คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าของกรรมสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6982/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมทั้งหมด ไม่ผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ไม่ยินยอม
ตามคำฟ้องโจทก์ยืนยันว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์มาแต่เดิมขอให้จำเลยจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้เป็นของโจทก์ตามสัญญา มิได้ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของจำเลย คดีจึงมีประเด็นแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้นไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ด้วย เพราะการครอบครองปรปักษ์จะเกิดมีขึ้นได้แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลย แม้โจทก์จะครอบครองมากว่า10 ปี ศาลก็จะพิพากษาให้เป็นของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 โจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทเกิดขึ้นต่อกัน โดยจำเลยขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินรังวัดที่ดินรวมเอาที่พิพาทเข้าด้วยเพื่อแบ่งแยกออกโฉนดที่ดินระหว่างเจ้าของรวม แต่โจทก์ไม่ยอมโดยได้ระวังชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์รวมไปถึงที่พิพาทตามที่ครอบครองมาด้วย จำเลยจึงได้ทำบันทึกข้อตกลงมีข้อความว่าที่ดินแปลงที่แบ่งแยกจากโฉนดเป็นแปลงที่ 7(ซึ่งหมายถึงที่พิพาท) แบ่งให้โจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยดำเนินการรังวัดไปได้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 เจ้าของรวมเพียง 2 คน ทำบันทึกอันเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความว่าให้แบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์เป็นการจำหน่ายตัวทรัพย์สินของเจ้าของรวม เมื่อจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 5 ผู้เป็นเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ตกลงยินยอมในการให้ที่พิพาทแก่โจทก์ด้วย ข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 และในขณะที่ทำบันทึกที่พิพาทยังมิได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัดของจำเลยที่ 2 และที่ 4 โจทก์จึงไม่มีอำนาจบังคับให้จำเลยทั้งห้าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5992/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำ: เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน – ประเด็นข้อพิพาทเดียวกันกับคดีเดิมที่ยังไม่สิ้นสุด
ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากมารดาโจทก์ ขอให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดิน โจทก์ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ได้รับการยกให้ที่พิพาทจากมารดา แล้วครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อเกิน 10 ปีแล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์กลับมาฟ้องเป็นคดีนี้อ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ นิติกรรมการซื้อขายของจำเลยกับมารดาโจทก์เป็นโมฆะ ระหว่างการพิจารณาคดีนี้ ในคดีเดิมศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย พิพากษาให้โจทก์รื้อถอนบ้านออกจากที่พิพาท ดังนี้มูลคดีทั้งสองคดีนี้มีว่า คู่ความฝ่ายใดเป็นเจ้าของที่พิพาทเป็นประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกัน การที่โจทก์ในคดีนี้ขอให้พิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอีกในคดีนี้เท่ากับโจทก์ขอให้ศาลมีคำพิพากษาในประเด็นที่ได้วินิจฉัยไปแล้วในคดีซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดินฮวงซุ้ยบนที่ดินพิพาท การซื้อขายที่ดิน และสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รายใหม่
ข้อตกลงและทางปฏิบัติระหว่างจำเลย กับ บ. ผู้ซื้อที่ดินพิพาทของจำเลยจากการขายทอดตลาดโดยยอมให้จำเลยมีสิทธิเป็นเจ้าของฮวงซุ้ยซึ่งได้ก่อสร้างบนที่ดินพิพาทนั้นมาแต่เดิมเป็นการก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลยโดยทางนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1410 แต่เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่บริบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรกคงใช้ได้ในฐานะบุคคลสิทธิระหว่างคู่กรณีคือ บ. กับจำเลยเท่านั้นและไม่ว่าโจทก์ผู้รับซื้อที่ดินพิพาทมาจาก บ. จะรู้ถึงข้อความระหว่าง บ. กับจำเลยมาก่อนหรือไม่หรือซื้อที่ดินพิพาทมาด้วยราคาต่ำก็ตาม ก็ย่อมมีอำนาจในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ที่จะขัดขวางมิให้จำเลยหรือบุคคลอื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต การโอนสิทธิโดยไม่สุจริตไม่ผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์
แม้ บ. มีสิทธิเช่าอาคารพิพาทจากโจทก์ร่วม แต่สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อ บ. ตายสิทธิการเช่าย่อมระงับหรือสิ้นสุดลงไม่ตกทอดไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาท ส่วนคำพิพากษาของศาลอีกคดีหนึ่งที่วินิจฉัยว่า ฮ. ลงชื่อเป็นผู้เช่าอาคารพิพาทของโจทก์ร่วมแทน บ. ในคดีระหว่าง ฮ. กับ บ. นั้นเป็นคำพิพากษาที่วินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิการเช่าอาคาร มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2) จึงไม่อาจใช้ยันโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี เมื่อ ฮ. ผู้เช่าเดิมได้โอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทแก่โจทก์และโจทก์ร่วมยินยอมและจัดให้โจทก์ทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วมแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิใช้อาคารพิพาท จำเลยอยู่ในอาคารพิพาทโดยไม่มีสิทธิเป็นการละเมิดโต้แย้งสิทธิโจทก์และโจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4813/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองแทนเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ทำให้เกิดกรรมสิทธิ์โดยอายุความ แม้ครอบครองเกิน 10 ปี
ผู้ร้องอยู่ในที่ดินพิพาทโดยการเช่าจากผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดจึงเป็นการครอบครองที่ดินแทนผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดตลอดมาจนถึงผู้คัดค้าน แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทมาเกิน 10 ปี ก็หาได้กรรมสิทธฺ์โดยการครอบครองตามป.พ.พ มาตรา 1382 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรังวัดแบ่งแยกที่ดิน, ฟ้องเคลือบคลุม, ครอบครองปรปักษ์: ข้อเท็จจริงชัดเจน เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิ
โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้ครอบครองให้ไปทำการรังวัดแบ่งแยกได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของซ. ได้ขายที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยยอมขายที่ดินตามโฉนดเลขที่ 46 ให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งโดยจำเลยแบ่งที่ดินให้กับโจทก์ด้านติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 191 แต่จำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทกองมรดกไม่ยอมไปทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดให้โจทก์ดังนี้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ได้ความชัดเจนว่าโจทก์ฟ้องเพื่อให้จำเลยที่ 2 ไปทำการรังวัดแบ่งที่ดินครึ่งหนึ่งให้แก่โจทก์ส่วนที่ดินจะกว้างยาวขนาดใดเป็นเรื่องที่จะดำเนินการรังวัดต่อไปฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้มีการเรียกประชุมทายาทของซ.โดยจำเลยที่ 2 เข้าประชุมด้วย ที่ประชุมมีมติให้ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 46 ให้โจทก์กึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งขายให้จำเลยที่ 2การที่จำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 46 ไว้ก่อนการประชุมทายาทจึงเป็นเพียงการครอบครองไว้แทนทายาทอื่นทุกคน จำเลยที่ 2มิได้ครอบครองยึดถือไว้เพื่อตนจึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รั้วกั้นเขตและสิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ การต่อเติมรั้วผิดกฎหมายและละเมิดสิทธิ
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อาคารและที่ดินติดต่อกันโดยจำเลยที่ 3 ผู้ขายได้ทำรั้วกั้นแนวเขตไว้ให้โจทก์จำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของรั้วพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 การที่จำเลยที่ 1 ต่อเติมรั้วพิพาทเป็นกำแพงหรือผนังของอาคารสูงเกิน 3 เมตร ทำให้รั้วหมดสภาพไปย่อมเป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ทั้งผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 27จำเลยที่ 1 จะอ้างว่ารั้วพิพาทนอกจากจะใช้เป็นแนวเขตแล้วยังสามารถใช้เป็นกำแพงหรือผนังอาคารได้ด้วยหาได้ไม่ จำเลยจึงต้องรื้อส่วนที่ต่อเติมออก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ทำสัญญาแทน: เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ได้รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์เป็นการเชิดให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเชิดตัวแทนทำสัญญาซื้อขายที่ดิน เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องรับผิดชอบ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ได้รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์เป็นการเชิดให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืน: โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทน
แม้ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 3และที่ 4 ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวเป็นเพียงคำพิพากษาที่บังคับให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขาย หาใช่ทำให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังเป็นของจำเลยที่ 3 และที่ 4 อยู่โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทต่อเมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แต่เมื่อก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษานั้น ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนตาม พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ กรณีจึงมีเหตุรอนสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเกิดขึ้นที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้ และตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 บัญญัติว่า เงินค่าทดแทนนั้นให้กำหนดแก่บุคคลดังต่อไปนี้(1) เจ้าของทรัพย์ผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืน ฯลฯ โจทก์ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนดังกล่าว จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2
of 16