พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ถือเป็นการเช่าทรัพย์สิน เงินได้จากการขายแร่เป็นเงินได้พึงประเมิน
ประมวลรัษฎากรมิได้นิยามคำว่า "ทรัพย์สิน" ไว้ คำว่าทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากรจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99
การที่โจทก์ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุกนั้น ทำให้โจทก์มีสิทธิ์ทำเหมืองหรือขุดหาแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประทานบัตรนั้น สิทธิ์ดังกล่าวตามประทานบัตรของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง และโจทก์สามารถให้เช่าได้
การที่โจทก์ให้ ฟ. ผลิตแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์มีกำหนด 3 ปี เป็นสัญญาที่โจทก์ตกลงให้ ฟ. ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากประทานบัตรอันเป็นทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และการที่ ฟ. ตกลงแบ่งแร่ดีบุกที่ผลิตได้แต่ละเดือนให้โจทก์ ถือว่า ฟ. ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างโจทก์กับ ฟ. จึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 หรือไม่
เมื่อ ฟ. แบ่งแร่ดีบุกให้โจทก์ตามที่ตกลงกันและโจทก์ขายแร่ดีบุกดังกล่าวไป เงินที่ได้จากการขายแร่ดีบุกดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5) (ก) คือเงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 5(1) (จ) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 มิใช่เป็นเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 90 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8(32)
(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2519)
การที่โจทก์ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุกนั้น ทำให้โจทก์มีสิทธิ์ทำเหมืองหรือขุดหาแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประทานบัตรนั้น สิทธิ์ดังกล่าวตามประทานบัตรของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง และโจทก์สามารถให้เช่าได้
การที่โจทก์ให้ ฟ. ผลิตแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์มีกำหนด 3 ปี เป็นสัญญาที่โจทก์ตกลงให้ ฟ. ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากประทานบัตรอันเป็นทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และการที่ ฟ. ตกลงแบ่งแร่ดีบุกที่ผลิตได้แต่ละเดือนให้โจทก์ ถือว่า ฟ. ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างโจทก์กับ ฟ. จึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 หรือไม่
เมื่อ ฟ. แบ่งแร่ดีบุกให้โจทก์ตามที่ตกลงกันและโจทก์ขายแร่ดีบุกดังกล่าวไป เงินที่ได้จากการขายแร่ดีบุกดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5) (ก) คือเงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 5(1) (จ) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 มิใช่เป็นเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 90 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8(32)
(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าภาษีที่นายจ้างจ่ายแทนลูกจ้าง ไม่เป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างไปนั้น ไม่ใช่เป็นเงินได้พึงประเมินภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1)(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้รายได้และกำไรสุทธิทางภาษี: เงินได้ต้องได้รับมาแล้ว ไม่ใช่แค่สิทธิเรียกร้อง
(1) ความในมาตรา 39 นั้น เงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้น จะต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้า
(2) สิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้าในขณะครบรอบระยะเวลาบัญชียังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะนำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการตามมาตรา 65
(3) คำว่า "กิจการที่กระทำ" ในมาตรา 65 นั้น หมายความถึงกิจการที่กระทำจนได้เงินมาเป็นเงินได้แล้ว
(2) สิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้าในขณะครบรอบระยะเวลาบัญชียังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะนำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการตามมาตรา 65
(3) คำว่า "กิจการที่กระทำ" ในมาตรา 65 นั้น หมายความถึงกิจการที่กระทำจนได้เงินมาเป็นเงินได้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้ต้องได้รับจริง จึงจะนำมาคำนวณภาษีได้ สิทธิเรียกร้องในอนาคตไม่ใช่เงินได้
ความในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรนั้นเงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีจะต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้วไม่ใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้า
สิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้าในขณะครบรอบระยะเวลาบัญชี ยังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะนำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการตามมาตรา 65
คำว่า 'กิจการที่กระทำ' ในมาตรา 65 นั้น หมายความถึงกิจการที่กระทำจนได้เงินมาเป็นเงินได้แล้ว
สิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้าในขณะครบรอบระยะเวลาบัญชี ยังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะนำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการตามมาตรา 65
คำว่า 'กิจการที่กระทำ' ในมาตรา 65 นั้น หมายความถึงกิจการที่กระทำจนได้เงินมาเป็นเงินได้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 642/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนนำทรัพย์ห้างไปขาย เงินได้เป็นของห้างฯ ต้องรอชำระบัญชีหลังเลิกห้าง
ผู้เปนหุ้นส่วนเอาทรัพย์ของห้างไปขาย เงินที่ได้มาต้องเปนของห้างหุ้นส่วน วิธีพิจารณาแพ่ง ผู้เปนหุ้นส่วนจะฟ้องขอแบ่งทุนกำไร ต้องขอให้เลิกหุ้นส่วนเสียก่อน พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ โจทก์เปนคนในบังคับเดนมารค คู่ความจะฎีกาได้แต่ปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: การเกษียณอายุตามโครงการของบริษัท ถือเป็นการเกษียณอายุโดยชอบธรรม
โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีจำนวนเงินตรงกับจำนวนภาษีที่หักไว้ ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยอ้างมูลเหตุในคำร้องขอคืนภาษีว่า โจทก์เข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดแต่ได้นำเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปรวมคำนวณภาษี แสดงว่าโจทก์มุ่งประสงค์ที่จะขอคืนเงินภาษีสำหรับเงินได้ที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มิใช่เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานตามที่จำเลยอุทธรณ์
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะขอคืนภาษีเป็นจำนวนเกินกว่าที่ได้ยื่นคำร้องขอคืน แต่ก็เป็นการบรรยายฟ้องโดยคำนวณหาจำนวนภาษีที่โจทก์มีสิทธิได้รับคืนที่ถูกต้อง กรณีมิใช่เป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและชอบที่จะขอคืนภาษีได้ตามจำนวนที่ถูกต้อง
ประกาศเรื่องโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดประจำปี 2550 ที่ให้พนักงานออกจากงานก่อนอายุ ครบ60 ปีบริบูรณ์โดยความสมัครใจร่วมกัน คือข้อกำหนดส่วนหนึ่งในหลักเกณฑ์การเกษียณอายุงาน โดยเพิ่มเติมจากเดิมที่กำหนดให้เกษียณเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ การที่โจทก์ใช้สิทธิตามประกาศฉบับนี้แม้จะเป็นเวลาที่ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเดิม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการเกษียณอายุโดยการออกจากงานเมื่อสิ้นกำหนดเวลาการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ขณะออกจากงานโจทก์มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทั้งโจทก์เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่มีผลให้เงินได้ที่โจทก์ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะขอคืนภาษีเป็นจำนวนเกินกว่าที่ได้ยื่นคำร้องขอคืน แต่ก็เป็นการบรรยายฟ้องโดยคำนวณหาจำนวนภาษีที่โจทก์มีสิทธิได้รับคืนที่ถูกต้อง กรณีมิใช่เป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและชอบที่จะขอคืนภาษีได้ตามจำนวนที่ถูกต้อง
ประกาศเรื่องโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดประจำปี 2550 ที่ให้พนักงานออกจากงานก่อนอายุ ครบ60 ปีบริบูรณ์โดยความสมัครใจร่วมกัน คือข้อกำหนดส่วนหนึ่งในหลักเกณฑ์การเกษียณอายุงาน โดยเพิ่มเติมจากเดิมที่กำหนดให้เกษียณเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ การที่โจทก์ใช้สิทธิตามประกาศฉบับนี้แม้จะเป็นเวลาที่ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเดิม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการเกษียณอายุโดยการออกจากงานเมื่อสิ้นกำหนดเวลาการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ขณะออกจากงานโจทก์มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทั้งโจทก์เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่มีผลให้เงินได้ที่โจทก์ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5807/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนบริษัทต่างประเทศเป็นค่าสิทธิ เงินได้พึงประเมิน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ตามสัญญาให้บริการด้านการตลาดระหว่างบริษัท อ. ประเทศสวีเดนกับโจทก์มีข้อตกลงว่า บริษัท อ. จะให้บริการความช่วยเหลือด้านการตลาดแก่โจทก์ เพื่อช่วยให้โจทก์สามารถจัดจำหน่ายเครื่องใช้ซึ่งโจทก์ซื้อมาจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและนอกประเทศไทย และดำเนินการด้านการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท อ. จะจัดส่งสิ่งพิมพ์ เช่น แผ่นพับ แคตตาล็อกและเอกสารเกี่ยวกับการโฆษณาซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการตลาดของโจทก์ เอกสารซึ่งส่งให้แก่โจทก์ตามสัญญานี้ รวมทั้งแผ่นพับเกี่ยวกับการโฆษณา หนังสือเผยแพร่ และภาพต่าง ๆ นั้น เป็นทรัพย์สินของโจทก์ และโจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินเหล่านั้นได้ เพื่อเป็นการตอบแทน โจทก์ตกลงจ่ายเงินค่าบริการเท่ากับร้อยละ 5 ของยอดขายสุทธิในแต่ละปี จากพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่า บริษัท อ. อนุญาตให้โจทก์จัดพิมพ์แผ่นพับที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ในลักษณะที่เป็นการทำซ้ำและนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ ค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายไปตามสัญญาดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการทำซ้ำและเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานวรรณกรรมและภาพพิมพ์อันมีลิขสิทธิ์รวมทั้งข้อสนเทศ จึงต้องด้วยลักษณะเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (3)
เงินค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายให้บริษัท อ. เป็นการจ่ายค่าตอบแทนค่าสิทธิตามที่ระบุในข้อ 12 วรรคสาม แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวีเดนเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนอันเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (3) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70
เงินค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายให้บริษัท อ. เป็นการจ่ายค่าตอบแทนค่าสิทธิตามที่ระบุในข้อ 12 วรรคสาม แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวีเดนเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนอันเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (3) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4068/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีใหม่ การแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาด และการหลีกเลี่ยงภาษี กรณีเงินได้จากการเลี้ยงไก่ไข่และเช็ค
ตาม ป.รัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติใดห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดใหม่ให้ถูกต้อง โดยเฉพาะการประเมินใหม่โดยยกเลิกการประเมินครั้งก่อน แม้การประเมินที่ผิดพลาดดังกล่าวจะอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้ยกเลิกการประเมินและเจ้าพนักงานประเมินได้ยกเลิกการประเมินครั้งแรกแล้ว ต้องถือเสมือนว่าไม่มีการประเมินและในการประเมินครั้งใหม่ เจ้าพนักงานประเมินก็มิได้ประเมินในเรื่องอื่นนอกเหนือไปจากการประเมินครั้งแรก แต่เป็นการคำนวณเงินได้สุทธิ เบี้ยปรับและเงินเพิ่มของโจทก์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อการประเมินครั้งใหม่ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพียงครั้งเดียว จึงไม่เป็นการประเมินซ้ำซ้อนหรือทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซ้ำซ้อนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8766/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการจ้างงานแม้จะโอนให้บุตรก็ยังเป็นเงินได้พึงประเมิน ต้องนำไปยื่นภาษี
โจทก์แสดงความประสงค์ไว้ล่วงหน้าให้นายจ้างโจทก์จ่ายเงินค่าจ้างในปีภาษี 2549 ให้แก่ เด็กชาย จ. บุตรของโจทก์โดยตรง ก็ต้องถือว่าโจทก์มีเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) เพราะโจทก์ย่อมต้องได้รับเงินค่าจ้างดังกล่าวมาก่อนแล้วจึงนำมาโอนให้แก่บุตรของโจทก์ได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าตอบแทนจากการทำงานดังกล่าวไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4440/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบริการแฟรนไชส์ต่างประเทศและผลประโยชน์ทางภาษี: การประเมินเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม
แม้สัญญาแฟรนไชส์ระหว่างโจทก์กับบริษัท พ. จะไม่เข้าลักษณะเป็น "ค่าแห่งลิขสิทธิ์" แต่ก็มีลักษณะเป็นค่าตอบแทนในการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจัดเป็นค่าแห่งสิทธิอื่นๆ ทำนองเดียวกับค่าแห่งกู๊ดวิลล์และค่าแห่งลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 40 (3)
การโฆษณาและส่งเสริมการขายตามสัญญาแฟรนไชส์ระหว่างโจทก์กับบริษัท พ. เจ้าของแฟรนไชส์ เป็นข้อตกลงที่กำหนดให้โจทก์ต้องปฏิบัติภายใต้การควบคุมและดุลพินิจของบริษัทดังกล่าวโดยเฉพาะ โจทก์ในฐานะผู้รับแฟรนไชส์ไม่มีอิสระที่จะทำการโฆษณาตามรูปแบบและเนื้อหาตามที่โจทก์ต้องการ ดังนั้น งบโฆษณาและส่งเสริมการขายที่โจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ แม้โจทก์จะมิได้จ่ายให้แก่บริษัทดังกล่าวโดยตรงก็ตามแต่ก็เป็นประโยชน์ที่บริษัทดังกล่าวได้รับโดยไม่ต้องไปดำเนินการโฆษณาสินค้าภายใต้ "เครื่องหมาย" ของตนตามรูปแบบและเนื้อหาที่ตนพอใจ จึงถือได้ว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39
การที่โจทก์ต้องใช้งบโฆษณาและส่งเสริมการขายตามสัญญาแฟรนไชส์ก็เพื่อตอบแทนการที่บริษัท พ. ยินยอมให้โจทก์เป็นผู้รับแฟรนไชส์ กรณีจึงถือได้ว่าบริษัท พ. ได้รับประโยชน์หรือ "เงินได้พึงประเมิน" เช่นว่านี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าแฟรนไชส์นอกเหนือจากที่ได้ตกลงไว้ในสัญญาเข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนในการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา อันเป็นค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (3)
การที่โจทก์จ่ายเงินค่าแฟรนไชส์ที่เข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนในการใช้สิทธิอย่างอื่นตามมาตรา 40 (3) ให้แก่บริษัท พ. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศและมิได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย ย่อมเข้าลักษณะเป็นการชำระค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร โจทก์ผู้จ่ายเงินค่าบริการมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัท พ. ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 83/6 (2) แห่ง ป.รัษฎากร
คำว่า "เงินได้พึงประเมินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 70 ต้องถือตามความหมายที่มาตรา 39 ได้กำหนดนิยามเอาไว้ ซึ่ง "...ให้หมายความรวมถึง ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน...ด้วย" แม้มาตรา 70 จะมิได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าให้หมายความรวมถึงประโยชน์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับก็ตาม
การโฆษณาและส่งเสริมการขายตามสัญญาแฟรนไชส์ระหว่างโจทก์กับบริษัท พ. เจ้าของแฟรนไชส์ เป็นข้อตกลงที่กำหนดให้โจทก์ต้องปฏิบัติภายใต้การควบคุมและดุลพินิจของบริษัทดังกล่าวโดยเฉพาะ โจทก์ในฐานะผู้รับแฟรนไชส์ไม่มีอิสระที่จะทำการโฆษณาตามรูปแบบและเนื้อหาตามที่โจทก์ต้องการ ดังนั้น งบโฆษณาและส่งเสริมการขายที่โจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ แม้โจทก์จะมิได้จ่ายให้แก่บริษัทดังกล่าวโดยตรงก็ตามแต่ก็เป็นประโยชน์ที่บริษัทดังกล่าวได้รับโดยไม่ต้องไปดำเนินการโฆษณาสินค้าภายใต้ "เครื่องหมาย" ของตนตามรูปแบบและเนื้อหาที่ตนพอใจ จึงถือได้ว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39
การที่โจทก์ต้องใช้งบโฆษณาและส่งเสริมการขายตามสัญญาแฟรนไชส์ก็เพื่อตอบแทนการที่บริษัท พ. ยินยอมให้โจทก์เป็นผู้รับแฟรนไชส์ กรณีจึงถือได้ว่าบริษัท พ. ได้รับประโยชน์หรือ "เงินได้พึงประเมิน" เช่นว่านี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าแฟรนไชส์นอกเหนือจากที่ได้ตกลงไว้ในสัญญาเข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนในการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา อันเป็นค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (3)
การที่โจทก์จ่ายเงินค่าแฟรนไชส์ที่เข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนในการใช้สิทธิอย่างอื่นตามมาตรา 40 (3) ให้แก่บริษัท พ. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศและมิได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย ย่อมเข้าลักษณะเป็นการชำระค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร โจทก์ผู้จ่ายเงินค่าบริการมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัท พ. ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 83/6 (2) แห่ง ป.รัษฎากร
คำว่า "เงินได้พึงประเมินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 70 ต้องถือตามความหมายที่มาตรา 39 ได้กำหนดนิยามเอาไว้ ซึ่ง "...ให้หมายความรวมถึง ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน...ด้วย" แม้มาตรา 70 จะมิได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าให้หมายความรวมถึงประโยชน์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับก็ตาม