พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของหุ้นส่วนจำกัดและการรับผิดในหนี้จากการซื้อวัสดุก่อสร้าง
หญิงมีสามีเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟ้องคดีในนามของหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี
เรื่องการฟ้องคดี ไม่จำเป็นต้องมีระบุไว้ในวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคล
ในชั้นชี้สองสถาน ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้มีแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 หรือจำเลยร่วมเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็มิได้แถลงคัดค้านแต่อย่างไร จึงต้องถือว่ายอมรับตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ที่จำเลยที่ 1 กลับมาอุทธรณ์ว่าจำเลยร่วมเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทโดยการเชิดให้จำเลยที่ 1 เข้าประมูลรับเหมาก่อสร้างและจำเลยที่ 2 สั่งซื้อของจากโจทก์ในนามของจำเลยร่วม จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดนั้นศาลอุทธรณ์ย่อมไม่วินิจฉัยให้
เรื่องการฟ้องคดี ไม่จำเป็นต้องมีระบุไว้ในวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคล
ในชั้นชี้สองสถาน ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้มีแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 หรือจำเลยร่วมเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็มิได้แถลงคัดค้านแต่อย่างไร จึงต้องถือว่ายอมรับตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ที่จำเลยที่ 1 กลับมาอุทธรณ์ว่าจำเลยร่วมเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทโดยการเชิดให้จำเลยที่ 1 เข้าประมูลรับเหมาก่อสร้างและจำเลยที่ 2 สั่งซื้อของจากโจทก์ในนามของจำเลยร่วม จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดนั้นศาลอุทธรณ์ย่อมไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการกู้หุ้นส่วนจำกัด การโอนหุ้นเพื่อชำระหนี้ และการเลิกกันของหนี้
โจทก์จำเลยกับพวกอีก 4 คนได้เข้าหุ้นกันทำการค้าตั้งภัตตาคาร และตกลงกันว่าจะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด แต่แล้วกิจการไม่ดีต้องเรียกค่าหุ้นเพิ่มอีก 200,000 บาท ในการเรียกค่าหุ้นเพิ่มนี้โจทก์จำเลยกับพวกได้ทำสัญญากันไว้ว่า ผู้ถือหุ้นทุกคนตกลงให้บริษัทกู้เงินจากโจทก์ 200,000 บาท และให้ลงบัญชีให้โจทก์เป็นเจ้าหนี้บริษัทฯ โดยไม่ต้องขอมติที่ประชุมบริษัทฯอีก จำเลยกับพวกอีก 4 คนยอมเป็นผู้ค้ำประกัน หากหนี้รายนี้ไม่มีวิธีอื่นหรือไม่สะดวกที่จะบังคับได้ ผู้ค้ำประกันยอมโอนขายหุ้นของแต่ละคนให้โจทก์ตามราคาในใบหุ้นดังนี้ สัญญาที่ทำขึ้นนี้หาใช่สัญญาที่จำเลยกับพวกกู้เงินโจทก์ไม่ แต่เป็นสัญญาที่บริษัทฯ เป็นผู้กู้และจำเลยกับพวกเป็นผู้ค้ำประกันโดยกำหนดวิธีการแก้ไขให้โจทก์ได้เงินกู้คือไว้ล่วงหน้าว่าให้จำเลยกับพวกโอนขายหุ้นของตนให้โจทก์เท่านั้น เมื่อต่อมาไม่มีการตั้งบริษัทขึ้น และจำเลยกับพวกได้ขายหุ้นของตนที่มีอยู่ในภัตตาคารให้โจทก์ไปหมดทุกคนแล้ว ก็ย่อมเป็นอันเลิกแล้วต่อกันไม่มีหนี้ต่อกันอีก โจทก์จะฟ้องเรียกเงินตามสัญญาดังกล่าวจากจำเลยตามส่วนเฉลี่ยที่จำเลยรับผิดชอบอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดไม่มีอำนาจร้องทุกข์แทน นิติบุคคล หากไม่ได้มอบอำนาจชัดเจน
หุ้นส่วนที่ไม่ใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคล ย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์แทน นิติบุคคลนั้นซึ่งเป็นผู้เสียหาย
คำร้องทุกข์ที่ไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าร้องทุกข์แทนนิติบุคคลหรือได้รับมอบอำนาจมาให้ร้องทุกข์แทน ต้องถือว่าร้องทุกข์ในฐานะส่วนตัว
ใบมอบอำนาจซึ่งมีข้อความชัดแจ้งว่ามอบอำนาจให้ดำเนินการแทน เฉพาะการฟ้องร้องคดีต่อศาลย่อมไม่รวมถึงการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ด้วย
คำร้องทุกข์ที่ไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าร้องทุกข์แทนนิติบุคคลหรือได้รับมอบอำนาจมาให้ร้องทุกข์แทน ต้องถือว่าร้องทุกข์ในฐานะส่วนตัว
ใบมอบอำนาจซึ่งมีข้อความชัดแจ้งว่ามอบอำนาจให้ดำเนินการแทน เฉพาะการฟ้องร้องคดีต่อศาลย่อมไม่รวมถึงการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดในหนี้ของห้างหุ้นส่วน และอายุความของหนี้การค้า
โจทก์เป็นพ่อค้า ฟ้องเรียกเอาค่าส่งมอบน้ำมันให้ห้างหุ้นส่วนเหมืองแร่เพื่อนำไปเดิดเครื่องยนต์ในการผลิตแร่ดีบุกของห้างหุ้นส่วนเหมืองแร่ เป็นการทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายลูกหนี้เอง จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้าย
คำบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรค 2
คำบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 978/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นส่วนต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนอื่น มิฉะนั้นไม่ถือเป็นหุ้นส่วนที่ถูกต้อง
หุ้นส่วนชักนำคนนอกเข้ามาเป็นหุ้นส่วนโดยไม่ได้รับความยินยอมของหุ้นส่วนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6068/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเป็นหุ้นส่วนจำกัด การแบ่งปันกำไร และการเลิกห้างหุ้นส่วน
พฤติการณ์ที่โจทก์ จำเลยที่ 2 และ พ. ร่วมกันยื่นคำร้องขอจดทะเบียนตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ถือว่าบุคคลดังกล่าวยอมผูกพันกันตามกฎหมายเพื่อทำกิจการร่วมกันด้วยจะประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 แล้ว ต่างจากที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเป็นหุ้นส่วนโดยไม่จดทะเบียนซึ่งต้องพิจารณาด้วยว่าการตกลงนั้นมีลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนหรือไม่
การแบ่งเงินปันผลกำไรให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1084 ส่วนจะมีการแบ่งกันเมื่อใด อย่างไร ย่อมเป็นไปตามสัญญาห้างหุ้นส่วน หากสัญญาห้างหุ้นส่วนไม่กำหนดไว้ก็ย่อมเป็นไปตามที่หุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจเห็นสมควร และถ้าหากผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันไม่ได้ในเรื่องการจ่ายเงินปันผลและมีเหตุให้เลิกห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นอาจร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีต่อไป
เงินส่วนกำไรของห้างหุ้นส่วนจะยังไม่เป็นเงินปันผลจนกว่าจะมีการตกลงให้จ่ายเงินกำไรนั้นเป็นเงินปันผล
การแบ่งเงินปันผลกำไรให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1084 ส่วนจะมีการแบ่งกันเมื่อใด อย่างไร ย่อมเป็นไปตามสัญญาห้างหุ้นส่วน หากสัญญาห้างหุ้นส่วนไม่กำหนดไว้ก็ย่อมเป็นไปตามที่หุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจเห็นสมควร และถ้าหากผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันไม่ได้ในเรื่องการจ่ายเงินปันผลและมีเหตุให้เลิกห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นอาจร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีต่อไป
เงินส่วนกำไรของห้างหุ้นส่วนจะยังไม่เป็นเงินปันผลจนกว่าจะมีการตกลงให้จ่ายเงินกำไรนั้นเป็นเงินปันผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11555/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการตรวจสอบบัญชีหุ้นส่วนจำกัด: เหตุผลสมควร & เจตนาสุจริต
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญมีความรับผิดอย่างไม่จำกัด และ ป.พ.พ. มาตรา 1038 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งมีสภาพดุจเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างโดยมิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ แตกต่างจากผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้าง และตามมาตรา 1090 ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะประกอบกิจการค้าขายอย่างใด ๆ เพื่อประโยชน์ของตนหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกก็ได้ แม้ว่าการงานเช่นนั้นจะมีสภาพเป็นอย่างเดียวกับการค้าขายของห้างก็ไม่ห้าม ดังนั้น แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดอาจไต่ถามการงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ตรวจดูและคัดสมุดบัญชี เอกสารของห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ทุกเมื่อตามมาตรา 1037 ประกอบมาตรา 1080 แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่ามีเหตุสมควรหรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป เมื่อจำเลยให้การว่า โจทก์มีตำแหน่งในการบริหารห้างหุ้นส่วนจำกัดอยู่ด้วย ย่อมทราบกิจการงานของห้างอยู่แล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยจำเลยปฏิเสธว่าโจทก์ไม่เคยขอจำเลยตรวจสอบเอกสารตามฟ้องมาก่อนโจทก์มีจุดประสงค์เพื่อให้จำเลยเสียหาย เสียชื่อเสียงทางการค้า เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จึงต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายให้ทราบข้อเท็จจริงเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การไม่ชัดเจนเรื่องอายุความ และความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด
แม้โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและละเมิด แต่เห็นได้ชัดว่าเป็นการฟ้องว่าโจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ตกแต่งและต่อเติมอาคารพิพาท แล้วจำเลยที่ 1 ทำงานบกพร่องก่อให้เกิดความเสียหายตามฟ้องแก่โจทก์ อันต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยจ้างทำของ จำเลยทั้งสามทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วจึงให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ทำงานที่ได้รับจ้างให้โจทก์เรียบร้อยและโจทก์มิได้เสียหายดังฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสามให้การต่อมาโดยตัดฟ้องว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จำเลยทั้งสามต้องกล่าวในคำให้การส่วนนี้ให้ชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานให้แก่โจทก์เมื่อใด และโจทก์พบความชำรุดบกพร่องของงานที่จ้างวันใด แต่จำเลยทั้งสามกลับให้การในส่วนนี้เพียงว่า โจทก์อ้างว่าได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ต่อเติมและตกแต่งอาคารพิพาท 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2538 และวันที่ 24 มีนาคม 2538 แล้วจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 21 สิงหาคม 2541 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ เช่นนี้ เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าขาดอายุความในเรื่องใด และอายุความเริ่มนับตั้งแต่วันใด ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความที่คู่ความจะต้องนำสืบ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยขณะฟ้องมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด แม้จำเลยที่ 2 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนภายหลังก็ต้องรับผิดในหนี้ใด ๆ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1077 (2), 1080, 1087 ส่วนจำเลยที่ 3 แม้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อขึ้นก่อนที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนตามมาตรา 1051 ประกอบมาตรา 1077 (2), 1080, 1087
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยขณะฟ้องมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด แม้จำเลยที่ 2 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนภายหลังก็ต้องรับผิดในหนี้ใด ๆ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1077 (2), 1080, 1087 ส่วนจำเลยที่ 3 แม้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อขึ้นก่อนที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนตามมาตรา 1051 ประกอบมาตรา 1077 (2), 1080, 1087
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10506/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องขัดทรัพย์: ผู้ถือหุ้นจำกัดความรับผิดไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์แทนห้างหุ้นส่วน
บุคคลที่อาจยื่นคำร้องขัดทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 ได้ จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียอย่างใดๆ ในทรัพย์ที่ถูกยึด อันถือได้ว่าเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิจากการยึดทรัพย์นั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์อ้างว่า อพาร์ตเมนต์ที่ถูกยึดไม่ใช่ของจำเลยที่ 2 แต่เป็นทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. หากเป็นดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างจริง บุคคลที่ถูกโต้แย้งสิทธิจากการยึดทรัพย์ก็คือห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เจ้าของทรัพย์สินซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากตัวผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ทรัพย์ที่ถูกยึดจึงหาได้เป็นสิทธิของผู้ร้องด้วยไม่ กรณีไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิ และถึงแม้ห้างดังกล่าวเหลือผู้ร้องเพียงคนเดียว เพราะหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดถึงแก่ความตายไป ก็เป็นผลให้เลิกห้างและชำระบัญชีโดยผู้ชำระบัญชีจะเป็นผู้ดำเนินการของห้างหุ้นส่วนตามแต่จำเป็นเพื่อการชำระสะสางกิจการให้เสร็จไปด้วยดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259 เมื่อผู้ร้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนธรรมดาจึงไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์คดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อหนี้ที่เกิดขึ้น
จำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการระหว่างวันที่ 8 กันยายน 2547 ถึงวันที่ 23 กันยายน 2556 และมีจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการระหว่างวันที่ 24 กันยายน 2556 จนถึงปัจจุบัน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2556 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการในขณะนั้นทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์รับว่าเป็นหนี้ค่าสินค้าโจทก์โดยตกลงผ่อนชำระเป็นงวดๆ ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิด จำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 แม้หนี้ดังกล่าวจะเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนก็ตาม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1077 (2) และมาตรา 1080 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เนื่องจากยังอยู่ในเวลาสองปีนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1080 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1087