คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินฝาก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเงินฝาก: เจตนายกให้เป็นของผู้อื่น แม้มีข้อตกลงถอนเงินได้ ผู้จัดการมรดกต้องคืนให้เจ้าของ
บิดามีเจตนายกเงินให้บุตร ได้ยื่นคำร้องขอเปิดบัญชีกับธนาคารโดยระบุชื่อบุตรและในสมุดคู่ฝากก็ระบุชื่อบุตรเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝาก กรรมสิทธิ์ในเงินนั้นย่อมตกเป็นของบุตรทันที่ที่ธนาคารรับเงินเข้าบัญชีเงินฝากของบุตร แม้จะมีข้อตกลงกับธนาคารว่าบิดาเป็นผู้ลงชื่อถอนเงินจากบัญชีเงินฝากได้ก็ตาม
ครั้นเมื่อบิดาตาย ธนาคารย่อมต้องคืนเงินฝากนั้นให้แก่ทายาท เมื่อผู้จัดการมรดกขอถอนเงินฝากดังกล่าว การที่ธนาคารจ่ายเงินคืนให้ จึงเป็นการชอบ
ผู้จัดการมรดกต้องมอบเงินที่ถอนมาให้แก่บุตรผู้เป็นเจ้าของเงิน เพราะเงินนั้นมิใช่มรดก บุตรผู้เป็นเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากผู้จัดการมรดกผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเงินฝากตกเป็นของผู้รับโอนทันที แม้ผู้ฝากมีข้อตกลงถอนเงินได้เอง ผู้จัดการมรดกต้องส่งมอบเงินให้เจ้าของบัญชี
บิดามีเจตนายกเงินให้บุตร ได้ยื่นคำร้องขอเปิดบัญชีกับธนาคารโดยระบุชื่อบุตรและในสมุดคู่ฝากก็ระบุชื่อบุตรเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝาก กรรมสิทธิ์ในเงินนั้นย่อมตกเป็นของบุตรทันทีที่ธนาคารรับเงินเข้าบัญชีเงินฝากของบุตร แม้จะมีข้อตกลงกับธนาคารว่าบิดาเป็นผู้ลงชื่อถอนเงินจากบัญชีเงินฝากได้ก็ตาม
ครั้นเมื่อบิดาตาย ธนาคารย่อมต้องคืนเงินฝากนั้นให้แก่ทายาท เมื่อผู้จัดการมรดกขอถอนเงินฝากดังกล่าว การที่ธนาคารจ่ายเงินคืนให้ จึงเป็นการชอบ
ผู้จัดการมรดกต้องมอบเงินที่ถอนมาให้แก่บุตรผู้เป็นเจ้าของเงิน เพราะเงินนั้นมิใช่มรดก บุตรผู้เป็นเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากผู้จัดการมรดกผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินฝากในบัญชีเด็ก: ไม่เป็นมรดก - ไม่ต้องตั้งผู้จัดการมรดก
เงินฝากในบัญชีชื่อเด็ก โดยผู้ตายถอนได้ เงินนี้เป็นของเด็กผู้ตายไม่มีมรดกก็ไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารใช้เงินฝากผิดวัตถุประสงค์เป็นละเมิดต่อเจ้าของเงิน
ส.ม.ฝากเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์แก่ธนาคารในชื่อส. ม. ตั้งแต่ก่อนจดทะเบียน เมื่อจดทะเบียนแล้วธนาคารเอาเงินในบัญชีนี้ใช้หนี้ส่วนตัว ส. โดยโจทก์ไม่ยินยอมและธนาคารทราบแล้วว่าเป็นเงินของโจทก์ เป็นเหตุให้ธนาคารไม่จ่ายเงินตามเช็คของโจทก์ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงดังนี้เป็นละเมิด ธนาคารต้องใช้เงินคืนกับดอกเบี้ยและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย
ประเด็นเรื่องโจทก์ควรฟ้องหรือร้องขัดทรัพย์ แม้ศาลยกเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ตั้งประเด็นไว้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) แต่ศาลฎีกาใช้ดุลพินิจดังกล่าวต่อเมื่อมีเหตุอันควร จึงไม่วินิจฉัยในข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็คไม่มีเงินรองรับ แม้มีการนำเงินฝากภายหลัง แต่ไม่ใช่การชำระหนี้ตามกฎหมาย
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลหลักสอง (ธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาวงเวียนใหญ่ปฏิเสธการจ่ายเงิน) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลหลักสองมีอำนาจสอบสวนได้
จำเลยออกเช็คให้โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้ โจทก์ร่วมเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากบัญชีจำเลยปิดแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 แม้ต่อมาจำเลยจะนำเงินไปฝากกับธนาคาร ธนาคารรับฝากเงินจำเลยไว้และออกใบรับให้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ได้นำเงินเข้าบัญชีจำเลย การฝากเงินของจำเลยดังนี้จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยนำเงินตามเช็คไปชำระหนี้แก่ธนาคารเพื่อจ่ายเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วม ไม่ต้องด้วยมาตรา 5 วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 196 ข้อ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาขายฝากและการบังคับสิทธิในเงินฝากเพื่อชำระหนี้: สิทธิของธนาคารผู้รับฝากเมื่อสัญญาขายฝากถูกยกเลิก
เดิมลูกหนี้ได้เอาที่ดินอันเป็นที่ตั้งโรงงานพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างจำนองค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารนครหลวงไทย จำกัด แล้วธนาคารนั้นได้โอนสิทธิการจำนองให้ธนาคารผู้ร้องโดยความยินยอมของลูกหนี้ ต่อจากนั้นลูกหนี้ได้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารผู้ร้องเรื่อยมา ต่อมาลูกหนี้ต้องการเงินกู้เพิ่มขึ้น จึงได้ขายฝากเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตน้ำตาลซึ่งติดตั้งและเก็บรักษาไว้ในโรงงานของลูกหนี้ไว้กับธนาคารผู้ร้องเป็นเงิน 4 ล้านบาท มีกำหนดสามปี และในวันเดียวกันนั้นลูกหนี้ได้นำเงิน 4 ล้านบาทที่ธนาคารผู้ร้องจ่ายเป็นค่าขายฝากดังกล่าว ฝากประจำไว้กับธนาคารผู้ร้องโดยลูกหนี้ตกลงให้ธนาคารผู้ร้องมีสิทธิรับเงินตามใบฝากนี้ตลอดจนดอกเบี้ยเงินฝากแทนลูกหนี้เพื่อชดใช้บรรดาหนี้สินและภาระผูกพันทั้งมวลของลูกหนี้ซึ่งมีต่อธนาคารผู้ร้องได้โดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งได้บันทึกข้อความนี้ไว้ด้านหลังใบรับฝากเงินประจำดังกล่าว ต่อมาลูกหนี้ขอเบิกเงินที่ได้ฝากไว้กับธนาคารผู้ร้อง 1 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำเนินงานผลิตน้ำตาล ธนาคารผู้ร้องไม่ยอมให้เบิก ลูกหนี้จึงมีหนังสือขอบอกเลิกสัญญาขายฝาก เพื่อจะได้นำหลักทรัพย์ไปใช้เป็นหลักประกันในอันที่จะได้เงินมาดำเนินงานของลูกหนี้ ธนาคารผู้ร้องยอมให้เลิกสัญญาได้ ฉะนั้น เมื่อธนาคารผู้ร้องตกลงยกเลิกการขายฝากตามที่ลูกหนี้เสนอ ธนาคารผู้ร้องย่อมมีสิทธิเอาเงินฝากดังกล่าวของลูกหนี้กลับคืนมาเป็นของธนาคารผู้ร้องได้ เพราะเมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม อนึ่ง จำนวนเงินตามใบฝากประจำก็มีอยู่เท่าจำนวนเงินที่ขายฝากไว้ ธนาคารผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากก็ได้เป็นผู้รับฝากเงินจำนวนนี้จากลูกหนี้ผู้ขายฝากอยู่แล้วจึงย่อมยกเลิกใบฝากเงินนั้นเสีย โดยอาศัยสิทธิที่ลูกหนี้ได้สลักหลังใบฝากเงินนั้นไว้ นำเงินดังกล่าวชำระหนี้ค่าขายฝากได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาขายฝากแล้ว ธนาคารมีสิทธิรับเงินฝากเพื่อชำระหนี้ได้
เดิมลูกหนี้ได้เอาที่ดินอันเป็นที่ตั้งโรงงานพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างจำนองค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารนครหลวงไทยจำกัดแล้วธนาคารนั้นได้โอนสิทธิการจำนองให้ธนาคารผู้ร้องโดยความยินยอมของลูกหนี้ ต่อจากนั้นลูกหนี้ได้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารผู้ร้องเรื่อยมา ต่อมาลูกหนี้ต้องการเงินกู้เพิ่มขึ้น จึงได้ขายฝากเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตน้ำตาลซึ่งติดตั้งและเก็บรักษาไว้ในโรงงานของลูกหนี้ไว้กับธนาคารผู้ร้องเป็นเงิน 4 ล้านบาท มีกำหนดสามปีและในวันเดียวกันนั้นลูกหนี้ได้นำเงิน 4 ล้านบาทที่ธนาคารผู้ร้องจ่ายเป็นค่าขายฝากดังกล่าว ฝากประจำไว้กับธนาคารผู้ร้องโดยลูกหนี้ตกลงให้ธนาคารผู้ร้องมีสิทธิรับเงินตามใบฝากนี้ตลอดจนดอกเบี้ยเงินฝากแทนลูกหนี้เพื่อชดใช้บรรดาหนี้สินและภาระผูกพันทั้งมวลของลูกหนี้ซึ่งมีต่อธนาคารผู้ร้องได้โดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งได้บันทึกข้อความนี้ไว้ด้านหลังใบรับฝากเงินประจำดังกล่าว ต่อมาลูกหนี้ขอเบิกเงินที่ได้ฝากไว้กับธนาคารผู้ร้อง 1 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำเนินงานผลิตน้ำตาล ธนาคารผู้ร้องไม่ยอมให้เบิกลูกหนี้จึงมีหนังสือขอบอกเลิกสัญญาขายฝาก เพื่อจะได้นำหลักทรัพย์ไปใช้เป็นหลักประกันในอันที่จะได้เงินมาดำเนินงานของลูกหนี้ ธนาคารผู้ร้องยอมให้เลิกสัญญาได้ ฉะนั้น เมื่อธนาคารผู้ร้องตกลงยกเลิกการขายฝากตามที่ลูกหนี้เสนอ ธนาคารผู้ร้องย่อมมีสิทธิเอาเงินฝากดังกล่าวของลูกหนี้กลับคืนมาเป็นของธนาคารผู้ร้องได้เพราะเมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม อนึ่ง จำนวนเงินตามใบฝากประจำก็มีอยู่เท่าจำนวนเงินที่ขายฝากไว้ ธนาคารผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากก็ได้เป็นผู้รับฝากเงินจำนวนนี้จากลูกหนี้ผู้ขายฝากอยู่แล้วจึงย่อมยกเลิกใบฝากเงินนั้นเสีย โดยอาศัยสิทธิที่ลูกหนี้ได้สลักหลังใบฝากเงินนั้นไว้นำเงินดังกล่าวชำระหนี้ค่าขายฝากได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2511 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีหน้าที่คืนเงินฝากให้ทายาทเมื่อผู้ฝากเสียชีวิต โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ผู้ฝากเงินไว้กับธนาคารมีนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 673 ผู้ฝากเงินจะถอนเงินคืนก่อนถึงเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ไม่ได้ และธนาคารผู้รับฝากจะส่งคืนเงินก่อนถึงเวลานั้นก็ไม่ได้ดุจกัน แต่เมื่อผู้ฝากเงินตาม ธนาคารมีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นให้แก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 665 วรรค 2
ธนาคารมีหน้าที่จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการอาชีวะของธนาคารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659
ผู้จัดการมรดกของผู้ฝากเงินตามคำพิพากษาของศาลขอถอนเงินของผู้ฝากคืนจากธนาคาร ธนาคารขอผัดคืนเงินนั้นใน 1 เดือน เพื่อให้คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกขาดอายุอุทธรณ์ โดยธนาคารมีเงินพร้อมที่จะคืนให้ ถือได้ว่าธนาคารได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 เป็นการใช้ความระมัดระวังตามหน้าที่ สมควรแก่กรณีโดยสุจริต ไม่ได้โต้แย้งสิทธิของผู้จัดการมรดก จึงไม่เป็นการผิดสัญญาหรือเป็นการกระทำละเมิดแก่ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาของศาลมีอำนาจจัดการมรดกได้ตามกฎหมาย คำพิพากษาตั้งผู้จัดการมรดกมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้น ไม่ใช่คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล ไม่เข้าอยู่ในข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 (1) (2) และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 (1), 245, 274 จึงไม่ผูกพันธนาคารผู้รับฝากเงินของเจ้ามรดกซึ่งเป็นบุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีหน้าที่คืนเงินฝากให้ทายาทหลังผู้ฝากเสียชีวิต โดยต้องใช้ความระมัดระวังและไม่ละเมิดสิทธิ
ผู้ฝากเงินไว้กับธนาคารมีนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 673 ผู้ฝากเงินจะถอนเงินคืนก่อนถึง เวลาที่ได้ตกลงกันไว้ไม่ได้ และธนาคารผู้รับฝาก จะส่งคืนเงินก่อนถึงเวลานั้นก็ไม่ได้ดุจกันแต่เมื่อผู้ฝากเงินตาย ธนาคาร มีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นให้แก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 665 วรรค 2
ธนาคารมีหน้าที่จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการอาชีวะของธนาคารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659
ผู้จัดการมรดกของผู้ฝากเงินตามคำพิพากษาของศาลของถอนเงินของผู้ฝากคืนจากธนาคาร ธนาคารขอผัดคืนเงินนั้นใน 1 เดือน เพื่อให้คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกขาดอายุอุทธรณ์ โดยธนาคารมีเงินพร้อมที่จะคืนให้ถือได้ว่าธนาคารได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659เป็นการใช้ความระมัดระวังตามหน้าที่ สมควรแก่กรณีโดยสุจริต ไม่ได้โต้แย้งสิทธิของของผู้จัดการมรดก จึงไม่เป็นการผิดสัญญาหรือเป็นการกระทำละเมิดแก่ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาของศาลมีอำนาจจัดการมรดกได้ตามกฎหมาย คำพิพากษาตั้งผู้จัดการมรดกมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้นไม่ใช่คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล ไม่เข้าอยู่ในข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1)(2)และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1),245,274 จึงไม่ผูกพันธนาคารผู้รับฝากเงินของเจ้ามรดกซึ่งเป็น บุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีหน้าที่คืนเงินฝากให้ทายาทหลังผู้ฝากเสียชีวิต โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ผู้ฝากเงินไว้กับธนาคารมีนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 673 ผู้ฝากเงินจะถอนเงินคืนก่อนถึง เวลาที่ได้ตกลงกันไว้ไม่ได้ และธนาคารผู้รับฝาก จะส่งคืนเงินก่อนถึงเวลานั้นก็ไม่ได้ดุจกันแต่เมื่อผู้ฝากเงินตาย ธนาคาร มีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นให้แก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 665 วรรค 2
ธนาคารมีหน้าที่จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการอาชีวะของธนาคารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659
ผู้จัดการมรดกของผู้ฝากเงินตามคำพิพากษาของศาลของถอนเงินของผู้ฝากคืนจากธนาคาร ธนาคารขอผัดคืนเงินนั้นใน 1 เดือน เพื่อให้คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกขาดอายุอุทธรณ์ โดยธนาคารมีเงินพร้อมที่จะคืนให้ถือได้ว่าธนาคารได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659เป็นการใช้ความระมัดระวังตามหน้าที่ สมควรแก่กรณีโดยสุจริต ไม่ได้โต้แย้งสิทธิของของผู้จัดการมรดก จึงไม่เป็นการผิดสัญญาหรือเป็นการกระทำละเมิดแก่ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาของศาลมีอำนาจจัดการมรดกได้ตามกฎหมาย คำพิพากษาตั้งผู้จัดการมรดกมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้นไม่ใช่คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล ไม่เข้าอยู่ในข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1)(2)และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1),245,274 จึงไม่ผูกพันธนาคารผู้รับฝากเงินของเจ้ามรดกซึ่งเป็น บุคคลภายนอก
of 9