คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจตนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,077 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9029/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยมีหน้าที่รับผิดตามสัญญาประกัน แม้ใช้ที่ดินของห้างหุ้นส่วนเป็นหลักประกัน โดยมีเจตนาทำสัญญาประกันในนามตนเอง
การขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกันนั้นต้องประกอบด้วยผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวประการหนึ่งกับผู้ร้องขอประกันได้จัดหาหลักประกันมาอีกประการหนึ่งตามบทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 106, 112, และมาตรา 114
จำเลยเป็นผู้ยื่นคำร้องขอประกันและเป็นผู้ทำสัญญาประกันตัว ป. ผู้ต้องหาในคดีความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ จากโจทก์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจัดหาหลักประกันมาตามมาตรา 114 เมื่อไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าหลักประกันนั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกันแต่ผู้เดียว การที่จำเลยจัดหาหลักประกันเป็นที่ดินมีโฉนดซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของห้างหุ้นส่วน ส. และห้างหุ้นส่วนดังกล่าวยินยอมให้นำโฉนดที่ดินมาวางต่อโจทก์ในการขอปล่อย ป. ผู้ต้องหาชั่วคราว โดยทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยเป็นผู้รับโฉนดที่ดินไปดำเนินการแทนนั้น หาได้แปลว่า จำเลยยื่นคำร้องขอประกันและทำสัญญาประกันตัว ป. ผู้ต้องหาคดีดังกล่าวในฐานะที่จำเลยเป็นเพียงตัวแทนของห้างหุ้นส่วน ส. แต่อย่างใดไม่ แต่แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเข้าทำสัญญาประกันตัว ป.ผู้ต้องหาในนามของจำเลยเองด้วย หากจำเลยเป็นแต่เพียงผู้รับมอบอำนาจจากห้างหุ้นส่วน ส. ให้มาประกันตัวผู้ต้องหาจริงแล้ว จำเลยก็ควรระบุไว้ในคำร้องขอประกันและสัญญาประกันด้วยว่า ทำแทนหรือเป็นตัวแทนของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ดังนั้น สัญญาประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยในฐานะคู่สัญญา
การที่จำเลยไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัดในวันที่ 27 ธันวาคม 2539 ย่อมทำให้จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาประกัน โจทก์ชอบที่จะบังคับตามสัญญาประกันได้โดยมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกันซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ แต่การชำระหนี้ดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้แก่กันไว้ โจทก์ชอบที่จะบอกกล่าวกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ก่อน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้นั้น ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่เมื่อนั้น กรณีมิใช่เป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระในวันเดียวกับวันที่จำเลยไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัด อันจะทำให้จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ส่งตัว ป. ผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนเพียงแต่มีบันทึกลงไว้ในรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานว่าจะได้ดำเนินการเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไปเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยผิดนัดไม่ส่งตัวผู้ต้องหาแล้ว โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยให้ชำระเงินตามสัญญาประกัน จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่ วันที่ 27 ธันวาคม 2539 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้อันเป็นการเรียกให้ชำระหนี้เงินแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7793/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้าย vs. พยายามฆ่า: การประเมินจากพฤติการณ์การต่อสู้และบาดแผล
การที่จำเลยต่อสู้ขัดขืนการจับกุมและใช้กรรไกรแทงทำร้ายจ่าสิบตำรวจ ร. หลายครั้ง แต่ปรากฏว่าการแทงครั้งแรกถูกจ่าสิบตำรวจ ร. ที่ท้องแต่ไม่เข้า เมื่อกอดปล้ำกันจำเลยได้แทงที่ไหล่ขวาจนเสื้อขาดและไม่เข้าอีกเช่นกัน แสดงว่ามิใช่เป็นการแทงโดยแรง หลังจากนั้นจำเลยได้ใช้กรรไกรแทงที่กระเดือกและคอจ่าสินตำรวจ ร. มีเลือดไหลที่บริเวณกระเดือกเห็นได้ว่าขณะจำเลยใช้กรรไกรแทงจ่าสิบตำรวจ ร. นั้นเป็นการแทงขณะจำเลยและจ่าสิบตำรวจ ร. ต่อสู้กอดรัดกัน และเป็นการแทงเพื่อที่จำเลยจะหลบหนี จำเลยจึงอยู่ในภาวะที่ไม่มีโอกาสเลือกแทงอวัยวะส่วนใดของจ่าสิบตำรวจ ร. ได้ อาวุธที่จำเลยใช้แทงจ่าสิบตำรวจ ร. เป็นกรรไกรขนาดไม่ใหญ่ ไม่ใช่อาวุธโดยสภาพ แม้จำเลยจะใช้กรรไกรแทงจ่าสิบตำรวจ ร. หลายครั้ง แต่จ่าสิบตำรวจ ร. มีบาดแผลที่คอซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญเพียงแห่งเดียว บาดแผลดังกล่าวเป็นเพียงรอยถลอกยาว 0.5 เซนติเมตร แพทย์ลงความเห็นว่ารักษาประมาณ 7 วันหาย พฤติการณ์ดังกล่าวยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าจ่าสิบตำรวจ ร. จำเลยคงมีเจตนาทำร้ายจ่าสิบตำรวจ ร. เพื่อให้พ้นจากการจับกุมเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และจำเลยยังมีความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อและเจตนาของผู้ให้เช่าซื้อในการรับความเสี่ยงจากผู้เช่าซื้อ ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องคืนทรัพย์สิน
สัญญาเช่าซื้อข้อ 5 ระบุว่า "ทรัพย์สินที่เช่าซื้อเสียหาย สูญหาย หรือถูกอายัด ถูกยึด ถูกริบ ไม่ว่าโดยเหตุสุดวิสัยหรือโดยเหตุใดๆ ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดแต่ฝ่ายเดียวและจะแจ้งให้เจ้าของทราบทันที ยอมติดตามฟ้องร้องเอาคืน ยอมซ่อมแซมให้คืนสภาพเดิม และยอมชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนครบ หากเจ้าของได้จ่ายเงินไปเพื่อการดังกล่าว ผู้เช่าซื้อยินยอมชดใช้ให้ทั้งสิ้น" ข้อสัญญาดังกล่าวแสดงวัตถุประสงค์อยู่ในตัวว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อต้องการราคาเช่าซื้อเป็นสำคัญ โดยผู้เช่าซื้อจะนำทรัพย์ที่เช่าซื้อไปใช้อย่างไรก็ได้ เมื่อสัญญาเช่าซื้อมีข้อกำหนดดังกล่าวไว้ ผู้ร้องจึงมิได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย ทั้งได้ความว่าผู้ร้องมอบอำนาจให้ ย. ผู้เช่าซื้อไปติดต่อรับรถจักรยานยนต์ของกลางที่ถูกยึดไว้คืนจากพนักงานสอบสวน บ่งชี้ว่าผู้ร้องทราบแล้วว่าจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้กระทำความผิด และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาริบรถจักรยานยนต์ของกลางแล้ว ผู้ร้องก็มิได้บอกเลิกสัญญาต่อผู้เช่าซื้อ แต่ยังคงรับค่าเช่าซื้ออีก 2 งวด จนกระทั่งผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่างวดอีกงวดหนึ่งจึงบอกเลิกสัญญา สาเหตุที่ผู้ร้องบอกเลิกสัญญาจึงหาใช่เกิดจากการที่จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปกระทำความผิดไม่ พฤติการณ์ของผู้ร้องที่มาขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง จึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อ เข้าลักษณะผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย จึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญากู้ยืมเงินและการออกเช็คเป็นหลักประกัน การตีความเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา
โจทก์เป็นผู้จัดหาหนังสือสัญญากู้ยืมเงินมาด้วยตนเอง และเป็นผู้กรอกข้อความเอง ซึ่งปรากฏว่าโจทก์มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี หากเห็นว่าข้อความในหนังสือสัญญาไม่สัมพันธ์หรือใช้ไม่ได้กับการออกเช็คพิพาทในข้อสาระสำคัญ โจทก์ย่อมทราบดีและน่าจะทำการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ที่แท้จริง เมื่อหนังสือสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับมีข้อความตรงกันในข้อ 4 ว่า เพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน จำเลยผู้กู้นำเช็คพิพาทแต่ละฉบับมอบให้ไว้แก่โจทก์ผู้ให้กู้เพื่อยึดไว้เป็นประกันเงินกู้ ข้อความดังกล่าวมีความหมายชัดเจนว่าเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เป็นหลักประกันในการที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์มิใช่เช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7086/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเรียกร้องคืนของกลางโดยไม่สุจริต แม้ผู้เช่าซื้อจะชำระหนี้ได้ ผู้ร้องก็ยังต้องการรถยนต์ ทำให้สิทธิในการเรียกร้องคืนเป็นโมฆะ
ผู้ร้องได้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อจากผู้ให้เช่าซื้อยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลาง ซึ่งมีราคามากกว่าราคาค่าเช่าซื้อที่ยังเหลืออยู่จำนวนมาก เมื่อผู้เช่าซื้อจะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ผู้ร้องก็ปฏิเสธ แสดงเจตนาว่าผู้ร้องต้องการรถยนต์บรรทุกของกลาง ซึ่งมีราคามากกว่าที่ตนควรจะได้ การยื่นคำร้องขอคืนของกลางจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอคืนของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาโอนลิขสิทธิ์ต้องดูเจตนาของคู่สัญญาและพฤติการณ์หลังทำสัญญา ไม่ยึดชื่อสัญญาเป็นหลัก
การตีความสัญญาต้องเป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 คือต้องถือหลักตามความเข้าใจของทั้งสองฝ่ายจะถือเอาเจตนาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ นอกจากนี้การตีความสัญญายังต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 ด้วย เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับความหมายของข้อความในสัญญา ศาลจึงต้องแสวงหาเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายโดยค้นหาเอาจากข้อความในสัญญาทั้งฉบับ รวมทั้งพฤติการณ์ที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อกันหลังจากทำสัญญานั้นด้วย จะถือเอาแต่เพียงชื่อของสัญญาเป็นเกณฑ์เด็ดขาดดังที่โจทก์อุทธรณ์ไม่ได้ จากข้อความในสัญญาเห็นได้ว่าข้อความในสัญญาโอนลิขสิทธิ์ดนตรีกรรมระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 มีความหมายไม่ชัดเจนว่าเป็นสัญญาโอนขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงโดยเด็ดขาดหรือเป็นแต่เพียงสัญญาโอนขายมาสเตอร์เทป 1 ต้นแบบ หรือ 1 เวอร์ชั่น หาได้มีข้อความชัดเจนดังที่โจทก์อุทธรณ์ไม่ ข้อความในสัญญาและพฤติการณ์ที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันหลังจากทำสัญญานั้นประกอบกับพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสี่แสดงให้เห็นว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาทำสัญญาเป็นสัญญาโอนขายมาสเตอร์เทป 1 ต้นแบบ หรือ 1 เวอร์ชั่นเท่านั้น มิได้มีเจตนาทำสัญญาโอนขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงดังกล่าวกันแต่อย่างใด ลิขสิทธิ์ในงานเพลงนั้นจึงยังคงเป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อลิขสิทธิ์ในดนตรีกรรมคือเพลงทั้งสิบสี่เพลงตามคำฟ้องยังคงเป็นของจำเลยที่ 1 มิได้โอนไปเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันผลิตมาสเตอร์เทปเพลงทั้งสิบสี่เพลงดังกล่าวเป็น 3 ชุด ซึ่งเป็นคนละเวอร์ชั่นกับมาสเตอร์เทปที่จำเลยที่ 1 โอนขายให้แก่โจทก์ ย่อมมิใช่การดัดแปลงงานดนตรีกรรมอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีความผิดตามคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการสนับสนุนการฆ่า: การกระทำเกินกว่าผู้สนับสนุน กลายเป็นตัวการ
ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมดื่มสุราด้วยกันตั้งแต่ก่อนหนึ่งทุ่มครึ่งจนกระทั่งเวลาเลยเที่ยงคืนแล้ว จำเลยที่ 1 เล่าเรื่องที่ผู้ตายด่าว่าเกี่ยวกับการไม่เคร่งครัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ฟัง ในภาวะเช่นนั้นจำเลยที่ 2 ย่อมทราบอยู่แก่ใจดีว่าจำเลยที่ 1 มีความเคียดแค้นต่อผู้ตาย แทนที่จำเลยที่ 2 จะห้ามปรามหรือปลอบประโลมใจจำเลยที่ 1 เพื่อคลายความโกรธแต่กลับไปหยิบขวานขนาดใหญ่ที่พอจะทำร้ายผู้ตายให้ถึงแก่ความตายได้มาส่งให้ และเมื่อจำเลยที่ 1 รับขวานมาแล้วได้ลุกเดินตรงไปยังที่ที่ผู้ตายนอนอยู่ จำเลยที่ 2 ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่าจำเลยที่ 1 จะต้องไปทำร้ายผู้ตายแน่ แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังได้เดินตามจำเลยที่ 1 ไป หลังจากจำเลยที่ 1 ได้ใช้ขวานฟันทำร้ายผู้ตายจนถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ก็ยังยืนให้คำปรึกษาแก่จำเลยที่ 1 ถึงการที่จะดำเนินการเกี่ยวกับศพผู้ตายต่อไป เมื่อตกลงกันได้ว่าจะต้องทำการซ่อนเร้นศพโดยการนำไปทิ้งบ่อน้ำที่ใกล้เคียง ขณะที่จำเลยที่ 1 แบกศพผู้ตายไปยังบ่อ ศพได้หล่นจากบ่า จำเลยที่ 2 ยังได้นำเสื้อกันฝนมาคลุมศพช่วยจำเลยที่ 1 ในการนำศพไปซ่อนในบ่อน้ำ พร้อมกับนำขวานที่ใช้เป็นอาวุธไปทิ้งลงบ่อด้วย ดังนี้ แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 2 จะมิใช่ผู้ลงมือฟันทำร้ายผู้ตายโดยตรง แต่พฤติการณ์ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ก็มีความประสงค์ต่อความตายของผู้ตายด้วย ประกอบกับทุกขั้นตอนของการกระทำของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จะอยู่ร่วมด้วยในลักษณะที่จะช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ได้ทุกเมื่อหากมีเหตุขัดข้องเกิดขึ้น การกระทำเช่นนี้จึงเป็นการเกินเลยของการเป็นผู้สนับสนุนและถึงขั้นเป็นตัวการในการกระทำความผิดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6519/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส แม้ไม่มีเจตนาโดยตรง ก็ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 เป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลที่เกิดจากการกระทำโดยที่ผู้กระทำไม่จำต้องมีเจตนาต่อผลที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยใช้ท่อนไม้ขว้างปาผู้เสียหายถูกบริเวณศีรษะทำให้ผู้เสียหายตกรถจักรยานยนต์ได้รับบาดเจ็บ แม้จำเลยไม่มีเจตนาให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส คงมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายก็ตาม จำเลยก็ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6519/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส แม้ไม่มีเจตนา
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 เป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลที่เกิดจากการกระทำโดยที่ผู้กระทำไม่จำต้องมีเจตนาต่อผลที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น ดังนั้น เมื่อจำเลยใช้ท่อนไม้ขว้างปาผู้เสียหายถูกบริเวณศีรษะทำให้ผู้เสียหายตกรถจักรยานยนต์ได้รับบาดเจ็บ แม้จำเลยไม่มีเจตนาให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส คงมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายก็ตาม จำเลยก็ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5320-5325/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณากำหนดค่าเสียหาย แม้คำฟ้องใช้คำว่า 'ค่าชดเชยพิเศษ'
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและบรรยายว่าโจทก์อายุมากแล้ว ทำงานมานาน ต้องเดือดร้อนเพราะมีภาระและการหางานใหม่ เพื่อให้ศาลใช้ประกอบการพิจารณากำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์ และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยพิเศษ ไม่ได้ใช้คำว่าค่าเสียหาย เมื่ออ่านคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโดยตลอดแล้ว ย่อมชัดเจนพอที่จะตีความได้ว่าหมายถึงขอให้พิจารณาความเสียหายและกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ การที่ศาลแรงงานกลางตีความว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นการตีความโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 ไม่ใช่กรณีมีข้อสงสัยจนต้องนำมาตรา 11 มาตีความ ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
of 408