คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับและเงินประกันเป็นค่าเสียหายต่างประเภท ริบเงินประกันแล้วยังเรียกเบี้ยปรับได้ ศาลอาจลดเบี้ยปรับได้ตามสมควร
เบี้ยปรับกับเงินประกันนั้นนอกจากจะต่างประเภทกันแล้วยังแยกต่างหากจากกันด้วย ดังนั้นเมื่อริบเงินประกันแล้วยังเรียกเอาเบี้ยปรับได้อีกด้วย ถ้าสัญญามีข้อตกลงกันไว้เช่นนั้น สัญญาซื้อขายรวมความได้ว่า ในกรณีที่ผู้ขายประพฤติผิดสัญญาไม่ว่าผู้ซื้อจะบอกเลิกสัญญาหรือไม่ ผู้ซื้อมีสิทธิริบเงินประกันและเรียกเอาเบี้ยปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาได้ด้วย ผู้ขายจึงต้องชำระเบี้ยปรับแก่ผู้ซื้อนอกเหนือจากริบเงินประกัน เบี้ยปรับก็คือค่าเสียหายจำนวนหนึ่งที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้า อันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นเนื่องจากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา เพื่อให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้ให้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญาแต่มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามนั้น ศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาลงได้ โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการหักเงินประกันของนายจ้างเมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ และการจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
จำเลยมีระเบียบเกี่ยวกับเงินประกันความว่า "หากมีความเสียหายเกิดขึ้นอันอยู่ในความรับผิดชอบตามหน้าที่ของพนักงาน ไม่ว่าจะโดยเจตนา ไม่เจตนา ประมาทเลินเล่อ อันเป็นความผิดจากการกระทำของพนักงาน โรงพยาบาลมีสิทธิหักค่าเสียหายออกจากเงินประกันได้ทันทีตามความเป็นจริง และพนักงานต้องไม่กระทำความผิดสถานร้ายแรงตามกฎหมาย และถูกเลิกจ้างตามความผิดนั้นโรงพยาบาลจะคืนเงินประกันให้" การที่โจทก์ขาดงานอันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นเวลาติดต่อกันถึงห้าวัน ย่อมเป็นการเสียหายแก่จำเลยอยู่ในตัว และถือได้ว่าเป็นการร้ายแรง เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุนี้ จึงเข้าเกณฑ์ตามระเบียบดังกล่าว ซึ่งจำเลยมีสิทธิหักเงินประกันได้
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า สำหรับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้โดยชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหักเงินประกันความเสียหายจากละทิ้งหน้าที่ และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทค่าจ้าง
จำเลยมีระเบียบเกี่ยวกับเงินประกันความว่า "หากมีความเสียหายเกิดขึ้นอันอยู่ในความรับผิดชอบตามหน้าที่ของพนักงาน ไม่ว่าจะโดยเจตนา ไม่เจตนาประมาทเลินเล่อ อันเป็นความผิดจากการกระทำของพนักงานโรงพยาบาล มีสิทธิหักค่าเสียหายออกจากเงินประกันได้ทันทีตามความเป็นจริง และพนักงานต้องไม่กระทำความผิดสถานร้ายแรงตามกฎหมาย และถูกเลิกจ้างตามความผิดนั้น โรงพยาบาลจะคืนเงินประกันให้" การที่โจทก์ขาดงานอันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นเวลาติดต่อกันถึงห้าวัน ย่อมเป็นการเสียหายแก่จำเลยอยู่ในตัวและถือได้ว่าเป็นการร้ายแรง เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุนี้จึงเข้าเกณฑ์ตามระเบียบดังกล่าว ซึ่งจำเลยมีสิทธิหักเงินประกันได้ ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า สำหรับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้โดยชัดแจ้งไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท จำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานละทิ้งหน้าที่ และสิทธิในการได้รับเงินประกัน/ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
จำเลยมีระเบียบเกี่ยวกับเงินประกันความว่า "หากมีความเสียหายเกิดขึ้นอันอยู่ในความรับผิดชอบตามหน้าที่ของพนักงาน ไม่ว่าจะโดยเจตนา ไม่เจตนา ประมาทเลินเล่อ อันเป็นความผิดจากการกระทำของพนักงาน โรงพยาบาลมีสิทธิหักค่าเสียหายออกจากเงินประกันได้ทันทีตามความเป็นจริง และพนักงานต้องไม่กระทำความผิดสถานร้ายแรงตามกฎหมาย และถูกเลิกจ้างตามความผิดนั้นโรงพยาบาลจะคืนเงินประกันให้"การที่โจทก์ขาดงานอันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นเวลาติดต่อกันถึงห้าวัน ย่อมเป็นการเสียหายแก่จำเลยอยู่ในตัวและถือได้ว่าเป็นการร้ายแรง เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุนี้จึงเข้าเกณฑ์ตามระเบียบดังกล่าว ซึ่งจำเลยมีสิทธิหักเงินประกันได้ ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า สำหรับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้โดยชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3784/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการหลอกลวงประชาชนเพื่อเงินประกันการเข้าทำงาน จำเลย 4 มีความผิดฐานสนับสนุน
จำเลยที่ 4 เป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 ทราบดีว่า สำนักงานสาขาลำพูนของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีเงินทุนดำเนินการ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้นำเงินค้ำประกันการเข้าทำงานของพนักงานมาจ่าย แต่จำเลยที่ 4 ก็ยังดำเนินการรับสมัครงานตลอดมา ตามพฤติการณ์จำเลยที่ 4 ย่อมทราบดีว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีงาน การรับสมัครพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 สาขาลำพูนดังกล่าวเป็นการหลอกลวงประชาชนเพื่อให้ได้เงินประกันการเข้าทำงาน ซึ่งจำเลยที่ 4 ก็ยังคงดำเนินการให้การหลอกลวงนั้นบรรลุผล เป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่บริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 กระทำผิด จำเลยที่ 4 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินประกันการทำงานเมื่อเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยไม่ได้อ้างสิทธิริบตามระเบียบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิด ขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมหรือให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้โดยมิได้ปฏิเสธฟ้องโจทก์ให้แจ้งชัดถึงเรื่องเงินประกันว่า เพราะเหตุใดจำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินประกันให้แก่โจทก์ และจำเลยก็ไม่ได้ให้การถึงระเบียบว่าด้วยเงินประกันและผู้ค้ำประกันของพนักงานดังนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิริบเงินประกันที่โจทก์วางไว้ตามระเบียบของจำเลยหรือไม่ ฉะนั้นการที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิริบเงินประกันตามระเบียบของจำเลย จึงเป็นการมิชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: ศาลใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินส่วนและมีเงินประกัน
เบี้ยปรับคือค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในสัญญาอันอาจมีหรือเกิดขึ้นจากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประพฤติผิดสัญญา เพื่อให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้ให้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา แต่ ก็มิได้บังคับโดย เด็ดขาดว่าจำนวนเบี้ยปรับจะต้อง เป็นไปตาม ที่กำหนดไว้ในสัญญาหากจำนวนเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลอาจใช้ ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตาม สัญญาลงได้ โดย พิจารณาถึง ทางได้เสียของโจทก์ซึ่ง เป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วย กฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาจ้าง: การคืนเงินประกันเมื่อลาออกระหว่างทดลองงาน ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานกับบริษัทจำเลยนายจ้างข้อ 2 มีข้อความว่า บริษัทฯ ตกลงรับพนักงานเข้าปฏิบัติงานเป็นการทดลองงาน เป็นระยะเวลา 180 วัน ในระหว่างทดลองงานบริษัทฯจะให้การอบรมเกี่ยวกับหน้าที่การงาน... ฯลฯ ... ข้อ 4 มีข้อความว่าในกรณีที่พนักงานผ่านการอบรมครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวและบริษัทฯ เห็นควรว่าจ้างพนักงานต่อไป บริษัทฯ ตกลงว่าจ้างให้พนักงานเป็นพนักงานประจำของบริษัทฯ... ข้อ 5 มีข้อความว่าในกรณีบริษัทฯ ตกลงว่าจ้างพนักงานตามข้อ 4 แล้วพนักงานสัญญาว่าจะทำงานให้แก่บริษัทฯ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันครบกำหนดการทดลองงาน... และข้อ 16 มีข้อความว่า เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานของพนักงานตามสัญญานี้ พนักงานได้วางเงินประกันการทำงานไว้แก่บริษัทฯ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2531 ถ้าพนักงานมีความประสงค์ที่จะลาออกและได้ทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปีแล้ว ทางบริษัทฯ จะคืนเงินประกันจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยธนาคารให้ ข้อสัญญาดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า พนักงานที่จำเลยจะคืนเงินประกันเมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกตามสัญญาข้อ 16 หมายถึงพนักงานที่จำเลยได้ตกลงว่าจ้างให้เป็นพนักงานประจำของจำเลยตามสัญญาข้อ 4, 5 ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเพียงพนักงานที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้ปฏิบัติงานเป็นการทดลองงานขอลาออกจากงานในระหว่างทดลองงาน จึงไม่เป็นการผิดสัญญาจ้างจำเลยจะอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินประกันให้แก่โจทก์ไม่ได้
การตีความสัญญานั้นต้องพิจารณาข้อความในสัญญาทั้งฉบับ จะหยิบยกแต่เฉพาะข้อสัญญาข้อใดข้อหนึ่งหรือเพียงบางข้อขึ้นวินิจฉัยหาเป็นกาถูกต้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทดลองงาน การคืนเงินประกัน และการตีความสัญญาตามวัตถุประสงค์
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานกับบริษัทจำเลยนายจ้างข้อ 2 มีข้อความว่า บริษัทฯ ตกลงรับพนักงานเข้าปฏิบัติงานเป็นการทดลองงาน เป็นระยะเวลา 180 วัน ในระหว่างทดลองงานบริษัทฯจะให้การอบรมเกี่ยวกับหน้าที่การงาน... ฯลฯ ... ข้อ 4มีข้อความว่าในกรณีที่พนักงานผ่านการอบรมครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวและบริษัทฯ เห็นควรว่าจ้างพนักงานต่อไป บริษัทฯ ตกลงว่าจ้างให้พนักงานเป็นพนักงานประจำของบริษัทฯ... ข้อ 5 มีข้อความว่าในกรณีบริษัทฯ ตกลงว่าจ้างพนักงานตามข้อ 4 แล้วพนักงานสัญญาว่าจะทำงานให้แก่บริษัทฯ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันครบกำหนดการทดลองงาน... และข้อ 16 มีข้อความว่า เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานของพนักงานตามสัญญานี้ พนักงานได้วางเงินประกันการทำงานไว้แก่บริษัทฯ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท เมื่อวันที่ 15พฤศจิกายน 2531 ถ้าพนักงานมีความประสงค์ที่จะลาออกและได้ทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปีแล้ว ทางบริษัทฯ จะคืนเงินประกันจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยธนาคารให้ ข้อสัญญาดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า พนักงานที่จำเลยจะคืนเงินประกันเมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกตามสัญญาข้อ 16 หมายถึงพนักงานที่จำเลยได้ตกลงว่าจ้างให้เป็นพนักงานประจำของจำเลยตามสัญญาข้อ 4,5 ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเพียงพนักงานที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้ปฏิบัติงานเป็นการทดลองงานขอลาออกจากงานในระหว่างทดลองงาน จึงไม่เป็นการผิด สัญญาจ้างจำเลยจะอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินประกันให้แก่โจทก์ไม่ได้ การตีความสัญญานั้นต้องพิจารณาข้อความในสัญญาทั้งฉบับ จะหยิบยกแต่เฉพาะข้อสัญญาข้อใดข้อหนึ่งหรือเพียงบางข้อขึ้นวินิจฉัยหาเป็นกาถูกต้องไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิสัญญาเช่าและการรับผิดชอบเงินประกันความเสียหาย ผู้รับโอนไม่ต้องรับผิดหากไม่มีข้อตกลงใหม่
โจทก์ทำสัญญาเช่าบ้านจากจำเลยที่ 1 และได้วางเงินประกันความเสียหายอันเกิดจากการเช่าไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงในสัญญาเช่าว่า จำเลยที่ 1 จะคืนเงินดังกล่าวให้เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าแล้วก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดจำเลยที่ 1 ได้โอนขายบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้มอบเงินประกันความเสียหายให้แก่จำเลยที่ 2 และไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับเงินนี้ขึ้นใหม่ระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกเงินประกันความเสียหายคืนจากจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านไม่จำต้องรับเอาความรับผิดที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 วรรคสอง แต่อย่างใดเนื่องจากการคืนเงินนี้เป็นเพียงสิทธิและหน้าที่อื่นตามสัญญาเช่าไม่ใช่สาระสำคัญเกี่ยวกับสัญญาเช่าจึงหาใช่หน้าที่ตามสัญญาเช่าที่ผู้รับโอนจะต้องรับผิดและปฏิบัติตามไม่
of 13