คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อัตราดอกเบี้ย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 317 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา: โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราเดิมได้ หากจำเลยเคยตกลงไว้แต่แรก
ธนาคารโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยให้จำเลยชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี ดังนั้น ภายหลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราเดิมคือร้อยละ 15.5 ต่อปี ไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์ไม่อาจอาศัยข้อสัญญาซึ่งสิ้นสุดไปแล้วมาทำการปรับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากจำเลยให้สูงขึ้นตามประกาศของโจทก์ได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ยืมสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ แม้มิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
ปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยขัดต่อกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็มีอำนาจยกข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246
สัญญากู้ยืมระบุว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารโจทก์ แต่ตามประกาศกำหนดดอกเบี้ยของโจทก์ในขณะทำสัญญากู้ยืมกำหนดอัตราดอกเบี้ยเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลาร้อยละ14.50 ต่อปี ไม่มีข้อความตอนใดในประกาศดังกล่าวที่กำหนดให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยได้ถึงร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญากู้ยืมจึงสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิจะเรียกเก็บได้ตามกฎหมาย และขัดต่อ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯมาตรา 3(ก) ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ในสัญญากู้ยืมจึงตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับดอกเบี้ยตามคำพิพากษา ต้องเป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย หากอัตราดอกเบี้ยใหม่ต่ำกว่า
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปศาลฎีกา พออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
ศาลชั้นต้นระบุไว้ในคำพิพากษาว่าให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ20.25 ต่อปี แต่ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยต้องไม่เกินประกาศกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย ย่อมมีความหมายว่า หากมีการเปลี่ยนแแปลงอัตราดอกเบี้ยใหม่ต่ำกว่าอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี โดยประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำแถลงของจำเลยว่าอัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาคืออัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ และให้คิดดอกเบี้ยในอัตรา 20.25 ต่อปีไปก่อน ถ้าจำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาต่อไปจนกว่าคำพิพากษาจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขย่อมเป็นคำสั่งที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเอง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัด: ศาลต้องใช้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ คำสั่งเดิมขัดแย้งกับคำพิพากษา
การที่ศาลชั้นต้นระบุไว้ในคำพิพากษาว่าให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2542 แต่ดอกเบี้ยต้องไม่เกินประกาศกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น หมายความว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยใหม่ต่ำกว่าอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี โดยประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว ปรากฏว่าธนาคารแห่งประเทศไทยมีประกาศ กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดโดยให้ธนาคารพาณิชย์ออกประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บแต่ละประเภทของตนเองได้ซึ่งในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2542 ธนาคารโจทก์ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดลงเหลือเพียงอัตราร้อยละ 14.50ต่อปี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำแถลงของจำเลยที่ 1ที่ขอทราบจำนวนหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อจะได้ชำระหนี้ให้ถูกต้องเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ว่าให้คิดอัตราดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี ไปก่อน จนกว่าคำพิพากษาจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขนั้น จึงเป็นคำสั่งที่มิได้คำนึงถึงข้อความในคำพิพากษาที่ให้คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินประกาศกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย อันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบเพราะขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเอง ดังนั้น นับแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2542 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 14.50 ต่อปี จนถึงวันชำระเงินตามคำพิพากษาครบถ้วนแต่หากในช่วงเวลาดังกล่าวโจทก์มีการประกาศอัตราดอกเบี้ยใหม่โจทก์ก็ต้องคิดดอกเบี้ยตามอัตราใหม่นั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญา: การคิดดอกเบี้ยสูงสุดต้องเป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและข้อตกลงในสัญญา
สัญญาทรัสต์รีซีทที่ระบุข้อตกลงว่า จำเลยที่ 1 จะชำระค่าสินค้าโดยคำนวณเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารโจทก์ต้องชำระค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 หรือตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว้ หรือในอัตราแลกเปลี่ยนของโจทก์ ณ วันครบกำหนดชำระเงินตามทรัสต์รีซีท หรือในอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามทรัสต์รีซีท โดยจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์เป็นผู้เลือกที่จะใช้อัตราใดแล้วแต่จะเห็นสมควรเป็นข้อตกลงที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินชิลลิงออสเตรียเป็นเงินไทยในวันครบกำหนดชำระเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญา ศาลจึงไม่มีอำนาจบังคับโจทก์ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินชิลลิงออสเตรียเป็นเงินไทยในวันอื่นที่โจทก์ไม่ได้เลือก จำเลยทั้งสี่จึงไม่อาจอ้างว่าโจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินชิลลิงออสเตรียเป็นเงินไทยโดยไม่เป็นธรรมได้
บทบัญญัติมาตรา 728 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้บัญญัติว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือกรณีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 798 วรรคหนึ่ง
โจทก์มอบให้ อ. พนักงานธนาคารโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อ อ. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้รับแล้วไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของ อ. ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ. ซึ่งเป็นตัวแทนที่บอกกล่าวบังคับจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 ดังนั้นเมื่อ อ. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 ผู้จำนอง ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังผู้จำนองตามมาตรา 728 แล้ว
จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีททั้งสิบสองฉบับและไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เลยนับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาฉบับสุดท้ายถึงวันที่โจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองเกิน 1 ปี แล้ว และหลังจากโจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2541 โจทก์ก็มิได้ดำเนินการฟ้องร้องจำเลยทั้งสี่ในทันทีเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน ตามจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนอง แต่มาฟ้องเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2542 แสดงว่าโจทก์ไม่ได้ถือกำหนดเวลา 15 วัน ตามจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นสาระสำคัญ ถือไม่ได้ว่าจดหมายบอกกล่าวมิได้กำหนดเวลาให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรจึงเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
หนังสือสัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้ค้ำประกันระบุว่าเป็นการค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 อันเกิดจากนิติกรรมใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไว้แล้วในขณะทำสัญญาค้ำประกัน และหนี้เกิดจากนิติกรรมใด ๆ ต่อไป ในภายหน้าด้วย การฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารแสดง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เมื่อโจทก์อ้างส่งหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นพยานเอกสาร การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อุทธรณ์ว่ามีข้อความเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นแตกต่างจากข้อความในหนังสือสัญญาค้ำประกันได้
การที่ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์ซีท ซึ่งจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ ไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำแปลเอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยไม่ถือว่าเป็นเอกสารที่คู่ความอ้างส่งในคดี จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการอ้างเอกสารเป็นพยาน และถือเป็นหน้าที่ของคู่ความทั้งสองฝ่ายที่จะต้องร่วมกันสื่อความหมายของข้อความนั้นให้ศาลได้เข้าใจได้ตรงหรือใกล้เคียงกับความหมายที่แท้จริงของข้อความภาษาต่างประเทศนั้นให้มากที่สุด ดังนั้นหากคำแปลเป็นภาษาไทยไม่ถูกต้อง คู่ความทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมขอแก้ไขเมื่อใดก็ได้ก่อนศาลมีคำพิพากษา
การคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระตามสัญญาทรัสต์รีซีท ต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารโจทก์และตามสัญญาทรัสต์รีซีท เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ระบุให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1ผิดนัดได้ตามอัตราที่ระบุในสัญญาข้อ 4 และข้อความในสัญญาข้อ 4 ระบุถึงอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระภายในกำหนดเวลาตามสัญญาอันเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัดซึ่งแม้สัญญาข้อ 4 จะระบุให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์ย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าที่ไม่ผิดนัดเท่านั้น ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 เพียงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์ ไม่ใช่อัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญา เพราะตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดข้อ 3(4) กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยในอัตราสำหรับลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขได้เฉพาะกรณีที่ลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้วเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเงินกู้, อัตราดอกเบี้ย, การแปลงค่าเงิน, และขอบเขตการพิจารณาของศาล
เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 7 ถือได้ว่าไม่มีปัญหาดังกล่าวในชั้นนี้ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่จำต้องส่งเรื่องไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 9
การที่คู่กรณีมีข้อสัญญากันไว้ว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่อนุญาโตตุลาการนั้น ก็มิได้หมายความว่าจะตัดสิทธิมิให้คู่กรณีนำคดีฟ้องต่อศาลเสียทีเดียว เพราะอาจมีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติสัญญานั้นก็เป็นได้ หากคู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาในการที่จะต้องเสนอข้อพิพาทต่อนุญาโตตุลาการ ก็ชอบที่จะให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องต่อศาลตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 แต่จำเลยที่ 1มิได้ให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องดังกล่าวแต่อย่างใด กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้สละสิทธิเกี่ยวกับข้อสัญญาเรื่องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัท ส . ต่อโจทก์ แม้บริษัท ส. เป็นผู้รับเงินไปใช้ในกิจการของบริษัท ส. โดยจำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนรับเงินไปใช้เป็นการส่วนตัวหรือกิจการของครอบครัวก็ตาม แต่หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 สามีก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว ที่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยาได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4)
อัตราดอกเบี้ย SIBOR (Singapore Inter - bank Offered Rate หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ให้กู้ยืมเงินกันระหว่างธนาคารด้วยกันในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์) นั้นเป็นเพียงตัวตั้งเบื้องต้นของสูตรคำนวณอัตราดอกเบี้ย แม้โจทก์จะมิได้นำสืบถึงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวก็ตาม ก็จะถือว่าการกู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ไม่ได้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10.0847 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอนั้นชอบแล้ว
ในการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศนั้น ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านว่าจะใช้เป็นเงินไทยก็ได้" อันเป็นการให้สิทธิแก่จำเลยทั้งสองผู้เป็นลูกหนี้ที่จะเลือกชำระเงินให้โจทก์ด้วยเงินตราต่างประเทศตามที่โจทก์ขอหรือจะชำระด้วยเงินไทยก็ได้ตามแต่จำเลยทั้งสองจะสมัครใจ หากจำเลยทั้งสองเลือกจะชำระเป็นเงินไทย จำเลยทั้งสองก็ต้องชำระเงินไทยให้โจทก์ตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในสถานที่และเวลาใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลา ที่ใช้เงิน" ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดใน เงินจำนวนดังกล่าวแล้ว ยังพิพากษาต่อไปอีกว่า "ในกรณีที่จำเลยทั้งสองจะชำระเป็นเงินบาทให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยน ถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ที่ขายให้ลูกค้าในวันที่ใช้เงินจริง?" ก็เป็นการแสดงให้จำเลยทั้งสองทราบถึงสิทธิของ จำเลยทั้งสองที่จะชำระหนี้ด้วยเงินไทยก็ได้ โดยถืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตามสถานที่และวันที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง นั้นเอง มิได้ก่อให้ฝ่ายใดได้เปรียบในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่อกันแต่อย่างใด คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดังกล่าวนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์หรือขัดต่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 324/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้ vs. เบี้ยปรับ, หนี้ค่าเบี้ยประกันนอกเหนือจากสัญญา
เงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ทดรองจ่ายไปก่อนหาใช่หนี้เงินกู้ยืมอันทำให้โจทก์สามารถคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามประกาศของกระทรวงการคลังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3171-3172/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทนและดอกเบี้ยผิดนัดในสัญญาทรัสต์รีซีท: การพิจารณาความชอบธรรมของอัตราดอกเบี้ยและขอบเขตอำนาจตัวแทน
แม้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปเกี่ยวกับกิจการในสำนักงานสาขาชลบุรีของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801 วรรคหนึ่ง แต่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ก็ไม่ถูกจำกัดอำนาจในการยื่นฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 801 วรรคสอง (5) เพราะหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ระบุให้อำนาจแก่ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์ฟ้องคดีไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และเป็นการมอบอำนาจทั่วไปให้ดำเนินคดีสำหรับคดีต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นที่สาขาชลบุรีของโจทก์ ไม่ใช่เป็นการมอบอำนาจแต่เฉพาะการตามมาตรา 800 โจทก์จึงไม่ต้องกล่าวในหนังสือมอบอำนาจโดยระบุชื่อนิติบุคคลหรือบุคคลที่จะต้องถูกดำเนินคดีหรือถูกฟ้องมาด้วย และการมอบอำนาจทั่วไปให้ดำเนินคดีดังกล่าวย่อมหมายถึงให้ดำเนินคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสาขาชลบุรีของโจทก์ ไม่ว่าคดีนั้นจะได้เกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว ดังนั้น ป. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์โดยสมบูรณ์ในขณะยื่นฟ้องจึงมีอำนาจแต่งตั้ง น. ทนายความยื่นฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้ได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับเงินไทยเท่าใดในวันที่หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับถึงกำหนดชำระมาโดยชัดแจ้ง แต่โจทก์ก็ได้แนบสำเนาใบแจ้งการครบกำหนดชำระหนี้และสำเนาบัญชีแสดงยอดหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับมาท้ายคำฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องโดยระบุถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวนไว้โดยชัดแจ้ง จำเลยที่ 1 สามารถตรวจดูเพื่อสู้คดีให้ถูกต้องได้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าระยะเวลาที่กำหนดให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นมากน้อยเพียงใดจึงจะเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป โจทก์ได้มอบหมายให้ น. ทนายความบอกกล่าวบังคับจำนอง ไปยังจำเลยที่ 1 โดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว แม้จำนวนหนี้จำนองที่โจทก์เรียกร้องทวงถามจะสูงถึง 376,479,799.79 บาท แต่หนี้จำนวนดังกล่าวจำเลยที่ 1 ทราบดีว่าจะต้องชำระแก่โจทก์ ณ วันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับก่อนหน้าที่ทนายโจทก์จะมีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว และหลังจากนั้นอีก 1 ปีเศษ โจทก์จึงมอบหมายให้ทนายโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองส่งไปให้จำเลยที่ 1 โดยให้เวลาจำเลยที่ 1 ชำระหนี้อันเป็นการไถ่ถอนจำนองได้อีก 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว ตามพฤติการณ์ถือได้ว่ากำหนดเวลาบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นพอสมควรและชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำนองได้
ตามสัญญาระบุไว้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บได้ตามประกาศของโจทก์นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ดอกเบี้ยตามข้อสัญญาดังกล่าวย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าที่มิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญากับโจทก์ โดยดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าที่ไม่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขอัตราสูงสุดได้แก่ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อทั่วไปของธนาคาร (จีแอลอาร์) และตามสัญญาได้ระบุไว้ด้วยว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ค้างชำระในอัตราตามที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายว่าโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดจากจำเลยที่ 1 ได้ในอัตราเดียว คือ อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อทั่วไปของธนาคาร (จีแอลอาร์) เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อสูงสุดของโจทก์ที่เรียกจากลูกค้าซึ่งปฏิบัติผิดเงื่อนไข (ซีแอลอาร์) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยผิดนัดในสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต ศาลฎีกาวินิจฉัยให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เรียกเก็บจากลูกค้าทั่วไป บวก 0.25%
สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต มีข้อความว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่กำหนดโดยธนาคารโจทก์ไม่ได้ระบุจำกัดว่าให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันที่มีการผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น จึงหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่มีได้หลายอัตราตลอดช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ สัญญาดังกล่าวโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมีเจตนาให้คิดดอกเบี้ยปรับเปลี่ยนลอยตัวได้ และเงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าที่กำหนดไว้เดิมนั้นโจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม มาตรา 383 และมีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน โดยย่อมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดจากสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต ศาลฎีกาแก้เบี้ยปรับให้เป็นอัตราที่สมเหตุสมผล
ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต จำเลยยินยอมชำระเงินเมื่อมีการยื่นตั๋วแลกเงินของผู้รับประโยชน์พร้อมดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยของธนาคารโจทก์นับแต่วันที่ออกตั๋วแลกเงินถึงวันชำระเงิน รวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หากไม่ปฏิบัติตาม ยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่กำหนดโดยธนาคารโจทก์นับจากวันที่สินค้ามาถึงกรุงเทพมหานครถึงวันที่ชำระเงิน เมื่อสินค้าตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวเดินทางมาถึง จำเลยได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อขอรับเอกสารการรับสินค้าไปก่อนโดยยังไม่ชำระเงิน โดยมีข้อสัญญาว่าจะชำระตามตั๋วแลกเงินภายในเวลาที่กำหนดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ สัญญาทรัสต์รีซีทจึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตหมายความว่า ถ้าจำเลยปฏิบัติตามสัญญาทรัสต์รีซีทก็ย่อมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในอัตราที่กำหนดไว้เท่านั้น แต่ถ้าจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารโจทก์กำหนดไว้นับแต่เวลาที่สินค้ามาถึงกรุงเทพมหานครถึงวันที่ชำระเงิน
เมื่อปรากฏว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในแต่ละช่วงเวลาของโจทก์แตกต่างกันตามประกาศของโจทก์แต่ละฉบับ จำเลยก็ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศไว้ในช่วงเวลาที่ผิดนัดสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับ กรณีไม่ใช่เรื่องที่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและจะต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบแต่อย่างใด แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องถึงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาไว้ให้ชัดเจน แต่ในคำฟ้องได้มีการคำนวณดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัดของหนี้แต่ละจำนวนถึงวันฟ้อง โดยแนบสำเนาประกาศธนาคารโจทก์ เรื่องอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดขั้นสูงสุดมาด้วยและในชั้นพิจารณาโจทก์ก็นำสืบโดยอ้างส่งสำเนาประกาศดังกล่าวที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตรงกันกับช่วงเวลาที่โจทก์คิดคำนวณมาในฟ้อง ดังนั้น คำฟ้องและพยานหลักฐานของโจทก์จึงชัดเจนเพียงพอที่จะกำหนดดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดได้
สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่ได้ระบุจำกัดให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันที่มีการผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น กรณีจึงหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่มีได้หลายอัตราตลอดช่วงเวลาที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้ สัญญาดังกล่าวจึงมีเจตนาให้คิดดอกเบี้ยปรับเปลี่ยนลอยตัวได้ แต่เนื่องจากเงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าที่กำหนดไว้เดิมเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 383 โดยกำหนดให้เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดของโจทก์บวก 0.25 และปรับเปลี่ยนขึ้นลงแปรผันตามอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่เรียกจากลูกค้าทั่วไปตามประกาศของโจทก์ที่ประกาศไว้แล้วและที่จะประกาศต่อไปหลังวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดและไม่เกินอัตราดอกเบี้ยตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้องด้วย
of 32