พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลมีอำนาจวินิจฉัยการประมูล การฟ้องให้ยกเลิกประมูลเป็นเอกสิทธิของเทศบาล
คณะกรรมการรับและเปิดซองประมูลของเทศบาลไม่ใช่นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่อาจถูกฟ้องคดีแพ่งได้
โจทก์ฟ้องเทศบาลให้ยกเลิกการประมูลและประมูลใหม่ ซึ่งเป็นเอกสิทธิของเทศบาลที่จะวินิจฉัยว่าผู้ใดประมูลได้ข้อความในประกาศเรียกประมูลไม่ยกเว้นความรับผิดฐานละเมิด แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยมูลละเมิดหากขอให้พิพากษาให้ยกเลิกการประมูลซึ่งเป็นอำนาจของเทศบาลโดยเฉพาะที่จะวินิจฉัย ศาลไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปเปลี่ยนแปลงได้
โจทก์ฟ้องเทศบาลให้ยกเลิกการประมูลและประมูลใหม่ ซึ่งเป็นเอกสิทธิของเทศบาลที่จะวินิจฉัยว่าผู้ใดประมูลได้ข้อความในประกาศเรียกประมูลไม่ยกเว้นความรับผิดฐานละเมิด แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยมูลละเมิดหากขอให้พิพากษาให้ยกเลิกการประมูลซึ่งเป็นอำนาจของเทศบาลโดยเฉพาะที่จะวินิจฉัย ศาลไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปเปลี่ยนแปลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลประมาทเลินเล่อไม่ซ่อมทางเท้า ทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ
เทศบาลจำเลยมีหน้าที่ซ่อมแซมถนน จำเลยไม่ทราบว่ามีทางเท้าเป็นหลุมขนาดใหญ่มา 2 ปี จำเลยไม่ซ่อมเป็นเหตุให้โจทก์เดินตกลงไปซึ่งโจทก์คาดหมายได้ว่าทางสาธารณะจะไม่มีหลุมเช่นนั้น จำเลยประมาทเลินเล่อฝ่ายเดียว จำเลยไม่สืบพยานแก้ในข้อค่าเสียหายไม่ถือว่ายอมรับตามที่โจทก์นำสืบ ศาลกำหนดให้ได้ตามควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่า, นิติสัมพันธ์เทศบาล/กรุงเทพมหานคร, การประวิงคดี และค่าเสียหายจากการ占ครองพื้นที่
การที่จำเลยเช่าที่ดินบริเวณสวนลุมพินีกับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์คราวละ 1 ปีนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ หากเช่าเกินกว่า 1 ปี ต้องได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยก่อน เช่นนี้เป็นการแสดงอยู่ในตัวแล้วว่ากระทรวงมหาดไทยให้โจทก์มีอำนาจให้เช่าที่พิพาทได้คราวละ 1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิให้จำเลยเช่าที่พิพาทได้เมื่อโจทก์มีสิทธิให้เช่าแล้วโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่าตามสัญญาได้
เดิมเทศบาลนครกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นเทศบาลนครหลวง ประกาศของคณะปฏิวัติมีสภาพเป็นกฎหมายและตามประกาศฉบับนี้ข้อ 6 ให้เทศบาลนครหลวงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล และข้อ 13 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฏกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งเกี่ยวกับเทศบาลมาใช้บังคับแก่เทศบาลนครหลวงโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับนี้ และคำว่าเทศบาลในกฎหมายดังกล่าวให้หมายรวมถึงเทศบาลนครหลวงด้วย เช่นนี้ตามข้อบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวย่อมแปลได้ว่าเทศบาลนครหลวงเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เมื่อรวมเทศบาลกรุงเทพ เทศบาลธนบุรี เป็นเทศบาลนครหลวงแล้วสิทธิและหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพที่ได้ทำไว้แต่เดิมจึงเปลี่ยนมาเป็นของเทศบาลนครหลวง เทศบาลนครหลวงจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครกรุงเทพได้ อนึ่ง ปรากฏต่อมาว่าขณะที่คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบเลิกไปโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ได้มีการจัดระเบียบบริหารใหม่ให้เป็นกรุงเทพมหานคร และให้ถือเป็นจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 48 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้โอนกิจการทรัพย์สิน หนี้ ฯลฯ ของเทศบาลนครหลวงไปเป็นของกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ จึงถือได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครหลวงได้
เดิมเทศบาลนครกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นเทศบาลนครหลวง ประกาศของคณะปฏิวัติมีสภาพเป็นกฎหมายและตามประกาศฉบับนี้ข้อ 6 ให้เทศบาลนครหลวงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล และข้อ 13 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฏกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งเกี่ยวกับเทศบาลมาใช้บังคับแก่เทศบาลนครหลวงโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับนี้ และคำว่าเทศบาลในกฎหมายดังกล่าวให้หมายรวมถึงเทศบาลนครหลวงด้วย เช่นนี้ตามข้อบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวย่อมแปลได้ว่าเทศบาลนครหลวงเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เมื่อรวมเทศบาลกรุงเทพ เทศบาลธนบุรี เป็นเทศบาลนครหลวงแล้วสิทธิและหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพที่ได้ทำไว้แต่เดิมจึงเปลี่ยนมาเป็นของเทศบาลนครหลวง เทศบาลนครหลวงจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครกรุงเทพได้ อนึ่ง ปรากฏต่อมาว่าขณะที่คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบเลิกไปโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ได้มีการจัดระเบียบบริหารใหม่ให้เป็นกรุงเทพมหานคร และให้ถือเป็นจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 48 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้โอนกิจการทรัพย์สิน หนี้ ฯลฯ ของเทศบาลนครหลวงไปเป็นของกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ จึงถือได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครหลวงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการสถานธนานุบาลทุจริตตีราคาสูงเอื้อประโยชน์ส่วนตัว ทำให้เทศบาลเสียหาย
จำเลยเป็นผู้จัดการสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ของเทศบาลนครกรุงเทพ ได้รับจำนำสิ่งของไว้จาก อ. รวม 507 รายการ ในราคาสูงกว่าปกติ และส่วนมากสูงกว่าราคาที่จำเลยรับจำนำไว้จากลูกค้ารายอื่น โดยไม่ปรึกษาผู้ช่วยผู้จัดการเมื่อถูกทักท้วง ก็ว่าจะรับผิดชอบเอง อ. นำสิ่งของมาจำนำแทบทุกวันวันละหลาย ๆ ชิ้น มากกว่าลูกค้ารายอื่น สิ่งของบางชิ้น อ. ขอร้องให้จำเลยตีราคาสูง ๆ เพื่อเอาเงินไปชำระค่าดอกเบี้ยสิ่งของที่จำนำไว้และจะครบกำหนด ถ้าเอาสิ่งของ 507 ชิ้นที่รับจำนำไว้ออกขายทอดตลาดขาดทุน จำเลยก็ไม่สามารถจะใช้เงินที่ขาดให้ได้หลังจากจำเลยถูกจับ อ. ก็มิได้มาติดต่อกับสถานธนานุบาลอีกเลยแสดงว่าจะปล่อยสิ่งของเหล่านั้นให้หลุด ซึ่งหากนำออกขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาที่จำนำไว้ เทศบาลนครกรุงเทพก็ต้องขาดทุนพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตและทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
สถานธนานุบาลหรือโรงรับจำนำเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินและธุรกิจนั้นของเทศบาลนครกรุงเทพ กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต ทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354
สถานธนานุบาลหรือโรงรับจำนำเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินและธุรกิจนั้นของเทศบาลนครกรุงเทพ กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต ทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1858-1859/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเทศบาลในการครอบครองที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ และการฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก
บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ที่ว่า ถ้ารัฐบาลต้องการจะหวงห้ามที่ดินรกร้างว่าเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อประโยชน์ใดๆ ก็ให้ดำเนินการหวงห้ามตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ โดยต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น เป็นบทบัญญัติกำหนดวิธีการที่รัฐบาลต้องการจะหวงห้ามที่ดินสาธารณสมบัติไว้เพื่อประโยชน์ของรัฐในภายหน้า
ไม่มีกฎหมายห้าม ณ ที่ใดว่า ส่วนราชการของรัฐจะดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติออกโฉนดซึ่งใช้อยู่ขณะนั้น สำหรับให้พลเมืองใช้ร่วมกันตามหน้าที่ของส่วนราชการไม่ได้
เทศบาลซึ่งมีหน้าที่จัดให้มีสุสานและฌาปนสถานตามพระราชบัญญัติเทศบาล ดำเนินการขอจับจองที่ดินรกร้างว่างเปล่าจนได้รับใบเหยียบย่ำและทำเป็นฌาปนสถานสำหรับราษฎร ใช้ฝังและเผาศพมา 20 ปีเศษแล้ว จนกลายสภาพเป็นที่สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) แล้ว จังหวัดซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และเทศบาล ย่อมมีสิทธิและอำนาจฟ้องผู้บุกรุกเข้ายึดถือเอาที่ดินดังกล่าวเป็นของตนให้ออกไปได้
ไม่มีกฎหมายห้าม ณ ที่ใดว่า ส่วนราชการของรัฐจะดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติออกโฉนดซึ่งใช้อยู่ขณะนั้น สำหรับให้พลเมืองใช้ร่วมกันตามหน้าที่ของส่วนราชการไม่ได้
เทศบาลซึ่งมีหน้าที่จัดให้มีสุสานและฌาปนสถานตามพระราชบัญญัติเทศบาล ดำเนินการขอจับจองที่ดินรกร้างว่างเปล่าจนได้รับใบเหยียบย่ำและทำเป็นฌาปนสถานสำหรับราษฎร ใช้ฝังและเผาศพมา 20 ปีเศษแล้ว จนกลายสภาพเป็นที่สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) แล้ว จังหวัดซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และเทศบาล ย่อมมีสิทธิและอำนาจฟ้องผู้บุกรุกเข้ายึดถือเอาที่ดินดังกล่าวเป็นของตนให้ออกไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลประมาทเลินเล่อปล่อยสะพานชำรุด ผู้เสียหายประมาทเอง ศาลแบ่งความรับผิด
จำเลยซึ่งเป็นเทศบาลมีหน้าที่ดูแลสะพานให้มีความมั่นคงแข็งแรงการที่จำเลยปล่อยปละละเลยให้สะพานผุพัง ราวสะพานเป็นช่องโหว่อยู่ก่อนผู้เสียหายตกลงไปไม่รีบซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยปลอดภัย นับว่าเป็นการประมาทเลินเล่อของจำเลยอันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้เสียหายเมื่อพิเคราะห์ถึงการที่โจทก์ตกสะพานไป โดยไม่เดินอย่างคนธรรมดามัวแต่จับตาอยู่ดูการชกต่อยระหว่างเด็ก 2 คน เสียและเอาหลังพิงราวสะพานเอามือรูดไปจนถึงช่องโหว่จนตกไป เช่นนี้ เหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความผิดของโจทก์อยู่ด้วย ถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์มีส่วนประกอบด้วย ค่าสินไหมทดแทนอันโจทก์ควรจะได้รับมากน้อยเพียงใด จึงต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีดังกล่าวข้างต้นเป็นประมาณ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลประมาทเลินเล่อปล่อยสะพานชำรุด ผู้เสียหายประมาทร่วมด้วย ศาลลดค่าเสียหาย
จำเลยซึ่งเป็นเทศบาลมีหน้าที่ดูแลสะพานให้มีความมั่นคงแข็งแรง การที่จำเลยปล่อยปละละเลยให้สะพานผุพัง ราวสะพานเป็นช่องโหว่อยู่ก่อนผู้เสียหายตกลงไปไม่รีบซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยปลอดภัย นับว่าเป็นการประมาทเลินเล่อของจำเลยอันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้เสียหายเมื่อพิเคราะห์ถึงการที่โจทก์ตกสะพานไป โดยไม่เดินอย่างคนธรรมดามัวแต่จับตาอยู่ดูการชกต่อยระหว่างเด็ก 2 คน เสียและเอาหลังพิงราวสะพานเอามือรูดไปจนถึงช่องโหว่จนตกไป เช่นนี้ เหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความผิดของโจทก์อยู่ด้วย ถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์มีส่วนประกอบด้วย ค่าสินไหมทดแทนอันโจทก์ควรจะได้รับมากน้อยเพียงใด จึงต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีดังกล่าวข้างต้นเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลใช้อำนาจสั่งรื้ออาคารชำรุดไม่ได้ หากอาคารยังมั่นคงแข็งแรง และสภาพแวดล้อมโดยรวมไม่น่ารังเกียจ
อำนาจของเทศบาลที่จะสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารที่ชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจ และไม่อาจแก้ไขได้ ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองพ.ศ. 2503 นั้น หมายความถึงตัวอาคารชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ มิใช่หมายความถึงบริเวณ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า อาคารของโจทก์ยังไม่ชำรุดทรุดโทรม เป็นแต่ตั้งปะปนอยู่กับอาคารอื่นเมื่อรื้ออาคารอื่นแล้วทำให้เกิดที่ว่างคั่นอาคารของโจทก์ ทำให้มีสภาพไม่น่าดูเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นเหตุให้อาคารของโจทก์ตกเป็นอาคารที่อยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ เช่นนี้ เทศบาลจึงจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งกฎหมายดังกล่าวมาบังคับไม่ได้
เมื่ออาคารของโจทก์ไม่อยู่ในลักษณะที่เทศบาลจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 บังคับได้ การที่เทศบาลสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารของโจทก์เอง โดยโจทก์ไม่ยินยอมจึงเป็นการละเมิด
เมื่ออาคารของโจทก์ไม่อยู่ในลักษณะที่เทศบาลจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 บังคับได้ การที่เทศบาลสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารของโจทก์เอง โดยโจทก์ไม่ยินยอมจึงเป็นการละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเทศบาลสั่งรื้ออาคารต้องพิจารณาตัวอาคารที่ชำรุดทรุดโทรมจริง มิใช่แค่บริเวณที่ดูไม่น่าดู
อำนาจของเทศบาลที่จะสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารที่ชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองพ.ศ. 2503 นั้น หมายความถึงตัวอาคารชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ มิใช่หมายความถึงบริเวณ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าอาคารของโจทก์ยังไม่ชำรุดทรุดโทรม เป็นแต่ตั้งปะปนอยู่กับอาคารอื่นเมื่อรื้ออาคารอื่นแล้วทำให้เกิดที่ว่างคั่นอาคารของโจทก์ ทำให้มีสภาพไม่น่าดูเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นเหตุให้อาคารของโจทก์ตกเป็นอาคารที่อยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ เช่นนี้ เทศบาลจึงจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งกฎหมายดังกล่าวมาบังคับไม่ได้
เมื่ออาคารของโจทก์ไม่อยู่ในลักษณะที่เทศบาลจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 บังคับได้ การที่เทศบาลสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารของโจทก์เอง โดยโจทก์ไม่ยินยอมจึงเป็นการละเมิด
เมื่ออาคารของโจทก์ไม่อยู่ในลักษณะที่เทศบาลจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 บังคับได้ การที่เทศบาลสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารของโจทก์เอง โดยโจทก์ไม่ยินยอมจึงเป็นการละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกทางสาธารณะ แม้ทางสาธารณะนั้นมิได้ขึ้นทะเบียน และคดีนี้ไม่มีอายุความ
โจทก์เป็นเทศบาลเมือง ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (2), 53 บัญญัติให้มีหน้าที่จัดให้มีและบำรุงทางบกทางน้ำ ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกทางสาธารณะในเขตเทศบาลของตนได้
ทางสาธารณะในเขตเทศบาลซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกนั้น โจทก์จะได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวงหรือไม่ และจะได้ขึ้นทะเบียนตามคำสั่งที่กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบไว้หรือไม่ ไม่เป็นสาระสำคัญ
จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้อื่น ในหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่า ทิศใต้ติดทางสาธารณะ การที่โจทก์นำสืบพยาน (บุคคล) ว่า ทางสาธารณะนั้นมีอาณาเขตกว้างยาวเท่าใด แม้จะทำให้เนื้อที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายลดความกว้างไปบ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้ เพราะด้านกว้างและด้านยาวตามหนังสือสัญญาซื้อขายอาจคลาดเคลื่อน หรือคู่สัญญาที่ซื้อขายอาจนำรังวัดรุกล้ำแนวทางสาธารณะก็เป็นได้
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยบุกรุกทางสาธารณะอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน
(ข้อกฎหมายตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8 - 9/2512)
ทางสาธารณะในเขตเทศบาลซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกนั้น โจทก์จะได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวงหรือไม่ และจะได้ขึ้นทะเบียนตามคำสั่งที่กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบไว้หรือไม่ ไม่เป็นสาระสำคัญ
จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้อื่น ในหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่า ทิศใต้ติดทางสาธารณะ การที่โจทก์นำสืบพยาน (บุคคล) ว่า ทางสาธารณะนั้นมีอาณาเขตกว้างยาวเท่าใด แม้จะทำให้เนื้อที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายลดความกว้างไปบ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้ เพราะด้านกว้างและด้านยาวตามหนังสือสัญญาซื้อขายอาจคลาดเคลื่อน หรือคู่สัญญาที่ซื้อขายอาจนำรังวัดรุกล้ำแนวทางสาธารณะก็เป็นได้
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยบุกรุกทางสาธารณะอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน
(ข้อกฎหมายตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8 - 9/2512)