คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินบำเหน็จ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5892/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จไม่ใช่สิทธิทางกฎหมาย แต่เป็นข้อตกลงสภาพการจ้าง การจ่ายเงินบำเหน็จหรือไม่อย่างไรเป็นสิทธิของนายจ้าง
เงินบำเหน็จมิใช่เงินที่นายจ้างมีหน้าที่จะต้องจ่ายตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การจะจ่ายเงินบำเหน็จหรือไม่อย่างไรเป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จะตกลงกันไว้อย่างไรก็ได้ ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จกำหนดว่า ในกรณีที่พนักงานประจำมีสิทธิได้รับทั้งเงินชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและเงินบำเหน็จ ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าเงินชดเชยให้ตัดเงินบำเหน็จออกเท่ากับเงินชดเชย ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าเงินชดเชยก็ให้ได้รับเงินชดเชยอย่างเดียว ดังนี้เป็นการกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จ มิใช่เป็นการกำหนดเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับเงินชดเชย สิทธิที่จะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมีอยู่อย่างไรก็เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบดังกล่าวจึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ข้อกำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จ ไม่กระทบกระเทือนถึงคนอื่นที่มิได้ตกลงด้วย จึงมิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5711-5723/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและค่าชดเชย: เงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย, การนับอายุการทำงาน, ผู้ผิดนัดและดอกเบี้ย
พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่ง มิได้หมายความว่าเมื่อพนักงานผู้ใดขาดคุณสมบัติ หรือมีเหตุต้องพ้นจากตำแหน่ง การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการให้พนักงานผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วยเท่านั้น โจทก์ที่ 1 ถึง 12 บกพร่องต่อหน้าที่หรือมีผลงานต่ำกว่ามาตรฐานอันถือว่าเป็นผู้ไม่สามารถทำงานให้แก่จำเลยได้เต็มเวลา และเป็นการขาดคุณสมบัติ แต่ก็มิใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ที่จำเลยให้โจทก์ที่ 1 ถึง 12 ออกจากงานจึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมายความว่าเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นการจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานเมื่อออกจากงานของจำเลยตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ มีหลักเกณฑ์การจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าชดเชย ถือมิได้ว่าเงินที่จ่ายตามข้อบังคับดังกล่าวเป็นการจ่ายค่าชดเชย แม้จะมีข้อบังคับระบุว่าพนักงานมีสิทธิรับเงินบำเหน็จเพียงอย่างเดียว และถือเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายก็ไม่มีผลบังคับ อุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้ง คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางโดยยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงโดยชัดแจ้ง เป็นอุทธรณ์ที่มิชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายก็ตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้าง ข้ออ้างว่าไม่เจตนาหาเป็นเหตุให้พ้นความรับผิดไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชย: ข้อบังคับธนาคารฯ ไม่ตัดสิทธิค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ข้อบังคับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ฉบับที่ 29ว่าด้วยเงินบำเหน็จ กำหนดเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จมีสาระสำคัญว่า พนักงานที่ทำงานมาแล้วตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป จึงจะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ แม้พนักงานได้ลาออกหรือถึงแก่ความตายก็มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ ซึ่งแตกต่างจากเงื่อนไขในการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 46 ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งกำหนดว่าลูกจ้างที่มีอายุงาน120 วัน ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้ว ถ้า ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 แต่ถ้า ลูกจ้างลาออกหรือตาย ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย เงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เมื่อเลิกจ้างจึงไม่ใช่ค่าชดเชย แม้ข้อบังคับดังกล่าวจะกำหนดให้ถือว่าการจ่ายเงินบำเหน็จเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อบังคับดังกล่าวย่อมไม่มีผลยกเลิกค่าชดเชยตามกฎหมายแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินบำเหน็จของลูกจ้างที่ลาออกจากการถูกลงโทษทางวินัย ต้องพิจารณาความร้ายแรงของความผิด
ข้อบังคับคณะกรรมการการบริหารกิจการของอุตสาหกรรมห้องเย็น ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของผู้ปฎิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2519 ที่แก้ไขแล้ว ข้อ 9(5) กำหนดเกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จกรณี ลาออกจากงานไว้ว่า การลาออกของลูกจ้างจะต้องไม่มีความผิดใด ๆโดยไม่ได้กำหนดให้แน่ชัดว่าจะต้องเป็นความผิดร้ายแรงถึงขนาดที่จะต้องถูกลงโทษให้ออกจากงานหรือไม่ แต่ตามข้อ 12 ลูกจ้างที่ถูกลงโทษหรือถึงแก่ความตายไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ จะต้องกระทำความผิดร้ายแรงถึงขนาดถูกลงโทษให้ออกจากงานหรือในกรณีถึงแก่ความตายเนื่องจากการกระทำความผิดอาญาร้ายแรงที่ไม่ใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดฐานประมาท หรือกระทำผิดวินัยร้ายแรงซึ่งถ้าไม่ถึงแก่ความตายเสียก่อนก็จะต้องถูกลงโทษถึงออกจากงานตามข้อบังคับ ดังนั้น ในกรณีที่ลูกจ้างลาออกเพราะกระทำความผิด แม้ข้อบังคับ ข้อ 9(5) ไม่ได้ระบุไว้ว่าต้องเป็นการกระทำความผิดร้ายแรง เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อบังคับ ข้อ 12 ดังกล่าว แล้วย่อมแปลความไว้ว่า การที่ลูกจ้างลาออกจากงานเพราะกระทำความผิดและจะไม่มีสิทธิได้รับ เงินบำเหน็จนั้น จะต้องเป็นความผิดร้ายแรงถึงขนาดที่ว่าถ้าลูกจ้างไม่ลาออกเสียก่อนก็จะต้องถูกลงโทษถึงออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลย มิฉะนั้น ลูกจ้างของจำเลยที่กระทำ ความผิดเล็กน้อยลาออกจากงานก็จะไม่ได้รับบำเหน็จ จะต้อง ทำงานอยู่ตลอดไปจนเกษียณอายุจึงจะได้รับเงินบำเหน็จซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: ค่าชดเชยและการแยกแยะเงินบำเหน็จ
การที่ ม. เจ็บป่วยทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตามปกติ เป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติไม่ใช่เกิดจากการกระทำของ ม. แม้ระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ 121 ว่าด้วยการแต่งตั้งและการถอนจากตำแหน่งพนักงานธนาคารออมสิน ข้อ 6.1 จะให้อำนาจจำเลยสั่งให้ ม. ออกจากงานหรือสัญญาของผู้เข้าทำงานธนาคารออมสินซึ่ง ม. ทำกับจำเลยข้อ 7. ให้อำนาจจำเลยที่จะถอดถอน ม. ออกจากงานได้ก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อกำหนดให้จำเลยเลิกจ้าง ม. ได้เท่านั้น ไม่ใช่ข้อกำหนดว่าม. กระทำความผิด ดังนั้น การที่ ม. ป่วยดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับหรือสัญญาจ้างของจำเลยเมื่อจำเลยเลิกจ้าง ม. จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ ม. เงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้แก่ ม. ตามระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสินหมวด 2 มีหลักเกณฑ์ในการคำนวณและการจ่ายเงินบำเหน็จแตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ไม่อาจปรับเป็นเงินประเภทหรือจำนวนเดียวกันได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. จึงมีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
เงินบำเหน็จตาม ข้อบังคับองค์การทอผ้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ. 2521 เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานที่ออกจากงาน มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้พนักงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานประจำเป็นรายวัน ถือ ไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตาม ข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของจำเลย เงินบำเหน็จจึงไม่มีลักษณะเช่นเดียว กับค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีสิทธิเรียกร้องได้ ภายใน 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง เงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องอายุความ 10 ปี
เงินบำเหน็จตามข้อบังคับองค์การทอผ้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ. 2521 เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานที่ออกจากงาน มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้พนักงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานประจำเป็นรายวัน ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของจำเลย เงินบำเหน็จจึงไม่มีลักษณะเช่นเดียวกับค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4628/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายจากเงินบำเหน็จออกจากงานตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ออกจากงานเพราะครบเกษียณอายุ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2524 นายจ้างของโจทก์จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานให้โจทก์เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2524 เป็นเงิน 94,140 บาทครั้นวันที่ 5 มกราคม 2525 จ่ายเงินบำเหน็จเพราะโจทก์ออกจากงานให้อีก 545,358.25 บาท ไม่ปรากฏว่านอกจากนี้นายจ้างยังจ่ายเงินให้โจทก์เป็นรายเดือนอันมีลักษณะเป็นเงินบำนาญอีก เงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์ทั้งหมดดังกล่าวเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์เพียงครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานชอบที่จะหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4628/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จากเงินบำเหน็จและบำนาญเมื่อออกจากงาน: เงินบำเหน็จหักค่าใช้จ่ายได้
ตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากรนั้นเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อออกจากงานมีอยู่ 2 ลักษณะ คือเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน และเงินได้จ่ายในลักษณะเป็นบำเหน็จจำนวนหนึ่งและมีลักษณะเป็นบำนาญอีกจำนวนหนึ่งซึ่งกรณีที่นายจ้างจ่ายในลักษณะหลังนี้ เงินบำนาญเท่านั้นที่จะหักค่าใช้จ่ายตามบทบัญญัติมาตรานี้ไม่ได้ และตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา 4 ให้คำจำกัดความคำว่า บำเหน็จว่าเป็นเงินตอบแทนความชอบ ฯลฯ ซึ่งจ่ายให้ครั้งเดียว ส่วนบำนาญหมายความว่าเป็นเงินตอบแทน ฯลฯซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่านอกจากนายจ้างของโจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานและเงินบำเหน็จให้โจทก์แล้ว นายจ้างยังได้จ่ายเงินให้โจทก์เป็นรายเดือนภายหลังโจทก์ออกจากเงินอันมีลักษณะเป็นเงินบำนาญด้วยฉะนั้นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์ทั้งหมดซึ่งรวมถึงเงินบำเหน็จด้วย จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ชอบที่โจทก์จะหักค่าใช้จ่ายตามที่มาตรา 42 ทวิ วรรคสาม บัญญัติไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริต ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะมีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริตโดยหวังผลประโยชน์อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง แสดงว่าจำเลยได้ เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุไม่ไว้วางใจโดยมีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริต มิใช่เลิกจ้างเพราะโจทก์กระทำทุจริตโดยตรง จำเลยจึงไม่ต้องนำสืบพยานถึงการกระทำทุจริตโดยตรงของโจทก์ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุไม่ไว้วางใจจึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่าพนักงานที่ถูก ปลดออกจากงานจะไม่มีสิทธิได้ รับเงินบำเหน็จเพราะมีความผิด เมื่อจำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเพราะมีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริต ไม่ได้ปลดออกเพราะกระทำผิด โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
of 18