พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้อาคารผิดกฎหมายและการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
อาคารประเภทควบคุมการใช้เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว ก่อนใช้จะต้องได้รับใบรับรองการก่อสร้างก่อน การที่จำเลยเปิดใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้ตั้งแต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จจำเลยจึงมีความผิดฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยไม่มีใบรับรองการก่อสร้าง และเมื่อเจ้าพนักงานงานท้องถิ่นมีคำสั่งโดยชอบให้จำเลยระงับการใช้ จำเลยยังคงฝ่าฝืนใช้อาคารต่อไปจึงมีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารที่ยังไม่ได้รับใบรับรองการก่อสร้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าธรรมดา vs. สัญญาต่างตอบแทน: การปรับปรุงอาคารไม่ถือเป็นการตอบแทนสัญญาเช่า
จำเลยที่ 2 ผู้เช่าอาคารมีหนังสือถึงโจทก์ประสงค์ ที่จะรื้ออาคารพิพาทบางส่วนแล้วจะสร้างใหม่เพื่อความสวยงามความปลอดภัย และปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการกระทำที่มุ่งหมายต่อผลประโยชน์ของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะไม่มีข้อความตอนใดที่ให้ถือเอาการรื้อถอนแล้วก่อสร้างอาคารพิพาทบางส่วนขึ้นใหม่เป็นการตอบแทนในการที่จำเลยที่ 2ได้เช่าอาคารพิพาททั้งหมด แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์จากการกระทำของจำเลยที่ 2 ก็เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้นมิใช่กรณีที่โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 2 ซ่อมแซมใหญ่ตอบแทนการเช่าอาคารพิพาทต่อไปอีก ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ขอทำสัญญาเช่าต่อจากสัญญาเดิมไปอีก 6 ปี แต่โจทก์ให้ต่อเพียง3 ปี นั้น เป็นเพียงการตกลงกันทำสัญญาเช่าธรรมดาโดยขยายเวลาเช่าในสัญญาเดิมออกไปอีก 3 ปี มิใช่มีสัญญาต่างตอบแทนซ้อนอยู่ในสัญญาเช่าอีกโสดหนึ่งด้วย แสดงว่าสัญญาเช่าอาคารพิพาทเป็นสัญญาเช่าธรรมดามิใช่สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของอาคารมีหน้าที่รื้อถอนส่วนต่อเติมผิดแบบ แม้ไม่มีส่วนรู้เห็นในการก่อสร้าง
จำเลยที่ 2 ก่อสร้างต่อเติมอาคารพิพาทผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเจ้าพนักงานมีคำสั่งให้รื้อถอน จำเลยที่ 2 เพิกเฉย ต่อมาจำเลยที่ 1 รับโอนอาคารพิพาทมา แม้จำเลยที่ 1 จะไม่รู้เห็นในการต่อเติมอาคารดังกล่าว แต่เมื่อเจ้าพนักงานของโจทก์มีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ยอมรื้อถอน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีขอให้บังคับให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนอาคารพิพาทได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3917/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้จัดให้มีการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ซึ่งได้กำหนดให้ใช้เสาในการก่อสร้างอาคารเพื่อให้มีเสาทั้งสองข้างของตัวอาคารสำหรับรับน้ำหนักของอาคารข้างละ 5 ต้น รวม 2 ข้าง มีเสาจำนวน 10 ต้น และให้เสาแต่ละต้นเป็นเสาของอาคารนั้นเอง ไม่เป็นเสาที่ใช้ร่วมกับอาคารข้างเคียง แต่จำเลยกับ ร.ไ้ดร่วมกันก่อสร้างโดยใช้เสาสำหรับรับน้ำหนักของอาคารทั้งสองข้างของตัวอาคารดังกล่าวเพียงข้างละ 4 ต้น รวม 2 ข้าง มีเสาเพียง 8 ต้น และตำแหน่งของเสาแต่ละต้นดังกล่าวก็ไม่ตรงกับตำแหน่งที่ระบุไว้ตามแผนผังบริเวณแบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ทั้งเสาทางด้านซ้ายมือของตัวอาคาร 4 ต้นก็ไม่ได้เป็นเสาของตัวอาคารนั้นเอง หากแต่เป็นเสาที่ใช้ร่วมกับอาคารข้างเคียงที่อยู่ติดกัน อันเป็นการผิดไปจากที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว โดยไม่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย และตามแผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้กำหนดให้มีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง 3 เมตร ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 แต่จำเลยกับ ร.ได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารเต็มพื้นที่ดินทั้งหมดโดยไม่เว้นที่ว่าง โดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง 3 เมตร ตามข้อบัญญัติดังกล่าว ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต และไม่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย เช่นนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยอันเป็นการก่อสร้างผิดจากแผนผัง บริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต หรือผิดไปจากวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตอย่างไร เป็นการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติความคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 ซึ่งถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยชัดแจ้งแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่าเป็นการผิดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2522 ในข้อใดอีก ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยทำการก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนและแผนผังบริเวณตามที่ได้รับอนุญาต ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31, 65
กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นใช้อำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 นั้น หากเจ้าของอาคารไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารตามคำสั่ง มาตรา 43 วรรคสาม ได้บัญญัติถึงมาตรการดำเนินการต่อไป โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควร และให้นำมาตรา 42 วรรคสอง ถึง วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 43 หามีบทบัญญัติลงโทษเจ้าของอาคารผู้ฝ่าฝืนไม่จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหานี้ได้
ความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีที่จะต้องลงโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสอง วันละ 500 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ มาตรา 69 ให้ระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น คือจะต้องลงโทษปรับจำเลยวันละ 1,000 บาท และถ้าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมก็เป็นกรณีต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติให้ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีนี้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และอาคารที่ก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกำหนดโทษปรับตามมาตรา 70 จึงต้องคำนวณจากฐาน 1,000 บาท ตามมาตรา 68 หาใช่คำนวณจากฐาน 500 บาท ตามมาตรา 64 วรรคสอง ไม่
จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดกรรมหนึ่ง ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แล้วจำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยทำการก่อสร้างต่อไป ย่อมเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และในส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้นอีกครั้งหนึ่งตามมาตรา 40 วรรคสอง และมาตรา 42 วรรคหนึ่ง หากจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งไม่รื้อถอนก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง รวมเป็นความผิด 3 กระทงต่างกรรมกัน
จำเลยทำการก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนและแผนผังบริเวณตามที่ได้รับอนุญาต ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31, 65
กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นใช้อำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 นั้น หากเจ้าของอาคารไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารตามคำสั่ง มาตรา 43 วรรคสาม ได้บัญญัติถึงมาตรการดำเนินการต่อไป โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควร และให้นำมาตรา 42 วรรคสอง ถึง วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 43 หามีบทบัญญัติลงโทษเจ้าของอาคารผู้ฝ่าฝืนไม่จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหานี้ได้
ความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีที่จะต้องลงโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสอง วันละ 500 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ มาตรา 69 ให้ระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น คือจะต้องลงโทษปรับจำเลยวันละ 1,000 บาท และถ้าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมก็เป็นกรณีต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติให้ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีนี้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และอาคารที่ก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกำหนดโทษปรับตามมาตรา 70 จึงต้องคำนวณจากฐาน 1,000 บาท ตามมาตรา 68 หาใช่คำนวณจากฐาน 500 บาท ตามมาตรา 64 วรรคสอง ไม่
จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดกรรมหนึ่ง ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แล้วจำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยทำการก่อสร้างต่อไป ย่อมเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และในส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้นอีกครั้งหนึ่งตามมาตรา 40 วรรคสอง และมาตรา 42 วรรคหนึ่ง หากจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งไม่รื้อถอนก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง รวมเป็นความผิด 3 กระทงต่างกรรมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และอำนาจการสั่งรื้อถอนของเจ้าพนักงานท้องถิ่น แม้เกิน 30 วัน
จำเลยก่อสร้างต่อเติมอาคารพิพาทโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯและฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารฯและการกระทำของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทได้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯมาตรา 42 วรรคหนึ่ง มิใช่มีอำนาจเพียงสั่งให้จำเลยยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องตามมาตรา 43 เท่านั้น แม้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 40 วรรคสอง จะได้กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโดยมิชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารก็ตาม แต่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทที่ออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการที่จะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทที่ต่อเติมดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงให้ถูกต้องนั้นหมดไปโจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาทเมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอนอาคารพิพาทแล้วย่อมถือได้ว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารพิพาททราบโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เจ้าของร่วมทุกคนทราบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2050/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาคารฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร และการลงโทษปรับตามระยะเวลาที่ฝ่าฝืน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ต่อเติมมีกำหนด 150 วัน (นับตั้งแต่ วันที่ 29 สิงหาคม 2530 จนถึงวันฟ้อง) และมีคำขอท้ายฟ้องว่า ขอศาลได้สั่งปรับจำเลยตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวด้วย เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะได้บรรยายแล้วว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งมีกำหนดถึงวันฟ้องกี่วัน และมีคำขอท้ายฟ้องให้สั่งปรับจำเลยตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนมาด้วย จำเลยให้การรับสารภาพ จึงอ้างว่าไม่สามารถเข้าใจข้อหาได้ดีไม่ได้
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65, 70 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าให้ปรับได้ตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร และโจทก์ก็ขอมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย การที่ศาลพิพากษาในปัญหานี้จึงไม่เกินคำขอ
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65, 70 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าให้ปรับได้ตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร และโจทก์ก็ขอมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย การที่ศาลพิพากษาในปัญหานี้จึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของอาคารต้องรื้อถอน หากก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน
อาคารพิพาทก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเลยเป็นเจ้าของอาคารพิพาท แม้ว่าจะมิได้เป็นผู้ก่อสร้างอาคารพิพาทก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งสั่งให้จำเลยแก้ไขอาคารพิพาทให้ถูกต้อง แล้วยื่นขอรับใบอนุญาตใหม่ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อไม่ปฏิบัติตามเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารรุกล้ำทางสาธารณะ แม้แก้ไขได้ แต่จำเลยไม่มีสิทธิเรียกร้องให้คงสภาพเดิมได้
ที่จำเลยฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลที่กำหนดให้จำเลยนำสืบก่อนว่าไม่ถูกต้องนั้น เมื่อถึงอย่างไรก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลเป็นอย่างอื่นแล้วฎีกาข้อกฎหมายข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการพิจารณา
เมื่อจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าการต่อเติมดัดแปลงอาคารของจำเลยได้กระทำไปโดยฝ่าฝืนกฎหมายและยื่นล้ำออกไปเหนือทางสาธารณะเช่นนี้แล้วจำเลยย่อมไม่มีอำนาจอันชอบธรรมใด ๆ ที่จะให้ตัวอาคารดังกล่าวคงสภาพที่เป็นการล่วงละเมิดต่อสิทธิของสาธารณะชนโดยทั่วไปได้ ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ยื่นล้ำออกไปเหนือทางสาธารณะนั้นเสีย
เมื่อจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าการต่อเติมดัดแปลงอาคารของจำเลยได้กระทำไปโดยฝ่าฝืนกฎหมายและยื่นล้ำออกไปเหนือทางสาธารณะเช่นนี้แล้วจำเลยย่อมไม่มีอำนาจอันชอบธรรมใด ๆ ที่จะให้ตัวอาคารดังกล่าวคงสภาพที่เป็นการล่วงละเมิดต่อสิทธิของสาธารณะชนโดยทั่วไปได้ ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ยื่นล้ำออกไปเหนือทางสาธารณะนั้นเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารรุกล้ำทางสาธารณะ จำเลยไม่มีสิทธิเรียกร้องให้คงสภาพเดิม ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ที่จำเลยฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลที่กำหนดให้จำเลยนำสืบก่อนว่า ไม่ถูกต้องนั้น เมื่อถึงอย่างไรก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลเป็นอย่างอื่นแล้ว ฎีกาข้อกฎหมายข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการพิจารณา เมื่อจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าการต่อเติมดัดแปลงอาคารของจำเลยได้กระทำไปโดยฝ่าฝืนกฎหมายและยื่นล้ำออกไปเหนือทางสาธารณะเช่นนี้แล้วจำเลยย่อมไม่มีอำนาจอันชอบธรรมใด ๆ ที่จะให้ตัวอาคารดังกล่าวคงสภาพที่เป็นการล่วงละเมิดต่อสิทธิ ของสาธารณชนโดยทั่วไปได้ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ยื่นล้ำออกไปเหนือทางสาธารณะนั้นเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4630/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกปลูกอาคารในที่ดินของตนเอง ไม่กระทบสิทธิใช้ทางสาธารณะของผู้อื่น ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยปลูกสร้างอาคารใหม่ตามแนวอาคารเดิมซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลย มิใช่ปลูกสร้างลงในซอยสาธารณะ จึงมิได้เป็นการรบกวนขัดขวางแก่การที่โจทก์จะใช้ซอยสาธารณะ การใช้ทรัพย์ของจำเลยจึงมิได้ทำให้โจทก์เสียหายหรือเดือดร้อนในการที่โจทก์จะใช้ที่ดินของตนหรือทางสาธารณะ ไม่เป็นกรณีตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337.