คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เขตอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุมของตำรวจที่ถูกมอบหมายให้รักษาการณ์นอกสถานี: เขตอำนาจและความต่อเนื่องของหน้าที่
พลตำรวจจะมีอำนาจจับกุมในเขตต์ท้องที่ใดบ้าง และเมื่อถูกใช้ไปรักษาการณ์ในที่แห่งหนึ่งแล้ว จะขาดจากอำนาจและหน้าที่ทางสถานีตำรวจเกี่ยวแก่การจับกุมหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิจารณาจากพะยานหลักฐาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจการพิจารณาคดีอาญา: การที่ข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณาต่างจากที่ระบุในฟ้อง ทำให้ศาลยกฟ้อง
โจทกล่าวไนฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์หรือรับของโจร ที่ตำบลปากท่อ และตำบลห้วยโรง ทางพิจารนาได้ความว่า การรับทรัพย์ไว้นั้นที่ตำบนวังมะนาว ดังนี้ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจการสอบสวนคดีอาญา: อำเภอ vs. จังหวัด
เหตุเกิดที่อำเพอกันตัง ซึ่งหยู่ไนเขตจังหวัดตรัง ผู้บังคับกองตำหรวดจังหวัดตรังมีอำนาดทำการสอบสวนคดีเรื่องนี้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุมนอกเขต - ของกลางไม่ชอบด้วยกฎหมาย - ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
พลตำรวจไปจับของกลางในการเล่นการพนันนอกเขตที่ตนมีอำนาจและหน้าที่นั้น ไม่ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่ ของกลางนั้นจึงไม่เป็นของต้องยึดหรืออายัดตามกฎหมายและการที่ผู้ลักเล่นการพนันใช้กำลังทำร้ายและขู่เข็ญเอาของกลางคืนไป จึงไม่เป็นความผิดต่อเจ้าพนักงานหรือเป็นความผิดต่อทรัพย์ ความผิดฐานลักเล่นการพนันนั้น ราษฎรไม่มีอำนาจจับโดยลำพังตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 79 (อ้างฎีกาที่ 1011/2484)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจการสอบสวนและดำเนินคดีอาญา: การส่งสำนวนข้ามเขต
เมื่อเจ้าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนความผิดโดยมีเหตุควนเชื่อได้ว่าความผิดได้เกิดพายุไนเขตอำนาดของตนแล้วความผิดนั้นจะชำระที่สาลซึ่งเจ้าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนความผิดหรือจะชำระที่สาลซึ่งท้องที่เกิดเหตุหยู่ไนเขตตอำนาดก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลาม: ศาลสตูลมีอำนาจพิจารณา แม้มรดกบางส่วนอยู่ในกรุงเทพฯ
+พิพาทในเรื่องมฤดกของ+ถือสาสนาอิศลามในจังหวัดสตูลนั้น ย่อมตกอยู่+อำนาจของศาลจังหวัดทูลที่จะพิจารณาพิพากษาการที่มฤดกบางอย่างเป็นอสังหาริมทรัพย์อยู่ในจังหวัดพระนครไม่ทำให้ศาลแพ่งมีอำนาจรับคดีไว้พิจารณาได้ +ารตราของกระทรวงยุตติธรรมที่ 30/4353 มีผลเท่ากับกฎหมายเพราะได้ออกโดยพระบรมราชโองการและยังคงมีผลอยู่จนบัดนี้ เมื่อโจทก์นำฟ้องมายื่นต่อศาลที่ไม่มีอำนาจก็ให้ศาลนั้นคืนฟ้องนั้นไปเพื่อให้ยื่นต่อศาลที่มีเขตต์อำนาจเหนือคดีนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจบังคับใช้ พ.ร.บ.เรือในน่านน้ำสยาม: นอกเขตท่ากรุงเทพฯ ไม่ถือว่าผิด
เรือกลไฟแล่นเร็วนอกเขตต์ท่ากรุงเทพฯ ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.นี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานเกษตร์เรียกโฉนดข้ามจังหวัด: แม้พื้นที่โฉนดเปลี่ยน เขตอำนาจยังคงเป็นไปตามกฎหมายเดิม
อำนาจเจ้าพนักงานเกษตร์เรียกโฉนดจากจำเลยที่อยู่คนละจังหวัดกับเจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: ความผิดเกิดขึ้นในจังหวัดสตูล แม้การวินิจฉัยทำที่ กทม. ศาลสตูลมีอำนาจพิจารณา
แม้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จัดทำคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องเรียนของโจทก์เสร็จสิ้นที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งตั้งอยู่ที่แขวงรองเมือง เขตรองเมือง กรุงเทพมหานคร ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสตูลสืบสวนสอบสวนตามอำนาจหน้าที่และส่งเรื่องพร้อมความเห็นอันเป็นข้อเสนอแนะไปยังจำเลยทั้งห้าก็ตาม แต่คำวินิจฉัยชี้ขาดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ดังกล่าวจัดส่งไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสตูลเพื่อแจ้งให้โจทก์ทราบ ทั้งคำวินิจฉัยชี้ขาดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ยังมีผลต่อการสมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรีฉลุงในท้องที่จังหวัดสตูล ตามที่โจทก์ร้องเรียนอีกด้วย ถือว่า ความผิดได้เกิดขึ้นในจังหวัดสตูลอันเป็นเขตอำนาจของศาลชั้นต้นด้วย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 22 และมาตรา 24 ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11858/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่มีเขตอำนาจเป็นเงื่อนไขสำคัญ
ป.วิ.อ. มาตรา 28 บัญญัติให้ทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหาย เป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้ โดยในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนั้น ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลได้โดยไม่จำต้องมีการสอบสวนความผิดนั้นมาก่อน แต่ในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง มาตรา 120 บัญญัติว่า ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน ทั้งต้องเป็นการสอบสวนที่ไม่บกพร่องหรือผิดพลาดในส่วนซึ่งเป็นสาระสำคัญด้วย เพราะมิเช่นนั้นแล้วต้องถือว่า เป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถือเท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนในความผิดนั้นมาก่อน อันมีผลทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง การสอบสวนจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้พนักงานอัยการมีอำนาจในการฟ้องคดีอาญา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้กำหนดหลักเกณฑ์สำคัญเกี่ยวกับการสอบสวนความผิดที่ได้กระทำลงในราชอาณาจักรไว้ในมาตรา 2 (6) และมาตรา 18 กับมาตรา 19 โดยมีสาระสำคัญว่า การสอบสวนต้องกระทำโดยเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน ทั้งการสอบสวนต้องกระทำโดยพนักงานสอบสวนที่มีเขตอำนาจ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า การกระทำของจำเลยที่อ้างว่าเป็นความผิดฐานร่วมกันยักยอก คือการร่วมกับจ่าสิบตำรวจ อ. จำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 21/2555 ของศาลชั้นต้น นำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาจากผู้เสียหายไปจำนำแก่ ก. โดยระบุว่า เหตุเกิดที่แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร แต่ต่อมาในชั้นพิจารณากลับได้ความตามคำเบิกความของร้อยตำรวจเอก ว. พนักงานสอบสวนพยานโจทก์ว่า การจำนำรถยนต์อันเป็นมูลเหตุแห่งความผิดของจำเลยเกิดขึ้นที่เขตเพชรเกษม อันเป็นท้องที่ในความรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษม ดังนี้ พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษมซึ่งเป็นท้องที่ที่ความผิดเกิดย่อมเป็นพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวน พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่อื่นนอกจากนี้ย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนได้ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร และถูกจับกุมดำเนินคดีนี้โดยเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาล หนองค้างพลู เช่นนี้ แม้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลโชคชัยจะเป็นผู้รับคำร้องทุกข์จากผู้เสียหาย ทั้งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีเขตรับผิดชอบในท้องที่ซึ่งบริษัทผู้เสียหายตั้งอยู่ แต่เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลโชคชัยไม่ใช่พนักงานสอบสวนที่ ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสาม กำหนดให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ การที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลโชคชัยทำการสอบสวนจำเลย จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันยักยอก ตาม ป.อ. มาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 จึงเป็นกรณี ที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดกรรมเดียว มิใช่หลายกรรม ทั้งการกระทำอันเป็นความผิดฐานยักยอกตามที่กล่าวหาคือการที่ผู้ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ดังนั้น ความผิดฐานยักยอกย่อมเกิดขึ้นและสำเร็จแล้วเมื่อจำเลยและจ่าสิบตำรวจ อ. ร่วมกันนำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาจากผู้เสียหายไปจำนำแก่ ก. การกระทำของจำเลยจึงหาใช่ความผิดต่อเนื่องที่ได้กระทำในหลายท้องที่ ทั้งกรณีซึ่งจะถือว่าเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ อันจะทำให้พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความผิดมีอำนาจทำการสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 นั้น หมายแต่เฉพาะเมื่อสภาพและลักษณะแห่งการกระทำความผิดนั้น เป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่ในตัวว่า เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำความผิดเกิดขึ้นในท้องที่ใดในหลายท้องที่ต่างเขตอำนาจสอบสวน โดยมิได้หมายรวมถึงกรณีที่เป็นการแน่นอนอยู่แล้วว่า ความผิดนั้นได้กระทำในท้องที่ใด ดังนี้ แม้ผู้เสียหายสามารถร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลโชคชัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 123 และมาตรา 124 ก็ตาม แต่เมื่อการสอบสวนคดีนี้กระทำโดยพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลโชคชัย ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของจำเลย การสอบสวนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีการสอบสวน ย่อมมีผลให้พนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้
of 7