พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุมัติลาออกภายใต้เงื่อนไข และผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อสิทธิการรับเงินของลูกจ้าง
จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อเมื่อโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ค. กรรมการรักษาการผู้จัดการจำเลยได้มีหนังสือถึงโจทก์มีข้อความว่า "เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและ ข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯมีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที" ดังนั้น การที่ คณะกรรมการจำเลยมีมติดังกล่าวจึงมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาต ให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามเงื่อนไขทั้งสี่ข้อต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออก เงื่อนไขการจ่ายเงิน และหน้าที่ของนายจ้างเมื่อลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
แม้การที่โจทก์ลาออกจากงานก่อนกำหนด ตามข้อบังคับ ของจำเลยโจทก์ต้องได้รับความเห็นชอบและได้รับ อนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของจำเลยก่อนและคณะกรรมการบริหารของจำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกได้ภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อ คือ 1. ต้องเข้าร่วม ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2539/40 เพื่อตอบข้อซักถาม ของที่ประชุมเกี่ยวกับบัญชีงบดุล 2. จะพึงปฏิบัติต่อ ผู้ตรวจสอบบัญชีโดยเคร่งครัด 3. สิทธิที่พึงได้รับ ตามระเบียบร้าน ฯ จะได้รับต่อเมื่อปิดงบดุลเสร็จสิ้น 4. ให้เสนอทำบัญชีงบทดรองมาให้คณะกรรมการพิจารณา ในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และอนุมัติจัดจ้างโจทก์ นอกเวลาตามอัตราค่าจ้างเดิม โจทก์ตกลงกับจำเลย ถือว่าโจทก์สละเงื่อนเวลาในการรับเงินที่โจทก์มีสิทธิ จะได้รับไปจนกว่าปิดงบดุลเสร็จนั้นก็ตาม แต่เมื่อ โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ หลังจากนั้น ค. กรรมการรักษาการผู้จัดการได้มีหนังสือถึงโจทก์ มีข้อความว่า "ตามที่โจทก์ได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการฯ ให้ทำการการปิดบัญชีประจำปี 2539ให้เสร็จภายในกำหนด แต่เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯ มีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที" ย่อมมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามข้อดังกล่าวอีกต่อไปจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์อันจะพึงได้รับให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกภายใต้เงื่อนไข และสิทธิในการรับเงินบำเหน็จหลังการอนุมัติลาออก หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
แม้การที่โจทก์ลาออกจากงานก่อนกำหนด ตามข้อบังคับของจำเลยโจทก์ต้องได้รับความเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของจำเลยก่อนและคณะกรรมการบริหารของจำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกได้ภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อ คือ 1. ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2539/40เพื่อตอบข้อซักถามของที่ประชุมเกี่ยวกับบัญชีงบดุล 2. จะพึงปฏิบัติต่อผู้ตรวจสอบบัญชีโดยเคร่งครัด 3. สิทธิที่พึงได้รับตามระเบียบร้านฯ จะได้รับต่อเมื่อปิดงบดุลเสร็จสิ้น 4. ให้เสนอทำบัญชีงบทดรองมาให้คณะกรรมการพิจารณาในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และอนุมัติจัดจ้างโจทก์นอกเวลาตามอัตราค่าจ้างเดิม โจทก์ตกลงกับจำเลยถือว่าโจทก์สละเงื่อนเวลาในการรับเงินที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับไปจนกว่าปิดงบดุลเสร็จนั้นก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงดังกล่าวได้ หลังจากนั้น ค.กรรมการรักษาการผู้จัดการได้มีหนังสือถึงโจทก์ มีข้อความว่า"ตามที่โจทก์ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ ให้ทำการปิดบัญชีประจำปี 2539 ให้เสร็จภายในกำหนดแต่เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯ มีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที" ย่อมมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามข้อดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์อันจะพึงได้รับให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7159/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทิน พ.ศ.2539 ผู้ต้องโทษต้องพ้นโทษก่อนหรือพร้อมกับวันบังคับใช้
ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลที่จะได้รับการล้างมลทินและถือว่าไม่เคยถูกลงโทษในความผิดตามคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีพ.ศ.2539 มาตรา 4 นั้น นอกจากเป็นผู้ต้องโทษที่ได้กระทำผิดก่อนหรือในวันที่ 9มิถุนายน 2539 แล้ว ยังต้องเป็นผู้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 11 กันยายน 2539อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่ผู้นั้นได้รับโทษตามคำพิพากษาอยู่ และยังไม่พ้นโทษในวันที่ 11 กันยายน 2539 ก็ต้องได้รับอภัยโทษปล่อยตัวหรือพ้นโทษออกมาตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษ พ.ศ.2539 แล้วแต่กรณี การที่จำเลยต้องคำพิพากษาจำคุก 6 เดือน แต่รอการลงโทษไว้ จำเลยจึงยังมิได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา กรณีของจำเลยจึงมิใช่ผู้ต้องโทษตามความหมายของมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.ดังกล่าว จำเลยย่อมไม่ได้รับผลตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษเช่นเดียวกัน
จำเลยฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยไว้แล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้และเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรให้รอการลงโทษให้แก่จำเลยและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติไว้ แต่เพื่อให้จำเลยเข็ดหลาบ เห็นสมควรลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง และเมื่อรอการลงโทษจำคุกในคดีนี้ ย่อมไม่อาจนำโทษจำคุกในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ได้
จำเลยฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยไว้แล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้และเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรให้รอการลงโทษให้แก่จำเลยและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติไว้ แต่เพื่อให้จำเลยเข็ดหลาบ เห็นสมควรลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง และเมื่อรอการลงโทษจำคุกในคดีนี้ ย่อมไม่อาจนำโทษจำคุกในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7138/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์: เงื่อนไขการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและหนี้ตามคำพิพากษา
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ โดยไม่ได้กำหนดเรื่องจำเลยไม่วางเงินหรือหาประกันมาวางศาลใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและหนี้ตามคำพิพากษา และคดีมีเหตุให้น่าเชื่อว่า จำเลยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษามาวางศาล หรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ตาม ป.วิ.พ.มาตรา234 จึงไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลย แต่ชอบที่จะสั่งตามมาตรา234 ดังกล่าวข้างต้นก่อน ศาลฎีกาให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษามาวางศาลชั้นต้นหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้นภายใน 7 วันนับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา หากจำเลยดำเนินการหรือไม่ดำเนินการภายในกำหนดดังกล่าว ก็ให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อสั่งต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6119/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาชำระหนี้ด้วยการส่งมอบที่ดินแทนเงิน สัญญากู้ไม่มีผลบังคับใช้จนกว่าจะขายที่ดิน
บันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญากู้เงินมีข้อความระบุในข้อ 2ว่า จำเลยจะชำระต้นเงินจำนวน 15,000,000 บาท ให้โจทก์ไม่เกินกว่าวันที่ 31 มีนาคม 2538 โดยจำเลยมอบเช็คพิพาทให้ไว้แก่โจทก์ด้วย แต่ในข้อ 2.1 กลับมีข้อตกลงขยายความในกรณีชำระต้นเงินคืนเป็นว่า ถ้าไม่ได้จ่ายเงินคืนแก่โจทก์ในวันที่ 31 มีนาคม 2538 หรือไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทได้ จำเลยยินยอมที่จะส่งมอบโฉนดที่ดิน 2 ฉบับคืนโจทก์รวมทั้งหนังสือมอบอำนาจที่ลงชื่อจำเลยซึ่งโจทก์จะใช้สิทธิในโฉนดที่ดินได้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงให้ถือเอาการขายที่ดินหรือไม่เป็นเงื่อนไขของการที่จะชำระหนี้กันตามสัญญากู้ ซึ่งเห็นได้จากข้อตกลงในข้อ 2.2 ระบุต่อไปว่าหากจำเลยได้มอบโฉนดที่ดิน 2 ฉบับ ดังกล่าวให้แก่โจทก์และชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระครบถ้วนแล้ว สัญญากู้เงินจะต้องยกเลิกและโจทก์จะส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่จำเลย ดังนี้ย่อมชี้ให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยในเบื้องต้นว่ามิได้ ประสงค์ให้สัญญากู้เงินมีผลบังคับในทันที ตราบใดที่จำเลย ยังขายที่ดิน 2 โฉนดดังกล่าวไม่ได้ สัญญากู้เงินย่อมไม่มี ผลบังคับ หากจำเลยขายที่ดินได้แล้วจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระ ต้นเงินตามเช็คพิพาทรวมทั้งดอกเบี้ยที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ส่วนกรณีที่จำเลยไม่อาจขายที่ดินได้จำเลยก็มีหน้าที่ต้องคืนโฉนดที่ดิน 2 แปลงพร้อมทั้งทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปใช้สิทธิในที่ดินเท่านั้น จึงเท่ากับว่าหากจำเลยไม่สามารถขายที่ดินได้โจทก์ก็รับเอาที่ดิน 2 แปลงไปเป็นกรรมสิทธิ์โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินตามเช็คพิพาท ฉะนั้นในขณะที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงมีเจตนาเพียงมุ่งหมายให้เป็นประกันการชำระหนี้ ตามสัญญากู้เงินและข้อตกลงแนบท้ายสัญญากู้เงินเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก การใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5684/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งมีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับพิจารณา
ฟ้องเดิมเป็นเรื่องโจทก์เรียกร้องหนี้เงินอันเกิดจากการที่โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าของจำเลยในการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยจำเลยกู้เงินโจทก์แล้วหักชำระหนี้กัน ส่วนจำเลยให้การ ต่อสู้ในชั้นแรกอ้างว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ แต่ต่อมา กลับฟ้องแย้งว่า หากจะฟังว่าจำเลยต้องรับผิด โจทก์ทำให้จำเลย เสียหายขอให้โจทก์ชดใช้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีเงื่อนไขและ ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไป ด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย ชอบที่ศาลจะไม่รับฟ้องแย้งไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่มีเงื่อนไขให้ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะก่อน ไม่ตกเป็นโมฆะ ถือเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
ในสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทรวม 9 ฉบับ ได้กำหนดเงื่อนไขในสัญญาแต่ละฉบับว่า ให้เจ้าของที่ดินที่ยังเป็นผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะเสียก่อนจึงจะไปโอนที่ดินพิพาทกันได้ สัญญาซื้อขาย ที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่สัญญา ซื้อขายเสร็จเด็ดขาด สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นโมฆะ และใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5524/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงที่ผิดเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น แต่จะอนุญาตให้ฎีกาในคดีซึ่งต้องห้ามฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 219 ตรีไม่ได้ คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังจำเลยแทนโทษจำคุก และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรีการที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนที่ดินและฟ้องแย้งละเมิด: เงื่อนไขฟ้องแย้งต้องเชื่อมโยงกับฟ้องเดิม
แม้จำเลยจะให้การรับว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องร่วมกับอ. โดยจำเลยเพียงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยังมิได้โอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามที่โจทก์ต้องการจนโจทก์ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งที่โจทก์จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลแล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยอ้างว่าให้จำเลยใส่ชื่อในโฉนดที่ดินไว้แทน แต่ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายโดยจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์กลั่นแกล้งฟ้องจำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีเงื่อนไข เพราะจะรับฟังได้เมื่อคดีฟังได้ว่าฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์แกล้งฟ้องจำเลยก่อน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลจะสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย
โจทก์กับ อ.จะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องคนละเท่าใดตามที่จำเลยให้การและฟ้องแย้ง ย่อมเป็นเรื่องที่โจทก์กับ อ.จะไปว่ากล่าวกันเอง ไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้ง และงดสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นนี้ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยอ้างว่าให้จำเลยใส่ชื่อในโฉนดที่ดินไว้แทน แต่ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายโดยจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์กลั่นแกล้งฟ้องจำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีเงื่อนไข เพราะจะรับฟังได้เมื่อคดีฟังได้ว่าฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์แกล้งฟ้องจำเลยก่อน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลจะสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย
โจทก์กับ อ.จะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องคนละเท่าใดตามที่จำเลยให้การและฟ้องแย้ง ย่อมเป็นเรื่องที่โจทก์กับ อ.จะไปว่ากล่าวกันเอง ไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้ง และงดสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นนี้ชอบแล้ว