พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแม้ข้อหาบางส่วนต้องห้ามอุทธรณ์ และการพิจารณาพิพากษาคดีอาญา
แม้ข้อหามีกล้องสูบฝิ่นจะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193ทวิแต่จำเลยอุทธรณ์รวมมากับข้อหาที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยชี้ขาดกรณีพรรคการเมืองต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น
พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ได้กำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษในกรณีที่จะมีผู้นำคดีขึ้นสู่ศาล โดยให้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งเพื่อทำความเห็นไปยังศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด และได้กำหนดไว้ด้วยว่ากรณีใดที่จะขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดได้ สิทธิในการที่จะยื่นคำร้องดังกล่าวจึงมีอยู่เฉพาะตามที่พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 กำหนดไว้เท่านั้น เมื่อสิทธิของผู้ร้องในการขอเปลี่ยนภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองหลังจากนายทะเบียนสั่งรับแจ้งหนังสือเชิญชวนแล้ว ไม่มีบทมาตราใดกำหนดให้นำคดีขึ้นสู่ศาลได้ผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3842/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตฟ้อง: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยหากคำสั่งไม่ถึงที่สุด
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้เป็นที่สุด โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2691-2694/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่เล่นการพนันในหอพักโรงงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชย: กรณีร้ายแรงและอำนาจการวินิจฉัยของหน่วยงาน
แม้ลูกจ้างจะได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของพนักงานแรงงานจังหวัดต่ออธิบดีกรมแรงงาน และอธิบดีกรมแรงงานเห็นว่านายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง จึงมีหนังสือแจ้งให้นายจ้างนำเงินค่าชดเชยไปชำระให้ลูกจ้างก็ตาม การอุทธรณ์เช่นนี้มิใช่เป็นวิธีการซึ่งกฎหมายบัญญัติให้จำต้องปฏิบัติ การที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามความเห็นของอธิบดีกรมแรงงานจึงไม่ทำให้นายจ้างต้องรับผิดเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะหนังสือของอธิบดีกรมแรงงานเป็นเพียงคำเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ เท่านั้น และปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้อธิบดีกรมแรงงานจำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างอิงในศาลชั้นต้นก็ยังมีสิทธิยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
เมื่อการเล่นการพนันเป็นการต้องห้ามตามระเบียบของนายจ้าง การที่ลูกจ้างเล่นการพนันนอกเวลาปฏิบัติงานในหอพักซึ่งนายจ้างจัดให้เป็นที่อยู่อาศัยของคนงานภายในบริเวณโรงงาน และเป็นการพนันไฮโลว์ตามบัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัติการพนันฯ ย่อมจะเป็นชนวนวิวาทบาดหมางในหมู่คนงานด้วยกัน และชักนำให้ประกอบอาชญากรรมอย่างอื่นได้ มีผลกระทบกระเทือนถึงการผลิตและชื่อเสียงของโรงงานนายจ้าง จึงถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างผูนั้นได้ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับโดยไม่ต้องว่ากล่าวตักเตือนก่อนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้
เมื่อการเล่นการพนันเป็นการต้องห้ามตามระเบียบของนายจ้าง การที่ลูกจ้างเล่นการพนันนอกเวลาปฏิบัติงานในหอพักซึ่งนายจ้างจัดให้เป็นที่อยู่อาศัยของคนงานภายในบริเวณโรงงาน และเป็นการพนันไฮโลว์ตามบัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัติการพนันฯ ย่อมจะเป็นชนวนวิวาทบาดหมางในหมู่คนงานด้วยกัน และชักนำให้ประกอบอาชญากรรมอย่างอื่นได้ มีผลกระทบกระเทือนถึงการผลิตและชื่อเสียงของโรงงานนายจ้าง จึงถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างผูนั้นได้ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับโดยไม่ต้องว่ากล่าวตักเตือนก่อนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงได้ และการครอบครองรถโดยชอบด้วยกฎหมายทำให้มีอำนาจฟ้องร้องได้
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในสำนวนไปได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเสียก่อน
เจ้าของนำรถจักรยานยนต์มาจ้างร้านโจทก์ซ่อมแล้วไม่มารับคืนเพราะค่าจ้างสูง โจทก์จึงเอามาใช้ขับขี่ แล้วถูกรถจำเลยชนได้รับความเสียหาย กรณีนี้โจทก์เป็นผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์โดยชอบด้วยกฎหมาย และจะต้องรับผิดต่อเจ้าของรถหากรถนั้นต้องเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ละเมิดชดใช้ค่าเสียหายเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์คันนั้นแก่โจทก์ได้
เจ้าของนำรถจักรยานยนต์มาจ้างร้านโจทก์ซ่อมแล้วไม่มารับคืนเพราะค่าจ้างสูง โจทก์จึงเอามาใช้ขับขี่ แล้วถูกรถจำเลยชนได้รับความเสียหาย กรณีนี้โจทก์เป็นผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์โดยชอบด้วยกฎหมาย และจะต้องรับผิดต่อเจ้าของรถหากรถนั้นต้องเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ละเมิดชดใช้ค่าเสียหายเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์คันนั้นแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงลูกหนี้ร่วม แม้มีการอุทธรณ์เฉพาะบางฝ่าย คดีหนี้ร่วมที่ไม่อาจแบ่งแยกได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมให้ร่วมกันชำระหนี้ค่าบำเหน็จนายหน้าที่กระทำร่วมกันอันเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จะมีคู่ความเพียงบางฝ่ายเป็นผู้อุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์ไม่ได้เป็นนายหน้าและไม่มีค่าบำเหน็จต่อกัน และเห็นควรกลับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่อุทธรณ์ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นมีผลเป็นที่สุดระหว่างคู่ความอื่นที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดให้มีผลถึงคู่ความบางฝ่ายในคดีในศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดถึงลูกหนี้ร่วมแม้มีเพียงบางฝ่ายอุทธรณ์ในคดีหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมให้ร่วมกันชำระหนี้ค่าบำเหน็จนายหน้าที่กระทำร่วมกันอันเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จะมีคู่ความเพียงบางฝ่ายเป็นผู้อุทธรณ์ก็ตามแต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์ไม่ได้เป็นนายหน้าและไม่มีค่าบำเหน็จต่อกัน และเห็นควรกลับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่อุทธรณ์ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นมีผลเป็นที่สุดระหว่างคู่ความอื่นที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดให้มีผลถึงคู่ความบางฝ่ายในคดีในศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยข้อตกลงสภาพการจ้างก่อน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และค่าชดเชยต่างจากค่าเสียหาย
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง แม้จะได้ทำกันไว้ก่อนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ใช้บังคับ ก็เป็นข้อตกลงที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 160 วรรค 2
การที่นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานโดยไม่ได้กระทำความผิด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46 นั้น เป็นหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งนายจ้างจะต้องปฏิบัติมิใช่เป็นเรื่องตกลงประนีประนอมยอมความ และเป็นคนละกรณีกับกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 41 (4)
การที่นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานโดยไม่ได้กระทำความผิด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46 นั้น เป็นหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งนายจ้างจะต้องปฏิบัติมิใช่เป็นเรื่องตกลงประนีประนอมยอมความ และเป็นคนละกรณีกับกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 41 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยข้อพิพาทแม้ข้อตกลงทำก่อน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และค่าชดเชยไม่ตัดค่าเสียหาย
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง แม้จะได้ทำกันไว้ก่อนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ใช้บังคับก็เป็นข้อตกลงที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 160วรรคสอง
การที่นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานโดยไม่ได้กระทำความผิด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 46 นั้น เป็นหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งนายจ้างจะต้องปฏิบัติมิใช่เป็นเรื่องตกลงประนีประนอมยอมความ และเป็นคนละกรณีกับกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา41(4)
การที่นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานโดยไม่ได้กระทำความผิด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 46 นั้น เป็นหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งนายจ้างจะต้องปฏิบัติมิใช่เป็นเรื่องตกลงประนีประนอมยอมความ และเป็นคนละกรณีกับกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา41(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยผิดจากพยานหลักฐาน
คดีซึ่งอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้ ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้ครอบครองรถยนต์ที่คนอื่นขับ แต่ข้อนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยครอบครองรถยนต์ที่ขับชนเสาของโจทก์จำเลยไม่ได้ให้การและนำสืบปฏิเสธ ต้องฟังว่าจำเลยรับข้อนี้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงจึงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่าจำเลยครอบครองรถและต้องรับผิดต่อโจทก์ได้