พบผลลัพธ์ทั้งหมด 971 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9504/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดก vs. สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก: ผลต่ออำนาจการเป็นผู้จัดการมรดก
บันทึกข้อตกลงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านและ ว. ทำกันหน้าเจ้าพนักงานตำรวจมีข้อความชัดแจ้งว่า ผู้ร้องและ ว. ขอสละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านและยอมให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์มรดกแต่เพียงผู้เดียว แต่การเจาะจงให้ทรัพย์มรดกแก่ผู้คัดค้านเช่นนี้เป็นการยกทรัพย์มรดกส่วนของตนให้แก่ทายาทคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่การสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 อย่างไรก็ดีแม้ข้อตกลงระหว่างผู้ร้องและ ว. ฝ่ายหนึ่งกับผู้คัดค้านอีกฝ่ายหนึ่ง ดังกล่าว จะไม่ใช่หนังสือสละมรดกตามกฎหมายแต่ก็มีลักษณะเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก เมื่อทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือดังกล่าวแล้ว ย่อมผูกพันคู่สัญญาตามมาตรา 1750 วรรคสองผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกและไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้ตั้ง ว. เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยหรือซึ่งจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(2) การที่ลูกจ้างและกรรมการของจำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ อ. ม. และ ส. ซึ่งเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลย โดยบุคคลทั้งสามไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315 หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไปและการรับชำระหนี้ดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและบุคคลทั้งสาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะต้องใช้สิทธิในการทวงถามหนี้เงินกู้ดังกล่าวจากลูกจ้างและกรรมการของจำเลยผู้กู้ยืมเงินจำนวนนั้นต่อไป ไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 119 เรียกร้องให้อ. ม. และ ส. ชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7947/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฎีกาและการแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบ
จำเลยยื่นฎีกาโดย ธ. ทนายจำเลยลงชื่อเป็นผู้ฎีกาแทนจำเลย แต่ใบแต่งทนายไม่ได้ระบุให้ทนายความมีอำนาจฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการแก้ไขข้อบกพร่องโดยให้จำเลยลงชื่อในฐานะผู้ฎีกาในคำฟ้องฎีกาให้ถูกต้อง จำเลยไม่มาแก้ไขข้อบกพร่องภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด คำฟ้องฎีกาของจำเลยจึงมี ธ. ทนายความของจำเลยลงชื่อเป็นผู้ยื่นฎีกาแทนจำเลยโดยไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกาได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 62 คำฟ้องฎีกาของจำเลยที่ ธ. ลงชื่อเป็นผู้ฎีกาจึงเป็นคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินกรณีมีข้อโต้แย้ง และสิทธิฟ้องร้องของคู่กรณี
การรังวัดออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ประชาชน หากมีผู้โต้แย้งคัดค้าน เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจทำการสอบสวนเปรียบเทียบถ้าตกลงกันได้ก็ดำเนินการไปตามที่ตกลง หากตกลงกันไม่ได้ เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจพิจารณาสั่งการไปตามที่เห็นสมควรตาม ป. ที่ดิน มาตรา 60 วรรคแรก ซึ่งคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินหาเป็นยุติไม่ คู่กรณีฝ่ายที่ไม่พอใจคำสั่งมีสิทธิที่จะฟ้องคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งต่อศาลได้ภายใน 60 วัน นับแต่ได้ทราบคำสั่งดังกล่าว การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินมีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแก่ จ. อันเป็นการใช้ดุลพินิจสั่งการตามที่ตนได้ทำการสอบสวนเปรียบเทียบไปโดยสุจริตตามอำนาจหน้าที่ชอบด้วย มาตรา 60 แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6703/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งพักงานทางวินัยของนายจ้างและการฟ้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เกี่ยวข้อง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ตาม พ.ร.บ.การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 มีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยโจทก์ กรณีโจทก์ถูกกล่าวหาว่าทุจริตในการเบิกค่าเช่าบ้าน ไม่ว่าการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยดังกล่าวจะชอบด้วยระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนยังมิได้ใช้อำนาจในฐานะนายจ้างมีคำสั่งอันเนื่องมาจากการสอบสวนตามคำสั่งดังกล่าวให้มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนยังทำการสอบสวนไม่เสร็จ และจำเลยที่ 1 ยังมิได้มีความเห็นหรือมีมติว่าโจทก์มีความผิดและมีคำสั่งที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์ จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยดังกล่าว
อุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่มิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พ.ร.บ. การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 มาตรา 23 บัญญัติว่า "ผู้ว่าการมีอำนาจ (1) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตำแหน่งตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั้นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการฝ่าย หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน..." และข้อบังคับการประปาภูมิภาค ระบุว่า "ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ปฏิบัติงานผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ผู้ว่าการจะสั่งให้พักงานหรือสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนก็ได้..." เมื่อโจทก์ถูกกล่าวหาว่าทุจริตในการเบิกค่าเช่าบ้านซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้นโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค จึงมีอำนาจสั่งให้พักงานโจทก์ไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนทางวินัยได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 1 จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก็ไม่มีผลกระทบต่อคำสั่งที่ให้พักงานโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งให้พักงานดังกล่าว
อุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่มิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พ.ร.บ. การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 มาตรา 23 บัญญัติว่า "ผู้ว่าการมีอำนาจ (1) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตำแหน่งตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั้นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการฝ่าย หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน..." และข้อบังคับการประปาภูมิภาค ระบุว่า "ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ปฏิบัติงานผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ผู้ว่าการจะสั่งให้พักงานหรือสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนก็ได้..." เมื่อโจทก์ถูกกล่าวหาว่าทุจริตในการเบิกค่าเช่าบ้านซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้นโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค จึงมีอำนาจสั่งให้พักงานโจทก์ไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนทางวินัยได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 1 จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก็ไม่มีผลกระทบต่อคำสั่งที่ให้พักงานโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งให้พักงานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการค้ำประกันหนี้ - ผลผูกพันบริษัท - อากรแสตมป์ - การรับรองการทำสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธ ถือว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 รับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันตามฟ้อง ข้อเท็จจริงย่อมฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันตามที่โจทก์ฟ้องโดยโจทก์ไม่ต้องอาศัยสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานอีกแต่อย่างใด ที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่า สัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ. 56 ต้องปิดอากรแสตมป์ 20 บาท แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์มาเพียง 10 บาท จึงไม่ครบถ้วน ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันแทนจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันอันเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 4 ตรงตามข้อบังคับของจำเลยที่ 4 ที่ได้จดทะเบียนไว้ในหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ. 5 ทั้งในหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ. 5 ก็มิได้มีข้อความจำกัดอำนาจของกรรมการผู้มีอำนาจไว้ การลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันในฐานะกรรมการจำเลยที่ 4 พร้อมประทับตราจำเลยที่ 4 ดังกล่าว ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 4 ส่วนการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ โดยไม่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการของจำเลยที่ 4 ก็เป็นเรื่องระเบียบข้อบังคับภายในของจำเลยที่ 4 ไม่มีผลทำให้อำนาจของกรรมการในการกระทำการแทนจำเลยที่ 4 ตามที่จดทะเบียนไว้แก่นายทะเบียนเปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันแทนจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันอันเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 4 ตรงตามข้อบังคับของจำเลยที่ 4 ที่ได้จดทะเบียนไว้ในหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ. 5 ทั้งในหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ. 5 ก็มิได้มีข้อความจำกัดอำนาจของกรรมการผู้มีอำนาจไว้ การลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันในฐานะกรรมการจำเลยที่ 4 พร้อมประทับตราจำเลยที่ 4 ดังกล่าว ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 4 ส่วนการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ โดยไม่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการของจำเลยที่ 4 ก็เป็นเรื่องระเบียบข้อบังคับภายในของจำเลยที่ 4 ไม่มีผลทำให้อำนาจของกรรมการในการกระทำการแทนจำเลยที่ 4 ตามที่จดทะเบียนไว้แก่นายทะเบียนเปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4371-4451/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้แทนสหภาพแรงงานทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยไม่ต้องผ่านมติที่ประชุมใหญ่
การที่สหภาพแรงงาน ท. ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยที่ 8 (นายจ้าง) ขอให้จำเลยที่ 8 พิจารณาจัดเงินช่วยเหลือค่าดำรงชีพแก่พนักงาน ให้จำเลยที่ 8 ยืนยันความมั่นคงในเรื่องโบนัส เปอร์เซ็นต์การขึ้นเงิน อัตรากำลังคน และให้ปรับปรุงสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลด้วย ซึ่งในการดำเนินกิจการอันกระทบกระเทือนถึงส่วนที่เสียของสมาชิกเป็นส่วนรวมดังกล่าว ที่ประชุมใหญ่สมาชิกสหภาพแรงงานฯ ได้ให้การรับรองและแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 เป็นตัวแทนเข้าร่วมเจรจาต่อรองกับจำเลยที่ 8 กรณีที่กล่าวมาจึงเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 103 (2) มาตรา 13 วรรคสาม และมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แล้ว ดังนั้นเมื่อต่อมาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ได้เข้าร่วมเจรจาต่อรองกับจำเลยที่ 8 หลายครั้งตามมาตรา 16 จนทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 ได้ โดยเฉพาะเงินโบนัสจำเลยที่ 8 ตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี เฉพาะงวดการจ่ายวันที่ 30 มิถุนายน 2542 อัตราเฉลี่ย 1.4 เท่าของเงินเดือนตามเอกสารหมาย จ.3 ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ได้รับมอบหมายให้ไปเจรจากับจำเลยที่ 8 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ในฐานะผู้แทนของสหภาพแรงงาน ท. ที่เข้าร่วมเจรจาตกลงดังกล่าวย่อมมีสิทธิทำข้อตกลงเกี่ยวกับเงินโบนัสอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับจำเลยที่ 8 ได้ตามมาตรา 18 โดยมิจำต้องให้ที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงาน ท. มีมติให้การรับรองอีกครั้ง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวจึงมีผลบังคับและผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ท.ตามมาตรา 19 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 8 ได้จ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ดังกล่าวไปครบถ้วนในอัตรา 1.4 เท่าของเงินเดือนตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเอกสารหมาย จ.3 แล้ว จำเลยที่ 8 จึงไม่ต้องจ่ายเงินโบนัสตามฟ้องให้แก่โจทก์ทั้งแปดสิบเอ็ดสำนวนอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความขอบเขตเกินคดีแรงงาน และการไกล่เกลี่ยคดีแรงงาน
ใบแต่งทนายความของโจทก์ ในคดีแรงงานระบุไว้ชัดว่าให้ทนายโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของโจทก์ด้วย เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ ทนายความโจทก์จึงมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงานจะมีข้อตกลงด้วยว่า โจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญาของศาลจังหวัดเชียงราย และถอนฟ้อง ถอนคำร้องทุกข์ในคดีอื่น ๆ และสัญญาว่าโจทก์จำเลยต่างจะไม่ดำเนินคดีใด ๆ ต่อกันอีก ไม่ว่าทางแพ่งหรืออาญาก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวทำนอกเหนือขอบอำนาจที่โจทก์มอบหมาย เพราะตามใบแต่งทนายความมิได้จำกัดไว้แต่เฉพาะคดีแรงงานเท่านั้น ทั้งข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวเนื่องกับข้อตกลงซึ่งเป็นประเด็นที่พิพาทกันในคดีแรงงาน
โจทก์ในคดีอาญามีอำนาจถอนฟ้องได้ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือก่อนคดีถึงที่สุดแล้วแต่กรณี ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 35 ข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนฟ้องและถอนคำร้องทุกข์จึงไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ในการพิจารณาคดีแรงงานศาลจะต้องดำเนินการไกล่เกลี่ยตั้งแต่แรกที่คู่ความมาพร้อมกันแล้วและไกล่เกลี่ยตลอดไปจนเสร็จการพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 38 และมาตรา 43 บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงกันได้โดยมิได้จำกัดให้ศาลแรงงานต้องไกล่เกลี่ยได้แต่เฉพาะคดีแรงงาน
โจทก์ในคดีอาญามีอำนาจถอนฟ้องได้ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือก่อนคดีถึงที่สุดแล้วแต่กรณี ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 35 ข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนฟ้องและถอนคำร้องทุกข์จึงไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ในการพิจารณาคดีแรงงานศาลจะต้องดำเนินการไกล่เกลี่ยตั้งแต่แรกที่คู่ความมาพร้อมกันแล้วและไกล่เกลี่ยตลอดไปจนเสร็จการพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 38 และมาตรา 43 บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงกันได้โดยมิได้จำกัดให้ศาลแรงงานต้องไกล่เกลี่ยได้แต่เฉพาะคดีแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7381/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7381/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องเป็นการกระทำของนายจ้างโดยตรง การแจ้งความประสงค์โดยผู้ไม่มีอำนาจไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลและผู้บังคับบัญชาของโจทก์แจ้งให้โจทก์ทราบว่านายจ้างเลิกจ้าง กับนำหนังสือแจ้งการเลิกจ้างเอกสารหมาย ล. 2 มาให้โจทก์ดู ซึ่งจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้มีคำสั่งเลิกจ้างลงมาด้วยตนเอง และจำเลยที่ 2 สั่งการในหนังสือเอกสารหมาย ล. 2 ว่า ยังไม่สมควรเลิกจ้าง แต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลมิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ทราบ หนังสือเอกสารหมาย ล. 2 เป็นหนังสือที่ ว. มีถึง พ. เพื่อขอเลิกจ้างโจทก์ และ พ. บันทึกความเห็นว่า สมควรเลิกจ้างโจทก์เสนอต่อจำเลยที่ 2 มิใช่หนังสือที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างแจ้งไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไป จึงมิใช่หนังสือเลิกจ้าง ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ย่อมเป็นที่เข้าใจแก่คนทั่วไปว่า จำเลยทั้งสองผู้เป็นนายจ้างมีความประสงค์ที่จะเลิกจ้างโจทก์นั้น ก็ขัดกับข้อความที่จำเลยที่ 2 บันทึกไว้ในเอกสารหมาย ล. 2 ว่า ไม่ควรเลิกจ้าง ให้เรียกมาตกลงกันใหม่โดยทำหนังสือเป็นข้อตกลง ส่วนการที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลและผู้บังคับบัญชาของโจทก์นำหนังสือเอกสารหมาย ล. 2 แจ้งให้โจทก์ทราบว่า จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์นั้นก็ไม่มีผลเป็นการเลิกจ้างเนื่องจากบุคคลดังกล่าวไม่มีอำนาจเลิกจ้างและหนังสือเอกสารหมาย ล. 2 ก็มิใช่หนังสือเลิกจ้าง ทั้งข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมาก็ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่า จำเลยที่ 2 เชิดเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือ พ. ให้เป็นตัวแทนและมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้เลิกจ้างโจทก์ จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์