พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5295/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเรียกเงินมัดจำซ้ำหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุดเรื่องผิดสัญญา
เดิมโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเรียกค่าเสียหาย 160,000 บาท โดยโจทก์ทั้งสองได้วางเงินมัดจำไว้เป็นเงิน80,000 บาท ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง 80,000 บาท โจทก์ทั้งสองกลับมาฟ้องเป็นคดีนี้ว่า จำเลยผิดสัญญาขอเรียกเงินมัดจำ 80,000 บาท คืน ดังนี้ มูลกรณีเรื่องเรียกเงินมัดจำคืนเป็นมูลกรณีเดียวกันกับการฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว ซึ่งโจทก์ทั้งสองอาจฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนรวมไปในการฟ้องคดีแรกได้ การที่โจทก์ทั้งสองกลับนำคดีมาแยกฟ้องจำเลยคนเดียวกันเป็นคดีใหม่เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน คือมูลกรณีเรื่องผิดสัญญาหรือไม่ นั่นเอง ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5295/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเรียกเงินมัดจำหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีผิดสัญญา
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเรียกค่าเสียหาย 160,000 บาท โดยโจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้เป็นเงิน 80,000 บาท ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์80,000 บาท โจทก์กลับมาฟ้องเป็นคดีนี้ว่าจำเลยผิดสัญญาขอเรียกเงินมัดจำ 80,000 บาท คืน มูลกรณีเรื่องเรียก เงินมัดจำคืนเป็นมูลกรณีเดียวกันกับการฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญา ซึ่งโจทก์อาจฟ้องในคดีแรกได้ การที่โจทก์กลับนำ คดีมาแยกฟ้องจำเลยคนเดียวกันเป็นคดีใหม่ ถือได้ว่าเป็นการ รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุ อย่างเดียวกันคือมูลกรณีเรื่องผิดสัญญาหรือไม่นั่นเอง จึงเป็น ฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5295/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเรียกเงินมัดจำหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วในคดีผิดสัญญา
เดิมโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเรียกค่าเสียหาย160,000บาทโดยโจทก์ทั้งสองได้วางเงินมัดจำไว้เป็นเงิน80,000บาทศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง80,000บาทโจทก์ทั้งสองกลับมาฟ้องเป็นคดีนี้ว่าจำเลยผิดสัญญาขอเรียกเงินมัดจำ80,000บาทคืนดังนี้มูลกรณีเรื่องเรียกเงินมัดจำคืนเป็นมูลกรณีเดียวกันกับการฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาซึ่งถึงที่สุดไปแล้วซึ่งโจทก์ทั้งสองอาจฟ้องเรียกเงินมัดจำรวมไปในการฟ้องคดีแรกได้การที่โจทก์ทั้งสองกลับนำคดีมาแยกฟ้องจำเลยคนเดียวกันเป็นคดีใหม่เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันคือมูลกรณีเรื่องผิดสัญญาหรือไม่นั่นเองฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ ต้องเป็นทรัพย์สินที่ให้ในวันทำสัญญาเท่านั้น
มัดจำต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ให้ในวันทำสัญญาไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทำขึ้นเมื่อวันที่3มีนาคม2532ระบุว่าในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินสดจำนวน200,000บาทและในวันที่20มีนาคม2532อีกจำนวน3,300,000บาทเงินสดจำนวน200,000บาทเท่านั้นที่เป็นเงินมัดจำที่จะต้องริบเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาส่วนเงินจำนวน3,300,000บาทนั้นไม่ใช่มัดจำแต่เป็นเพียงการชำระราคาค่าที่ดินบางส่วนล่วงหน้าซึ่งชำระภายหลังวันทำสัญญาเท่านั้นจึงริบไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายเนื่องจากไม่ชำระค่างวดและการคืนเงินมัดจำ
การที่โจทก์ไม่ชำระค่างวดรายเดือนตามสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพาณิชย์แก่จำเลยติดต่อกันมาเป็นเวลา 8 เดือนซึ่งจำเลยไม่ถือเป็นข้อผิดสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายยังมีผลผูกพันกันอยู่ โจทก์มิได้ผิดสัญญาเมื่อหนังสือแจ้งให้โจทก์ ชำระเงินค่างวดที่ค้างมีข้อความว่า มิฉะนั้นทางบริษัทจะถือว่า ท่านสละสิทธิในการจองซื้อ จึงเป็นข้อความที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าโจทก์ไม่ชำระค่างวดที่ค้างภายในกำหนด หรือไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้จำเลยทราบเมื่อเป็นเช่นนี้การที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย และให้จำเลยคืนเงินมัดจำย่อมมีสิทธิทำได้ และกรณีเป็นเรื่อง ต่างฝ่ายต่างยอมเลิกสัญญาต่อกันโดยไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา โจทก์และจำเลยต่างต้องคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยต้อง คืนเงินมัดจำแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายเนื่องจากไม่ชำระค่างวด และสิทธิในการคืนเงินมัดจำ
การที่โจทก์ไม่ชำระค่างวดรายเดือนตามสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพาณิชย์แก่จำเลยติดต่อกันมาเป็นเวลา8เดือนซึ่งจำเลยไม่ถือเป็นข้อผิดสัญญาสัญญาจะซื้อจะขายยังมีผลผูกพันกันอยู่โจทก์มิได้ผิดสัญญาเมื่อหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินค่างวดที่ค้างมีข้อความว่ามิฉะนั้นทางบริษัทจะถือว่าท่านสละสิทธิในการจองซื้อจึงเป็นข้อความที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าโจทก์ไม่ชำระค่างวดที่ค้างภายในกำหนดหรือไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้จำเลยทราบเมื่อเป็นเช่นนี้การที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยและให้จำเลยคืนเงินมัดจำย่อมมีสิทธิทำได้และกรณีเป็นเรื่องต่างฝ่ายต่างยอมเลิกสัญญาต่อกันโดยไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญาโจทก์และจำเลยต่างต้องคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391จำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขาย: การผิดนัดชำระหนี้, สิทธิเลิกสัญญา, อายุความการฟ้องเรียกคืนเงินมัดจำ
ภรรยาฟ้องเรียกเงินมัดจำค่าซื้อที่ดินจากผู้จะขายตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินไม่ใช่การ จัดการสินสมรส ไม่อยู่ในข้อจำกัดที่ต้องได้รับ ความยินยอมจากสามีก่อน สัญญากำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนเมื่อฝ่ายหนึ่ง ผิดนัดอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิ เลิกสัญญาได้โดย ไม่ต้อง บอกกล่าว การ ฟ้องเรียกเงินมัดจำคืน กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่อง อายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในกำหนด อายุความ10ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายเนื่องจากไม่ชำระเงินมัดจำครบตามกำหนด ทำให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำได้
ใน หนังสือ สัญญาจะซื้อขาย กำหนด ว่า โจทก์ วาง มัดจำ ไว้ เป็น เงิน 500,000 บาท แต่ ใน วัน ทำ สัญญา นั้น มี การ วาง มัดจำ เพียง 150,000 บาท แต่ ใน วัน ทำ สัญญา นั้น มี การ วาง มัดจำ เพียง 150,000 บาท ไม่ครบ ตาม สัญญา เนื่องจาก เช็ค ที่ โจทก์ เป็น ค่า มัดจำ อีก 350,000 บาท ถูก ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน แม้ การ วาง มัดจำ แต่เพียง อย่างเดียว จะ สามารถ ฟ้องร้อง บังคับ คดี กัน ได้ แล้ว ก็ ตาม แต่เมื่อ คู่สัญญา มี เอกสาร ที่ เป็น หนังสือ จึง ต้อง ผูกพัน กัน ตาม ข้อความ ที่ ทำ เป็น หนังสือ นั้น เมื่อ โจทก์ จำเลย ตกลง กัน ว่า ต้อง วาง มัดจำ เป็น เงิน 500,000 บาท ก็ จะ ต้อง ผูกพัน กัน ตาม นั้น เมื่อ โจทก์ วาง มัดจำ เพียง 150,000 บาท ไม่ครบ ตาม สัญญา จึง ฟังได้ ว่า โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ก่อน ที่ โจทก์ และ ฝ่าย จำเลย จะ ทำ สัญญาจะซื้อขาย โจทก์ และ ฝ่าย จำเลย ได้ เคย ทำ สัญญาซื้อขาย กัน มา 2 ฉบับ แล้ว การ ที่ ได้ ทำ สัญญา เกี่ยวกับ การ ซื้อ ขาย ที่ดิน แปลง เดียว กัน เป็น ฉบับ ใหม่ ขึ้น อีก ก็ สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ผู้จะซื้อ ไม่ชำระ เงิน ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา ฉบับ ก่อน ฉะนั้น การ ทำ สัญญาจะซื้อขาย โดย ฝ่าย โจทก์ สั่งจ่าย เช็ค เป็น การ ชำระ เงินมัดจำ ตาม สัญญา ส่วน หนึ่ง นั้น ย่อม เห็น ได้ ใน เบื้องต้น แล้ว ว่า คู่สัญญา มี เจตนา จะ ให้การ ชำระ เงินมัดจำ ตาม จำนวนเงิน และ ตาม วันที่ ลง ใน เช็ค เป็น สาระสำคัญ ของ สัญญา ฉบับ ใหม่ นั้น ทั้ง ยัง มี บันทึก ไว้ ที่ ด้าน บน ด้วย ข้อความ ว่า ต่อเนื่อง จาก สัญญาจะซื้อขาย ฉบับ เดิม แสดง ให้ เห็น วัตถุประสงค์ ของ คู่สัญญา ว่า เจตนา จะ ให้ ถือเอา เรื่อง การ ใช้ เงินมัดจำ ตามเช็ค ดังกล่าว เป็น สาระสำคัญ ของ สัญญา และ แม้ ว่า สัญญาจะซื้อขาย ฉบับ เดิม จะ ไม่ ปรากฎ ข้อความ ว่า ให้ ผู้ขาย บอกเลิก สัญญา ได้ ก็ ตาม แต่ โดย สภาพ หรือ โดย เจตนา ที่ คู่สัญญา ได้ แสดง ไว้ ดังกล่าว ย่อม เห็น ถึง วัตถุประสงค์ ของ คู่สัญญา ว่า หาก โจทก์ ผู้จะซื้อ ผิดสัญญา ไม่ชำระ เงินมัดจำ หรือ ผิดสัญญา ข้อ หนึ่ง ข้อ ใด ฝ่าย จำเลย ผู้จะขาย ย่อม มีสิทธิ บอกเลิก และ ริบ มัดจำ ได้ ทันที เมื่อ ปรากฎ ว่า เช็ค ซึ่ง โจทก์ สั่งจ่าย ชำระ เงินมัดจำ ส่วน หนึ่ง ใช้ เงิน ไม่ได้ ซึ่ง ถือว่า โจทก์ ผิดสัญญา ฝ่าย จำเลย ย่อม บอกเลิก สัญญา และ ริบ เงินมัดจำ เสีย ได้ ตาม ข้อ สัญญา ดังกล่าว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 โดย จำเลย ไม่ต้อง บอกกล่าว ให้ โจทก์ ชำระหนี้ ภายใน ระยะเวลา ที่ กำหนด ตาม มาตรา 387 แต่อย่างใด และ เมื่อ การ เลิกสัญญา เป็น เพราะ ความผิด ของ ฝ่าย โจทก์ เอง โจทก์ ย่อม ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าเสียหาย จาก ฝ่าย จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและการรับชำระเงินมัดจำคืน ถือเป็นการตกลงเลิกสัญญาโดยชอบ
จำเลยให้การว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยและขอเงินมัดจำคืนจำเลยก็ตกลงและได้คืนเงินมัดจำให้แล้วแต่ฎีกาว่าจำเลยเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาไปถึงโจทก์และโจทก์สนองรับแล้วเป็นการอ้างเหตุการเลิกสัญญาไม่ตรงกับคำให้การถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฉะนั้นฎีกาของจำเลยที่ว่าสัญญาเลิกกันโดยโจทก์มิได้สงวนสิทธิเรียกค่าเสียหายโจทก์จะมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ได้จึงไม่เป็นสาระที่ต้องวินิจฉัย โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเบี้ยปรับได้หาทำให้สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับตามสัญญาระงับไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาและการริบเงินมัดจำ กรณีผู้ว่าจ้างเห็นว่าราคาแพงเกินไป
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ทำสติกเกอร์ชนิดโปร่งแสง จำเลยที่ 1 บอกราคาค่าจ้างและจะนำตัวอย่างสติกเกอร์มาให้ดู โจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้ครั้นดูตัวอย่างสติกเกอร์แล้วโจทก์ไม่พอใจ จึงได้นำเบอร์สติกเกอร์ที่ต้องการมาให้จำเลยที่ 1 ดู ต่อมาจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าหากจะให้ใช้สติกเกอร์เบอร์ที่โจทก์ต้องการแล้วโจทก์จะต้องเพิ่มเงินค่าจ้างอีก 20,000 บาท โจทก์ทราบแล้วก็ไม่ว่าอะไร แสดงว่าโจทก์ไม่ปฏิเสธ จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับการขอเพิ่มราคาตามที่จำเลยที่ 1 เสนอ หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสติกเกอร์เบอร์ที่โจทก์ต้องการที่เมืองฮ่องกงและได้วางเงินมัดจำไว้เช่นกัน แต่โจทก์กลับบอกเลิกสัญญาเสียก่อนดังนี้ หากโจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด ก็ไม่เห็นมีเหตุอะไรที่จำเลยที่ 1จะไม่ทำสติกเกอร์ให้โจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อสติกเกอร์ไว้แล้ว สาเหตุที่โจทก์บอกเลิกสัญญานั้นเป็นเพราะโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 คิดราคาแพงเกินไปนั่นเอง การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดเช่นนี้โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยที่ 1 มีสิทธิริบเงินมัดจำได้