พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุญาตอุทธรณ์ในคดีเยาวชนและครอบครัว: อธิบดีศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีอำนาจเฉพาะคดีในเขตอำนาจศาลตนเอง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 122 ได้บัญญัติเรื่องการอนุญาตให้อุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะแล้ว การพิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์จึงต้องเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวนั้นเท่านั้น อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางไม่มีอำนาจอนุญาตให้อุทธรณ์ในคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่ชอบเมื่อไม่วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีและให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบจำเลยจะอ้างว่าจำเลยชำระค่าธรรมเนียมตามที่เจ้าหน้าที่ศาลคิดคำนวณหาได้ไม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โดยไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้ชอบแล้ว ส่วนฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นกำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ จึงไม่มีเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจำเลยจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนฟ้องแย้งจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2063/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์เมื่อศาลยกฟ้องตามบทมาตราที่ฟ้อง และการลงโทษเกินคำขอ
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 358 และ 362 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกินสามปีและไม่เกินหนึ่งปี โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยขอถือเอาคำฟ้องและบัญชีระบุพยานของพนักงานอัยการโจทก์เป็นคำฟ้องและบัญชีระบุพยานของโจทก์ร่วมด้วย เท่ากับโจทก์ร่วมประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราเดียวกับที่พนักงานอัยการโจทก์ระบุมาท้ายฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
โจทก์ร่วมฎีกาว่าตามทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 359 (4) และ 365 (2) ซึ่งต่างมีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี การที่พนักงานอัยการโจทก์อ้างบทมาตราว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 358 และ 362 เป็นการอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษตามฐานความผิดที่ถูกต้องดังที่พิจารณาได้ความดังกล่าวได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ก็อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดแต่อย่างใดไม่ เพราะโจทก์อ้างมาตราตามข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า แต่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องและตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 192 วรรคสี่ ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยต้องด้วยเหตุฉกรรจ์ตามบทมาตราที่โจทก์ร่วมอ้างมาก็ไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตรานั้น ๆ ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง คงลงโทษได้ตามบทมาตราที่อ้างมาในฟ้อง และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
โจทก์ร่วมฎีกาว่าตามทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 359 (4) และ 365 (2) ซึ่งต่างมีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี การที่พนักงานอัยการโจทก์อ้างบทมาตราว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 358 และ 362 เป็นการอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษตามฐานความผิดที่ถูกต้องดังที่พิจารณาได้ความดังกล่าวได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ก็อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดแต่อย่างใดไม่ เพราะโจทก์อ้างมาตราตามข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า แต่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องและตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 192 วรรคสี่ ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยต้องด้วยเหตุฉกรรจ์ตามบทมาตราที่โจทก์ร่วมอ้างมาก็ไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตรานั้น ๆ ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง คงลงโทษได้ตามบทมาตราที่อ้างมาในฟ้อง และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2063/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการลงโทษตามบทมาตราที่อ้างในฟ้อง และการอุทธรณ์คดีอาญาที่ศาลยกฟ้อง
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 358 และ 362 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกินสามปีและไม่เกินหนึ่งปีตามลำดับ โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยต้องด้วยเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 359 (4) และมาตรา 365 (2) แต่การที่พนักงานอัยการโจทก์อ้างบทมาตรามาในฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 358 และมาตรา 362 มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด เพราะโจทก์อ้างมาตราตามข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า แต่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องและตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทฉกรรจ์ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตามมาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยต้องด้วยเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 359 (4) และมาตรา 365 (2) แต่การที่พนักงานอัยการโจทก์อ้างบทมาตรามาในฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 358 และมาตรา 362 มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด เพราะโจทก์อ้างมาตราตามข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า แต่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องและตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทฉกรรจ์ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตามมาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลแจ้งคำสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ การไม่แจ้งถือว่าจำเลยยังไม่ทราบคำสั่ง
แม้ท้ายคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยจะมีหมายเหตุข้อความว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว แต่การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นคำร้อง ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ เมื่อไม่ได้มีการแจ้งคำสั่งของศาลชั้นต้นให้จำเลยทราบ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้เป็นความผิดของจำเลย ทำให้จำเลยทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จึงเสียสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ยังเหลืออยู่ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกา แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควร ย่อมจะยกขึ้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 246 และ 142 (5) กรณีมีเหตุสมควรที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องวางค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษาพร้อมกัน หากไม่วาง ศาลไม่รับอุทธรณ์
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติว่า การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย... ดังนั้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งและคำพิพากษาของศาลชั้นต้น นอกจากจะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. แล้ว จำเลยยังต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของมาตรา 229 กล่าวคือต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ด้วย จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามอุทธรณ์: การพิจารณาคำสั่งรับฎีกาที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เนื่องจากเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 4 โดยเห็นว่า อุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 (1) และมีคำสั่งยืนตามคำสั่งปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับอุทธรณ์เป็นที่สุด ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีสิทธิฎีกา
ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะอุทธรณ์มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่า คำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไรและไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลอุทธรณ์ ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ซื้อทรัพย์ คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ผู้ซื้อทรัพย์จึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีสิทธิฎีกา
ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ เพราะอุทธรณ์มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไรและไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลอุทธรณ์ ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ซื้อทรัพย์ คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุด ป.วิ.พ. มาตรา 236
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์หรือไม่: การพิจารณาจากคำขอหลักและมูลค่าทรัพย์สินในการอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องคดีโดยมีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 อนุมัติให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ซึ่งจำเลยมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาตามกฎหมาย แม้จำเลยจะมิได้เข้าแย่งการครอบครอง ก็เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ย่อมเป็นผลให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท คำขอที่ให้แสดงสิทธิครอบครองดังกล่าวจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย แต่การที่ศาลจะพิพากษาตามคำขอในส่วนนี้ได้ ก็ต้องได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองและมิใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ คำขอในส่วนนี้จึงเป็นเพียงคำขอที่ต่อเนื่องกับคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งถือว่าเป็นคำขอประธาน คดีนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ สิทธิของโจทก์ในการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงต้องพิจารณาจากราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ต่างอ้างการครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนของตนแต่ละแปลงโดยมิได้เกี่ยวข้องกัน แม้โจทก์จะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แยกต่างหากจากกัน เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนไม่เกินห้าหมื่นบาทและอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ต่างอ้างการครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนของตนแต่ละแปลงโดยมิได้เกี่ยวข้องกัน แม้โจทก์จะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แยกต่างหากจากกัน เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนไม่เกินห้าหมื่นบาทและอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง