คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าหน้าที่รัฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญา จำเลยกระทำผิดต่อเจ้าหน้าที่รัฐ โจทก์ไม่เป็นผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1, 2 ร่วมกันกระทำผิด โดยจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอใบสุทธิโดยไม่มีหลักฐานการสอบไล่ได้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นครูใหญ่กรอกข้อความอันเป็นเท็จรับรองในแบบสอบสวนขอรับใบสุทธิหรือใบแทนเกิน 10 ปี เสนอขออนุญาตออกให้ตามคำขอ เป็นเหตุให้นายอำเภอและเจ้าหน้าที่แผนกศึกษาธิการอำเภอหลงเชื่อ อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ออกใบสุทธิซึ่งเป็นเอกสารปลอมให้จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 นำไปเป็นหลักฐานสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อคณะกรรมการรับสมัครคณะกรรมการรับใบสมัครของจำเลยที่ 1 ไว้ และเป็นผลให้จำเลยที่ 1 ได้รับเลือก โจทก์ในฐานะผู้สมัครรับเลือกด้วยได้รับความเสียหาย ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1, 2 ฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม ดังนี้ ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง การที่โจทก์ไม่ได้รับเลือก หาใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายที่จะนำคดีมาฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 572/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ทำให้ผู้อื่นใช้เอกสารปลอมได้ประโยชน์
จำเลยซึ่งเป็นปลัดอำเภอมีหน้าที่ทำตั๋วรูปพรรณสัตว์พาหนะลงลายมือชื่อประทับตราตำแหน่งลงในตั๋วรูปพรรณที่รู้ว่า ปลอมลายพิมพ์นิ้วมือเจ้าของสัตว์ ทำให้มีผู้ใช้เอกสารนั้นอ้างเมื่อถูกตรวจค้น แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับผลประโยชน์แต่ประการใด แต่ก็เป็นการทำให้จำเลยอื่นได้รับประโยชน์ในการใช้เอกสารนั้นไปอ้างเมื่อถูกตรวจค้นหรือถูกจับ ถือว่าเป็นการกระทำโดยทุจริตเช่นกัน จึงมีความผิดตามมาตรา 157,161 และ 162(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542-1543/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกเงินของเจ้าหน้าที่รัฐ: การกำหนดความรับผิดชอบในการเก็บรักษาเงิน และความผิดของลูกจ้าง
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นสำนวนเดียวกัน จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นสำนวนใหม่ ต่อมาคู่ความฎีกาทั้งสองสำนวน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าคดีทั้งสองสำนวนนี้เกี่ยวพันกัน ย่อมให้รวมการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันได้เพื่อสะดวกแก่การพิจารณา
จำเลยที่ 1 รับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวันทำงานอยู่ที่แผนกเภสัชกรรมของโรงพยาบาลเดียวกัน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่คิดราคายา และเขียนราคายาลงในใบสั่งยา จำหน่ายยาให้คนไข้ เมื่อเจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่มอบใบเสร็จรับเงินและยาให้แก่คนไข้ และมีหน้าที่ควบคุมดูแลการออกใบเสร็จรับเงินและสำเนาให้ตรงตามใบสั่งยา เมื่อรับเงินค่าจำหน่ายยาแล้ว จำเลยที่ 2 มีหน้าที่เก็บรักษาไว้เพื่อส่งให้แก่เจ้าหน้าที่การเงิน เวลาจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ ถ้าจำเลยที่ 1 ช่วยเขียนใบเสร็จรับเงินก็ต้องมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 กลับมา จำเลยทั้งสองร่วมกันทำสำเนาใบเสร็จรับเงินโดยลงจำนวนเงินราคายาน้อยกว่าราคาที่จำหน่ายไปจริง แล้วร่วมกันยักยอกเอาเงินที่เกินกว่าจำนวนในสำเนาใบเสร็จ ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะรับสารภาพตามฟ้องว่ากระทำผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังเงินซึ่งมีหน้าที่รักษาไว้ แต่เมื่อรวมการพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน จำเลยที่ 2จึงมีความผิดตามมาตรา 352 เท่านั้นเหมือนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ: คำสั่งผ่อนผันการจับกุมละเมิดสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลย 18 คน ศาลรับฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ถึง 17 สำหรับฟ้องจำเลยที่ 18 ให้ยกเสีย ตามาตรา 172 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นว่า ให้รับคำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 18 ดังนี้ จำเลยที่ 18 ฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจได้มีคำสั่งไปยังสถานีตำรวจท้องที่ให้ผ่อนผันการจับกุมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 โดยให้แย่งรับส่งคนโดยสารทับบนเส้นทางซึ่งโจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางการ ให้ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์แต่ผู้เดียว เพื่อโจทก์แจ้งความขอให้ตำรวจจับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 มาดำเนินคดีตำรวจไม่ยอมดำเนินการให้เพราะจำเลยที่ 18 มีคำสั่งผ่อนผันการจับกุมจำเลยไว้ โจทก์จะได้ขอให้ศาลเรียกคำสั่งดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาต่อไป ดังนี้ เห็นไดว่าคำสั่งของจำเลยที่ 18 เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ ประกอบกับมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคำสั่งของจำเลยที่โจทก์ขอให้เพิกถอนว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 45
ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยืนยันโดยแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้ออกคำสั่ง สั่งว่าอย่างไร ถึงใคร และมีผู้ใดกระทำตามคำสั่งนั้นโดยแจ้งชัดแล้ว ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 18 ว่า พ.ต.อ.ป.กรมตำรวจ และยังได้บรรยายฟ้องอีกว่า จำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 18 ในฐานะอธิบดีกรมตำรวจ หาใช่ฟ้องในฐานะส่วนตัวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ: คำสั่งผ่อนผันการจับกุมละเมิดสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลย 18 คน ศาลรับฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1ถึง 17 สำหรับฟ้องจำเลยที่ 18 ให้ยกเสีย ตามมาตรา172 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นว่า ให้รับคำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 18 ดังนี้ จำเลยที่ 18 ฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจได้มีคำสั่งไปยังสถานีตำรวจท้องที่ให้ผ่อนผันการจับกุมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 โดยให้แย่งรับส่งคนโดยสารทับบนเส้นทางซึ่งโจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางการ ให้ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์แต่ผู้เดียว เมื่อโจทก์แจ้งความขอให้ตำรวจจับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 มาดำเนินคดีตำรวจไม่ยอมดำเนินการให้ เพราะจำเลยที่ 18 มีคำสั่งผ่อนผันการจับกุมจำเลยไว้ โจทก์จะได้ขอให้ศาลเรียกคำสั่งดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาต่อไป ดังนี้ เห็นได้ว่าคำสั่งของจำเลยที่ 18 เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ประกอบกับมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคำสั่งของจำเลยที่โจทก์ขอให้เพิกถอนว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยืนยันโดยแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยที่18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้ออกคำสั่ง สั่งว่าอย่างไร ถึงใคร และมีผู้ใดกระทำตามคำสั่งนั้นโดยแจ้งชัดแล้ว ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 18 ว่า พล.ต.อ. ป. กรมตำรวจ และยังได้บรรยายฟ้องอีกว่า จำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 18 ในฐานะอธิบดีกรมตำรวจหาใช่ฟ้องในฐานะส่วนตัวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นติชมเจ้าหน้าที่รัฐโดยสุจริตและเป็นธรรม ถือเป็นการกระทำที่กฎหมายคุ้มครอง
จำเลยได้กล่าวว่า "ไม่ยุติธรรม" และนำความไปบอกเล่าบุคคลที่ 3 ว่า "พวกผมได้รับผ้าเก่า ๆ ขาด ๆ ทั้งนั้น ส่วนผ้าดี ๆ ใหม่ ๆ ปลัดกับกำนันเอาไปหมด ฯลฯ" นั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าหน้าที่แจกผ้าให้แก่ราษฎรผู้ประสบวาตภัยไม่รัดกุมขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นพฤติการณ์ทีมีช่องทางให้ราษฎรทั่ว ๆไปคิดเห็นไปได้โดยสุจริตใจว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่ในการแจกเสื้อผ้านั้นไม่ได้ทำไปโดยเที่ยงธรรม การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงความคิดเห็นของตนโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 324(3) จำเลยไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นติชมเจ้าหน้าที่รัฐโดยสุจริต และการแจกจ่ายความช่วยเหลือที่ไม่เป็นธรรม เข้าข้อยกเว้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329
จำเลยได้กล่าวว่า "ไม่ยุติธรรม" และนำความไปบอกเล่าบุคคลที่ 3 ว่า "พวกผมได้รับผ้าเก่าๆ ขาดๆ ทั้งนั้น ส่วนผ้าดีๆ ใหม่ๆ ปลัดกับกำนันเอาไปหมด ฯลฯ" นั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าหน้าที่แจกผ้าให้แก่ราษฎรผู้ประสบวาตภัยไม่รัดกุมขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นพฤติการณ์ที่มีช่องทางให้ราษฎรทั่วๆ ไปคิดเห็นไปได้โดยสุจริตใจว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่ในการแจกเสื้อผ้านั้นไม่ได้ทำไปโดยเที่ยงธรรม การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงความคิดเห็นของตนโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(3) จำเลยไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีทุจริตเงินเทศบาล ต้องพิจารณาจากวันที่ทราบตัวผู้กระทำผิดจริง ไม่ใช่แค่วันที่รู้เรื่องการทุจริต
ระเบียบของกระทรวงมหาดไทยที่ให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลสมุหบัญชีต้องร่วมรับผิดชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลในกรณีมีการทุจริตอันเกี่ยวกับการรักษาเงินขึ้นนั้นไม่ใช่กฎหมายจะยกเอาระเบียบดังกล่าวนี้ขึ้นวินิจฉัยว่าบุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้รับผิดชดใช้เงินแทนในทันทีขณะทราบว่ามีการทุจริตขึ้นโดยมิต้องสอบสวนว่าบุคคลดังกล่าวจะต้องรับผิดจริงหรือไม่เสียก่อนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยักยอกทรัพย์ของเจ้าหน้าที่รัฐ: โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
เอกชนเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้ากองปกครองท้องถิ่นในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ยักยอกทรัพย์ตามฟ้องแสดงว่าเงินที่จำเลยรับมอบมานั้นเป็นเงินของรัฐบาลเมื่อจำเลยยังไม่ได้จ่ายให้โจทก์ ก็ยังคงเป็นเงินของรัฐบาลอยู่ หากจำเลยเบียดบังเอาเป็นของตนก็เป็นการเบียดบังเอาเงินรัฐบาล โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐในการเซ็นอนุมัติการเบิกจ่ายเงินของหน่วยงาน
จำเลยเพียงแต่เซ็นในใบยืมตามหน้าที่และภายในขอบเขตแห่งหน้าที่ของตนตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเพื่อให้งานได้ดำเนินไปได้โดยเรียบร้อย จำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องอย่างใดกับเงินนั้นเลย โดยประธานกรรมการมอบหมายหน้าที่ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายการคลังควบคุมเงินจำนวนนี้เอาไปดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ขององค์การสรรพาหาร ถือว่าจำเลยมิได้อยู่ในฐานะของผู้ยืมตามกฎหมาย และจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว แต่ถ้าจำเลยกระทำการนอกเหนือหน้าที่ของตน จำเลยก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
of 12