พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,515 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของลูกหนี้ที่ฟื้นฟูกิจการ: การทวงหนี้ก่อนศาลสั่งฟื้นฟูต้องแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่ลูกหนี้ที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้หรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ตนเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และบุคคลภายนอกนั้นไม่ได้รับว่าเป็นหนี้ลูกหนี้หรือมีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครอง ย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 แต่หากสิทธิเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งอาจเกิดจากการกระทำของผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี ก็เป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนจะต้องไปใช้วิธีการฟ้องร้องต่อศาลเป็นคดีแพ่งต่างหาก ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9), 90/25 และ 90/59 คดีนี้สิทธิเรียกร้องที่มีต่อบุคคลภายนอกของโจทก์ ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ ผู้ทำแผนจึงต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 ดังกล่าว โจทก์โดยผู้ทำแผนไม่มีอำนาจฟ้องคดีเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3132/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-ขาดอำนาจฟ้อง: การถอนฟ้องไม่สมบูรณ์หากคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล
การถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง ดังนี้ แม้โจทก์จะขอถอนฟ้องคดีก่อน ซึ่งมีคู่ความเดียวกันและมูลความแห่งคดีเดียวกันกับคดีนี้ ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา และขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ฟัองโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาคดีก่อนจะถึงที่สุดก็หาทำให้ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้น กลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิ์ฟ้องแย้งโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3132/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-อำนาจฟ้อง-อายุความ-ตัวแทน: กรณีฟ้องซ้ำคดีเดิม & ข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องตัวแทน
ศาลแพ่งธนบุรีอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังอุทธรณ์ต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้สำหรับจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ยื่นฟ้องขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาคดีก่อนจะถึงที่สุด ก็หาทำให้ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้น กลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิฟ้องแย้งเช่นกัน จึงไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และอุทธรณ์จำเลยที่ 1 เพราะไม่ทำให้ผลคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงไป
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนค้าต่างของบริษัท จ. โดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของโจทก์ด้วย ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินของปัญหาและการค้าระหว่างประเทศ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนค้าต่างของบริษัท จ. โดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของโจทก์ด้วย ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินของปัญหาและการค้าระหว่างประเทศ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้ล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเฉพาะคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องคดีอาญาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาบุกรุก แม้ปรากฏว่าโจทก์อยู่ในฐานะเป็นบุคคลล้มละลายที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น หมายถึง เฉพาะแต่การฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ไม่รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วย และการที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลายก็ไม่มีฐานะถึงขนาดจะตกเป็นผู้ไร้ความสามารถอันจำต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) อีกทั้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5 และ 6 มิได้มีบทมาตราใดกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการแทนลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วด้วย ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต้องมีฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกทำลาย การฟ้องเรียกค่าเสียหายต้องพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
คดีก่อนโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าบ้านเป็นของโจทก์ แต่ศาลจังหวัดสมุทรสาครฟังข้อเท็จจริงว่าไม่ใช่ของโจทก์ คดีถึงที่สุด โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนจำต้องผูกพันในคำพิพากษาของศาลจังหวัดสมุทรสาครตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก แม้จะฟังว่าจำเลยทั้งห้า จำเลยร่วมกับพวกร่วมกันรื้อบ้านตามที่โจทก์ฟ้องก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่ใช่เจ้าของบ้านดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าของสินค้าที่ถูกยึดหน่วงและขายทอดตลาดตามสัญญารับขนของทางทะเล
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้ามีหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายที่จะต้องส่งสินค้าให้แก่บริษัท ค. ผู้ซื้อที่เมืองดีทรอยท์ประเทศสหรัฐอเมริกา และโจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองให้ขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ แต่จำเลยทั้งสองไม่นำสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญา กลับยึดหน่วงสินค้าไว้แล้วนำไปขายเสีย ดังนี้ โจทก์ในฐานะผู้ส่งของซึ่งเป็นคู่สัญญาตามสัญญารับขนของทางทะเลกับผู้ขนส่งย่อมมีสิทธิฟ้องร้องให้ผู้ขนส่งรับผิดต่อโจทก์ได้ตามสัญญารับขนของทางทะเล เมื่อโจทก์จัดส่งสินค้าพิพาทลงเรือแล้ว โจทก์ได้นำใบตราส่งไปส่งมอบให้ธนาคารเพื่อขอรับเงินค่าสินค้าที่ผู้สั่งซื้อเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับทางธนาคารดังกล่าว แต่เมื่อผู้รับตราส่งไม่ได้รับสินค้าตามที่สั่งซื้อจึงอายัดเงินค่าสินค้า โจทก์จึงยังไม่ได้รับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร และธนาคารได้คืนใบตราส่งให้แก่โจทก์ โจทก์ยังเป็นผู้ครอบครองต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทดังกล่าวทั้งเมื่อบริษัท ค. ผู้ซื้อสินค้าพิพาทจากโจทก์ไม่ได้รับสินค้า บริษัทดังกล่าวก็ไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระให้โจทก์ และไม่มีส่วนได้เสียในสินค้าเพราะไม่ใช่เจ้าของ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายและผู้ส่งย่อมได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับจำนองของตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อ แม้การแต่งตั้งตัวแทนไม่เป็นหนังสือ
โจทก์ที่ 1 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำนิติกรรมแทนโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 1 รับจำนองที่ดินจากจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ที่จำเลยกู้ยืมไปจากโจทก์ที่ 2 เป็นการกระทำแทนโจทก์ที่ 2 แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองระบุชื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับจำนองเท่านั้น โดยไม่ได้ระบุว่ากระทำการแทนโจทก์ที่ 2 ก็เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 2 ตัวการซึ่งยังไม่เปิดเผยชื่อแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาจำนองซึ่งโจทก์ที่ 1 ได้ทำไว้แทนตน ซึ่งโจทก์ที่ 2 มีสิทธิกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 และเป็นกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 798 วรรคหนึ่ง ที่การตั้งตัวแทนเพื่อทำสัญญาจำนองเป็นหนังสือ ดังนั้นแม้การตั้งตัวแทนของโจทก์ที่ 2 เพื่อทำสัญญาจำนองกับจำเลยจะมิได้ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อสิทธิของโจทก์ที่ 2 ตามสัญญาจำนองเป็นสิทธิที่มีอยู่ในฐานะตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำนองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431-2432/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพักงานพนักงานที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับ และอำนาจฟ้องเพิกถอนคำสั่งทางวินัย
การที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัยแก่โจทก์ ยังไม่เป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆ ของโจทก์ในฐานะพนักงานของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
คำสั่งของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ที่สั่งพักงานโจทก์ เป็นคำสั่งที่ใช้อำนาจตามข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย และคำสั่งดังกล่าวมีผลกระทบถึงโจทก์โดยตรง ดังนั้น หากคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบ โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนได้
ข้อบังคับกำหนดไว้ว่า เมื่อพนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดถูกกล่าวหาและถูกสอบสวนว่ากระทำผิด หรือถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา ถ้าผู้บังคับบัญชาของโจทก์คือจำเลยที่ 2 เห็นว่า หากให้โจทก์คงอยู่ในหน้าที่จะเป็นการเสียหายแก่ธนาคารจำเลยที่ 1 ก็ให้พิจารณาสั่งพักงานโดยต้องเสนอขออนุมัติคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัย ถูกดำเนินคดีอาญา และโจทก์กระทำการขัดขวางหรือยับยั้งการสอบสวนข้อเท็จจริง หรือการสอบสวนความผิดทางวินัย เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวน เป็นกรณีที่หากให้โจทก์คงอยู่ในหน้าที่จะเป็นการเสียหายแก่ธนาคาร การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้นโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้พักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลการสอบสวนทางวินัย จึงชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
คำสั่งของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ที่สั่งพักงานโจทก์ เป็นคำสั่งที่ใช้อำนาจตามข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย และคำสั่งดังกล่าวมีผลกระทบถึงโจทก์โดยตรง ดังนั้น หากคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบ โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนได้
ข้อบังคับกำหนดไว้ว่า เมื่อพนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดถูกกล่าวหาและถูกสอบสวนว่ากระทำผิด หรือถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา ถ้าผู้บังคับบัญชาของโจทก์คือจำเลยที่ 2 เห็นว่า หากให้โจทก์คงอยู่ในหน้าที่จะเป็นการเสียหายแก่ธนาคารจำเลยที่ 1 ก็ให้พิจารณาสั่งพักงานโดยต้องเสนอขออนุมัติคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัย ถูกดำเนินคดีอาญา และโจทก์กระทำการขัดขวางหรือยับยั้งการสอบสวนข้อเท็จจริง หรือการสอบสวนความผิดทางวินัย เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวน เป็นกรณีที่หากให้โจทก์คงอยู่ในหน้าที่จะเป็นการเสียหายแก่ธนาคาร การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้นโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้พักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลการสอบสวนทางวินัย จึงชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกซ้ำซ้อน และการยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วและคดีอยู่ในระหว่างไต่สวน ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นคดีนี้อีกเพราะเป็นการร้องซ้อนกับคำร้องขอที่ตนได้ยื่นไว้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งถึงที่สุดตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีก แม้จะมีเหตุที่จะเพิกถอนผู้คัดค้านออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องชอบที่จะขอให้เพิกถอนเสียก่อน
แม้ผู้คัดค้านจะเพิ่งยกเรื่องคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายในคดีก่อนขึ้นอ้างในฎีกาโดยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มาก่อน แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องหรือร้องขอเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
แม้ผู้คัดค้านจะเพิ่งยกเรื่องคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายในคดีก่อนขึ้นอ้างในฎีกาโดยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มาก่อน แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องหรือร้องขอเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องซ้อน-อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดก: ศาลล่างผิดที่ตั้งผู้จัดการมรดกซ้ำซ้อนหลังมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งถึงที่สุดแต่งตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้อีกขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการของผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านกับขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกด้วย คำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงเป็นการร้องซ้อนกับคำร้องขอที่ตนได้ยื่นไว้แล้วต้องห้ามมิให้ผู้คัดค้านร้องขอในเรื่องเดียวกันอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ส่วนคำร้องขอของผู้ร้องนั้น เมื่อมรดกรายนี้มีคำสั่งถึงที่สุดตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้อีก เนื่องจากเหตุจะสั่งถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้น ไม่ใช่ประเด็นคดีนี้ ผู้ร้องชอบที่จะร้องขอให้เพิกถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเสียก่อน คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ตั้งผู้จัดการมรดกรายเดียวกันนี้อีกจึงไม่ชอบ