คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าพนักงานท้องถิ่น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจนเรื่องวันทราบและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ทำให้ศาลลงโทษปรับรายวันไม่ได้
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีบทลงโทษให้ปรับเป็นรายวันตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 67,69, และ 70 โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานนี้ว่า เมื่อระหว่างวันที่ 1ถึงวันที่ 18 กันยายน 2524 จำเลยซึ่งได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและจำเลยได้รับทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งโดยไม่ระงับการก่อสร้างภายในระยะเวลาดังกล่าว ดังนี้คำฟ้องของโจทก์ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าจำเลยทราบคำสั่งวันใด และฝ่าฝืนคำสั่งวันใด การที่โจทก์กล่าวรวมกันมาทั้งวันทราบคำสั่งและวันฝ่าฝืนคำสั่งว่าอยู่ในระยะเวลาเดียวกันเช่นนี้ จำเลยอาจทราบคำสั่งในวันสุดท้ายของระยะเวลาที่โจทก์กล่าวหาจำเลยก็ได้ เมื่อโจทก์ไม่บรรยายในคำฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นวันใดแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่มีทางลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารดัดแปลง ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติเฉพาะ ไม่ใช่การตีความขยายอำนาจ
คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการดัดแปลงอาคารฝ่าฝืนมาตรา 22 นั้น จะต้องเป็นเรื่องให้ระงับการกระทำ และห้ามการใช้อาคารเท่านั้น มิใช่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารซึ่งมีวิธีการบัญญัติไว้ต่างหากในมาตราอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081-1086/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งรื้อถอนอาคาร: การยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ข้อ 3 วางไว้ว่า ต้องทำคำร้องเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจน ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่อุทธรณ์ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับหรือทราบคำสั่งดังนี้ การที่โจทก์ได้ทำคำร้องเป็นหนังสือโดยมีตัวแทนโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงชื่อในหนังสือและได้ระบุที่อยู่สำหรับติดต่อไว้ชัดเจนมีข้อความด้วยว่า โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคาร ชี้แจงว่าสภาพของอาคารโจทก์ไม่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจแก้ไขได้แต่อย่างใด ขอให้พิจารณายกเลิกคำสั่งรื้อถอนอาคารของเทศบาลนครกรุงเทพ ย่อมถือว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งครบถ้วนตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยแล้ว
การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวต่อนายกเทศมนตรี นครกรุงเทพ ถือได้เท่ากับยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081-1086/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งรื้อถอนอาคาร การยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นชอบด้วยระเบียบ แม้จะยื่นผ่านไปยังรัฐมนตรี
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองข้อ 3 วางไว้ว่า ต้องทำคำร้องเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจน ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่อุทธรณ์ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับหรือทราบคำสั่งดังนี้ การที่โจทก์ได้ทำคำร้องเป็นหนังสือโดยมีตัวแทนโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงชื่อในหนังสือและได้ระบุที่อยู่สำหรับติดต่อไว้ชัดเจนมีข้อความด้วยว่า โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคาร ชี้แจงว่าสภาพของอาคารโจทก์ไม่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจแก้ไขได้แต่อย่างใด ขอให้พิจารณายกเลิกคำสั่งรื้อถอนอาคารของเทศบาลนครกรุงเทพ ย่อมถือว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งครบถ้วนตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยแล้ว
การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวต่อนายกเทศมนตรีนครกรุงเทพ ถือได้เท่ากับยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจสั่งรื้อเคหะโดยพลการ ต้องร้องขอต่อศาลตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข
เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจโดยพละการตนเองที่จะสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองเคหะคนใด รื้อเคหะหรืออาคารนอกจากจะร้องขอต่อศาลตามความใน พ.ร.บ.สาธารณะสุข พ.ศ.2484 มาตรา 89
ฉะนั้นถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ผู้ครอบครองเคหะรื้อเคหะนั้นโดยพละการตนเองคำสั่งนั้นก็เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่จำต้องปฏิบัติตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งรื้อเคหะ: ต้องผ่านศาล
เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจโดยพลการตนเองที่จะสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองเคหะคนใด รื้อเคหะหรืออาคาร นอกจากจะร้องขอต่อศาลตามความในพระราชบัญญัติสาธารณะสุข พ.ศ.2484 มาตรา 29
ฉะนั้นถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ผู้ครอบครองเคหะรื้อเคหะนั้นโดยพลการตนเอง คำสั่งนั้นก็เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่จำต้องปฏิบัติตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องยื่นต่อเจ้าพนักงานนั้นโดยตรง การยื่นต่อรัฐมนตรีไม่ถือเป็นการอุทธรณ์
การอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งสั่งให้เลิกเสี้ยงสุกรในเขตต์เทศบาลนั้น ต้องยื่นต่อเจ้าพนักงานนั้น จะยื่นตรงต่อรัฐมนตรีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10387/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย: ศาลแพ่งไม่มีอำนาจ ผู้มีอำนาจคือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
แม้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 73 บัญญัติว่า "ในกรณีมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรืออาคารที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับอาคารที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นหรือบุคคลซึ่งความเป็นอยู่หรือใช้สอยที่ดินหรืออาคารถูกกระทบกระเทือนเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าว เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา" ก็ตาม แต่ฐานะของผู้เสียหายตามที่บัญญัติในมาตรา 73 ดังกล่าวเป็นสิทธิในการดำเนินคดีในทางอาญาต่อจำเลยผู้กระทำความผิดเท่านั้น อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารหรือส่วนต่อเติมที่ผิดกฎหมายถือเป็นมาตรการที่จะบังคับกันในทางแพ่ง ซึ่งตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตลอดจนวิธีการที่เจ้าพนักงานจะปฏิบัติเป็นขั้นตอนไปดังปรากฏตามมาตรา 40 และ 42 ในหมวด 4 ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะฟ้องบังคับจำเลยเพื่อให้รื้อถอนระเบียงที่ต่อเติมผิดกฎหมายอันเป็นอำนาจหน้าที่ในทางแพ่งโดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10100/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งระงับ/แก้ไขก่อนรื้อถอน การออกคำสั่งล่าช้า/ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ไม่อาจออกหมายจับกักขังได้
เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นพบว่ามีการก่อสร้างอาคารผิดจากแบบแปลน ผู้ร้องชอบที่จะออกคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 (1) และ 41 แต่ผู้ร้องกลับปล่อยให้มีการก่อสร้างไปจนกระทั่งเห็นว่าเป็นกรณีไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้จึงมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 จากนั้นจึงมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างในภายหลัง การออกคำสั่งของผู้ร้องจึงไม่เหมาะควรแก่ระยะเวลา และไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย กรณีจึงยังไม่มีเหตุอันควรที่จะออกหมายจับผู้คัดค้านผู้ก่อสร้างอาคารมากักขังไว้ตามมาตรา 43 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาคาร: เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจออกคำสั่งกับผู้ไม่ใช่เจ้าของ/ผู้ครอบครองอาคาร แม้มีการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต
การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารตึกชั้นเดียวและคำสั่งห้ามจำเลยหรือบุคคลใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคาร เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคแรก และคณะกรรมการดังกล่าวได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า บริษัท สหถกลก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ก่อสร้างอาคารมูลกรณี และเป็นเจ้าของอาคารดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์ (จำเลย) ซึ่งมิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารมูลกรณีให้ระงับการก่อสร้างอาคารตามมาตรา 40 (1) (แบบ ค.3) ห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารหรือบริเวณอาคารตาม มาตรา 40 (2) (แบบ ค.4) ฉะนั้น คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้อง ให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และให้ดำเนินการออกคำสั่งกับเจ้าของอาคารมูลกรณีให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป ซึ่งมีผลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องปฏิบัติตาม ตามมาตรา 52 วรรคห้า จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น สำหรับข้อหาก่อสร้างดัดแปลงอาคารนั้น เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมผูกพันให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ต้องปฏิบัติความคำวินิจฉัย การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไปร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย ต่อพนักงานสอบสวน และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก่อนที่จะมีคำสั่งวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 6