พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบของจำเลยเมื่ออ้างนิติกรรมอำพราง – เงินกู้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยโดยอาศัยหลักฐานแห่งการ กู้ยืมเป็นหนังสือ จำเลยให้การว่าหลักฐานการกู้ยืมที่ทำ ขึ้นนั้นเป็นนิติกรรมอำพรางในการที่สามีโจทก์มอบเงินให้ จำเลยไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาหญิงส่งไปเป็นนางบำเรอพวก เศรษฐีในฮ่องกงเป็นมูลหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่มีมูลหนี้ต่อกัน โจทก์ไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยได้ ดังนี้ เท่ากับจำเลยรับว่าได้ทำเอกสารซึ่งเป็นหลักฐานที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปตามฟ้องแล้ว แต่จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่าเป็นเงินที่สามีโจทก์มอบให้จำเลย เพื่อให้กระทำการในสิ่งที่ขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างใดๆเพื่อสนับสนุนคำให้การของ ตน หน้าที่นำสืบย่อมตกอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ทั้งนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องที่ดินและเงินกู้ การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียม และการรับฎีกา
ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนจำเลยไปอีก 10 วัน และโจทก์ได้นำเงินดังกล่าวมาวางศาลภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และการหักกลบลบหนี้เงินกู้ระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 หมวด 5 ค่าชดเชย มิได้ห้ามการหักกลบลบหนี้ไว้ ดังนั้น นายจ้างย่อมมีสิทธิหักค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เพื่อชำระหนี้เงินกู้ที่ลูกจ้างยืมไปจากนายจ้างได้
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะลูกจ้างกระทำผิดระเบียบของนายจ้าง มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากนายจ้าง
เมื่อการกระทำของลูกจ้างมิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ร้ายแรง นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง
คำให้การแก้ฟ้องแย้งโจทก์ต่อสู้แต่เพียงว่า จำเลยไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้มิได้ปฏิเสธหนี้เงินกู้แต่ประการใด ดังนี้ จำเลยจะส่งสำเนากู้ยืมให้โจทก์หรือไม่ก็ฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลยตามสัญญากู้ที่จำเลยฟ้องแย้ง
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะลูกจ้างกระทำผิดระเบียบของนายจ้าง มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากนายจ้าง
เมื่อการกระทำของลูกจ้างมิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ร้ายแรง นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง
คำให้การแก้ฟ้องแย้งโจทก์ต่อสู้แต่เพียงว่า จำเลยไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้มิได้ปฏิเสธหนี้เงินกู้แต่ประการใด ดังนี้ จำเลยจะส่งสำเนากู้ยืมให้โจทก์หรือไม่ก็ฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลยตามสัญญากู้ที่จำเลยฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นโดยพลการหลังมีข้อตกลงเดิม และผลของการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด
จำเลยมีสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โดยโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 12 ครึ่งต่อปีนับแต่จำเลยเริ่มเบิกเงินเกินบัญชี พร้อมกันนั้นจำเลยได้ทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย ในสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ร้อยละ 14ต่อปี ดังนี้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนี้ประธานส่วนหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ แม้ในสัญญาจำนองจำเลยจะตกลงเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร้อยละ 14 ต่อปี ก็มิใช่ว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร้อยละ 14 ต่อปีเสมอไป จำเลยจะรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ตามสัญญาอุปกรณ์เพียงใดต้องดูข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธาน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีร้อยละ 12 ครึ่งตลอดมา ดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธาน การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารให้กู้จากอัตราเดิมร้อยละ 14 ต่อปีเป็นร้อยละ 15ต่อปี เป็นเพียงให้ธนาคารโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ทำให้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระหว่างโจทก์จำเลยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธานเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การที่โจทก์เพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้จากร้อยละ 12 ครึ่ง มาเป็นร้อยละ 14 ต่อปีโดยพลการมิได้แจ้งให้จำเลยทราบและตกลงด้วยนั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและบอกกล่าวบังคับจำนองกับจำเลย สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าว การที่จำเลยขอให้โจทก์ยกเลิกหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง และขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปนับแต่วันครบตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์นั้น เป็นเพียงคำเสนอขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไป ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่บัญชีเดินสะพัดของจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว การที่โจทก์เพียงแต่รับหนังสือดังกล่าวของจำเลยไว้โดยไม่ได้ตอบสนองคำเสนอของจำเลย จึงหาทำให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปไม่ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีอีกหลายครั้ง แต่ไม่มีสิทธิจะเบิกเงินจากโจทก์ได้อีกการนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวมีผลเพียงเป็นการผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เท่านั้น เพราะมีแต่การหักทอนบัญชีหนี้บางส่วนของจำเลยลงฝ่ายเดียว หาได้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีอยู่ต่อไปไม่
โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลย แต่โจทก์ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นแล้วแจ้งยอดจำนวนหนี้ให้จำเลยทราบจำเลยได้รับสภาพหนี้ตามจำนวนที่โจทก์แจ้งไปนั้น หามีผลให้จำเลยต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่จำเลยรับสภาพหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสารภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ต่อกัน
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและบอกกล่าวบังคับจำนองกับจำเลย สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าว การที่จำเลยขอให้โจทก์ยกเลิกหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง และขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปนับแต่วันครบตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์นั้น เป็นเพียงคำเสนอขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไป ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่บัญชีเดินสะพัดของจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว การที่โจทก์เพียงแต่รับหนังสือดังกล่าวของจำเลยไว้โดยไม่ได้ตอบสนองคำเสนอของจำเลย จึงหาทำให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปไม่ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีอีกหลายครั้ง แต่ไม่มีสิทธิจะเบิกเงินจากโจทก์ได้อีกการนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวมีผลเพียงเป็นการผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เท่านั้น เพราะมีแต่การหักทอนบัญชีหนี้บางส่วนของจำเลยลงฝ่ายเดียว หาได้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีอยู่ต่อไปไม่
โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลย แต่โจทก์ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นแล้วแจ้งยอดจำนวนหนี้ให้จำเลยทราบจำเลยได้รับสภาพหนี้ตามจำนวนที่โจทก์แจ้งไปนั้น หามีผลให้จำเลยต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่จำเลยรับสภาพหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสารภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ต่อกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คค้ำประกันเงินกู้: จำเลยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค เมื่อเจตนาเป็นการค้ำประกัน ไม่ใช่การชำระหนี้
จำเลยออกเช็คให้ผู้เสียหายเพื่อเป็นการค้ำประกันการที่ผู้เสียหายนำที่ดินไปจำนองประกันเงินกู้ที่จำเลยกับภริยากู้ไปจากธนาคาร จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 3 ตามที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2344/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝากบังคับคดีได้ จำเลยต้องคืนเงินส่วนเกินหลังหักเงินกู้
โจทก์ตกลงกู้เงินจากจำเลยโดยเอาที่พิพาทจำนองค้ำประกันแต่ทำสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพราง และเมื่อปรากฏว่าจำเลยขายที่พิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว จำเลยก็ต้องคืนเงินดังกล่าวให้โจทก์โดยหักเงินที่โจทก์กู้ออกจากเงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้กู้เงินจากบุคคลอื่นแล้วนำมาให้ลูกหนี้กู้ต่อ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหนี้ได้เต็มจำนวน
ลูกหนี้ได้กู้เงินเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ไปสองครั้งโดยได้ทำสัญญากู้ไว้ 2 ฉบับ ฉบับละ 400,000 บาท แม้จะปรากฏว่าเงินที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ในครั้งแรกจำนวน 400,000 บาท เป็นเงินของเจ้าหนี้เอง 200,000 บาท และเป็นเงินของบิดาเจ้าหนี้ 200,000 บาท และเงินที่ให้ลูกหนี้กู้ในครั้งที่สองเป็นเงินของเจ้าหนี้เอง 100,000 บาท เป็นของบิดาเจ้าหนี้ 100,000 บาท และเป็นของ ท.ป้าของเจ้าหนี้ 200,000 บาทก็ตาม เงินในส่วนที่เป็นของบิดาเจ้าหนี้และของป้าเจ้าหนี้ ถือได้ว่าเป็นเงินที่บิดาและป้ามอบหมายให้เจ้าหนี้เป็นผู้ดำเนินการให้ลูกหนี้กู้ไป จึงเท่ากับเจ้าหนี้เป็นผู้ให้กู้สำหรับจำนวนเงินทั้งหมดตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับนั้น เจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ได้เต็มตามจำนวนที่ลูกหนี้ได้ทำสัญญากู้ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเรียกเงินกู้: สินส่วนตัว vs. สินสมรส และผลกระทบจากการเสียชีวิตของคู่สมรส
ภริยาให้กู้เงินที่เป็นสินส่วนตัว และฟ้องเรียกเงินนั้นคืนได้โดยลำพัง
แม้ภริยาให้กู้เงินที่เป็นสินสมรส และฟ้องคดีโดยสามีไม่ได้ยินยอมด้วย แต่ปรากฏชั้นฎีกาว่าสามีตายแล้วไม่มีทางให้สามีเข้าจัดการร่วมด้วย ภริยาจัดการสินสมรสได้โดยลำพังและมีอำนาจฟ้อง
แม้ภริยาให้กู้เงินที่เป็นสินสมรส และฟ้องคดีโดยสามีไม่ได้ยินยอมด้วย แต่ปรากฏชั้นฎีกาว่าสามีตายแล้วไม่มีทางให้สามีเข้าจัดการร่วมด้วย ภริยาจัดการสินสมรสได้โดยลำพังและมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เงินกู้ ไม่ถือเป็นลาภมิควรได้ แม้จะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้กู้เงินจำเลย 5,000 บาท แต่ทำสัญญากู้กันไว้ 8,000 บาท โจทก์ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้จำเลยแล้วรวม 5,300 บาท ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์เรียกเงินต้นและดอกเบี้ยรวม 9,150 บาท โจทก์จำเลยได้ตกลงกันนอกศาลโดยจำเลยยอมให้โจทก์หักเงินจำนวน 5,300 บาท ออกจากทุนทรัพย์ในคดีและจำเลยยอมรับเงินเพียง 4,200 บาทแต่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลโดยโจทก์ยอมชำระเงินให้จำเลยเต็มตามฟ้องภายใน 1 เดือน ครั้นครบกำหนดตามยอมจำเลยไม่ยอมรับชำระเงิน 4,200 บาท แต่กลับขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ทำกันไว้ในศาลดังกล่าวจึงขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนเงิน 5,300 บาท ที่โจทก์ได้ชำระให้แก่จำเลยไปดังกล่าวดังนี้ เมื่อตามฟ้องปรากฏชัดอยู่แล้วว่า ที่จำเลยได้รับเงิน 5,300 บาท จากโจทก์ไว้ เพราะโจทก์ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่จำเลย (ชำระหนี้เงินจำนวนดังกล่าวก็โดยอาศัยที่โจทก์เป็นหนี้เงินกู้จำเลยอยู่) จึงเป็นกรณีที่มีมูลอันจำเลยจะอ้างได้ตามกฎหมายไม่เป็นลาภมิควรได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 โจทก์จึงเรียกเงินที่ชำระไปดังกล่าวแล้วคืนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2657/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินกู้: เริ่มนับเมื่อผิดนัดชำระดอกเบี้ย แม้สัญญาจะกำหนดวันใช้เงินต้นในภายหลัง
โจทก์ให้จำเลยกู้เงิน สัญญากู้ข้อ 3 กำหนดให้ใช้ต้นเงินคืนวันที่ 4 มิถุนายน 2508 สัญญาข้อ 4 กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ทุกเดือน และในสัญญาข้อ 6 มีความว่า "แม้ว่าข้าพเจ้า (จำเลย) ประพฤติผิดสัญญานี้แต่ข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ยอมให้ท่าน (โจทก์) ฟ้องร้องเรียก6 นี้ ถ้าจำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยในเดือนใด นับแต่วันนั้นโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินคืนได้แล้ว ไม่จำต้องรอจนครบกำหนดวันใช้ต้นเงินคืนตามสัญญาข้อ 3 จำเลยผิดนัดไม่นำดอกเบี้ยมาชำระให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 4กรกฎาคม 2507 โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้และดอกเบี้ยในวันที่ 9 กันยายน 2517 จึงเกิน 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีโจทก์จึงขาดอายุความ