คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินทดแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิกรมแรงงานในการเฉลี่ยหนี้เงินทดแทน แม้ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน โดยให้อำนาจอธิบดีกรมแรงงานออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ยึดอายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ไม่จ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและหรือเงินเพิ่มได้เองโดยไม่ต้องฟ้องร้องต่อศาล ถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 กรมแรงงานจึงมีสิทธิขอเข้าเฉลี่ยหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ แม้จะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ใช่หนี้ค่าภาษีอากรก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเงินทดแทนแรงงาน: การฟ้องกรมแรงงานต้องภายใน 30 วันนับจากวันที่ทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์
บ. ลูกจ้างจำเลยประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย โจทก์เป็นภริยาของ บ. ยื่นเรื่องราวขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานแรงงานจังหวัดสำนักงานแรงงานจังหวัดปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทนโจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนคณะกรรมการฯ ยกอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ทราบผลการวินิจฉัยเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2529 ดังนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนฯ ข้อ 25 กำหนดว่าถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ฟ้องต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยและต่อมาได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางหมายเรียกกรมแรงงานเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2529 ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์ฟ้องกรมแรงงานในวันที่ 18 กันยายน นั้นเอง ถือได้ว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยร่วมต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเงินทดแทนแรงงาน: การนับระยะเวลาจากวันที่ทราบผลอุทธรณ์
บ.ลูกจ้างจำเลยประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย โจทก์เป็นภริยาของ บ. ยื่นเรื่องราวขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานแรงงานจังหวัดสำนักงานแรงงานจังหวัดปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทน โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน คณะกรรมการฯ ยกอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ทราบผลการวินิจฉัยเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2529ดังนี้ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนฯ ข้อ 25 กำหนดว่าถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ฟ้องต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยและต่อมาได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางหมายเรียกกรมแรงงานเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2529ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์ฟ้องกรมแรงงานในวันที่ 18 กันยายน นั้นเองถือได้ว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยร่วมต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเงินทดแทนแรงงาน: การฟ้องกรมแรงงานหลังพ้น 30 วันจากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทำให้ขาดอายุความ
บ. ลูกจ้างจำเลยประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย โจทก์เป็นภริยาของ บ. ยื่นเรื่องราวขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานแรงงานจังหวัดสำนักงานแรงงานจังหวัดปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทนโจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนคณะกรรมการฯ ยกอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ทราบผลการวินิจฉัยเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2529 ดังนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนฯ ข้อ 25 กำหนดว่าถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ฟ้องต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยและต่อมาได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางหมายเรียกกรมแรงงานเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2529 ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์ฟ้องกรมแรงงานในวันที่ 18 กันยายน นั้นเอง ถือได้ว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยร่วมต่อศาลได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินทดแทนจากประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ไม่ใช่เงินทดแทนตามกฎหมายแรงงาน แม้จ่ายโดยนายจ้าง
บริษัท ส.นายจ้างเดิมของพ.ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันบริษัทจำเลยที่ 2 นายจ้างคนใหม่ของ พ.ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลให้แก่พ.กรมธรรม์ประกันภัยมิได้มีข้อความกำหนดว่าต้องเป็นอุบัติเหตุอันเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างแต่เพียงประการเดียว แม้ลูกจ้างผู้เอาประกันภัยจะประสบอันตรายโดยมิได้เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง บริษัทประกันภัยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญา แม้บริษัท ส.จะเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันก็เป็นเพียงการให้สวัสดิการเพื่อบำรุงขวัญและเป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของ พ.เท่านั้น ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ พ.ได้รับจากบริษัทประกันภัยจึงมิใช่เป็นเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
กรณีที่นายจ้างได้เอาประกันการจ่ายเงินทดแทนไว้กับบริษัทประกันภัย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประเภท ขนาดของกิจการและท้องที่ที่ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ฉบับที่ 13 ข้อ 4นั้น เป็นกรณีที่นายจ้างได้เอาประกันไว้แล้วไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนสำหรับลูกจ้างที่เอาประกันไว้เท่านั้น หาได้กำหนดว่าเงินที่เอาประกันภัยเป็นเงินทดแทนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 604/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งเงินทดแทน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์โต้แย้งการวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลแรงงาน
อุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนไปจากความเห็นแพทย์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 604/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์การวินิจฉัยข้อเท็จจริงทางการแพทย์ในคดีเงินทดแทน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนไปจากความเห็นแพทย์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนของบุตรผู้ตายเมื่ออายุครบ 18 ปี และไม่ได้ศึกษาต่อ
บุตรของผู้ตายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 50(3) มิใช่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตลอดไปจนกว่าจะครบกำหนดตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน แต่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนเฉพาะในระหว่างที่ตนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด หากขาดคุณสมบัติดังกล่าวแล้วแม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้จะมิได้กำหนดให้ส่วนแบ่งของบุตรของผู้ตายเป็นอันยุติหรือเหตุดังกล่าวไม่ใช่เหตุตามที่ระบุไว้ในข้อ 50 วรรคสาม ซึ่งกำหนดให้ส่วนแบ่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนเป็นอันยุติก็ตาม ก็ต้องถือว่าเป็นอันยุติไปโดยผลของข้อ 50(3) เมื่อส.บุตรของผู้ตายมีอายุครบสิบแปดปีและมิได้ศึกษาอยู่ซึ่งขาดคุณสมบัติที่จะได้รับเงินทดแทนจากจำเลย สิทธิเรียกร้องของ ส.จึงเป็นอันยุติ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่ ส. และประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวมิได้กำหนดให้สิทธิของ ส.โอนหรือตกทอดไปยังโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นภรรยาและบุตรอีกผู้หนึ่งของผู้ตาย หรือมิได้กำหนดให้จำเลยต้องนำเงินทดแทนอันเป็นส่วนของ ส. มาเฉลี่ยแบ่งจ่ายให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินทดแทนอันเป็นส่วนของ ส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนของบุตรผู้ตายเมื่ออายุครบ 18 ปี และการสิ้นสุดสิทธิเมื่อขาดคุณสมบัติ
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ50วรรคแรก(3)ที่ให้บุตรของลูกจ้างซึ่งประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายมีสิทธิรับเงินทดแทนจากนายจ้างนั้นบุตรนั้นต้องมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีเว้นแต่ถ้าอายุครบสิบแปดปีแล้วแต่ยังศึกษาอยู่ก็ให้ได้รับส่วนแบ่งต่อไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่มิใช่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตลอดไปจนกว่าจะครบตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนแต่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนเฉพาะในระหว่างที่ตนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เมื่อบุตรของลูกจ้างผู้ตายมีอายุครบสิบแปดปีและมิได้ศึกษาอยู่จึงขาดคุณสมบัติที่จะได้รับเงินทดแทนจากนายจ้างแล้วประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานมิได้กำหนดให้สิทธิเรียกร้องส่วนของบุตรลูกจ้างที่จะได้เงินทดแทนนั้นโอนหรือตกทอดไปยังทายาทอื่นของลูกจ้างทั้งมิได้กำหนดให้นายจ้างต้องนำเงินทดแทนอันเป็นส่วนของบุตรของลูกจ้างนั้นมาเฉลี่ยแบ่งจ่ายให้แก่ทายาทอื่นของลูกจ้างได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3465/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้มีสิทธิรับเงินทดแทนจากอุบัติเหตุจากการทำงาน: เกณฑ์การเป็นผู้อยู่ในอุปการะ
ผู้ซึ่งอยู่ในอุปการะของลูกจ้างที่ตายตามความในวรรคสองของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 50 นั้น อาจเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันไม่ถึงเสมอเป็นเครือญาติกับลูกจ้าง แต่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเพียงพอเกี่ยวกับการดำรงชีพที่ได้รับจากผู้ตายเสมอมามิใช่ด้วยความเมตตาเป็นครั้งเป็นคราวและไม่แน่นอน และความตายของลูกจ้างผู้นั้นต้องเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บุคคลนั้นต้องได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีพอีกด้วย
of 13