คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เบิกความเท็จ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเท็จ เบิกความเท็จ และปลอมแปลงเอกสาร มีความผิดแม้คดีไม่ถึงที่สุดหรือไม่
ความผิดฐานฟ้องเท็จย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ฟ้องคดี หาใช่ว่าต้องรอให้คดีนั้นถึงที่สุด หรือต้องฟังว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายหรือไม่ก่อนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4201/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ทุจริตออกใบมรณบัตรเท็จเพื่อขอคืนหลักประกันและเบิกความเท็จในศาล
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต โดยทำใบรับแจ้งการตายอันเป็นเท็จแล้วนำไปเป็นหลักฐานในการแจ้งการตายต่อนายทะเบียนให้ออกมรณบัตรของ จ. และนำไปเป็นหลักฐานในการขอคืนหลักประกันที่ ป. ได้ประกันตัว จ.และเบิกความเท็จต่อศาลว่า จ.ตายไปแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137,157,162(1)(4),267 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดกระทงหนึ่งและเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคแรกอีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 328/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่ง: การบรรยายฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเบิกความเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดีแพ่ง เรื่องฟ้องหย่า ซึ่งมีข้อสำคัญในคดีว่าโจทก์จงใจละทิ้งร้างส.สามีโจทก์ไปเกินกว่า 1 ปีตามที่ส.อ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าหรือไม่โจทก์ได้บรรยายรายละเอียดข้อความที่จำเลยเบิกความ กับบรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร และคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีโดยกล่าวว่าศาลได้เชื่อคำเบิกความของจำเลยว่าโจทก์ได้จงใจละทิ้งร้าง ส. ไปเกินกว่า1 ปีจริง และพิพากษาให้หย่ากัน อันเป็นการบรรยายฟ้องให้เห็นว่า คำเบิกความเท็จของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไรแล้ว ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายแจ้งความเท็จ/เบิกความเท็จ: ราษฎรก็เป็นผู้เสียหายได้ตามกฎหมาย
ผู้เสียหายในความผิดฐานแจ้งความเท็จและฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 และ 177 ไม่ใช่จะมีแต่เฉพาะเจ้าพนักงานเท่านั้น ราษฎรที่ได้รับความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าวก็เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายจากแจ้งความเท็จ/เบิกความเท็จ ไม่จำกัดเฉพาะเจ้าพนักงาน ราษฎรที่เสียหายโดยตรงก็ฟ้องได้
ผู้เสียหายในความผิดฐานแจ้งความเท็จและฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 และ 177 ไม่ใช่จะมีแต่เฉพาะเจ้าพนักงานเท่านั้น ราษฎรที่ได้รับความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าวก็เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายในความผิดแจ้งความเท็จ-เบิกความเท็จ ไม่จำกัดเฉพาะเจ้าพนักงาน ราษฎรที่เสียหายโดยตรงก็ฟ้องได้
การที่จำเลยแจ้งความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาจนโจทก์ถูกดำเนินคดีในความผิดต่อ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ และการที่จำเลยเบิกความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายและมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จและฐานเบิกความเท็จได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2374/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องดำเนินคดีอาญาจากความเสียหายจากการเบิกความเท็จในคดีแพ่ง โดยไม่จำต้องเป็นคู่ความ
จำเลยที่ 5 ได้จ้างวานให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความอันเป็นเท็จ และจำเลยดังกล่าวได้เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปโดยตรง โจทก์จึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 5 และคำเบิกความเท็จของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)และมีอำนาจฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (2) โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์ต้องเป็นคู่ความในคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความเท็จนั้นหรือไม่
ฟ้องโจทก์บรรยายถึงคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความอันเป็นเท็จ ทำให้ศาลเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์จริง จึงมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว และการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เกิดจากจำเลยที่ 5 เป็นผู้จ้างวานหรือใช้ให้ยื่นคำร้องและเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาล ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2374/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างวานเบิกความเท็จทำให้เสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 5 ได้จ้างวานให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4เบิกความอันเป็นเท็จ และจำเลยดังกล่าวได้เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปโดยตรง โจทก์จึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 5และคำเบิกความเท็จของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 โจทก์ย่อมเป็น ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และมีอำนาจฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2) โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์ต้องเป็นคู่ความในคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 4 เบิกความเท็จนั้นหรือไม่ ฟ้องโจทก์บรรยายถึงคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4เบิกความอันเป็นเท็จ ทำให้ศาลเชื่อว่าจำเลยที่ 1ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์จริงจึงมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวและการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เกิดจากจำเลยที่ 5เป็นผู้จ้างวานหรือใช้ให้ยื่นคำร้องและเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาล ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายจากการเบิกความเท็จในคดีแพ่งมีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ แม้มิได้เป็นคู่ความในคดีแพ่ง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสามเสียสิทธิในที่ดินไปโดยตรงโจทก์ทั้งสามจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการเบิกความเท็จของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)และมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 28(2) โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์ทั้งสามต้องเป็นคู่ความในคดีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2เบิกความเท็จเท่านั้นจึงจะเป็นผู้เสียหายได้ ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 1และที่ 2 ย่อมยกขึ้นฎีกาได้ แม้ไม่เคยยกขึ้นว่ามาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม ตามฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงคดีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกความอันเป็นเท็จว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1ขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงที่โจทก์ทั้งสามมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ส. โดยจำเลยที่ 1 กล่าวอ้างในคดีดังกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองปรปักษ์ในที่ดินทั้งสองแปลงจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ทั้งฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงข้อความที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกความว่าจำเลยที่ 1 ได้เบิกความว่า จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินทั้งสองแปลงมาเป็นเวลา 20 ปีเศษ ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านและจำเลยที่ 2 เบิกความว่า เห็นจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินทั้งสองแปลงมาประมาณ 20 ปี ข้อความที่จำเลยที่ 1และที่ 2 เบิกความดังกล่าวนั้นเป็นความเท็จความจริงจำเลยที่ 1 ไม่ได้ครอบครองที่ดินทั้งสองแปลง จน ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง ข้อความเท็จ ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ทำให้ศาลเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ ในที่ดินทั้งสองแปลงโดยการครอบครองจริง จึงมีคำสั่ง ให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าว ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ การทำเอกสารปลอม และการเบิกความเท็จในชั้นศาล
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ทำการจับกุมโจทก์มีหน้าที่ทำและกรอกข้อความในบันทึกการจับกุมได้ทำและกรอกข้อความลงในบันทึกการจับกุมนั้น โดยลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำบันทึก พร้อมทั้งให้โจทก์ในฐานะผู้ต้องหาลงลายมือชื่อจนเป็นเอกสารที่ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไปเขียนเติมข้อความอีกว่าสอบถามผู้ต้องหาแล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ซึ่งไม่เป็นความจริงจึงเป็นการเติมข้อความในเอกสารที่แท้จริง น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้นแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 161
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจับกุมผู้กระทำความผิดได้จับกุมโจทก์ในข้อหาปลอมเอกสาร แต่กรอกข้อความเพิ่มเติมลงในบันทึกจับกุมว่า สอบถามโจทก์แล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาทั้งที่ทราบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะบันทึกการจับกุมดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ศาลอาจฟังลงโทษโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกความว่า "ข้าพเจ้าเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานและขอจับกุมโดยแสดงหมายจับให้จำเลยที่ 1 ดูด้วยข้าพเจ้าแจ้งข้อหาจำเลยฐานปลอมเอกสารตามข้อความในหมายจับ จำเลยให้การรับสารภาพ" ซึ่งเป็นความจริงและเป็นข้อสำคัญในคดี โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร ฟ้องโจทก์จึงขาดการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดเท่าที่จะทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 18 (5) ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1ในข้อหานี้ได้
เมื่อศาลชั้นตันมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มิได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตซักค้านพยานอันเป็นการโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคแรก ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 47