พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,539 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดทรัพย์ล้มละลายต้องดำเนินการให้ได้ราคาที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่าย
ภายหลังการยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดหลายครั้งราคาที่ดินซึ่งถูกยึดเพื่อขายทอดตลาดทั้งสามแปลงมีมูลค่าเพิ่มขึ้น แม้ พ. จะเป็นผู้ประมูลได้โดยเสนอราคาสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ตาม แต่เมื่อที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวไม่ได้อยู่ติดต่อเป็นผืนเดียวกันและผู้คัดค้านไม่ได้มีเจตนาที่จะขายทรัพย์สินเหล่านั้นรวมกันมาตั้งแต่ต้น การที่ผู้คัดค้านอนุญาตให้ขายที่ดินทั้งสามแปลงรวมกันไปตามคำร้องขอของ พ. ผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียวนั้น จึงเป็นเหตุให้ขายได้ในราคาต่ำกว่าราคาที่แท้จริง ดังนั้นการขายทอดตลาดดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยความมุ่งหมายแห่งการขายทอดตลาดเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 123
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการเฉลี่ยทรัพย์ – ลูกหนี้ร่วมรับผิดไม่มีสิทธิคัดค้าน
ป.วิ.พ. มาตรา 290 เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นเพื่อให้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยเท่าเทียมกัน ดังนั้น ข้ออ้างที่จะโต้แย้งคัดค้านคำขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้อื่นว่าจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินอื่นนอกจากทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไว้ในคดีนี้ที่เพียงพอจะชำระหนี้ได้ จึงเป็นข้อโต้แย้งระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน เมื่อจำเลยที่ 3 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อโจทก์ ทั้งยังปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของจำเลยที่ 1 อีกด้วย จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิคัดค้านการขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเรียกร้องที่มีข้อต่อสู้ไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้ได้
แม้แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มิได้มีข้อกำหนดห้ามมิให้มีการหักกลบลบหนี้ในหนี้ของเจ้าหนี้ ผู้บริหารแผนชอบที่จะใช้สิทธิแสดงเจตนาขอหักกลบลบหนี้ระหว่างหนี้ที่ลูกหนี้กับเจ้าหนี้ต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันได้ก็ตาม แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าในคดีฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้ ลูกหนี้คดีนี้โดยผู้บริหารแผนได้นำมูลหนี้ที่ขอหักกลบลบหนี้กับเจ้าหนี้ดังกล่าวไปขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ได้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้และขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในหนี้ดังกล่าวจึงยังมีข้อต่อสู้อยู่ หาอาจจะเอามาหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 ได้ไม่
แม้เจ้าหนี้เพิ่งหยิบยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง โดยมิได้กล่าวอ้างมาก่อนในชั้นไต่สวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ตาม แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ต้องพิจารณาให้ได้ความจริงถึงสิทธิในการขอหักกลบลบหนี้ของผู้บริหารแผนว่าอาจจะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏอยู่ในสำนวนคดีและกระบวนการดำเนินการชั้นฟื้นฟูกิจการของทั้งสองฝ่ายแล้ว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้หยิบยกข้อเท็จจริงถึงการเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบและศาลชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้
แม้เจ้าหนี้เพิ่งหยิบยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง โดยมิได้กล่าวอ้างมาก่อนในชั้นไต่สวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ตาม แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ต้องพิจารณาให้ได้ความจริงถึงสิทธิในการขอหักกลบลบหนี้ของผู้บริหารแผนว่าอาจจะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏอยู่ในสำนวนคดีและกระบวนการดำเนินการชั้นฟื้นฟูกิจการของทั้งสองฝ่ายแล้ว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้หยิบยกข้อเท็จจริงถึงการเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบและศาลชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการหลังศาลอนุมัติ: ผู้บริหารแผนมีอำนาจเสนอแก้ไขได้ แม้คณะกรรมการเจ้าหนี้มีอำนาจเสนอแนะ
เมื่อพิจารณา พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/63 วรรคหนึ่งและวรรคสามแล้วจะเห็นได้ว่าในการขอแก้ไขแผนหลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้วนั้น หากมีเหตุอันสมควรและมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ศาลใช้เป็นเหตุในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้บริหารแผนซึ่งเป็นบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบจะต้องปฏิบัติและดำเนินการตามแผนให้สำเร็จลุล่วงไปเพียงผู้เดียวมีอำนาจที่จะเสนอขอแก้ไขแผนนั้นได้ โดยยื่นข้อเสนอนั้นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณา หากที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวนั้นตามมาตรา 90/46 แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องรายงานศาลเพื่อพิจารณาว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่
การที่แผนปรับโครงสร้างหนี้ทางการเงินกำหนดว่าคณะกรรมการเจ้าหนี้มีอำนาจในการตกลงเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญหรือแก้ไขเอกสารปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เมื่อนำมาพิจารณาประกอบอำนาจของคณะกรรมการเจ้าหนี้ตามมาตรา 90/55 วรรคหนึ่ง และมาตรา 90/67 เห็นได้ว่า คณะกรรมการเจ้าหนี้มีอำนาจในการเสนอแนะและสอดส่องให้ผู้บริหารแผนดำเนินการปฏิบัติไปตามแผนแทนเจ้าหนี้ทั้งหลายเท่านั้น หาได้มีอำนาจในการที่จะเสนอขอแก้ไขแผนด้วยตนเองไม่ ตามที่แผนกำหนดให้คณะกรรมการเจ้าหนี้มีอำนาจในการตกลงเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญหรือแก้ไขเอกสารปรับโครงสร้างหนี้ ฯลฯ ก็หมายความเพียงว่า เมื่อเข้าเงื่อนไขในการขอแก้ไขแผนแล้ว คณะกรรมการเจ้าหนี้มีอำนาจในการเสนอเรื่องดังกล่าวให้ผู้บริหารแผนดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/63 ได้ แต่ขณะเดียวกัน เมื่ออำนาจในการเสนอขอแก้ไขแผนนั้นเป็นอำนาจของผู้บริหารแผนโดยตรง ผู้บริหารแผนเองก็ย่อมมีอำนาจในการที่จะเสนอขอแก้ไขแผนตามที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นกัน และเมื่อผู้บริหารได้ยื่นข้อเสนอขอแก้ไขแผนแล้ว การประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอแก้ไขแผน การลงมติของที่ประชุมเจ้าหนี้จะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/63
เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องแก้ไขแผนให้เกิดความชัดเจนสามารถปฏิบัติได้และสอดคล้องกับความประสงค์ของเจ้าหนี้ ทั้งเจ้าหนี้เกือบทั้งหมดซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขแผนได้ยอมรับข้อเสนอขอแก้ไขแผนนั้นแล้ว ชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผน ไม่มีเจ้าหนี้คัดค้าน ข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวไม่ขัดต่อ พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/58 กรณีจึงสมควรเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผน
การที่แผนปรับโครงสร้างหนี้ทางการเงินกำหนดว่าคณะกรรมการเจ้าหนี้มีอำนาจในการตกลงเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญหรือแก้ไขเอกสารปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เมื่อนำมาพิจารณาประกอบอำนาจของคณะกรรมการเจ้าหนี้ตามมาตรา 90/55 วรรคหนึ่ง และมาตรา 90/67 เห็นได้ว่า คณะกรรมการเจ้าหนี้มีอำนาจในการเสนอแนะและสอดส่องให้ผู้บริหารแผนดำเนินการปฏิบัติไปตามแผนแทนเจ้าหนี้ทั้งหลายเท่านั้น หาได้มีอำนาจในการที่จะเสนอขอแก้ไขแผนด้วยตนเองไม่ ตามที่แผนกำหนดให้คณะกรรมการเจ้าหนี้มีอำนาจในการตกลงเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญหรือแก้ไขเอกสารปรับโครงสร้างหนี้ ฯลฯ ก็หมายความเพียงว่า เมื่อเข้าเงื่อนไขในการขอแก้ไขแผนแล้ว คณะกรรมการเจ้าหนี้มีอำนาจในการเสนอเรื่องดังกล่าวให้ผู้บริหารแผนดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/63 ได้ แต่ขณะเดียวกัน เมื่ออำนาจในการเสนอขอแก้ไขแผนนั้นเป็นอำนาจของผู้บริหารแผนโดยตรง ผู้บริหารแผนเองก็ย่อมมีอำนาจในการที่จะเสนอขอแก้ไขแผนตามที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นกัน และเมื่อผู้บริหารได้ยื่นข้อเสนอขอแก้ไขแผนแล้ว การประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอแก้ไขแผน การลงมติของที่ประชุมเจ้าหนี้จะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/63
เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องแก้ไขแผนให้เกิดความชัดเจนสามารถปฏิบัติได้และสอดคล้องกับความประสงค์ของเจ้าหนี้ ทั้งเจ้าหนี้เกือบทั้งหมดซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขแผนได้ยอมรับข้อเสนอขอแก้ไขแผนนั้นแล้ว ชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผน ไม่มีเจ้าหนี้คัดค้าน ข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวไม่ขัดต่อ พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/58 กรณีจึงสมควรเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์สินที่ไม่สมเหตุสมผลในแผนฟื้นฟูกิจการล้มละลาย ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้
ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผน เมื่อมีข้อคัดค้านของเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ผู้ทำแผนมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ว่าแผนฟื้นฟูกิจการนั้นชอบด้วยกฎหมายและสมควรมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ ในการพิจารณาว่าเมื่อดำเนินการตามแผนสำเร็จ เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้จะได้รับในกรณีที่มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว การที่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะมีราคาประเมินเพียงใดจึงเป็นสาระสำคัญ
แม้ว่าการกำหนดหรือวินิจฉัยราคาประเมินทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ละช่วงจะไม่มีผลผูกพันต่อการพิจารณาในช่วงอื่น ๆ กล่าวคือ เมื่อมีการประเมินราคาทรัพย์สินโดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ราคาประเมินย่อมแตกต่างกันได้ แต่ในคดีนี้มีการประเมินตีราคาทรัพย์สินในเวลาต่างกันเพียงประมาณ 5 ถึง 6 เดือน โดยทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นที่ดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ในการประเมินมีราคาแตกต่างกันถึงประมาณ 2,000,000,000 บาท กรณีจึงต้องมีเหตุอันสมควรและอธิบายถึงความแตกต่างดังกล่าวได้อย่างชัดเจน เมื่อผู้ทำแผนมิได้แสดงถึงเหตุดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง การประเมินราคาครั้งหลังเพื่อจัดทำแผนจึงไม่มีน้ำหนัก เมื่อการประเมินราคาทรัพย์สินต่ำลงมากทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ส่วนใหญ่ถูกนำไปชำระตีใช้หนี้แก่เจ้าหนี้มีประกันซึ่งมีผู้ร้องขอเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ในราคาต่ำ ทำให้หนี้ลดลงเพียงจำนวนน้อยและหนี้ส่วนที่ขาดอยู่มีจำนวนสูงขึ้น เมื่อนำหนี้ส่วนที่ไม่มีประกันส่วนนี้ไปจัดสรรชำระหนี้ย่อมส่งผลให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ได้รับชำระหนี้น้อยลง เจ้าหนี้อื่นย่อมได้รับความเสียหายเนื่องจากการตีราคาทรัพย์สิน
เมื่อมีเหตุข้อสงสัยเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินซึ่งใช้ในการจัดทำแผน ถือได้ว่าผู้ทำแผนยังแสดงพยานหลักฐานไม่ได้ว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 วรรคสาม ทั้งมีพฤติการณ์ว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดทำขึ้นโดยมุ่งประโยชน์ของผู้ร้องขอ ไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ไม่มีประกันอื่น การที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้อื่นในอันที่จะได้รับชำระหนี้อย่างน้อยเท่ากับกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
แม้ว่าการกำหนดหรือวินิจฉัยราคาประเมินทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ละช่วงจะไม่มีผลผูกพันต่อการพิจารณาในช่วงอื่น ๆ กล่าวคือ เมื่อมีการประเมินราคาทรัพย์สินโดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ราคาประเมินย่อมแตกต่างกันได้ แต่ในคดีนี้มีการประเมินตีราคาทรัพย์สินในเวลาต่างกันเพียงประมาณ 5 ถึง 6 เดือน โดยทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นที่ดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ในการประเมินมีราคาแตกต่างกันถึงประมาณ 2,000,000,000 บาท กรณีจึงต้องมีเหตุอันสมควรและอธิบายถึงความแตกต่างดังกล่าวได้อย่างชัดเจน เมื่อผู้ทำแผนมิได้แสดงถึงเหตุดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง การประเมินราคาครั้งหลังเพื่อจัดทำแผนจึงไม่มีน้ำหนัก เมื่อการประเมินราคาทรัพย์สินต่ำลงมากทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ส่วนใหญ่ถูกนำไปชำระตีใช้หนี้แก่เจ้าหนี้มีประกันซึ่งมีผู้ร้องขอเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ในราคาต่ำ ทำให้หนี้ลดลงเพียงจำนวนน้อยและหนี้ส่วนที่ขาดอยู่มีจำนวนสูงขึ้น เมื่อนำหนี้ส่วนที่ไม่มีประกันส่วนนี้ไปจัดสรรชำระหนี้ย่อมส่งผลให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ได้รับชำระหนี้น้อยลง เจ้าหนี้อื่นย่อมได้รับความเสียหายเนื่องจากการตีราคาทรัพย์สิน
เมื่อมีเหตุข้อสงสัยเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินซึ่งใช้ในการจัดทำแผน ถือได้ว่าผู้ทำแผนยังแสดงพยานหลักฐานไม่ได้ว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 วรรคสาม ทั้งมีพฤติการณ์ว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดทำขึ้นโดยมุ่งประโยชน์ของผู้ร้องขอ ไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ไม่มีประกันอื่น การที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้อื่นในอันที่จะได้รับชำระหนี้อย่างน้อยเท่ากับกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7581-7582/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการและจัดสรรหนี้ระหว่างลูกหนี้และบริษัทในเครือ ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมต่อเจ้าหนี้ทุกราย
การพิจารณาว่าเจ้าหนี้ได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ตรี หรือไม่ ต้องพิจารณาถึงสิทธิของเจ้าหนี้ต่าง ๆ ที่แผนฟื้นฟูกิจการได้จัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ส่วนเจ้าหนี้ซึ่งอยู่ต่างกลุ่มกัน เมื่อมีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการ แผนสามารถกำหนดให้เจ้าหนี้ต่างกลุ่มกัน ได้รับการปฏิบัติแตกต่างกันได้
การที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าหนี้มีประกัน เจ้าหนี้ย่อมมีบุริมสิทธิในอันที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์หลักประกันได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ทั้งในการฟื้นฟูกิจการ กฎหมายได้ให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหนี้มีประกันอันเกิดจากความล่าช้าในการบังคับคดี ให้ได้รับความคุ้มครองในเหตุที่มูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันลดลงตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/13 (2) และมาตรา 90/14 เจ้าหนี้มีประกันย่อมมีความสำคัญ และมีข้อต่อรองมากกว่าเจ้าหนี้ไม่มีประกัน เพราะเจ้าหนี้มีประกันมีหลักประกันยึดถือไว้ หากแผนฟื้นฟูกิจการไม่ให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหนี้ มีประกันอย่างเพียงพอ เจ้าหนี้ก็อาจขออนุญาตใช้สิทธิบังคับขายหลักประกัน ประกอบกับทรัพย์หลักประกัน ที่เป็นเครื่องจักรย่อมมีการเสื่อมสภาพ เสื่อมราคาและราคาลดลงอย่างรวดเร็ว หากกำหนดให้เจ้าหนี้มีประกัน ได้รับชำระหนี้พร้อมกับเจ้าหนี้ไม่มีประกันจะทำให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับความเสียหาย
ลูกหนี้มีความสัมพันธ์กับบริษัท ร. โดยลูกหนี้ถือหุ้นในบริษัท ร. ร้อยละ 99.9 ลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ในคดีนี้ ส่วนบริษัท ร. ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ การที่เจ้าหนี้รายหนึ่งรายใดที่บริษัท ร. เป็นลูกหนี้ชั้นต้นและลูกหนี้เป็นผู้ค้ำประกันจะได้รับชำระหนี้ตลอดจนการพิจารณาจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จากสินทรัพย์ของทั้งสองบริษัท จะต้องมีความสัมพันธ์กันและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้โดยรวม
การอุทธรณ์คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนถือว่าเป็นการอุทธรณ์คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
การที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าหนี้มีประกัน เจ้าหนี้ย่อมมีบุริมสิทธิในอันที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์หลักประกันได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ทั้งในการฟื้นฟูกิจการ กฎหมายได้ให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหนี้มีประกันอันเกิดจากความล่าช้าในการบังคับคดี ให้ได้รับความคุ้มครองในเหตุที่มูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันลดลงตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/13 (2) และมาตรา 90/14 เจ้าหนี้มีประกันย่อมมีความสำคัญ และมีข้อต่อรองมากกว่าเจ้าหนี้ไม่มีประกัน เพราะเจ้าหนี้มีประกันมีหลักประกันยึดถือไว้ หากแผนฟื้นฟูกิจการไม่ให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหนี้ มีประกันอย่างเพียงพอ เจ้าหนี้ก็อาจขออนุญาตใช้สิทธิบังคับขายหลักประกัน ประกอบกับทรัพย์หลักประกัน ที่เป็นเครื่องจักรย่อมมีการเสื่อมสภาพ เสื่อมราคาและราคาลดลงอย่างรวดเร็ว หากกำหนดให้เจ้าหนี้มีประกัน ได้รับชำระหนี้พร้อมกับเจ้าหนี้ไม่มีประกันจะทำให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับความเสียหาย
ลูกหนี้มีความสัมพันธ์กับบริษัท ร. โดยลูกหนี้ถือหุ้นในบริษัท ร. ร้อยละ 99.9 ลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ในคดีนี้ ส่วนบริษัท ร. ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ การที่เจ้าหนี้รายหนึ่งรายใดที่บริษัท ร. เป็นลูกหนี้ชั้นต้นและลูกหนี้เป็นผู้ค้ำประกันจะได้รับชำระหนี้ตลอดจนการพิจารณาจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จากสินทรัพย์ของทั้งสองบริษัท จะต้องมีความสัมพันธ์กันและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้โดยรวม
การอุทธรณ์คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนถือว่าเป็นการอุทธรณ์คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7031/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่เกิดหลังเห็นชอบแผนฟื้นฟู เจ้าหนี้ต้องฟ้องร้องเป็นคดีแพ่ง ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูได้
การที่จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ที่อยู่ในกระบวนพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการนั้น แบ่งตามมูลหนี้ที่เกิดขึ้นเป็น 3 ช่วง กล่าวคือ ช่วงแรก มูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและหนี้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน อันเจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 90/26 และมาตรา 90/27 ช่วงที่สอง หนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนจนถึงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน หากว่าหนี้ส่วนนี้มิได้กำหนดไว้ในแผนเป็นอย่างอื่น เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งได้ โดยอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 90/12 (4) (5) และมาตรา 90/13 ช่วงที่สาม หนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/62
เมื่อหนี้ของเจ้าหนี้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว และแผนฟื้นฟูกิจการมิได้กำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ เจ้าหนี้จึงหาอาจมีคำขอในคดีฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางให้สั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ไม่
เมื่อหนี้ของเจ้าหนี้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว และแผนฟื้นฟูกิจการมิได้กำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ เจ้าหนี้จึงหาอาจมีคำขอในคดีฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางให้สั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7031/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่เกิดขึ้นหลังแผนฟื้นฟูกิจการได้รับการเห็นชอบ เจ้าหนี้ต้องฟ้องคดีแพ่ง ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการได้
การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ที่อยู่ในกระบวนพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการอาจแบ่งตามมูลหนี้ที่เกิดขึ้นได้เป็น 3 ช่วง ช่วงแรก มูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและหนี้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนอันเจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/26 และมาตรา 90/27 ช่วงที่สอง หนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนจนถึงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน หากว่าหนี้ส่วนนี้มิได้กำหนดไว้ในแผนเป็นอย่างอื่น เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งได้โดยอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 90/12(4)(5) และมาตรา 90/13 ช่วงที่สาม หนี้เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/62
เจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางอ้างว่าลูกหนี้ทำสัญญายืมใบหุ้นสามัญของเจ้าหนี้เพื่อนำไปเป็นหลักประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อธนาคาร โดยลูกหนี้สัญญาว่าจะจ่ายค่าธรรมเนียมรวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่เจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 3 ของราคาตลาดหุ้นสามัญโดยคิดคำนวณจากราคาปิดเฉลี่ยของแต่ละเดือน หนี้ดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยคิดค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ซึ่งเกิดขึ้นตามกำหนดเป็นระยะตลอดเวลาที่มีการผูกพันตามสัญญา เมื่อหนี้ค่าธรรมเนียมนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 จำนวน 5,314,827.72 บาท และนับจากวันที่ 1 ธันวาคม2544 จนกว่าสัญญาการยืมใบหุ้นสามัญสิ้นสุดลงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว และแผนฟื้นฟูกิจการมิได้กำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ เจ้าหนี้จึงหาอาจมีคำขอในคดีฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางให้สั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ไม่ เจ้าหนี้ต้องไปดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
เจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางอ้างว่าลูกหนี้ทำสัญญายืมใบหุ้นสามัญของเจ้าหนี้เพื่อนำไปเป็นหลักประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อธนาคาร โดยลูกหนี้สัญญาว่าจะจ่ายค่าธรรมเนียมรวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่เจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 3 ของราคาตลาดหุ้นสามัญโดยคิดคำนวณจากราคาปิดเฉลี่ยของแต่ละเดือน หนี้ดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยคิดค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ซึ่งเกิดขึ้นตามกำหนดเป็นระยะตลอดเวลาที่มีการผูกพันตามสัญญา เมื่อหนี้ค่าธรรมเนียมนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 จำนวน 5,314,827.72 บาท และนับจากวันที่ 1 ธันวาคม2544 จนกว่าสัญญาการยืมใบหุ้นสามัญสิ้นสุดลงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว และแผนฟื้นฟูกิจการมิได้กำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ เจ้าหนี้จึงหาอาจมีคำขอในคดีฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางให้สั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ไม่ เจ้าหนี้ต้องไปดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันแผนฟื้นฟูกิจการ, การยกเลิกการฟื้นฟู, และการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 นั้น แผนซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้วมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ และเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ในอันที่จะถูกปรับลดหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการชำระหนี้ อีกทั้งเมื่อได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนและศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้วก็มีผล ให้ลูกหนี้คงต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/75 คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนจึงมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของเจ้าหนี้โดยตรง ดังนั้น แม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งให้ยกเลิกการ ฟื้นฟูกิจการตาม มาตรา 90/70 แต่เมื่อเจ้าหนี้ที่ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไม่ได้ถอนอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ต้องพิจารณาคดีตามอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ต่อไป
ตามมาตรา 90/42 ทวิ ประกอบมาตรา 6 เมื่อจำนวนหนี้สูงกว่าราคาทรัพย์หลักประกันจำนวนหนี้ที่มีประกันของเจ้าหนี้มีประกัน ย่อมมีอยู่เฉพาะในมูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ส่วนหนี้จำนวนที่เหลือย่อมมีฐานะเป็น เจ้าหนี้ธรรมดา ในการพิจารณามูลค่าราคาหลักประกัน ศาลจะต้องพิจารณาถึงวงเงินจำนอง ราคาซื้อขายทรัพย์ หลักประกันในท้องตลาดตลอดจนวิธีการในการจัดการทรัพย์หลักประกันในการฟื้นฟูกิจการ
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 (9) บัญญัติว่า "ระยะเวลาดำเนินการตามแผนซึ่งไม่เกินห้าปี" หมายความว่า ระยะเวลาในการดำเนินการตามแผนที่การบริหารแผนจะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติและความคุ้มครองของ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ และภายใต้การควบคุมกำกับของศาลเพื่อให้ลูกหนี้มีฐานะพ้นจากภาวะวิกฤติทางการเงินเข้าสู่สภาพที่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งผู้ทำแผนสามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสมแต่ทั้งนี้ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกิน 5 ปี
การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จำนวนเท่าใด อย่างไร ย่อมเป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว เช่นนี้เมื่อผู้บริหารแผนซึ่งมีหน้าที่ในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง ผู้บริหารแผนจึงต้องชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายตามคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและแผนฟื้นฟูกิจการนั้น จนกว่าจะครบถ้วน การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้แต่ละรายต้องไปทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่างหากจาก ข้อกำหนดในแผนก็ดี เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามแผนต่อเมื่อได้ลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วก็ดี ข้อกำหนดดังกล่าวขัดต่อ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อกำหนดนี้จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
แม้ข้อกำหนดบางส่วนในแผนตกเป็นโมฆะ หากข้อกำหนดดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญของแผน หรือบุคคล ที่เกี่ยวข้องมิได้ถือเอาข้อกำหนดดังกล่าวเป็นข้อสำคัญ เมื่อข้อกำหนดในแผนที่เหลืออยู่ยังใช้บังคับได้ และ แผนฟื้นฟูกิจการที่ใช้บังคับได้ยังมีสาระสำคัญเพียงพอในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงถือว่าแผนมีรายการครบถ้วนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ประกอบมาตรา 90/58 วรรคสอง
ตามมาตรา 90/42 ทวิ ประกอบมาตรา 6 เมื่อจำนวนหนี้สูงกว่าราคาทรัพย์หลักประกันจำนวนหนี้ที่มีประกันของเจ้าหนี้มีประกัน ย่อมมีอยู่เฉพาะในมูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ส่วนหนี้จำนวนที่เหลือย่อมมีฐานะเป็น เจ้าหนี้ธรรมดา ในการพิจารณามูลค่าราคาหลักประกัน ศาลจะต้องพิจารณาถึงวงเงินจำนอง ราคาซื้อขายทรัพย์ หลักประกันในท้องตลาดตลอดจนวิธีการในการจัดการทรัพย์หลักประกันในการฟื้นฟูกิจการ
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 (9) บัญญัติว่า "ระยะเวลาดำเนินการตามแผนซึ่งไม่เกินห้าปี" หมายความว่า ระยะเวลาในการดำเนินการตามแผนที่การบริหารแผนจะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติและความคุ้มครองของ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ และภายใต้การควบคุมกำกับของศาลเพื่อให้ลูกหนี้มีฐานะพ้นจากภาวะวิกฤติทางการเงินเข้าสู่สภาพที่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งผู้ทำแผนสามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสมแต่ทั้งนี้ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกิน 5 ปี
การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จำนวนเท่าใด อย่างไร ย่อมเป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว เช่นนี้เมื่อผู้บริหารแผนซึ่งมีหน้าที่ในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง ผู้บริหารแผนจึงต้องชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายตามคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและแผนฟื้นฟูกิจการนั้น จนกว่าจะครบถ้วน การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้แต่ละรายต้องไปทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่างหากจาก ข้อกำหนดในแผนก็ดี เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามแผนต่อเมื่อได้ลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วก็ดี ข้อกำหนดดังกล่าวขัดต่อ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อกำหนดนี้จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
แม้ข้อกำหนดบางส่วนในแผนตกเป็นโมฆะ หากข้อกำหนดดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญของแผน หรือบุคคล ที่เกี่ยวข้องมิได้ถือเอาข้อกำหนดดังกล่าวเป็นข้อสำคัญ เมื่อข้อกำหนดในแผนที่เหลืออยู่ยังใช้บังคับได้ และ แผนฟื้นฟูกิจการที่ใช้บังคับได้ยังมีสาระสำคัญเพียงพอในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงถือว่าแผนมีรายการครบถ้วนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ประกอบมาตรา 90/58 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แผนฟื้นฟูกิจการ: การปฏิบัติเจ้าหนี้กลุ่มเดียวกันเท่าเทียม และการชำระหนี้พิเศษจากสินเชื่อใหม่
ข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ว่า เมื่อแผนได้รับการอนุมัติแล้ว ขอให้ไม่ฟ้องผู้ค้ำประกัน เมื่อพิจารณาประกอบคำชี้แจงและคำแก้อุทธรณ์ของผู้บริหารแผน ซึ่งยืนยันว่าข้อกำหนดดังกล่าวเป็นการขอร้องหรือขอความร่วมมือจากเจ้าหนี้มิให้ฟ้องผู้ค้ำประกันในระหว่างระยะเวลาบริหารแผน มิใช่กำหนดห้ามฟ้องหรือจำกัดสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องจากผู้ค้ำประกัน ข้อกำหนดดังกล่าวมีลักษณะเพียงการขอร้องเจ้าหนี้มิได้มีสภาพบังคับสิทธิของเจ้าหนี้ที่มีอยู่ต่อผู้ค้ำประกันตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งเพียงใด เจ้าหนี้ย่อมใช้สิทธินั้นได้อย่างเต็มที่มิได้ถูกจำกัดด้วยข้อกำหนดในแผนแต่อย่างใด แผนจึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง
หนี้ของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 4 ที่ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการทุกราย มีการของดดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ส่วนต้นเงินจะมีการแปลงหนี้เป็นทุน แผนจึงกำหนดให้เจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 (2) ประกอบกับมาตรา 90/42 ตรี แล้ว ส่วนที่แผนกำหนดแบ่งเงินพิเศษสำหรับสินเชื่อใหม่แก่สถาบันการเงิน 3 แห่ง ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในกลุ่มที่ 4 เช่นกัน เนื่องจากสถาบันการเงินทั้งสามได้นำเงินที่สถาบันการเงินดังกล่าวได้รับจากโครงการที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ตนแล้วมาให้เป็นสินเชื่อใหม่ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของลูกหนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนได้ก่อให้เกิดขึ้นเนื่องจากการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการแต่อย่างใดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/62 หนี้ส่วนนี้ย่อมมีสถานะแตกต่างจากหนี้จำนวนอื่น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและมีการกำหนดไว้ในแผน การที่แผนกำหนดให้มีการคืนหนี้ส่วนนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งสามรายก่อน จึงเป็นธรรมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
หนี้ของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 4 ที่ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการทุกราย มีการของดดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ส่วนต้นเงินจะมีการแปลงหนี้เป็นทุน แผนจึงกำหนดให้เจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 (2) ประกอบกับมาตรา 90/42 ตรี แล้ว ส่วนที่แผนกำหนดแบ่งเงินพิเศษสำหรับสินเชื่อใหม่แก่สถาบันการเงิน 3 แห่ง ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในกลุ่มที่ 4 เช่นกัน เนื่องจากสถาบันการเงินทั้งสามได้นำเงินที่สถาบันการเงินดังกล่าวได้รับจากโครงการที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ตนแล้วมาให้เป็นสินเชื่อใหม่ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของลูกหนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนได้ก่อให้เกิดขึ้นเนื่องจากการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการแต่อย่างใดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/62 หนี้ส่วนนี้ย่อมมีสถานะแตกต่างจากหนี้จำนวนอื่น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและมีการกำหนดไว้ในแผน การที่แผนกำหนดให้มีการคืนหนี้ส่วนนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งสามรายก่อน จึงเป็นธรรมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว