พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5451/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้ร้องในคดีล้มละลายและการบังคับคดีหลังยกเลิกการล้มละลาย
เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดของจำเลยแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการจำนองและการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องกระทำในคดีล้มละลายเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้นำมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ทั้งหลาย การกระทำของผู้ร้องจึงมิใช่กระทำการแทนจำเลย ซึ่งเป็นลูกหนี้และการขอเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทก็ปรากฏว่าเป็นกรณีพิพาทกันระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเท่านั้น ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่โดยเฉพาะของผู้ร้องจะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพื่อที่จะติดตามเอาทรัพย์สินที่เคยเป็นของจำเลยกลับคืนเข้ากองทรัพย์สินของจำเลย เพื่อจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้นั้น เมื่อศาลได้ยกเลิกการล้มละลาย ผู้ร้องก็หมดอำนาจที่จะเก็บรวบรวมทรัพย์สินของจำเลย เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้อีกต่อไป แม้ว่าจำเลยหลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิขอให้บังคับในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการโอนและการจำนองให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทปฏิบัติตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการโอนและการจำนองมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความคือระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้าน เมื่อการยกเลิกการล้มละลายมีผลทำให้ผู้ร้องหมดอำนาจที่จะรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยแล้ว ก็มีผลทำให้ผู้ร้องไม่สามารถบังคับคดีต่อไปได้ หาใช่เป็นเรื่องการยกเลิกการล้มละลายจะเป็นการลบล้างคำพิพากษาหรือไม่
คำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการโอนและการจำนองมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความคือระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้าน เมื่อการยกเลิกการล้มละลายมีผลทำให้ผู้ร้องหมดอำนาจที่จะรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยแล้ว ก็มีผลทำให้ผู้ร้องไม่สามารถบังคับคดีต่อไปได้ หาใช่เป็นเรื่องการยกเลิกการล้มละลายจะเป็นการลบล้างคำพิพากษาหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4620/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้าน การแจ้งย้ายที่อยู่ และอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนตามพ.ร.บ.ทะเบียนราษฎร พ.ศ.2499
ขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่1ไปยื่นคำร้องต่อจำเลยที่2เพื่อให้จำเลยที่2ในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรพ.ศ.2499มีคำสั่งย้ายชื่อโจทก์ซึ่งมีชื่อเป็นผู้อาศัยอยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่96/2อันเป็นทะเบียนบ้านของจำเลยที่1ออกจากทะเบียนบ้านดังกล่าวไปอยู่ในทะเบียนคนบ้านกลางซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่จำเลยที่2มีคำสั่งอนุญาตให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของจำเลยที่1ได้เป็นช่วงเวลาที่พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรพ.ศ.2499ใช้บังคับอยู่ยังไม่ถึงวันที่พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรพ.ศ.2534มีผลใช้บังคับการที่จะพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ต้องพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรพ.ศ.2499เป็นเกณฑ์ โจทก์พักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่96/1มาตั้งแต่ปี2527แสดงว่าโจทก์ได้ออกจากบ้านเลขที่96/2อันเป็นบ้านที่โจทก์มีชื่อเป็นผู้อาศัยอยู่ในทะเบียนหลังนั้นนับถึงวันที่จำเลยที่1ไปยื่นคำร้องต่อจำเลยที่2เพื่อให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากบ้านของจำเลยที่1เป็นเวลาประมาณ7ปีถือว่าโจทก์ได้ย้ายที่อยู่จากบ้านซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนไปอยู่ที่อื่นแล้วจำเลยที่1ในฐานะเจ้าบ้านมีหน้าที่แจ้งการย้ายที่อยู่ของโจทก์ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายในกำหนด15วันนับแต่วันย้ายออกเมื่อขณะที่จำเลยที่1ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่2ให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของจำเลยที่1จำเลยที่1กำลังมีข้อพิพาทอยู่กับโจทก์เกี่ยวด้วยเรื่องที่จำเลยที่1ฟ้องขับไล่โจทก์ให้ออกจากบ้านเลขที่96/1อันเป็นบ้านอีกหลังหนึ่งของจำเลยที่1อยู่การที่จำเลยที่1ไม่แจ้งย้ายชื่อของโจทก์จากทะเบียนบ้านเลขที่96/2ไปอยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่96/1ย่อมไม่เป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยที่2ในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งมีคำสั่งอนุญาตให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านเลขที่96/2ของจำเลยที่1ไปไว้ในทะเบียนบ้านกลางหรือทะเบียนคนบ้านกลางตามระเบียบสำนักงานกลางทะเบียนราษฎรกรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎรสำหรับสำนักทะเบียนในเขตปฏิบัติการตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชนพ.ศ.2528ข้อ52ถือว่าจำเลยที่2ได้สั่งการไปตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของทางราชการย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผ่อนผันค่าปรับจากสัญญาประกันคนต่างด้าวของผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง มิได้ต้องรอความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจ
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522แต่งตั้งให้ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง รวมทั้งอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และหากพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็มีอำนาจเรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันเพื่อประกันว่าคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนด ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522ดังนี้ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้เรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจเข้าทำสัญญาประกันโดยเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ประกันได้เมื่อโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาประกันคนต่างด้าวทั้งสามและหากจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ และหากผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522และเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโจทก์เห็นสมควรมีคำสั่งให้ผ่อนผันการปรับจำเลย ก็ย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเช่นนั้นในฐานะคู่สัญญากับจำเลยและตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจหรือกรมตำรวจก่อนดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้แสดงเจตนาปลดหนี้ให้จำเลยแล้วตามสัญญาประกันย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดก: การคุ้มครองประโยชน์ทรัพย์สินมรดกเฉพาะผู้จัดการเท่านั้น
ในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกที่มีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกนั้น ประโยชน์ของผู้ร้องและผู้คัดค้านอยู่ที่การจะได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้น ไม่ได้อยู่ที่การจะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของผู้ตาย การที่ผู้คัดค้านขอคุ้มครองชั่วคราวในเรื่องเกี่ยวกับการรักษาประโยชน์ในทรัพย์มรดกจึงไม่อยู่ในกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายในการดำเนินการขอคืนภาษีการค้าแทนผู้อื่น
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยปฏิเสธที่จะรับหนังสือมอบอำนาจและเอกสารในการขอคืนภาษีการค้าของโจทก์มาดำเนินการขอคืนภาษีการค้าให้โจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่การที่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นใหม่ในการพิพากษาคดีว่าจำเลยมีหน้าที่ขอคืนภาษีการค้าจากกรมสรรพากรแทนโจทก์หรือไม่ ก็เป็นประเด็นอย่างเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังกล่าวเพราะหากวินิจฉัยว่าจำเลยมีหน้าที่หรือไม่มีหน้าที่ขอคืนภาษีการค้าจากกรมสรรพากรแทนโจทก์แล้ว การที่จำเลยปฏิเสธที่จะรับหนังสือมอบอำนาจและเอกสารในการขอคืนภาษีการค้าของโจทก์มาดำเนินการขอคืนภาษีการค้าให้โจทก์ก็จะเป็นการไม่ชอบหรือชอบด้วยกฎหมายนั่นเอง หาเป็นการพิพากษานอกประเด็นข้อพิพาทไม่
กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจำเลยมีคณะกรรมการบริหารกองทุนเป็นผู้บริหาร ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา25 (3) และ (4) กำหนดหน้าที่คณะกรรมการบริหารกองทุนไว้ว่า ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนด และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดระเบียบให้จำเลยเป็นผู้ขอรับคืนภาษีการค้าแทนโจทก์ และคณะรัฐมนตรีก็มิได้มอบหมายให้จำเลยกระทำการแทนโจทก์ อีกทั้งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 183)พ.ศ.2530 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีการค้า (ฉบับที่ 204) พ.ศ.2532 และ (ฉบับที่ 211) พ.ศ.2533 ก็มิได้กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ขอรับคืนภาษีการค้าแทนโจทก์ จำเลยจึงปฏิเสธที่จะรับหนังสือมอบอำนาจและเอกสารในการขอคืนภาษีการค้าของโจทก์มาดำเนินการขอคืนภาษีการค้าให้โจทก์ได้
กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจำเลยมีคณะกรรมการบริหารกองทุนเป็นผู้บริหาร ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา25 (3) และ (4) กำหนดหน้าที่คณะกรรมการบริหารกองทุนไว้ว่า ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนด และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดระเบียบให้จำเลยเป็นผู้ขอรับคืนภาษีการค้าแทนโจทก์ และคณะรัฐมนตรีก็มิได้มอบหมายให้จำเลยกระทำการแทนโจทก์ อีกทั้งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 183)พ.ศ.2530 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีการค้า (ฉบับที่ 204) พ.ศ.2532 และ (ฉบับที่ 211) พ.ศ.2533 ก็มิได้กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ขอรับคืนภาษีการค้าแทนโจทก์ จำเลยจึงปฏิเสธที่จะรับหนังสือมอบอำนาจและเอกสารในการขอคืนภาษีการค้าของโจทก์มาดำเนินการขอคืนภาษีการค้าให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7888/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่พนักงานอัยการในการบังคับคดีตามสัญญาประกัน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำกัดเฉพาะการร้องขอออกหมายบังคับคดี ไม่รวมถึงการยึดทรัพย์
ในระหว่างฎีกาปรากฏว่าผู้ประกันจำเลยได้นำตัวจำเลยส่งมอบต่อศาลและได้ยื่นคำร้องขอลดค่าปรับซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งลดค่าปรับให้คดีถึงที่สุดและผู้ประกันจำเลยได้ชำระค่าปรับต่อศาลชั้นต้นถูกต้องครบถ้วนแล้วศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งงดการบังคับคดีและคืนหลักประกันดังนั้นปัญหาตามฎีกาพนักงานอัยการที่ว่าพนักงานอัยการไม่มีหน้าที่ดำเนินการบังคับคดีโดยไปนำยึดหรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปนำยึดทรัพย์สินของผู้ประกันจำเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7881/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่
จำเลยที่ 1 ไม่ได้มีหน้าที่ขับรถยนต์ การที่จำเลยที่ 2 ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหัวหน้ามีหน้าที่ควบคุมยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 3 นำบุตรของจำเลยที่ 1 ซึ่งเจ็บป่วยไปส่งโรงพยาบาลโดยไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 3 ได้รู้เห็นยินยอมด้วยนั้น เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 โดยลำพังไม่ได้เกี่ยวข้องกับกิจการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 จึงเป็นเรื่องส่วนตัวและครอบครัวของจำเลยที่ 1 ดังนั้น การกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองกับการบังคับคดีหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ – อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานบังคับคดี
ผู้คัดค้านที่1เป็นเจ้าหนี้จำนองทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ที่2ได้ฟ้องบังคับจำนองและได้บังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดแล้วก่อนศาลในคดีล้มละลายมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่2เด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่2ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์พิพาทมาไว้ในคดีล้มละลายเพราะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้คัดค้านที่1ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยตรงการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทต่อไปแม้เป็นการปฏิบัติตามคำขอของผู้คัดค้านที่2ก็มีผลเท่ากับได้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่งหาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายไม่โจทก์หรือเจ้าหนี้อื่นจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์พิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งให้ทราบซึ่งวันขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา306
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินจากหน่วยงานรัฐกับการเรียกเก็บเงินตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะ
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐเรียกเก็บเงินตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจึงมิใช่บุคคลที่ทางราชการได้ตั้งแต่หรืออนุญาตให้จัดกิจกรรมเฉพาะบางอย่างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(15) ซึ่งมีกำหนด อายุความ 2ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับผู้จัดการมรดกหลังพ้นจากตำแหน่ง: ศาลไม่อาจบังคับได้เมื่อไม่มีอำนาจหน้าที่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกให้ปฏิบัติตามหน้าที่เมื่อระหว่างพิจารณาจำเลยถูกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกจำเลยย่อมไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดกต่อไปศาลย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำขอบังคับของโจทก์ได้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยและมีคำพิพากษาตามคำขอบังคับของโจทก์ต่อไปให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ