คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าพนักงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,471 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา, การปรับบทลงโทษผิดพลาด, และข่มขู่เจ้าพนักงาน
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองตามฟ้อง กระทงแรก มาตรา 7, 72 วรรคสาม ศาลล่างปรับบทลงโทษฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ ซึ่งมีระวางโทษ จำคุก 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท เพียงบทเดียว โดยมิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยฐาน มีเครื่องกระสุนปืนตามมาตรา 7, 72 วรรคสอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ และโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในส่วนนี้ ความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืน จึงเป็นอันยุติไปตาม คำพิพากษาศาลล่าง สำหรับข้อหามีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นและข้อหาพาอาวุธปืนตามฟ้องกระทงที่สอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท กับเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท อีกบทหนึ่งด้วยนั้น โจทก์มิได้ฟ้องภายใน 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิด จึงเป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) และมาตรา 95 (5)
จำเลยกระทำความผิดโดยใช้อาวุธปืนจ้องเล็งขู่เข็ญเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งจะเข้าจับกุมจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคแรก และวรรคสาม ซึ่งคำนวณแล้วมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 15,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้ศาลล่างจะปรับบทลงโทษว่าเป็นความผิดตามมาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคแรก ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้คดีโจทก์ในความผิดนี้ต้องขาดอายุความฟ้องร้องตามมาตรา 95 (3) ไม่ เพราะเป็นกรณีที่ศาลล่างปรับบทลงโทษผิดพลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่: การกระทำผิดตามมาตรา 296 แม้ไม่มีเหตุจับกุม
การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดฟันพลตำรวจ ก. ซึ่งแต่งเครื่องแบบตำรวจและออกตรวจท้องที่ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ระงับเหตุสามีภริยาทะเลาะวิวาทกัน ไม่ว่าการใช้อาวุธมีดฟันทำร้ายร่างกายพลตำรวจ ก. ดังกล่าวจะมีมูลเหตุมาโดยประการใด หรือไม่เกี่ยวข้องกับการที่พลตำรวจ ก. กับพวกจับกุมจำเลยที่ 1 กับพวก ก็เป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำร้ายร่างกายพลตำรวจ ก. เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ เพราะการที่พลตำรวจ ก. กับพวกกำลังระงับเหตุทะเลาะวิวาทกันดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเกินกว่าค่าธรรมเนียม และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับคำขอต่าง ๆ เกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินทุกประเภท รวมทั้ง งานในด้านเกี่ยวกับการเงินและบัญชี โดยมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องการกรอกข้อความในเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน และนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ทั้งได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวมาก่อนเกิดเหตุนาน ประมาณ 7 ปี จำเลยย่อมทราบและคำนวณค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนที่ดินในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบเป็นอย่างดี การที่จำเลยเรียกหรือรับเงินจำนวน 7,800 บาท ไว้แล้วนิ่งเฉยเสีย แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาเรียกหรือรับเอาเงินส่วนที่เกินไว้สำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อกระทำการในตำแหน่ง จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149
จำเลยพร้อมที่จะเสนอเรื่องราวขอจดทะเบียนขายที่ดินระหว่าง น. กับ ส. ต่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินเพื่อดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ แต่จำเลยกลับละเว้นไม่ดำเนินการนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นมา ดังนั้น ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา 157 จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับหรือยอมจะรับทรัพย์สินสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อกระทำการ หรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งตาม ป.อ. มาตรา 149 เมื่อปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 149 อันเป็น บทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
เมื่อจำเลยได้กรอกข้อความลงในใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ตามความเป็นจริง ตรงตามเจตนาของผู้ซื้อขายที่ดินทุกประการ และตราประทับของกระทรวงมหาดไทยก็ถูกต้อง เพียงแต่ยังไม่มี ลายมือชื่อนายอำเภอและยังมิได้ลงวันที่และเดือนที่ออกใบแทนฯ เท่านั้น เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารที่จำเลยจัดทำขึ้นโดยมีเจตนาจะลอกเลียนแบบหรือปลอมเอกสารต้นฉบับ ๆ หนึ่งฉบับใด เป็นเพียงแต่เอกสารยังลงรายการ ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ตามระเบียบของทางราชการเท่านั้น และการที่นายอำเภอในฐานะเป็นเจ้าพนักงานที่ดินยังมิได้ลงชื่อรับรองเอกสารกับการที่ยังมิได้ลงวันเดือนปีที่ออกเอกสาร ก็ไม่มีเหตุที่จะทำให้ผู้พบเห็นเอกสารจะหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงที่ทางราชการออกให้ไปได้ การกระทำของจำเลยไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานปลอมเอกสาร จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 161 ประกอบด้วยมาตรา 266 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเกินกำหนดเพื่อการจดทะเบียนที่ดิน และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับคำขอต่าง ๆ เกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินทุกประเภท รวมทั้งงานในด้านเกี่ยวกับการเงินและบัญชี โดยมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องการกรอกข้อความในเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน แล้วนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ทั้งได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวมาก่อนเกิดเหตุนานประมาณ 7 ปี จำเลยย่อมทราบและคำนวณค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนที่ดินในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบเป็นอย่างดี การที่จำเลยเรียกหรือรับเงินจำนวน 7,800 บาท ไว้แล้วนิ่งเฉยเสีย แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาเรียกหรือรับเอาเงินส่วนที่เกินไว้สำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อกระทำการในตำแหน่ง จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
จำเลยพร้อมที่จะเสนอเรื่องราวขอจดทะเบียนขายที่ดินระหว่าง น. กับ ส. ต่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินเพื่อดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ แต่จำเลยกลับละเว้นไม่ดำเนินการนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นมา ดังนั้น ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับหรือยอมจะรับทรัพย์สินสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 เมื่อปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
เมื่อจำเลยได้กรอกข้อความลงในใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ตามความเป็นจริง ตรงตามเจตนาของผู้ซื้อผู้ขายที่ดินทุกประการ และตราประทับของกระทรวงมหาดไทยก็ถูกต้อง เพียงแต่ยังไม่มีลายมือชื่อ นายอำเภอและยังมิได้ลงวันที่และเดือนที่ออกใบแทนฯ เท่านั้น เอกสารดังกล่าว จึงมิใช่เอกสารที่จำเลยจัดทำขึ้นโดยมีเจตนาจะลอกเลียนแบบหรือปลอมเอกสาร ต้นฉบับ ๆ หนึ่งฉบับใด เป็นเพียงแต่เอกสารยังลงรายการไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ ตามระเบียบของทางราชการเท่านั้น และการที่นายอำเภอในฐานะเป็น เจ้าพนักงานที่ดินยังมิได้ลงชื่อรับรองเอกสารกับการที่ยังมิได้ลงวันเดือนปี ที่ออกเอกสาร ก็ไม่มีเหตุที่จะทำให้ผู้พบเห็นเอกสารจะหลงเชื่อว่าเป็น เอกสารที่ถูกต้องแท้จริงที่ทางราชการออกให้ไปได้ การกระทำของจำเลย ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานปลอมเอกสารจึงไม่เป็นความผิดฐาน ปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 ประกอบด้วยมาตรา 266(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
คดีนี้มีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทว่าเป็นของโจทก์หรือไม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกไปจากที่ดินและอาคารพิพาทจำเลยยื่นฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและ อาคารพิพาท จึงเป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยตรง เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาจำเลย โดยวินิจฉัยว่า จำเลย ถูกฟ้องล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย เด็ดขาดไปก่อนจำเลยยื่นฎีกาคดีนี้ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 ฎีกาของจำเลยเป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจยื่นฎีกาได้ คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว ย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกายกคดี ขึ้นพิจารณาใหม่ในชั้นศาลฎีกาได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9029/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนหรือไม่: คดีแจ้งความเท็จและปฏิบัติหน้าที่มิชอบต่อเจ้าพนักงาน แม้รายงานเรื่องเดียวกันแต่ต่างกรรมต่างวาระ
คดีของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้บังคับบัญชาของโจทก์แจ้งข้อความและรายงานอันเป็นเท็จต่อสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลดอนเมืองและผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นว่า โจทก์ไม่ส่งมอบสำนวนการสอบสวนคดีจราจรกับจำหน่ายคดีอาญาเป็นเท็จ เป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อจะแกล้งโจทก์ให้ได้รับโทษทางอาญาและทางวินัย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และต่อมาจำเลยที่ 1 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนทางวินัยว่า โจทก์ไม่ส่งสำนวนการสอบสวนคดีอาญาให้พนักงานอัยการและโจทก์เขียนจำหน่ายคดีดังกล่าวลงในสมุดคุมคดีเป็นเท็จว่าได้ส่งสำนวนการสอบสวนดังกล่าวให้พนักงานอัยการแล้ว เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อจะแกล้งให้โจทก์ได้รับโทษทางอาญาและทางวินัย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงรายงานผลการสอบสวนต่อผู้บังคับการตำรวจนครบาลพระนครเหนือ ตามคำสั่งของผู้บัญชาการตำรวจนครบาลว่า โจทก์ไม่ส่งมอบสำนวนการสอบสวนกับจำหน่ายคดีอาญาดังกล่าวข้างต้นซึ่งเป็นความเท็จ เป็นการร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญากระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อจะแกล้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องรับโทษ หรือรับโทษหนักขึ้น จึงเป็นการรายงานคนละฐานะต่อบุคคลคนละคนและคนละครั้งคราวเดียวกัน แม้จะรายงานในเรื่องเดียวกัน ก็เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8949/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานเกี่ยวกับยาเสพติด: การปรับบทลงโทษและการลงโทษกรรมเดียว
แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีน อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 (กระทำความผิดวันที่ 1 มิถุนายน2539) ไว้ในครอบครองเพื่อขายและเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด แต่การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดมาด้วย ยังไม่ถูกต้อง เพราะความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด มิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" ตามมาตรา 3แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534 ในอันที่จะระวางโทษผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 10 คงปรับบทลงโทษฐานเป็นเจ้าพนักงานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายได้ฐานเดียว ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย และฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานเป็นเจ้าพนักงานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 89ประกอบ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 10 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8949/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษเจ้าพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การปรับบทลงโทษที่ถูกต้อง
แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2(กระทำความผิดวันที่ 1 มิถุนายน 2539)ไว้ในครอบครองเพื่อขายและเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด แต่การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดมาด้วย ยังไม่ถูกต้อง เพราะความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด มิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 ในอันที่จะระวางโทษผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 10 คงปรับบทลงโทษฐานเป็นเจ้าพนักงานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายได้ฐานเดียว ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย และฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานเป็นเจ้าพนักงานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,89 ประกอบพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 10 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7957/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเสียหายโดยตรง การกระทำต่อเจ้าพนักงานไม่พาดพิงถึงโจทก์
การที่จำเลยที่ 1 แจ้งความแก่พนักงานสอบสวนว่า โฉนดที่ดินของ ม. ซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ได้สูญหายไป แล้วนำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินทำให้เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อออกใบแทนโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 แม้ข้อความที่จำเลยที่ 1 แจ้งจะเป็นความเท็จเพราะความจริงโฉนดที่ดินอยู่ที่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กระทำต่อเจ้าพนักงานมิได้พาดพิงไปถึงโจทก์อันจะถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรง หลักฐานใบแทนโฉนดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินออกให้แก่จำเลยที่ 1คงมีรายการสาระสำคัญเช่นเดียวกับโฉนดที่ดินที่ถูกยกเลิกไป สิทธิของโจทก์ หากจะพึงมีพึงเป็นอย่างไรในฐานะทายาท หรือเจ้าหนี้กองมรดกก็คงมีอยู่ ตามเดิม มิได้ถูกกระทบกระเทือนเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เพราะ โจทก์ยังคงมีสิทธิเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินในฐานะทายาทของ ม. และมีสิทธิว่ากล่าวเอาแก่กองมรดกในฐานะเจ้าหนี้ได้เช่นเดิม โจทก์จึงมิใช่ ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7939/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงาน และอำนาจของศาลในการปรับปรุงยอดรายรับเมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้
คดีนี้เจ้าพนักงานได้ทำการประเมินว่าในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 จำเลยมียอดรายรับจากมูลค่าสินค้าส่งออกกับเงินชดเชยในรูปบัตรภาษีและมูลค่าการส่งออกรวมเป็นรายรับทั้งสิ้น 234,333,578 บาท แต่จำเลยไม่นำบัญชีและเอกสารไปให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบไต่สวน เจ้าพนักงานประเมินจึงใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 71(1) ประเมินให้จำเลยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ตามมาตรา 27จำเลยไม่ได้โต้แย้งการประเมินและไม่ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 30 ซึ่งมีผลทำให้จำเลยไม่อาจนำคดีมาฟ้องศาลเพื่อโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานของโจทก์และทำให้หนี้ภาษีอากรที่ถูกประเมินดังกล่าวเป็นภาษีอากรค้างอันจะถูกโจทก์บังคับชำระได้ตามมาตรา 12 เท่านั้นแต่เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ดังกล่าวโจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ด้วยการนำพยานหลักฐานเข้าสืบ เพื่อให้รับฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีรายรับเป็นเงินจำนวน 234,333,578 บาทตามการประเมิน แต่รับฟังได้เพียงว่าจำเลยมีรายรับเพียง 222,404,146.96 บาทศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจปรับปรุงยอดรายรับและแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้
of 148