พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการคำนวณค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารซึ่งเป็นรถมีขนาดใหญ่ถอยหลังคนที่อยู่ด้านหลังรถดังกล่าวมีโอกาสที่จะถูกรถโดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนได้ง่าย จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อน เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารถอยหลังชนและทับผู้ตายเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อนดังนี้เหตุรถโดยสารชนและทับผู้ตายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1
โจทก์ที่ 1 ทำศพผู้ตายทั้งประเพณีไทยและจีนเนื่องจากผู้ตายเป็นคนเชื้อชาติจีน สิ้นค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 76,692 บาท เนื่องจากผู้ตายมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหมวดบัญชีค่าโดยสาร ได้รับเงินเดือน 8,317.75 บาท ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพจำนวนดังกล่าวจึงเหมาะสมแก่ฐานานุรูปของผู้ตายแล้ว ที่ศาลล่าง-ทั้งสองกำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพเป็นเงินจำนวน 68,185 บาท จึงเป็นการสมควร
ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1461 วรรคสอง นั้น โจทก์ที่ 1 มีอายุ 47 ปี ส่วนผู้ตายมีอายุ 50 ปี ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีโอกาสได้รับอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่โจทก์ที่ 1 เรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นระยะเวลา 10 ปีจึงเป็นระยะเวลาที่สมควร
ขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรมีอายุเกิน 20 ปีเป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะแล้ว และค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะตามป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม จะต้องเป็นการขาดไร้อุปการะตามกฎหมายหาได้มีความหมายรวมไปถึงการขาดไร้อุปการะตามหน้าที่ศีลธรรมไม่ อีกทั้งในข้อที่บิดาจำต้องให้อุปการะเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมายนั้น ป.พ.พ.มาตรา 1564 บัญญัติให้บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 มิใช่ผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ โจทก์ที่ 2 และที่ 4 จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม
สำหรับโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 แม้ว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ก็จะได้รับค่าอุปการะเท่าที่อยู่ในข่ายตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม บัญญัติไว้กล่าวคือเท่าที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเว้นแต่จะเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 เป็นผู้ทุพพลภาพ โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8แต่ละคนจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายนับแต่วันเกิดเหตุไปจนกระทั่งมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อันเป็นบุคคลที่พ้นจากภาวะผู้เยาว์และเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ หาใช่แต่ละคนมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะไปจนถึง 10 ปี นับจากวันเกิดเหตุไม่
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 206 ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดและจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระแก่โจทก์ทั้งแปดนั้นศาลได้กำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เป็นหนี้เงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระทันที จำเลยทั้งสองจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ถ้าศาลเห็นว่า คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของคู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลพิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมโดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระต่อศาลในนามของบุคคลผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถา ซึ่งค่าฤชา-ธรรมเนียมที่ผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถานั้นได้ยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควร ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยผู้ซึ่งจะต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดให้เป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมเฉพาะส่วนที่โจทก์ทั้งแปดชนะคดีได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้
หนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาและศาลฎีกากำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีขาดไร้อุปการะที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดน้อยลง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้
โจทก์ที่ 1 ทำศพผู้ตายทั้งประเพณีไทยและจีนเนื่องจากผู้ตายเป็นคนเชื้อชาติจีน สิ้นค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 76,692 บาท เนื่องจากผู้ตายมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหมวดบัญชีค่าโดยสาร ได้รับเงินเดือน 8,317.75 บาท ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพจำนวนดังกล่าวจึงเหมาะสมแก่ฐานานุรูปของผู้ตายแล้ว ที่ศาลล่าง-ทั้งสองกำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพเป็นเงินจำนวน 68,185 บาท จึงเป็นการสมควร
ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1461 วรรคสอง นั้น โจทก์ที่ 1 มีอายุ 47 ปี ส่วนผู้ตายมีอายุ 50 ปี ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีโอกาสได้รับอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่โจทก์ที่ 1 เรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นระยะเวลา 10 ปีจึงเป็นระยะเวลาที่สมควร
ขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรมีอายุเกิน 20 ปีเป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะแล้ว และค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะตามป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม จะต้องเป็นการขาดไร้อุปการะตามกฎหมายหาได้มีความหมายรวมไปถึงการขาดไร้อุปการะตามหน้าที่ศีลธรรมไม่ อีกทั้งในข้อที่บิดาจำต้องให้อุปการะเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมายนั้น ป.พ.พ.มาตรา 1564 บัญญัติให้บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 มิใช่ผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ โจทก์ที่ 2 และที่ 4 จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม
สำหรับโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 แม้ว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ก็จะได้รับค่าอุปการะเท่าที่อยู่ในข่ายตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม บัญญัติไว้กล่าวคือเท่าที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเว้นแต่จะเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 เป็นผู้ทุพพลภาพ โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8แต่ละคนจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายนับแต่วันเกิดเหตุไปจนกระทั่งมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อันเป็นบุคคลที่พ้นจากภาวะผู้เยาว์และเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ หาใช่แต่ละคนมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะไปจนถึง 10 ปี นับจากวันเกิดเหตุไม่
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 206 ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดและจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระแก่โจทก์ทั้งแปดนั้นศาลได้กำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เป็นหนี้เงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระทันที จำเลยทั้งสองจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ถ้าศาลเห็นว่า คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของคู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลพิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมโดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระต่อศาลในนามของบุคคลผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถา ซึ่งค่าฤชา-ธรรมเนียมที่ผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถานั้นได้ยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควร ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยผู้ซึ่งจะต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดให้เป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมเฉพาะส่วนที่โจทก์ทั้งแปดชนะคดีได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้
หนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาและศาลฎีกากำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีขาดไร้อุปการะที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดน้อยลง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทเลินเล่อจากการจอดรถเสียบนสะพานทำให้เกิดอุบัติเหตุ การกระทำโดยประมาทเป็นเหตุโดยตรง
รถโดยสารคันเกิดเหตุที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ขับได้จอดอยู่บนสะพาน ด้วยเหตุรถเสียตั้งแต่เวลาประมาณ 22 นาฬิกา โดยจำเลยที่ 3 เปิดไฟกะพริบไว้ทางด้านท้ายรถโดยสารและได้นำเบาะรถมาวางพาดไว้ทางด้านซ้ายรถโดยสารทั้งนำถุงพลาสติกมาผูกติดไว้เพื่อให้สามารถมองเห็นได้เป็นเครื่องหมายในการป้องกันเหตุ แต่จุดที่รถโดยสารจอดอยู่นั้นเลยส่วนโค้งกลางสะพานไปเพียง 30 เมตร และรถที่แล่นมาจะสามารถเห็นรถโดยสารที่จอดเสียนั้นต่อเมื่อขึ้นโค้งสะพานแล้ว ไฟกะพริบที่จำเลยที่ 3 เปิดไว้ก็ดี เบาะรถตลอดจนถุงพลาสติกที่ผูกติดไว้ก็ดี ล้วนแต่อยู่ติดกับตัวรถโดยสารทั้งสิ้นระยะห่างที่สามารถเห็นได้จึงอยู่ในระยะเดียวกับที่รถโดยสารจอดเสียคือประมาณ 30 เมตร จากส่วนโค้งกลางสะพานเท่านั้น โดยเป็นระยะที่กระชั้นชิดซึ่งคาดเห็นได้ว่าอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่รถยนต์ที่สัญจรได้ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุโดยตรงที่ก่อให้เกิดอันตราย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิต: ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากคู่กรณี
ข้อสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยในส่วนที่เป็นการประสบอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตเป็นสัญญาประกันชีวิตอย่างหนึ่งเพราะอาศัยความมรณะของบุคคลเป็นเงื่อนไขแห่งการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา889หาใช่การประกันวินาศภัยแต่เพียงอย่างเดียวไม่ซึ่งตามบทบัญญัติว่าด้วยการประกันชีวิตไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้รับประกันภัยที่จะเข้ารับช่วงสิทธิได้อย่างกรณีการประกันวินาศภัยดังนั้นแม้โจทก์จะได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนจำนวน50,000บาทให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปโจทก์ก็หามีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิเพื่อฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยทั้งสองได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: ความรับผิดของผู้เช่าซื้อต่อความเสียหายของทรัพย์สิน แม้เกิดจากอุบัติเหตุ
ตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า "ผู้เช่าซื้อสัญญาว่าจะใช้ทรัพย์สินที่เช่าซื้อนี้ด้วยความระมัดระวังอย่างดีที่สุด... หากเกิดความเสียหายขึ้นจะโดยเหตุเพราะผู้เช่าซื้อหรือบุคคลภายนอก หรือโดยอุบัติเหตุสุดวิสัยก็ตาม อันเป็นเหตุให้ทรัพย์สินสูญหายไป หรือเสียหายจนไม่อาจจะแก้ไขให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ หรือการซ่อมแซมแก้ไขนั้นคิดเป็นเงินเกินกว่าครึ่งหนึ่งของราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อแล้วผู้เช่าซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่เจ้าของ..." ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปประสบอุบัติเหตุเสียหายทั้งคันและถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้จำเลยที่ 1 ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีคืนโจทก์หรือใช้ราคาแทนตามสัญญาที่ตกลงกันดังกล่าวข้างต้น การที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบถึงอุบัติเหตุดังกล่าวหาทำให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ของผู้เยาว์ ผู้ขับขี่ และผู้โดยสารที่รู้เห็นเห็นชอบ
จำเลยร่วมบุตรโจทก์นำรถยนต์ของโจทก์พาเพื่อน ๆ ไปเที่ยวสถานบันเทิงโดยจำเลยร่วมให้ ฉ. เป็นผู้ขับไปยังสถานบันเทิง ครั้นเลิกจากเที่ยวเมื่อเวลา 3 นาฬิกาของวันใหม่เปลี่ยนให้จำเลยที่ 1 ขับกลับจากสถานบันเทิงแล้วเกิดเหตุ การที่จำเลยที่ 1 ออกจากบ้านไปเที่ยวและที่จำเลยร่วมยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของโจทก์พาจำเลยร่วมกับเพื่อน ๆ กลับจากเที่ยวสถานบันเทิงไม่มีพฤติการณ์ใดที่ส่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 จะต้องไปทำหน้าที่ขับรถยนต์ของโจทก์แทน ฉ. การที่จำเลยที่ 1 อาสาขับรถยนต์โจทก์ตอนขากลับต้องถือว่าเป็นการสุดวิสัยของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาจะรู้เห็นได้ ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่ในขณะนั้นแล้ว เพราะไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ให้ไปกระทำหรือรู้แล้วยังยอมให้กระทำดังนั้นจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 แต่หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ในฐานะบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 1 ได้ตกลงต่อหน้าพนักงานสอบสวนยินยอมชดใช้ค่าเสียหายในการละเมิดของจำเลยที่ 1 ข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 3 มิได้ตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายแต่อย่างใด จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 3
จำเลยร่วมรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เยาว์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์และมีอาการเมาสุรา การที่จำเลยร่วมนำรถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นมารดาออกไปให้จำเลยที่ 1 ขับไปเที่ยวเช่นนี้ ตามพฤติการณ์ต้องเล็งเห็นว่าจะต้องเกิดอุบัติภัยอย่างแน่แท้ จึงถือได้ว่าจำเลยร่วมมีส่วนก่อให้เกิดเหตุละเมิดในคดีนี้ด้วย จำเลยร่วมจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดนั้น
จำเลยร่วมรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เยาว์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์และมีอาการเมาสุรา การที่จำเลยร่วมนำรถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นมารดาออกไปให้จำเลยที่ 1 ขับไปเที่ยวเช่นนี้ ตามพฤติการณ์ต้องเล็งเห็นว่าจะต้องเกิดอุบัติภัยอย่างแน่แท้ จึงถือได้ว่าจำเลยร่วมมีส่วนก่อให้เกิดเหตุละเมิดในคดีนี้ด้วย จำเลยร่วมจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการปฏิบัติงานของลูกจ้าง: อุบัติเหตุระหว่างเดินทางกลับจากปฏิบัติงานนอกสถานที่ ถือเป็นการทำงาน
ผู้บังคับบัญชาของ ก.สั่งให้ ก.ไปรับผลการตรวจน้ำลายของลูกค้าและมอบของชำร่วยแก่ลูกค้าที่อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง ก.จึงได้เดินทางไปตามคำสั่ง ซึ่งถือได้ว่า ก.เดินทางไปปฏิบัติงานในทางการที่จ้างของนายจ้าง และเมื่อก.ออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่เสร็จแล้วก็ย่อมจะต้องเดินทางกลับจากสถานที่ดังกล่าวระหว่างเดินทางกลับก็ยังต้องถือว่าเป็นช่วงเวลาปฏิบัติงานในทางการที่จ้างให้นายจ้างกรณีต่างกับการที่ลูกจ้างปฏิบัติงานในหน้าที่ ณ สถานที่ทำงานปกติเสร็จแล้วเดินทางกลับบ้าน ซึ่งไม่อาจถือได้ว่าช่วงเวลาเดินทางกลับบ้านเป็นช่วงเวลาปฏิบัติงานในทางการที่จ้างของนายจ้าง การที่ ก.ประสบอุบัติเหตุจนถึงแก่ความตายระหว่างเดินทางกลับจากบ้านลูกค้าของนายจ้าง จึงถือได้ว่าถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ส่วนการที่ ก.ไม่ได้กลับบ้านทันทีที่ปฏิบัติหน้าที่เสร็จ เนื่องจากไปรับประทานอาหารที่บ้านลูกค้าอีกคนหนึ่งในละแวกเดียวกัน หาทำให้การปฏิบัติงานในหน้าที่สิ้นสุดลงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1417/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อจากการฝ่าฝืนสัญญาณจราจรทำให้เกิดอุบัติเหตุและทรัพย์สินเสียหาย
ถนนซึ่งจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกมามีป้ายสัญญาณจราจรให้หยุดก่อนที่จะขับรถผ่านสี่แยกที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามป้ายสัญญาณจราจรดังกล่าวด้วยการหยุดรอ แต่จำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามป้ายสัญญาณจราจรกลับขับรถยนต์บรรทุกผ่านสี่แยกที่เกิดเหตุด้วยความเร็วสูงเป็นการฝ่าฝืนสัญญาณจราจรที่ให้หยุดรถก่อนเข้าสู่ทางร่วมทางแยก ทำให้ชนรถยนต์ซึ่งจำเลยที่ 5 ขับที่บริเวณสี่แยกแล้วเสียหลักไปชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9371/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และผลของการวินิจฉัยในคดีอาญาต่อคดีแพ่ง
คดีอาญาโจทก์ที่ 2 ถูกพนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษตามป.อ.มาตรา 291 ศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า เหตุที่รถยนต์โดยสารที่โจทก์ที่ 2 ขับชนรถยนต์ที่ อ.ขับนั้น จุดชนอยู่ในช่องเดินรถของโจทก์ที่ 2โจทก์ที่ 2 ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง ซึ่งในคดีอาญาดังกล่าวต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นภริยาและบุตรของ อ.ด้วย คดีถึงที่สุดแล้ว ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ได้ฟ้องคดีนี้ขอให้โจทก์ที่ 2ใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่โจทก์ที่ 2 ทำละเมิดให้ อ.ถึงแก่ชีวิตและทรัพย์สินเสียหายตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 ในการพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9371/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงคดีอาญาถึงที่สุดมีผลผูกพันคดีแพ่ง การเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
คดีอาญาโจทก์ที่2ถูกพนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา291ศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าเหตุที่รถยนต์โดยสารที่โจทก์ที่2ขับชนรถยนต์ที่อ.ขับนั้นจุดชนอยู่ในช่องเดินรถของโจทก์ที่2โจทก์ที่2ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องซึ่งในคดีอาญาดังกล่าวต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีแทนจำเลยที่1ถึงที่5ซึ่งเป็นภริยาและบุตรของอ. ด้วยคดีถึงที่สุดแล้วดังนั้นที่จำเลยที่1ถึงที่5ได้ฟ้องคดีนี้ขอให้โจทก์ที่2ใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่โจทก์ที่2ทำละเมิดให้อ.ถึงแก่ชีวิตและทรัพย์สินเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420ในการพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่รับผิดชอบความเสียหายจากอุบัติเหตุที่ลูกจ้างก่อขึ้น และจำเลยต้องรับผิดตามสัญญาประกัน
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุ มีสิทธิที่จะเอาประกันภัยความเสียหายอันอาจเกิดแก่รถยนต์โดยสารที่เช่าซื้อมา เมื่อ ป.ลูกจ้างของโจทก์เป็นผู้ขับรถยนต์เพื่อหาประโยชน์ร่วมกันระหว่างโจทก์กับ ข.และ ป.ขับรถที่จำเลยรับประกันไว้ไปก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอก โจทก์และ ข.จึงต้องร่วมกันรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่ ป.ได้ก่อขึ้น และต้องถือว่าวินาศภัยที่เกิดขึ้นนี้โจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบด้วย ซึ่งจำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในนามของโจทก์ผู้เอาประกันภัย เมื่อโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้บุคคลภายนอกไป จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่า ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย เว้นแต่จำเลยมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้น เป็นข้อตกลงเพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น แต่กรณีนี้เป็นฝ่ายต้องรับผิด จำเลยจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาปัดความรับผิดไม่ได้
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่า ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย เว้นแต่จำเลยมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้น เป็นข้อตกลงเพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น แต่กรณีนี้เป็นฝ่ายต้องรับผิด จำเลยจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาปัดความรับผิดไม่ได้