คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินเพิ่ม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนจากเงินเพิ่มค่าภาษีค้างชำระ
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 บัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าภาษีค้างชำระไว้ในมาตรา 43 ว่า ผู้ค้างชำระจะต้องเสียเงินเพิ่มคิดเป็นร้อยละตามจำนวนค่าภาษีที่ค้างและมีอัตราเงินเพิ่มสูงขึ้นตามเวลาที่ค้างชำระแสดงว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระเงินค่าภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงคิดดอกเบี้ยซ้อนเข้าไปอีกในระหว่างผิดนัดไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยจากค่าภาษีค้างชำระและเงินเพิ่มอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีค้างชำระ: กฎหมายกำหนดเงินเพิ่มเพียงอย่างเดียว ห้ามคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อน
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าภาษีค้างชำระไว้ในมาตรา43ว่าผู้ค้างชำระจะต้องเสียเงินเพิ่มคิดเป็นร้อยละตามจำนวนค่าภาษีที่ค้างและมีอัตราเงินเพิ่มสูงขึ้นตามเวลาที่ค้างชำระแสดงว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระเงินค่าภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วจึงคิดดอกเบี้ยซ้อนเข้าไปอีกระหว่างผิดนัดไม่ได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยจากค่าภาษีค้างชำระและเงินเพิ่มอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีค้างชำระ: กฎหมายกำหนดเงินเพิ่มเพียงอย่างเดียว ไม่อำนาจคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อน
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475บัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าภาษีค้างชำระไว้ในมาตรา43ว่าผู้ค้างชำระจะต้องเสียเงินเพิ่มคิดเป็นร้อยละตามจำนวนค่าภาษีที่ค้างและมีอัตราเงินเพิ่มสูงขึ้นตามเวลาที่ค้างชำระแสดงว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระเงินค่าภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วจึงคิดดอกเบี้ยซ้อนเข้าไปอีกในระหว่างผิดนัดไม่ได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยจากค่าภาษีค้างชำระและเงินเพิ่มอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การเพิกถอนสิทธิประโยชน์ทางภาษี การประเมินภาษี และเงินเพิ่ม
แม้จะฟังว่าตามใบขนสินค้าขาเข้าในคำฟ้องของโจทก์ จำเลยนำเข้ามาเกินกว่า10 ปี นับถึงวันฟ้องแล้วก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 55 วรรคท้าย ให้เริ่มนับอายุความเมื่อพ้นหนึ่งเดือนนับแต่วันทราบคำสั่ง ซึ่งคำสั่งดังกล่าวก็คือคำสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรา 55 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยทราบคำสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมื่อวันที่ 6 เมษายน2528 การนับอายุความจึงเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งคิดถึงวันฟ้องยังไม่ครบสิบปี คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสาม
จำเลยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำเลยนำเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องจักรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับยกเว้นภาษีอากรเพื่อผลิตกล่องบรรจุตลับเทปคาสเซทและตลับเทปคาสเซท ต่อมาวันที่28 มีนาคม 2528 จำเลยถูกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมดโดยเหตุไม่ส่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ จึงถือได้ว่าจำเลยไม่เคยได้รับยกเว้นภาษีอากรมาแต่ต้น ดังนั้น จำเลยจึงต้องเสียอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องจักรโดยถือสภาพของราคา และอัตราภาษีอากรที่เป็นอยู่ในวันนำเข้าเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากรแก่โจทก์ทั้ง 17 ใบขนที่จำเลยยังไม่นำเงินมาชำระตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 55 วรรคหนึ่ง
หลังจากกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ได้รับหนังสือจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนว่าได้เพิกถอนสิทธิประโยชน์ที่ให้แก่จำเลยทั้งหมดโดยให้เรียกเก็บภาษีอากรที่ได้รับยกเว้นทั้งหมด โจทก์ที่ 1 ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ประเมินอากร หน่วยส่งเสริมการลงทุนของโจทก์ที่ 1 จัดเก็บภาษีจากจำเลย เจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้รวบรวมเอกสารใบขนสินค้าได้จำนวน 20 ใบขนประเมินภาษีอากรแล้วได้แจ้งให้จำเลยทราบและให้มาชำระภาษีพร้อมกับได้ส่งแบบแจ้งการประเมินอากรโดยได้แจ้งภาษีอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าขณะนำสินค้าเข้ามาโดยแจ้งให้จำเลยมาชำระค่าภาษีภายใน 15 วัน นับแต่จำเลยได้รับหนังสือกรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 87(2) แล้ว หากจำเลยเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30เสียก่อนแต่จำเลยก็ไม่ได้อุทธรณ์ต่อโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 แต่อย่างใด เมื่อจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลจากจำเลยย่อมถึงที่สุด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้
จำเลยต้องชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละฉบับ รวมทั้งสิ้น 17 ฉบับ ให้แก่โจทก์ทั้งสองแต่จำเลยยังมิได้ชำระ จำเลยจึงต้องชำระเงินเพิ่มอากรขาเข้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรขาเข้าที่ต้องชำระในแต่ละใบขนสินค้าขาเข้านับแต่วันที่ได้ส่งมอบของให้จำเลยรับไปจนกว่าจำเลยชำระให้เสร็จสิ้นตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา นอกจากนี้จำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระในแต่ละใบขนสินค้าขาเข้านับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษีจนกว่าจะชำระให้เสร็จสิ้น แต่ทั้งนี้เงินเพิ่มภาษีการค้านี้จะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ และจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลอีกร้อยละสิบของเงินเพิ่มภาษีการค้าที่ต้องชำระตามพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ. 2497 มาตรา 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7720/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเพิ่มเติม, เงินเพิ่ม, เบี้ยปรับ, การนำพยานหลักฐาน, และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีภาษีอากร
สำหรับเงินเพิ่มตามกฎหมายไม่มีกฎหมายให้อยู่ในดุลพินิจของศาลจึงไม่อาจงดหรือลดได้ ส่วนเบี้ยปรับนั้นโจทก์เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้มีหมายเรียกให้โจทก์นำส่งบัญชีที่ต้องทำตามกฎหมายพร้อมเอกสารประกอบการลงบัญชี บัญชีกำไรขาดทุน งบดุล สำหรับปี 2516 ถึง 2520 ไปส่งเพื่อทำการตรวจสอบ ดังนั้นสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของปีอื่นจึงมิได้ถูกเรียกให้นำส่งก็ตาม ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติตัดสิทธิมิให้ศาลรับฟังสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของปีอื่น ๆ ที่มิได้นำส่งต่อเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามหมายเรียกตรวจสอบก่อนเพราะในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติ และข้อกำหนดตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวดังนั้น คู่ความย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้บังคับแห่ง ป.วิ.พ.หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 85 เมื่อโจทก์ได้ยื่นพยานหลักฐานดังกล่าวถูกต้องตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรในชั้นพิจารณาคดีแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ประกอบการวินิจฉัยคดีได้
คดีนี้โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง ภาระการพิสูจน์จึงตกโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานต่าง ๆ มานำสืบให้ปรากฏจึงรับฟังไม่ได้ว่า โจทก์ได้นำค่าเช่าซื้อลงบัญชีถูกต้องครบถ้วนทุกรายดังที่โจทก์อ้าง คงรับฟังได้เพียงเท่าที่ปรากฏตามคำรับของ ส.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีซึ่งเป็นพยานฝ่ายจำเลยเท่านั้น โจทก์จะมากล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่า โจทก์ลงบัญชีรายรับไว้ถูกต้องโดยระบุรายละเอียดแห่งการลงบัญชีไว้ในอุทธรณ์ของโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าในชั้นพิจารณาคดีโจทก์ได้ให้พยานโจทก์เบิกความรับรองเอกสารดังกล่าวไว้ หรือนำเอกสารดังกล่าวมาถามค้านพยานจำเลยให้ปรากฏในสำนวน จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีการค้าเพิ่มเติมรวมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของเดือนมกราคมถึงมีนาคม มิถุนายน สิงหาคม และตุลาคมถึงธันวาคม 2516 รวม 8 เดือน โดยการประเมินดังกล่าวมิได้กระทำภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แต่อยู่ภายในกำหนดเวลา 10 ปี ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม โจทก์แสดงยอดรายรับขาดไปไม่เกินกว่าร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินสำหรับเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม2516 จึงไม่ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) ส่วนเดือนมกราคม มิถุนายนสิงหาคม ตุลาคมถึงธันวาคม 2516 รวม 6 เดือน โจทก์แสดงยอดรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินสำหรับ 6 เดือน ดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา88 ทวิ (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: เงื่อนไขลดเงินเพิ่มที่ไม่ชอบ และการประเมินซ้ำ
เมื่อโจทก์อ้างว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบและขอให้ศาลเพิกถอน โจทก์ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นการไม่ชอบตามที่กล่าวอ้าง สำเนาเอกสารที่จำเลยอ้างเป็นเพียงพยานหลักฐานประกอบกับพยานอื่น ทั้งเมื่อจำเลยอ้างส่งสำเนาเอกสารดังกล่าว โจทก์มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับไม่มี หรือเอกสารปลอม หรือสำเนาไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93 การกำหนดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 เจ้าพนักงานประเมินต้องกำหนดเสียตั้งแต่เบื้องต้นที่ทำการประเมินภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินครั้งแรกโดยกำหนดเงื่อนไขว่าสำหรับเงินเพิ่มพิจารณาลดให้คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มตามกฎหมาย หากอุทธรณ์การประเมินจะไม่ลดเงินเพิ่มให้และจะประเมินเพิ่มเติมต่อไป เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เจ้าพนักงานประเมินจึงทำการประเมินในครั้งที่สองเพิ่ม โดยเรียกเงินเพิ่มเติมในส่วนที่ลดให้นั้นเป็นการอาศัยเงื่อนไขในอนาคตมากำหนดเงินเพิ่มเติมเพิ่มเติม ทั้งเป็นเงื่อนไขที่มิให้โจทก์ปฏิบัติตามสิทธิที่กฎหมายกำหนดไว้ การประเมินในกรณีที่สองนี้ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางหนังสือค้ำประกันค่าภาษีอากร ไม่ถือเป็นการชำระเงินประกันตามกฎหมาย ทำให้ผู้รับของเข้าต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม
การวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารวางเป็นประกันนั้นพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ไม่ได้บัญญัติให้มีผลเช่นเดียวกับวางเงินประกัน จึงไม่อาจถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดดังเช่น วางเงินประกัน ตามมาตรา 112 ทวิวรรค 2 ดังนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่โจทก์เรียกเก็บเงินจากธนาคารแล้วจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ขาดก็ย่อมต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรและการคำนวณเงินเพิ่มเกินจำนวนภาษีที่ต้องเสีย
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในคดีนี้เนื่องจากจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ผู้ชำระบัญชีแบ่งคืนทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ผู้ถือหุ้นโดยไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1269 โดยโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1เรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียประโยชน์ โจทก์จึงใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนตาม ป.พ.พ.มาตรา 233 ดังนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแม้จะเป็นคดีแพ่ง แต่มิใช่คดีแพ่งที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 7 (2) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 เพราะเป็นเรื่องที่พิพาทกันว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จะต้องคืนทรัพย์สินให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อที่โจทก์จะได้บังคับชำระหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต่อศาลภาษีอากร
การที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่ม 448,954.74 บาท พร้อมเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5ต่อเดือนของเงินภาษี 326,616.50 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์เช่นนี้ อาจมีผลทำให้เงินเพิ่มที่คำนวณได้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียอันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 รับผิดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ เพราะ ป.รัษฎากรมาตรา 27 วรรคสาม ให้คำนวณเงินเพิ่มได้ แต่มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลางในการฟ้องเรียกทรัพย์สินจากผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ภาษี และการแก้ไขจำนวนเงินเพิ่ม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1และได้รับเงินอันเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 คืนหลังจากจำเลยที่ 1จดทะเบียนเลิกบริษัทแต่จำเลยที่ 1 ชำระภาษีไม่ถูกต้อง โจทก์จึงขอใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ในนามของตนเองแทนจำเลยที่ 1 เพื่อป้องกันสิทธิของโจทก์ในมูลหนี้ภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 แม้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจะเป็นคดีแพ่ง แต่มิใช่คดีแพ่งที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรกลางจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษา ตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต่อศาลภาษีอากรกลาง ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสาม ให้คำนวณเงินเพิ่มได้แต่มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสีย เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย: การประเมินค่าประโยชน์ที่ได้รับจากนายจ้าง และการคำนวณเงินเพิ่ม
ค่าจ้างคนทำสวน ค่าซักล้างทำความสะอาดพรม ค่าซักผ้าม่านค่าทำความสะอาดสระว่ายน้ำ ค่าผงคลอรีน สำหรับใส่สระว่ายน้ำค่าผงซักฟอก ค่ากำจัดปลวก ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปเพื่อบำรุงรักษาทรัพย์สินของโจทก์จึงเป็นประโยชน์ที่เกิดแก่ตัวทรัพย์สินของโจทก์ หาใช่ประโยชน์ที่พนักงานของโจทก์ได้รับโดยตรงที่โจทก์จะต้องคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ ณ ที่จ่ายนำส่งแก่จำเลยไม่ ตามรายการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานโจทก์ที่เจ้าพนักงานประเมินแสดงไว้ได้คำนวณโดยรวมเอาประโยชน์จากที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มจากการได้ใช้ไฟฟ้าแก๊ส และน้ำประปาทั้งหมดไว้ในรายได้ของพนักงานโจทก์แต่ละคนแล้วจึงคำนวณภาษี หลังจากนั้นได้นำค่าภาษีที่ พนักงานโจทก์แต่ละคนได้ชำระไว้แล้วหักออก เหลือเท่าใดถือเป็นจำนวนภาษีที่พนักงานโจทก์ชำระขาด และคำนวณเงินเพิ่มจากยอดเงินดังกล่าว ดังนี้ เห็นได้ว่ายอดเงินค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปาที่พนักงานของโจทก์นำไปแสดงเป็นเงินได้บางส่วนและได้ชำระภาษีไว้แล้วนั้น เจ้าพนักงานประเมินได้คิดคำนวณหักให้ถูกต้องแล้ว ไม่ได้คิดซ้ำซ้อนกันแต่อย่างใด โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ว่าการประเมินค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมในการที่พนักงานโจทก์ร่วมประชุมของจำเลยไม่ถูกต้อง ทำให้การคำนวณภาษีผิดพลาดในจำนวนเท่าใดควรแก้ไขให้ลดลงเหลือเท่าใด ค่าสมาชิกสโมสรเป็นสิทธิเฉพาะตัวของพนักงาน ข้อตกลงการจ้างก็เพียงแต่โจทก์ตกลงว่าจะจ่ายค่าสมาชิกสโมสรให้แก่พนักงานดังกล่าวเท่านั้น เป็นการให้ประโยชน์แก่พนักงาน โดยตรง หาใช่โจทก์มีข้อบังคับว่าพนักงานตำแหน่งใดจะต้อง เป็นสมาชิกสโมสรใดเพื่อกระทำกิจกรรมใดในสโมสรให้เกิดประโยชน์แก่โจทก์ไม่ ตามทางนำสืบก็ไม่ปรากฏว่า การที่พนักงานของโจทก์เป็นสมาชิกสโมสรก่อประโยชน์โดยตรงแก่โจทก์อย่างไรจึงเป็นประโยชน์ส่วนตัวของพนักงาน ค่าสมาชิกสโมสรที่โจทก์จ่ายแทนให้แก่พนักงานจึงเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มถือเป็นเงินได้ของพนักงาน ค่าบังกะโลพัทยาเกิดจากการที่โจทก์จัดสวัสดิการบังกะโลที่พักให้แก่พนักงานของโจทก์ได้ใช้พักผ่อนในวันหยุดดังนี้ค่าจ้างในการดูแลรักษาและทำความสะอาดบังกะโลนั้นผู้รับจ้างเป็นผู้ได้รับ ส่วนค่าไม้กวาดและผงซักฟอกอันเป็น ของใช้ที่นำมาใช้ในการรักษาความสะอาดบังกะโลนั้นก็เพื่อประโยชน์แก่ตัวทรัพย์ คือ บังกะโล หาใช่ประโยชน์โดยตรงที่พนักงานโจทก์ได้รับไม่ จึงไม่อาจถือเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มอีก ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) ได้กำหนดชนิดของเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า และประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานแยกออกจากกัน ฉะนั้นในกรณีที่พนักงานโจทก์ได้อยู่บ้านที่โจทก์ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า และโจทก์เป็นผู้จ่ายค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าแก๊สที่พนักงานโจทก์ได้ใช้สิ้นเปลืองไปนั้น ประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับจากการใช้กระแสไฟฟ้า น้ำประปา และแก๊ส ที่โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินให้นี้ เป็นประโยชน์ชนิดหนึ่งต่างจากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่โจทก์จัดให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าถือว่าค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส ค่าน้ำประปาเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานแยกจากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่โจทก์ให้อยู่ ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เพียงแต่กำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวน ในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ภายในกำหนด 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนเท่านั้นมิใช่กำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน จำนวนเงินที่ต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว ประมวลรัษฎากร มาตรา 20 มิได้กำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีภายหลัง 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการไว้แล้วจึงกระทำได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่า เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย พ้นกำหนด5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการไว้จึงเป็นการไม่ชอบมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนเนื่องจากพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการ ทั้งมิได้อ้างว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยขาดอายุความแล้ว ฉะนั้นจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและทำการประเมินเพราะพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นรายการแล้วหรือไม่ และสิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย เงินเพิ่มตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้เป็นอัตราแน่นอนมิได้ยกเว้นให้ อาจงดเก็บเสียได้ ส่วนกรณีที่จะลดเงินเพิ่มได้จะต้องเป็นกรณีตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 27(1)(2) บัญญัติไว้คือ ถ้าผู้ต้องเสียหรือนำส่ง ได้นำเงินมาชำระโดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ก็ให้เสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 5แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น หรือถ้าผู้ต้องเสียหรือนำส่งได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือแล้วแต่ได้นำเงินมาชำระภายในสิบวันนับแต่วันได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวน ก็ให้เสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้นข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามที่กฎหมาย ได้บัญญัติไว้ดังกล่าว ฉะนั้นจึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือ ลดเงินเพิ่ม
of 15