คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หุ้นส่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเข้าหุ้นส่วนยังไม่เลิก แม้ฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา อีกฝ่ายต้องบอกเลิกก่อน
ตามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าต่างฝ่ายต่างจะลงหุ้นโดยชำระเงินค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการฝ่ายละครึ่ง ถือได้ว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันตามนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1026 แล้ว แม้ฝ่ายหนึ่งจะไม่ส่งเงินหรือทรัพย์สินตามที่ตกลง ก็หาทำให้สัญญาเข้าหุ้นส่วนดังกล่าวเสียไปไม่
แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดสัญญาร่วมลงทุน จำเลยในฐานะหุ้นส่วนก็จะต้องบอกเลิกสัญญาเสียก่อน เมื่อจำเลยยังไม่ได้บอกเลิกสัญญากับโจทก์ สัญญาร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเข้าหุ้นส่วนและการเลิกสัญญา: แม้ฝ่ายหนึ่งไม่ส่งเงินตามสัญญา ก็ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
ตามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าการร่วมลงทุนและการดำเนินกิจการจะขาดทุนหรือกำไรทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะรับผิดชอบร่วมกันคนละครึ่ง และการชำระเงิน ค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้เป็นไปตาม สัญญาร่วมลงทุนฉบับนี้ ซึ่งหมายถึงให้ฝ่ายโจทก์จำเลยชำระคนละครึ่ง แสดงว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างให้สัญญาซึ่งกันและกันว่าต่างฝ่ายจะลงหุ้นโดยชำระเงินค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฝ่ายละครึ่ง ถือได้ว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนกัน ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1026 แล้ว แม้ฝ่ายหนึ่ง จะไม่ส่งเงินหรือทรัพย์สินตามที่ตกลงกันมาลงหุ้น ก็ไม่ทำให้สัญญาเข้าหุ้นส่วนเสียไปสัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่ขัดต่อมาตรา 1026

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเข้าหุ้นส่วน: การผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, และการชำระบัญชี
ตามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าต่างฝ่ายต่างจะลงหุ้นโดยชำระเงินค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการฝ่ายละครึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1026แล้วแม้ฝ่ายหนึ่งจะไม่ส่งเงินหรือทรัพย์สินตามที่ตกลงก็หาทำให้สัญญาเข้าหุ้นส่วนดังกล่าวเสียไปไม่ แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดสัญญาร่วมลงทุนจำเลยในฐานะหุ้นส่วนก็จะต้องบอกเลิกสัญญาเสียก่อนเมื่อจำเลยยังไม่ได้บอกเลิกสัญญากับโจทก์สัญญาร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังไม่เลิกกันโจทก์จึงมีสิทธิขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเข้าหุ้นส่วนและการเลิกสัญญา: แม้ฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา อีกฝ่ายต้องบอกเลิกก่อนจึงมีผล
ตามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าต่างฝ่ายต่างจะลงหุ้นโดยชำระเงินค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการฝ่ายละครึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1026แล้วแม้ฝ่ายหนึ่งจะไม่ส่งเงินหรือทรัพย์สินตามที่ตกลงก็หาทำให้สัญญาเข้าหุ้นส่วนดังกล่าวเสียไปไม่ แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดสัญญาร่วมลงทุนจำเลยในฐานะหุ้นส่วนก็จะต้องบอกเลิกสัญญาเสียก่อนเมื่อจำเลยยังไม่ได้บอกเลิกสัญญากับโจทก์สัญญาร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังไม่เลิกกันโจทก์จึงมีสิทธิขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนซื้อขายที่ดิน & อำนาจฟ้อง: โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นหุ้นส่วนหรือไม่ และผลของการรอนสิทธิ
จำเลยทั้งสามเป็นหุ้นส่วนกันในการซื้อขายที่ดินพิพาทแม้จำเลยที่2และที่3มิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาจะซื้อจะขายโดยมีจำเลยที่1เพียงผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้จะขายและโจทก์ที่1เป็นผู้จะซื้อสัญญาดังกล่าวก็ผูกพันจำเลยที่2และที่3ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1050ส่วนโจทก์ที่2ถึงที่8นั้นไม่ปรากฏชื่อหรือได้ลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาด้วยทั้งไม่มีหลักฐานอื่นใดมาสนับสนุนว่าเป็นหุ้นส่วนหรือตัวแทนตัวการกันสัญญาดังกล่าวใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่1ถึงที่3เท่านั้นโจทก์ที่2ถึงที่8จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1ถึงที่3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5844/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดสอดแทรกการจัดการ: สิทธิเรียกร้องระหว่างหุ้นส่วน vs. บุคคลภายนอก
โจทก์ฟ้องคดีโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาสองข้อคือข้อแรก โจทก์จำเลยได้ตกลงกันประกอบกิจการและจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยโจทก์เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อที่สองจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ขอให้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยให้การรับว่าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ปฏิเสธว่าไม่เคยสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า หนี้ของห้างหุ้นส่วนตามฟ้องผูกพันจำเลยหรือไม่เพียงใด ซึ่งศาลล่างทั้งสองเห็นว่า แม้จำเลยจะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดอย่างไม่จำกัดจำนวน เพราะกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา1088 วรรคหนึ่ง เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก แต่คดีนี้ไม่ใช่กรณีบุคคลภายนอกเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เป็นเรื่องระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเอง จึงต้องบังคับตามสัญญาหุ้นส่วนซึ่งเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ข้อแรก ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยดังกล่าว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง
กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1088 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่าถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใด สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวนนั้น เป็นบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอกเนื่องจากบุคคลภายนอกอาจไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใด ส่วนระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใด และมีหน้าที่อย่างใดหากยินยอมให้มีการกระทำผิดหน้าที่ ผู้ที่ให้ความยินยอมไม่มีสิทธิจะอ้างกฎหมายมาตราดังกล่าวขึ้นบังคับผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันอย่างบุคคลภายนอกได้ กรณีของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันต้องบังคับตามสัญญาห้างหุ้นส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัด: การร่วมกู้ธนาคารไม่ถือเป็นเจตนาเข้าหุ้นส่วนจัดสรร
โจทก์ทำสัญญาซื้อบ้านพร้อมที่ดินจัดสรรกับจำเลยที่ 1 เป็นการเฉพาะตัว ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 2 ชื่อโครงการเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ไม่มีชื่อจำเลยที่ 2 ร่วมด้วย การที่ธนาคารให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้เงินร่วมกับจำเลยที่ 1 ก็เพื่อให้ร่วมรับผิดตามระเบียบของธนาคารเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2ได้ตกลงเข้ากันกับจำเลยที่ 1 เพื่อกระทำกิจการจัดสรรที่ดินด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้จากกิจการดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1012

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดิน: ความรับผิดของบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่หุ้นส่วน
โจทก์ทำสัญญาซื้อบ้านพร้อมที่ดินจัดสรรกับจำเลยที่ 1เป็นการเฉพาะตัว ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 2 ชื่อโครงการเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ไม่มีชื่อจำเลยที่ 2 ร่วมด้วย การที่ธนาคารให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้เงินร่วมกับจำเลยที่ 1ก็เพื่อให้ร่วมรับผิดตามระเบียบของธนาคารเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ตกลงเข้ากันกับจำเลยที่ 1 เพื่อกระทำกิจการจัดสรรที่ดินด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้จากกิจการดังกล่าวจำเลยที่ 2 จึงไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1012

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัด: การกู้ร่วมเพื่อธุรกิจจัดสรร ไม่ถือเป็นหุ้นส่วนทางกฎหมาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อบ้านพร้อมที่ดินจัดสรรกับจำเลยที่ 1เป็นการเฉพาะตัว ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 2 ชื่อโครงการเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ไม่มีชื่อจำเลยที่ 2 ร่วมด้วย การที่ธนาคารให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้เงินร่วมกับจำเลยที่ 1 ก็เพื่อให้ร่วมรับผิดตามระเบียบของธนาคารเท่านั้น ถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ตกลงเข้ากันกับจำเลยที่ 1 เพื่อกระทำกิจการจัดสรรที่ดินด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้จากกิจการดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1012

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดความรับผิดของหุ้นส่วนออกจากห้างหุ้นส่วนและการแจ้งการประเมินภาษีอากรเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
จำเลยที่ 2 โอนหุ้นให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม2527 และนำไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2528 ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2528และโจทก์ไม่ได้แจ้งการประเมินภาษีอากรให้จำเลยที่ 2 ทราบคงแจ้งไปยังจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในขณะนั้น ดังนั้น การที่โจทก์มีหนังสือเตือนไปยังจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2529 และวันที่ 2 เมษายน 2530 เพื่อให้ชำระเงินภาษีที่ค้างอยู่โดยหนังสือเตือนดังกล่าวไม่ปรากฏว่าได้ระบุแจ้งผลการประเมินตามรายการอากรสำแดง หรือมีรายการแยกแยะเป็นรายละเอียดภาษีอากรที่จะชำระเอาไว้แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการแจ้งการประเมินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร แต่เป็นเพียงหนังสือทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามปกติดังเช่นหนี้ทั่วไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2530 อันเป็นเวลาภายหลัง2 ปี นับแต่จำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 โจทก์จึงไม่มีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลายได้
of 35