยังมิใช่การดำเนินการโอนหุ้นจะนำมาตรา 1129 มาบังคับหาได้ไม่ จึงไม่อาจถือว่าข้อตกลงนี้เป็นโมฆะตามมาตราดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาขายหุ้นและกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 แก่โจทก์โดยปราศจากอำนาจที่จะกระทำแทนบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้ให้สัตยาบันแก่การที่จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาและตามข้อเท็จจริงก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รู้อยู่ว่าจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาโดยปราศจากอำนาจ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์โดยลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823, 1167
ตามคำบรรยายฟ้องและสำเนาหนังสือสัญญาท้ายฟ้อง โจทก์กล่าวว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามแทนบริษัทจำเลยที่ 1 โดยแสดงให้ปรากฏในสัญญาว่าจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัทและได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุมของผู้ถือหุ้นแล้ว ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยด้วยกันกับจำเลยที่ 1เช่นนี้ พอให้ถือได้ว่าโจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 ด้วย ในเมื่อไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้
โจทก์รับซื้อกิจการเดินรถของจำเลยเพื่อดำเนินการเดินรถรับส่งคนโดยสาร เมื่อจำเลยไม่มอบกิจการให้ โจทก์ย่อมไม่ได้รับผลประโยชน์อันควรจะได้ นับว่าเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญา แม้โจทก์จะนำสืบแสดงจำนวนค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้แน่นอนว่าเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดจำนวนเงินให้จำเลยชดใช้โจทก์ตามที่เห็นสมควรตามพฤติการณ์แห่งคดี
จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาไม่อาจโอนหุ้นและกิจการเดินรถให้แก่โจทก์ได้จึงต้องคืนเงินที่รับไว้จากโจทก์ และจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดสัญญา เพราะไม่มีสิทธิจะเอาเงินไว้ และถือว่าผิดนัดมาตั้งแต่นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามการเข้าชื่อซื้อหุ้นก่อนบริษัทจัดตั้ง และผลของการถอนหุ้นภายหลังจดทะเบียน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1106 การที่ผู้ร้องเข้าชื่อซื้อหุ้นบริษัทผู้ล้มละลาย ย่อมต้องถูกผูกพันอยู่ในอันที่จะต้องชำระเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทโดยมีเงื่อนไขว่าถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้น ฉะนั้น ระหว่างที่เงื่อนไขอันนี้ซึ่งเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนยังไม่สำเร็จผู้ร้องซึ่งได้เข้าชื่อซื้อหุ้นไว้แล้วจะต้องถูกผูกพันอยู่ตลอดไปผู้ร้องจะถอนการเข้าชื่อซื้อหุ้นหาได้ไม่ และการที่ผู้ร้องถอนหุ้นภายหลังที่บริษัทจำเลยจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว แม้ก่อนประกาศการจดทะเบียนในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงไปอย่างใด ฉะนั้น เมื่อบริษัทจำเลยตั้งขึ้นแล้ว ผู้ร้องย่อมมีความผูกพันที่จะใช้เงินค่าหุ้นที่ได้เข้าชื่อซื้อไว้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามการเข้าชื่อซื้อหุ้นก่อนบริษัทจดทะเบียน และผลของการถอนหุ้นก่อนการประกาศจัดตั้ง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1106 การที่ผู้ร้องเข้าชื่อซื้อหุ้นบริษัทผู้ล้มละลาย ย่อมต้องถูกผูกพันอยู่ในอันที่จะต้องชำระเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทโดยมีเงื่อนไขว่าถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้น ฉะนั้น ระหว่างที่เงื่อนไขอันนี้ซึ่งเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนยังไม่สำเร็จผู้ร้องซึ่งได้เข้าชื่อซื้อหุ้นไว้แล้วจะต้องถูกผูกพันอยู่ตลอดไปผู้ร้องจะถอนการเข้าชื่อซื้อหุ้นหาได้ไม่ และการที่ผู้ร้องถอนหุ้นภายหลังที่บริษัทจำเลยจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว แม้ก่อนประกาศการจดทะเบียนในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงไปอย่างใดฉะนั้น เมื่อบริษัทจำเลยตั้งขึ้นแล้ว ผู้ร้องย่อมมีความผูกพันที่จะใช้เงินค่าหุ้นที่ได้เข้าชื่อซื้อไว้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นได้