พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5606/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญา ใช้อาวุธปืนยิง: ยกประโยชน์แห่งความสงสัยเมื่อพยานหลักฐานไม่ชัดเจน
++ เรื่อง ความผิดต่อชีวิต พยายาม ความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ++
++
++ คำพิพากษาสั่งออก - พิมพ์จากสำเนาชุดพิเศษ ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า
++ ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง มีคนร้ายหลายคนร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงนายสัมผัสทองมี ผู้ตาย และนายเฉี้ยง อ่อนนวล ผู้เสียหายหลายนัด เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ ส่วนผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส
++
++ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาหรือไม่
++ โจทก์ระบุพยานซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุ 2 ปาก คือนายสุภาพ สุวรรณโชติ และผู้เสียหาย สำหรับนายสุภาพมาศาลตามหมายเรียกแล้ว แต่โจทก์ไม่นำเข้าเบิกความ คงอ้างส่งบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของนายสุภาพตามเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งให้การไว้ว่า คืนเกิดเหตุนายสุภาพซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับไปสูบกัญชากันที่แหลมทวด เมื่อผู้ตายขับรถจักรยานยนต์กลับมาถึงที่เกิดเหตุพบรถยนต์กระบะสีเข้มจอดปิดไฟหันหน้ารถไปทางตลาดดอนสัก มีคนร้าย 3 ถึง 4 คน เข้ามาขวางและผลักรถจักรยานยนต์ล้มลง มีเสียงปืนดัง 3 นัด นายสุภาพเข้าใจว่าจะถูกยิงจึงวิ่งลัดเลาะเข้าป่าข้างทางถึงถนนสายดอนสัก - ขนอม ปรากฏว่ามีโลหิตไหลที่ศีรษะจึงโดยสารรถยนต์ไปโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ แพทย์แจ้งว่าบาดแผลเกิดจากถูกฟันด้วยของมีคม นายสุภาพรักษาตัวที่โรงพยาบาล 2 วัน จึงกลับบ้าน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจสืบทราบว่านายสุภาพเดินทางไปกับผู้ตายจึงสอบปากคำไว้ แต่นายสุภาพอ้างว่าขณะเกิดเหตุกำลังมึนเมาไม่ทันได้สังเกตว่า คนร้ายเป็นใคร ส่วนผู้เสียหายเบิกความว่า คืนเกิดเหตุขับรถจักรยานยนต์จะไปลอยอวนจับปลาที่แหลมทวด ก่อนถึงที่เกิดเหตุผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แซงไป โดยมีชายนั่งซ้อนท้าย 1 คน แล้วมีเสียงปืนดังขึ้น 3 ถึง 4 นัด เห็นจำเลย นายหมีไม่ทราบชื่อจริงและนามสกุล นายปองไม่ทราบชื่อจริงและนามสกุลกับพวกอีก 2 คน ยืนอยู่ข้างรถยนต์กระบะซึ่งจอดอยู่ริมถนน ผู้ตายถูกยิงฟุบไปที่พื้นพร้อมรถจักรยานยนต์ จำเลยสั่งให้ผู้เสียหายหยุดรถ ผู้เสียหายจึงจอดรถแล้วลงไปยืน ผู้เสียหายบอกว่าไม่รู้เรื่อง จะไปลอยอวน จำเลยพูดว่าฆ่าให้ตาย แล้วจำเลยใช้อาวุธปืนขนาด 9 มิลลิเมตร ยิงผู้เสียหายในระยะห่างประมาณ 1 เมตร นัดแรกถูกด้านหลังทะลุหน้าท้อง นัดที่สองถูกที่คอทะลุปาก ผู้เสียหายล้มหมดสติแล้วมารู้สึกตัวที่โรงพยาบาล ที่ผู้เสียหายเบิกความว่าผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แซงรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับมุ่งหน้าไปทางแหลมทวดนั้น ขัดแย้งกับคำให้การของนายสุภาพที่ว่าผู้ตายขับรถจักรยานยนต์กลับจากสูบกัญชาที่แหลมทวด หลังเกิดเหตุพนักงานสอบสวนได้ตรวจสถานที่เกิดเหตุ ทำแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุและบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุไว้ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.13 ก็พบรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับไปล้มอยู่ใกล้ศพผู้ตายเพียงคันเดียว ไม่ปรากฏว่าได้พบรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับและล้มไปพร้อมกับที่ผู้ตายถูกยิงดังที่ผู้เสียหายเบิกความ ผู้เสียหายเบิกความและให้การต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การเอกสารหมาย จ.5 ว่า ไม่เคยรู้จักผู้ตายมาก่อน แต่รายงานการสืบสวนของร้อยตำรวตรีสุนิตย์ ไชยหาญ รองสารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรอำเภอดอนสักเอกสารหมาย จ.15 ระบุว่าจากการสืบสวนหาข่าวทราบว่าเหตุที่ผู้ตายเดินทางผ่านไปที่เกิดเหตุเพราะผู้เสียหายชวนผู้ตายและนายสุภาพไปนอนที่บ้านซึ่งต้องผ่านที่เกิดเหตุ ส่วนเหตุการณ์ขณะคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงในที่เกิดเหตุซึ่งผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่บอกให้ผู้เสียหายหยุดรถ ผู้เสียหายได้พูดตอบโต้กับจำเลยผู้เสียหายเห็นจำเลยในระยะห่างประมาณ 1 เมตร และเห็นเหตุการณ์ชัดแจ้งถึงขนาดระบุว่าจำเลยใช้อาวุธปืนขนาด 9 มิลลิเมตร นั้น ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายให้การไว้เพียงว่า เมื่อขับรถจักรยานยนต์ไปถึงที่เกิดเหตุเห็นว่ามีการชุลมุนกัน จึงจอดรถจักรยานยนต์ริมถนน มีเสียงตะโกนถามว่าจะไปไหนผู้เสียหายบอกว่าจะไปลอยอวน เมื่อสิ้นเสียงก็มีเสียงปืนดังขึ้นในที่ชุลมุนกัน2 นัด มีเสียงพูดว่าต้องเก็บมันด้วย แล้วมีเสียงปืนดังติดกันหลายนัดจนผู้เสียหายถูกกระสุนปืนหมดสติไป ผู้เสียหายมิได้ให้การถึงพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยตลอดจนอาวุธปืนที่จำเลยใช้เหมือนที่เบิกความต่อศาล เห็นว่า คดีนี้โจทก์มีแต่ผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานปากเดียว การที่ผู้เสียหายเบิกความแตกต่างจากคำให้การชั้นสอบสวนและเบิกความขัดแย้งกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ ทำให้น่าสงสัยว่าผู้เสียหายจำคนร้ายที่ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายได้แน่นอนว่าเป็นจำเลยหรือไม่ ส่วนที่โจทก์อ้างรายงานการสืบสวนของร้อยตำรวจตรีสุนิตย์เอกสารหมาย จ.15 ระบุว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกระทำผิดคดีนี้ โจทก์ก็มิได้นำร้อยตำรวจตรีสุนิตย์มาเบิกความทำให้จำเลยไม่มีโอกาสซักค้านเพื่อให้ข้อเท็จจริงเป็นที่กระจ่างแก่ศาลว่าร้อยตำรวจตรีสุนิตย์สืบสวนได้ข้อเท็จจริงมาอย่างไร ทั้งรายงานการสืบสวนดังกล่าวระบุว่าคนร้ายมี 8 คน แตกต่างกับที่ผู้เสียหายเบิกความว่าคนร้ายมี 5 คน อีกด้วย พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบทั้งหมดเมื่อประมวลแล้วเห็นว่ายังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยอาจจะไม่ใช่คนร้ายที่ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหาย ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง และเมื่อพยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายในเวลาเกิดเหตุจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตในเวลาเกิดเหตุ และไม่มีความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรในเวลาเกิดเหตุด้วย
++ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8พิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยฟังขึ้น
++ สำหรับปลอกกระสุนปืนของกลางซึ่งตกอยู่ในที่เกิดเหตุ เป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำผิด จึงเห็นสมควรให้ริบปลอกกระสุนปืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
พิพากษากลับให้ยกฟ้อง แต่คงให้ริบของกลาง.
++
++ คำพิพากษาสั่งออก - พิมพ์จากสำเนาชุดพิเศษ ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า
++ ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง มีคนร้ายหลายคนร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงนายสัมผัสทองมี ผู้ตาย และนายเฉี้ยง อ่อนนวล ผู้เสียหายหลายนัด เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ ส่วนผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส
++
++ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาหรือไม่
++ โจทก์ระบุพยานซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุ 2 ปาก คือนายสุภาพ สุวรรณโชติ และผู้เสียหาย สำหรับนายสุภาพมาศาลตามหมายเรียกแล้ว แต่โจทก์ไม่นำเข้าเบิกความ คงอ้างส่งบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของนายสุภาพตามเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งให้การไว้ว่า คืนเกิดเหตุนายสุภาพซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับไปสูบกัญชากันที่แหลมทวด เมื่อผู้ตายขับรถจักรยานยนต์กลับมาถึงที่เกิดเหตุพบรถยนต์กระบะสีเข้มจอดปิดไฟหันหน้ารถไปทางตลาดดอนสัก มีคนร้าย 3 ถึง 4 คน เข้ามาขวางและผลักรถจักรยานยนต์ล้มลง มีเสียงปืนดัง 3 นัด นายสุภาพเข้าใจว่าจะถูกยิงจึงวิ่งลัดเลาะเข้าป่าข้างทางถึงถนนสายดอนสัก - ขนอม ปรากฏว่ามีโลหิตไหลที่ศีรษะจึงโดยสารรถยนต์ไปโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ แพทย์แจ้งว่าบาดแผลเกิดจากถูกฟันด้วยของมีคม นายสุภาพรักษาตัวที่โรงพยาบาล 2 วัน จึงกลับบ้าน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจสืบทราบว่านายสุภาพเดินทางไปกับผู้ตายจึงสอบปากคำไว้ แต่นายสุภาพอ้างว่าขณะเกิดเหตุกำลังมึนเมาไม่ทันได้สังเกตว่า คนร้ายเป็นใคร ส่วนผู้เสียหายเบิกความว่า คืนเกิดเหตุขับรถจักรยานยนต์จะไปลอยอวนจับปลาที่แหลมทวด ก่อนถึงที่เกิดเหตุผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แซงไป โดยมีชายนั่งซ้อนท้าย 1 คน แล้วมีเสียงปืนดังขึ้น 3 ถึง 4 นัด เห็นจำเลย นายหมีไม่ทราบชื่อจริงและนามสกุล นายปองไม่ทราบชื่อจริงและนามสกุลกับพวกอีก 2 คน ยืนอยู่ข้างรถยนต์กระบะซึ่งจอดอยู่ริมถนน ผู้ตายถูกยิงฟุบไปที่พื้นพร้อมรถจักรยานยนต์ จำเลยสั่งให้ผู้เสียหายหยุดรถ ผู้เสียหายจึงจอดรถแล้วลงไปยืน ผู้เสียหายบอกว่าไม่รู้เรื่อง จะไปลอยอวน จำเลยพูดว่าฆ่าให้ตาย แล้วจำเลยใช้อาวุธปืนขนาด 9 มิลลิเมตร ยิงผู้เสียหายในระยะห่างประมาณ 1 เมตร นัดแรกถูกด้านหลังทะลุหน้าท้อง นัดที่สองถูกที่คอทะลุปาก ผู้เสียหายล้มหมดสติแล้วมารู้สึกตัวที่โรงพยาบาล ที่ผู้เสียหายเบิกความว่าผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แซงรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับมุ่งหน้าไปทางแหลมทวดนั้น ขัดแย้งกับคำให้การของนายสุภาพที่ว่าผู้ตายขับรถจักรยานยนต์กลับจากสูบกัญชาที่แหลมทวด หลังเกิดเหตุพนักงานสอบสวนได้ตรวจสถานที่เกิดเหตุ ทำแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุและบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุไว้ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.13 ก็พบรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับไปล้มอยู่ใกล้ศพผู้ตายเพียงคันเดียว ไม่ปรากฏว่าได้พบรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับและล้มไปพร้อมกับที่ผู้ตายถูกยิงดังที่ผู้เสียหายเบิกความ ผู้เสียหายเบิกความและให้การต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การเอกสารหมาย จ.5 ว่า ไม่เคยรู้จักผู้ตายมาก่อน แต่รายงานการสืบสวนของร้อยตำรวตรีสุนิตย์ ไชยหาญ รองสารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรอำเภอดอนสักเอกสารหมาย จ.15 ระบุว่าจากการสืบสวนหาข่าวทราบว่าเหตุที่ผู้ตายเดินทางผ่านไปที่เกิดเหตุเพราะผู้เสียหายชวนผู้ตายและนายสุภาพไปนอนที่บ้านซึ่งต้องผ่านที่เกิดเหตุ ส่วนเหตุการณ์ขณะคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงในที่เกิดเหตุซึ่งผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่บอกให้ผู้เสียหายหยุดรถ ผู้เสียหายได้พูดตอบโต้กับจำเลยผู้เสียหายเห็นจำเลยในระยะห่างประมาณ 1 เมตร และเห็นเหตุการณ์ชัดแจ้งถึงขนาดระบุว่าจำเลยใช้อาวุธปืนขนาด 9 มิลลิเมตร นั้น ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายให้การไว้เพียงว่า เมื่อขับรถจักรยานยนต์ไปถึงที่เกิดเหตุเห็นว่ามีการชุลมุนกัน จึงจอดรถจักรยานยนต์ริมถนน มีเสียงตะโกนถามว่าจะไปไหนผู้เสียหายบอกว่าจะไปลอยอวน เมื่อสิ้นเสียงก็มีเสียงปืนดังขึ้นในที่ชุลมุนกัน2 นัด มีเสียงพูดว่าต้องเก็บมันด้วย แล้วมีเสียงปืนดังติดกันหลายนัดจนผู้เสียหายถูกกระสุนปืนหมดสติไป ผู้เสียหายมิได้ให้การถึงพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยตลอดจนอาวุธปืนที่จำเลยใช้เหมือนที่เบิกความต่อศาล เห็นว่า คดีนี้โจทก์มีแต่ผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานปากเดียว การที่ผู้เสียหายเบิกความแตกต่างจากคำให้การชั้นสอบสวนและเบิกความขัดแย้งกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ ทำให้น่าสงสัยว่าผู้เสียหายจำคนร้ายที่ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายได้แน่นอนว่าเป็นจำเลยหรือไม่ ส่วนที่โจทก์อ้างรายงานการสืบสวนของร้อยตำรวจตรีสุนิตย์เอกสารหมาย จ.15 ระบุว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกระทำผิดคดีนี้ โจทก์ก็มิได้นำร้อยตำรวจตรีสุนิตย์มาเบิกความทำให้จำเลยไม่มีโอกาสซักค้านเพื่อให้ข้อเท็จจริงเป็นที่กระจ่างแก่ศาลว่าร้อยตำรวจตรีสุนิตย์สืบสวนได้ข้อเท็จจริงมาอย่างไร ทั้งรายงานการสืบสวนดังกล่าวระบุว่าคนร้ายมี 8 คน แตกต่างกับที่ผู้เสียหายเบิกความว่าคนร้ายมี 5 คน อีกด้วย พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบทั้งหมดเมื่อประมวลแล้วเห็นว่ายังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยอาจจะไม่ใช่คนร้ายที่ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหาย ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง และเมื่อพยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายในเวลาเกิดเหตุจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตในเวลาเกิดเหตุ และไม่มีความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรในเวลาเกิดเหตุด้วย
++ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8พิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยฟังขึ้น
++ สำหรับปลอกกระสุนปืนของกลางซึ่งตกอยู่ในที่เกิดเหตุ เป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำผิด จึงเห็นสมควรให้ริบปลอกกระสุนปืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
พิพากษากลับให้ยกฟ้อง แต่คงให้ริบของกลาง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คแล้วกลับปฏิเสธการผ่อนชำระ ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ระหว่างพิจารณา จำเลยและโจทก์ร่วมแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าคดีตกลงกันได้ โดยจำเลยจะชำระเงินตามเช็คพิพาท โดยชำระงวดแรกจำนวน 100,000 บาท งวดต่อไปทุกวันที่ 20 ของเดือนถัดไป โดยชำระไม่ต่ำกว่างวดละ 50,000 บาท และต้องชำระหนี้ทั้งหมดภายใน 1 ปี 6 เดือน นับแต่วันชำระงวดแรก โดยจำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามรายงานกระบวนพิจารณาเป็นหลักฐานแสดงว่าจำเลยยอมรับผิดตามฟ้อง และคดีไม่จำต้องสืบพยานอีกต่อไป แต่จำเลยและโจทก์ร่วมตกลงให้ศาลเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไปเพื่อให้โอกาสจำเลยมีเวลาหาเงินมาผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ร่วม โดยจำเลยยังคงรับผิดในหนี้ตามเช็คทุกฉบับ รวมตลอดถึงโทษทางอาญาที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาในวันนัดที่เลื่อนไป จึงไม่มีการตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลย ไม่มีการผ่อนผันลดจำนวนหนี้ลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของมูลหนี้ ต่อมาโจทก์ร่วมไม่ยอมรับเช็คธนาคาร (แคชเชียร์เช็ค) ที่จำเลยนำมามอบให้ และขอให้จำเลยผ่อนชำระหนี้งวดละไม่น้อยกว่า 150,000 บาท จำเลยยืนยันจะชำระหนี้ตามที่แถลงไว้ โจทก์ร่วมขอให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา จำเลยถอนคำให้การรับสารภาพพร้อมกับให้การปฏิเสธขอสู้คดีต่อไป ซึ่งศาลชั้นต้นสืบพยานของทั้งสองฝ่ายจนจบสิ้นกระแสความ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงเจตนาของโจทก์ร่วมและจำเลยว่าไม่ประสงค์ให้รายงานกระบวนพิจารณามีผลผูกพันให้โจทก์ร่วมและจำเลยต้องปฏิบัติตามโดยฝ่ายใดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นอย่างอื่นไม่ได้ รายงานกระบวนพิจารณาจึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของวิศวกรออกแบบต่อเติมอาคารที่ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตจากความผิดพลาดในการคำนวณโครงสร้าง
จำเลยที่ 1 เป็นวิศวกรผู้คำนวณโครงสร้างการรับน้ำหนักของอาคารจำเลยที่ 9 ในการปลูกสร้างย่อมต้องทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารดังกล่าวได้กำหนดการรับน้ำหนักไว้เพียง 4 ชั้นรวมชั้นใต้ดิน แต่จำเลยที่ 1 กลับมาคำนวณออกแบบต่อเติมอาคารโดยที่ทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารเดิมรับน้ำหนักส่วนที่ต่อเติมไม่ได้และยังใช้ฐานรากและเสาในแนวซีซึ่งออกแบบให้รับน้ำหนักไว้เพียง 2 ชั้นเป็นจุดเชื่อมต่ออาคารเดิมและอาคารที่ต่อเติม ทำให้น้ำหนักของอาคารทั้งหมดถ่ายเทลงสู่เสาและฐานรากในแนวซีให้ต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังเบิกความและยอมรับในฎีกาว่าได้ดูแบบแปลนของอาคารเดิมดูสภาพของอาคารที่มีอยู่เดิมและทราบว่าเสาในแนวซีต้นที่ 176 มีขนาด และส่วนประกอบผิดไปจากแปลน เช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามวิธีการอันพึงกระทำในการออกแบบเพราะเดิมจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ออกแบบ เมื่อพบเห็นสภาพอาคารก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนเช่นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาข้อมูลที่ถูกต้องให้ได้มากที่สุดว่าโครงสร้างอาคารเดิมมั่นคงแข็งแรงพอจะรับน้ำหนักอาคารในส่วนที่ต่อเติมได้อีกหรือไม่ โดยการสอบถามหรือขอข้อมูลเดิมจากสถาปนิกและวิศวกรที่ออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเดิม แต่จำเลยที่ 1 ก็หาได้ทำเช่นนั้นไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้เหตุที่อาคารจำเลยที่ 9 พังทลายจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายก็เป็นเพราะจำเลยที่ 1 คำนวณออกแบบโครงสร้างและการรับน้ำหนักของอาคารไว้ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 โดยตรง การกระทำของจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 227 ประกอบกับมาตรา 238
กรรมการของจำเลยที่ 9 ตลอดจนจำเลยที่ 15 มิได้เป็นวิศวกร ย่อมไม่อาจทราบถึงความมั่นคงแข็งแรงของอาคารจำเลยที่ 9 ว่าจะต่อเติมได้หรือไม่และใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าการประกอบกิจการโรงแรมต้องต่อใบอนุญาตทุกปีและจำเลยที่ 9 ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงแรมตลอดมา ก่อนออกใบอนุญาตในแต่ละปีจะมีเจ้าพนักงานทั้งของเทศบาลและของจังหวัดมาตรวจสอบอาคารในด้านความมั่นคงปลอดภัย ความสะอาด การระบายอากาศและสุขอนามัย ซึ่งเจ้าพนักงานดังกล่าวไม่เคยทักท้วงว่าอาคารจำเลยที่ 9 ไม่มั่นคงปลอดภัยแต่อย่างใด ประกอบกับกรรมการของจำเลยที่ 9 ตลอดจนจำเลยที่ 15 ล้วนแต่ทำงานหรือใช้ประโยชน์อยู่ในอาคารดังกล่าวทั้งสิ้นหากทราบว่าอาคารไม่มั่นคงปลอดภัยย่อมจะไม่มีผู้ใดยอมเสี่ยงชีวิตเข้าไปทำงานหรือใช้ประโยชน์ในอาคารจำเลยที่ 9 อย่างแน่นอน เพราะทุกคนย่อมรักชีวิตของตนยิ่งกว่าผลประโยชน์รายได้ทางธุรกิจ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 9 ที่ 10 และที่ 12 ถึงที่ 15 กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 จึงยังมีความสงสัยตามสมควรตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
การตรวจคำขอก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารนั้นพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 28 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้คำนวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณที่ได้ยื่นมาพร้อมคำขอตามมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 23 หรือมาตรา 24 เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแต่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคำขอก่อสร้างต่อเติมอาคารของจำเลยที่ 9 มีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเป็นผู้ออกแบบคำนวณโครงสร้างและลงชื่อรับรองมาด้วย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมไม่จำต้องตรวจแบบแปลนหรือรายการคำนวณโครงสร้างเพื่อให้ทราบว่าโครงสร้างอาคารเดิมมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักอาคารส่วนต่อเติมได้หรือไม่ เพราะเป็นรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งจำเลยที่ 1 ยังบันทึกหมายเหตุไว้ในใบปะหน้าการคำนวณว่าได้ทำการตรวจสอบดูแล้วฐานรากและส่วนของอาคารเดิมสามารถรับน้ำหนักส่วนต่อเติมได้มาแสดงด้วย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ตรวจคำขอต่อเติมอาคารจำเลยที่ 9 และทำความเห็นเสนอต่อจำเลยที่ 7 และที่ 8 ว่าควรอนุญาตให้จำเลยที่ 9 ต่อเติมอาคารได้ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ไปโดยชอบแล้ว ส่วนจำเลยที่ 7 และที่ 8 นั้น ได้พิจารณาและสั่งอนุญาตให้ต่อเติมได้ตามความเห็นที่เสนอขึ้นมาโดยชอบของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ทั้งไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด อันเป็นเจตนาพิเศษซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อย่างไร จำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ย่อมไม่มีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 28 กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแต่เฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งในการคำนวณเกี่ยวกับรายละเอียดของวิศวกรรมนั้นวิศวกรผู้คำนวณและออกแบบจะต้องปฏิบัติตามค่ากำหนดที่ปรากฏในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ส่วนวิศวกรของเทศบาลผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบทางด้านวิศวกรรมนั้นไม่ต้องตรวจในรายละเอียดของหลักวิศวกรรมศาสตร์ เพียงแต่ต้องตรวจและพิจารณาว่ามีการปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงหลักการและเหตุผลในการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 แล้ว เป็นการออกมาเพื่อรองรับมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แม้กฎกระทรวงดังกล่าวจะไม่ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 28 ก็ตาม โจทก์จะอ้างว่าขณะที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ตรวจพิจารณาคำขออนุญาตดัดแปลง ต่อเติมอาคารของจำเลยที่ 9 ยังไม่มีการออกกฎกระทรวงรองรับ จึงไม่อาจนำความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาใช้ไม่ได้
จำเลยที่ 1 เป็นวิศวกรผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ย่อมมีความรู้ความชำนาญในการออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารอันเป็นที่เชื่อถือแก่บุคคลทั่วไป การที่จำเลยที่ 1 รับจ้างออกแบบคำนวณต่อเติมและควบคุมการก่อสร้างต่อเติมอาคารเกิดเหตุ ซึ่งเป็นโรงแรมอันเป็นอาคารสาธารณะที่มีประชาชนจำนวนมากมาใช้บริการ จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ความระมัดระวังและคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลเหล่านั้นเป็นพิเศษตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ โดยต้องออกแบบและคำนวณโครงสร้างให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่จำเลยที่ 1 กลับประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพโดยไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษและออกแบบไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ อันเป็นเหตุให้อาคารเกิดเหตุพังทลายทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก พฤติการณ์และสภาพความผิดของจำเลยที่ 1 จึงร้ายแรงสมควรลงโทษสถานหนัก
กรรมการของจำเลยที่ 9 ตลอดจนจำเลยที่ 15 มิได้เป็นวิศวกร ย่อมไม่อาจทราบถึงความมั่นคงแข็งแรงของอาคารจำเลยที่ 9 ว่าจะต่อเติมได้หรือไม่และใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าการประกอบกิจการโรงแรมต้องต่อใบอนุญาตทุกปีและจำเลยที่ 9 ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงแรมตลอดมา ก่อนออกใบอนุญาตในแต่ละปีจะมีเจ้าพนักงานทั้งของเทศบาลและของจังหวัดมาตรวจสอบอาคารในด้านความมั่นคงปลอดภัย ความสะอาด การระบายอากาศและสุขอนามัย ซึ่งเจ้าพนักงานดังกล่าวไม่เคยทักท้วงว่าอาคารจำเลยที่ 9 ไม่มั่นคงปลอดภัยแต่อย่างใด ประกอบกับกรรมการของจำเลยที่ 9 ตลอดจนจำเลยที่ 15 ล้วนแต่ทำงานหรือใช้ประโยชน์อยู่ในอาคารดังกล่าวทั้งสิ้นหากทราบว่าอาคารไม่มั่นคงปลอดภัยย่อมจะไม่มีผู้ใดยอมเสี่ยงชีวิตเข้าไปทำงานหรือใช้ประโยชน์ในอาคารจำเลยที่ 9 อย่างแน่นอน เพราะทุกคนย่อมรักชีวิตของตนยิ่งกว่าผลประโยชน์รายได้ทางธุรกิจ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 9 ที่ 10 และที่ 12 ถึงที่ 15 กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 จึงยังมีความสงสัยตามสมควรตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
การตรวจคำขอก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารนั้นพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 28 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้คำนวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณที่ได้ยื่นมาพร้อมคำขอตามมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 23 หรือมาตรา 24 เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแต่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคำขอก่อสร้างต่อเติมอาคารของจำเลยที่ 9 มีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเป็นผู้ออกแบบคำนวณโครงสร้างและลงชื่อรับรองมาด้วย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมไม่จำต้องตรวจแบบแปลนหรือรายการคำนวณโครงสร้างเพื่อให้ทราบว่าโครงสร้างอาคารเดิมมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักอาคารส่วนต่อเติมได้หรือไม่ เพราะเป็นรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งจำเลยที่ 1 ยังบันทึกหมายเหตุไว้ในใบปะหน้าการคำนวณว่าได้ทำการตรวจสอบดูแล้วฐานรากและส่วนของอาคารเดิมสามารถรับน้ำหนักส่วนต่อเติมได้มาแสดงด้วย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ตรวจคำขอต่อเติมอาคารจำเลยที่ 9 และทำความเห็นเสนอต่อจำเลยที่ 7 และที่ 8 ว่าควรอนุญาตให้จำเลยที่ 9 ต่อเติมอาคารได้ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ไปโดยชอบแล้ว ส่วนจำเลยที่ 7 และที่ 8 นั้น ได้พิจารณาและสั่งอนุญาตให้ต่อเติมได้ตามความเห็นที่เสนอขึ้นมาโดยชอบของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ทั้งไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด อันเป็นเจตนาพิเศษซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อย่างไร จำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ย่อมไม่มีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 28 กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแต่เฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งในการคำนวณเกี่ยวกับรายละเอียดของวิศวกรรมนั้นวิศวกรผู้คำนวณและออกแบบจะต้องปฏิบัติตามค่ากำหนดที่ปรากฏในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ส่วนวิศวกรของเทศบาลผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบทางด้านวิศวกรรมนั้นไม่ต้องตรวจในรายละเอียดของหลักวิศวกรรมศาสตร์ เพียงแต่ต้องตรวจและพิจารณาว่ามีการปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงหลักการและเหตุผลในการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 แล้ว เป็นการออกมาเพื่อรองรับมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แม้กฎกระทรวงดังกล่าวจะไม่ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 28 ก็ตาม โจทก์จะอ้างว่าขณะที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ตรวจพิจารณาคำขออนุญาตดัดแปลง ต่อเติมอาคารของจำเลยที่ 9 ยังไม่มีการออกกฎกระทรวงรองรับ จึงไม่อาจนำความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาใช้ไม่ได้
จำเลยที่ 1 เป็นวิศวกรผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ย่อมมีความรู้ความชำนาญในการออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารอันเป็นที่เชื่อถือแก่บุคคลทั่วไป การที่จำเลยที่ 1 รับจ้างออกแบบคำนวณต่อเติมและควบคุมการก่อสร้างต่อเติมอาคารเกิดเหตุ ซึ่งเป็นโรงแรมอันเป็นอาคารสาธารณะที่มีประชาชนจำนวนมากมาใช้บริการ จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ความระมัดระวังและคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลเหล่านั้นเป็นพิเศษตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ โดยต้องออกแบบและคำนวณโครงสร้างให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่จำเลยที่ 1 กลับประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพโดยไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษและออกแบบไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ อันเป็นเหตุให้อาคารเกิดเหตุพังทลายทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก พฤติการณ์และสภาพความผิดของจำเลยที่ 1 จึงร้ายแรงสมควรลงโทษสถานหนัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฎีกาในคดีอาญา: โจทก์ฟ้องฐานใด ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษฐานนั้น ย่อมถือว่าโจทก์ได้รับความยุติธรรมแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรฐานใดฐานหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจรต้องถือว่าศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยเต็มตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เพื่อให้ลงโทษจำเลยเป็นอย่างอื่นได้อีก
คดีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินที่จำเลยรับไว้ในการกระทำผิดฐานรับของโจรและยังไม่ได้คืนให้แก่ผู้เสียหายเท่านั้น หาใช่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามฟ้องไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวนเต็มตามฟ้องให้แก่ผู้เสียหายนั้นยังไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คดีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินที่จำเลยรับไว้ในการกระทำผิดฐานรับของโจรและยังไม่ได้คืนให้แก่ผู้เสียหายเท่านั้น หาใช่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามฟ้องไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวนเต็มตามฟ้องให้แก่ผู้เสียหายนั้นยังไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษทางอาญาต้องรอคดีถึงที่สุด การโต้แย้งเรื่องความชอบด้วยกฎหมายทำได้ในชั้นฎีกาแม้ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นต้น
ปัญหาว่าการเพิ่มโทษจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อโจทก์มิได้แก้ฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวอ้างในฎีกา จึงต้องฟังว่าขณะที่จำเลยกระทำความผิดคดีนี้ คดีซึ่งโจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษยังไม่ถึงที่สุด ศาลชั้นต้นจะเพิ่มโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานและการพิสูจน์ความผิดทางอาญา โดยเฉพาะการระบุตัวผู้กระทำผิด
เหตุเกิดในเวลากลางคืน บริเวณที่เกิดเหตุมีแสงสว่างไม่มากที่ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุ 6 ปี เบิกความว่าจำเลยเอาไฟแช็กมาจุดที่ปากนั้น แม้จะมีแสงสว่างเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ในพฤติการณ์ที่กำลังถูกประทุษร้ายเช่นนั้น ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นเด็กย่อมต้องตกใจกลัวยากที่จะจำหน้าคนร้ายได้แม่นยำและจากคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 2ว่าจำเลยเป็นเพื่อนบ้านกับตนรู้จักกันมาประมาณ 10 ปีแล้ว แสดงว่าผู้เสียหายที่ 1 ต้องเคยพบเห็นจำเลยมาก่อนเพราะบ้านอยู่ใกล้เคียงกันแต่กลับมิได้บอกผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาหรือผู้ใดเลยว่าเคยเห็นหน้าคนร้ายมาก่อน ภาพคนร้ายที่ยกร่างตามคำบอกเล่าผู้เสียหายที่ 1 ก็มิได้คล้ายคลึงกับภาพของจำเลยตามภาพถ่าย คงเหมือนกันเพียงเป็นคนที่ไว้หนวดและเคราเท่านั้น การที่ผู้เสียหายที่ 1 ชี้ตัวจำเลยได้ถูกต้องในชั้นสอบสวนก็ไม่ปรากฏว่าคนที่เจ้าพนักงานตำรวจนำไปให้ผู้เสียหายที่ 1ชี้ตัวนั้นไว้หนวดและเคราทุกคนหรือไม่ น่าสงสัยว่าที่ผู้เสียหายที่ 1 อ้างว่าจำจำเลยได้นั้นจะจำได้จริงหรือไม่หรือจำได้เพียงการไว้หนวดและเคราเท่านั้น เมื่อพิจารณาประกอบกับการที่ผู้เสียหายที่ 1 เบิกความต่อศาลด้วยการพยักหน้าและส่ายหน้าเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากการใช้คำถามนำของโจทก์เกือบทั้งหมดด้วยแล้ว ทำให้เห็นว่าคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1ไม่มีน้ำหนักในการรับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำทางอาญา: การกระทำความผิดกรรมเดียวกัน แม้ต่างฐานความผิด สิทธิฟ้องระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(4)
ความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐในคดีก่อนกับความผิดตามฟ้องคดีนี้ ระยะเวลาที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุและการกระทำของจำเลยเป็นครั้งเดียวกัน แม้ฐานความผิดจะต่างกันก็เป็นความผิดกรรมเดียวกัน เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยในการกระทำความผิดดังกล่าวจนศาลพิพากษาลงโทษคดีถึงที่สุดไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) โจทก์มาฟ้องจำเลยอีก แม้จะอ้างบทลงโทษตาม พ.ร.บ. แร่ ก็เป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9557/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบทอาญา ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด แม้ไม่มีการอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 300 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ววางโทษจำคุก 1 ปี ลดโทษกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 6 เดือน โดยมิได้ระบุให้ลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ส่วนนี้จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง โดยระบุให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 300 อันเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8877/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางโทษทวีคูณในความผิดเครื่องหมายการค้า การปรับถือเป็นโทษทางอาญา
การปรับเป็นโทษอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18(4) ดังนั้น เพียงแต่ได้รับโทษปรับก็ถือว่าต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 113 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6883/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีรื้อฟื้นคดีอาญาซ้ำๆ และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526มาตรา 16 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีโดยอนุโลมด้วย การพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 40 แห่ง ป.วิ.พ. ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15ว่ามีเหตุจำเป็นและสมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่
ในวันนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถมาศาลได้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาต แต่เมื่อถึงวันนัดที่เลื่อนไป ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี อ้างเหตุว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถเดินได้และระบุในคำร้องว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังมีอาการป่วยมาศาลไม่ได้ก็จะขอถอนคำร้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดไต่สวนคำร้องและกำชับให้ผู้ร้องนำพยานมาสืบในนัดหน้า แต่เมื่อถึงวันนัดทนายความของผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าผู้ร้องป่วยเนื่องจากกระดูกต้นคองอกทับเส้นประสาทพึ่งได้รับการผ่าตัด มีอาการมึนงงไม่สามารถตอบคำถามได้และไม่สามารถลุกนั่งได้ด้วยตนเอง และรับรองว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังไม่สามารถมาศาลได้ ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและยกคำร้องของผู้ร้องเสีย ศาลชั้นต้นอนุญาต เมื่อรวมระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นเวลาถึง 6 เดือนเศษ การที่ผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุผลอย่างเดิมอีกพฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้ให้ความสนใจต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีตามที่ร้องขอ
กระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่ พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526มาตรา 9 วรรคสาม บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เมื่อได้ไต่สวนคำร้องแล้ว ให้ศาลที่ไต่สวนคำร้องส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์โดยไม่ชักช้า ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 13 (2)ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ บทบัญญัติดังกล่าวหาได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ด้วยไม่
ในวันนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถมาศาลได้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาต แต่เมื่อถึงวันนัดที่เลื่อนไป ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี อ้างเหตุว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถเดินได้และระบุในคำร้องว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังมีอาการป่วยมาศาลไม่ได้ก็จะขอถอนคำร้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดไต่สวนคำร้องและกำชับให้ผู้ร้องนำพยานมาสืบในนัดหน้า แต่เมื่อถึงวันนัดทนายความของผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าผู้ร้องป่วยเนื่องจากกระดูกต้นคองอกทับเส้นประสาทพึ่งได้รับการผ่าตัด มีอาการมึนงงไม่สามารถตอบคำถามได้และไม่สามารถลุกนั่งได้ด้วยตนเอง และรับรองว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังไม่สามารถมาศาลได้ ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและยกคำร้องของผู้ร้องเสีย ศาลชั้นต้นอนุญาต เมื่อรวมระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นเวลาถึง 6 เดือนเศษ การที่ผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุผลอย่างเดิมอีกพฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้ให้ความสนใจต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีตามที่ร้องขอ
กระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่ พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526มาตรา 9 วรรคสาม บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เมื่อได้ไต่สวนคำร้องแล้ว ให้ศาลที่ไต่สวนคำร้องส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์โดยไม่ชักช้า ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 13 (2)ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ บทบัญญัติดังกล่าวหาได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ด้วยไม่