คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 393 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมและผลของการครอบครองปรปักษ์ เมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ
เมื่อในสารบัญจดทะเบียนในโฉนดที่ดินระบุว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันซึ่งก็ต้องหมายความว่ามีกรรมสิทธิ์คนละครึ่ง เมื่อส่วนของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมยังมีอยู่ครึ่งหนึ่ง และ ป.บิดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมก็หาได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ทั้งไม่เคยบอกกล่าวโจทก์ว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่ามิได้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่า ป.หรือจำเลยครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจำเลยจึงไม่ได้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ เมื่อจำเลยทั้งสองสืบสิทธิของ ป.บิดาซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ จึงต้องฟังว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเท่ากับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลังคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะการครอบครองเพื่ออ้างอายุความ
ก่อนหน้าคดีนี้จำเลยเคยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้นให้โจทก์โอนแก่จำเลยโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุด แม้จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาจนถึงโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ตาม แต่ผลของคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทมาก่อนนั้นยังคงผูกพันจำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุดโจทก์จึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย ฉะนั้น การครอบครองของจำเลยนับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษามาจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์นั่นเอง จำเลยจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุได้ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์อีกต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวให้โจทก์ทราบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งอายุความตามที่จำเลยให้การมายันโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขค่าเลี้ยงชีพหลังหย่า: ศาลพิจารณาความเปลี่ยนแปลงฐานะทางเศรษฐกิจของคู่กรณีได้
มาตรา 1526 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลสามารถกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้แก่คู่หย่าได้ในกรณีหนึ่ง เมื่อปรากฎว่าการหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง มิได้เป็นบทบัญญัติที่บังคับว่าจะเรียกค่าเลี้ยงชีพได้แต่เฉพาะมีคดีฟ้องหย่าเท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีหย่าว่าจำเลยยอมจดทะเบียนหย่าให้โจทก์และยอมชำระค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์อัตราร้อยละ 35 ของเงินเดือนทุกเดือนตลอดไป ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการยึดขยายหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภรรยาออกไปหลังการสมรสสิ้นสุดลง อันเป็นการช่วยเหลือจุนเจือกัน ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมใช้บังคับได้ และในมาตรา 1526 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1598/39 มาตรา 1598/40 และมาตรา 1598/41 เกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูมาใช้บังคับเกี่ยวกับค่าเลี้ยงชีพโดยอนุโลม ซึ่งเมื่ออนุโลมตามมาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง แล้วจะได้ความว่า เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าเลี้ยงชีพโดยให้เพิกถอน ลดเพิ่มหรือกลับให้ค่าเลี้ยงชีพอีกก็ได้ ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อแสดงว่าพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของโจทก์จำเลยเปลี่ยนแปลงไปจึงขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ได้ แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138วรรคสอง บัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาตามข้อประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่คดีนี้เป็นกรณีที่จำเลยใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ตามมาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง และมิได้เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามข้อประนีประนอมยอมความ คำร้องของจำเลยจึงมิได้อยู่ในบังคับที่จะต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 138 วรรคสอง โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์อัตราร้อยละ 35 ของเงินเดือนจำเลยซึ่งเป็นความเหมาะสมในช่วงเวลาดังกล่าว และจำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์นับแต่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตลอดมา แต่เมื่อพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของโจทก์และจำเลยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยปัจจุบันจำเลยกลับอยู่ในสภาพที่มีฐานะทางเศรษฐกิจด้อยกว่าโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขในเรื่องค่าเลี้ยงชีพ โดยให้จำเลยงดจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3860/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประเภทของวัตถุออกฤทธิ์กระทบต่อการลงโทษ: ปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่ให้คุณแก่จำเลย
ขณะจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 1.507 กรัม เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา6 (7 ทวิ) ต้องรับโทษตาม มาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท ต่อมาเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เท่านั้น จึงมีผลให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 1.507 กรัม ไม่ถึง 20 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อีกต่อไป เมื่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ระวางโทษเบากว่าระวางโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิด จึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ตาม ป.อ.มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3662/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเสื่อมราคาต้องได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากร หากไม่ได้รับอนุมัติ การประเมินภาษีชอบแล้ว
เดิมโจทก์ใช้วิธีคิดค่าเสื่อมราคาในอัตราลดลงจากยอดคงเหลือ ต่อมาโจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราค่าเสื่อมราคาจากเดิมโดยหักค่าเสื่อมราคาตามสภาพความเป็นจริง ถือได้ว่าโจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราค่าเสื่อมราคาแล้ว เมื่อไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์จึงเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเสื่อมราคาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3617/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาจำเลยเปลี่ยนแปลงหลังฟ้องคดี การส่งหมายไปยังภูมิลำเนาเดิมยังถือว่าชอบด้วยกฎหมาย หากจำเลยไม่แจ้งเปลี่ยนแปลง
ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยปรากฏตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนเอกสารท้ายฟ้องว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เลขที่ 66 ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานครในชั้นบังคับคดีก็ปรากฏตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนในสำนวนของกรมบังคับคดีก็ระบุว่าจำเลยมีภูมิลำเนาดังกล่าวแม้ว่าต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาเป็นเลขที่ 869 ซอยรัชดานิเวศน์ ถนนประชาอุทิศแขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าในขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยและในการดำเนินกระบวนพิจารณาตลอดมา จำเลยยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่เลขที่ 66 ถนนเทียมร่วมมิตร จึงต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ ณ สถานที่นั้น ดังนั้นเมื่อมีการส่งหมายเรียกหมายนัด และเอกสารต่าง ๆ ที่ภูมิลำเนาดังกล่าวไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม ย่อมถือว่าเป็นการส่งโดยชอบและจำเลยได้รับโดยชอบแล้ว จำเลยจะยกเรื่องการย้ายภูมิลำเนาไปที่ใหม่ของจำเลยโดยที่จำเลยไม่ได้แจ้งการย้ายภูมิลำเนาไปที่ใหม่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีและศาลทราบมาเป็นข้ออ้างว่าไม่ได้รับหมายแจ้งวันขายทอดตลาดที่ดินจากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเจตนาในพินัยกรรมและการเพิกถอนพินัยกรรมเดิมด้วยพินัยกรรมใหม่
หลักฐานที่เจ้ามรดกทำถึงผู้จัดการธนาคารขอเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงชื่อบัญชีและตัวอย่างลายมือชื่อในบัญชีที่เจ้ามรดกฝากเงินไว้จาก ส.เป็น ส.หรือจำเลยที่ 2 ซึ่งหมายความว่า คนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้สำหรับบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์และสำหรับบัญชีเงินฝากประเภทประจำ และในทางปฏิบัติผู้ที่มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีได้จะเป็นเจ้าของบัญชีร่วมกัน และตามเอกสารซึ่งเป็นคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินที่เจ้ามรดกและจำเลยที่ 2 ได้เปิดบัญชีร่วมกันมีข้อความระบุว่า ตามที่ ส.กับจำเลยที่ 2 ได้เปิดบัญชีร่วมกันมีบัญชีเงินฝากประจำ ออมทรัพย์ กระแสรายวันและอื่น ๆ ไว้กับธนาคาร ข้าพเจ้าได้ตกลงกับธนาคารในการเบิกจ่ายเงินข้าพเจ้าทั้งสองคนหรือคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ลงนามขอถอนเงิน ขอรับเงินหรือสั่งจ่ายเงินโดยใช้คำว่า ส.หรือจำเลยที่ 2 นั้น ข้าพเจ้าขอให้คำสั่งและสัญญาต่อธนาคารว่าถ้าข้าพเจ้าคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรม ขอยกเงินฝากส่วนของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ฝากที่ยังมีชีวิตอยู่ และให้ผู้ที่มีชีวิตอยู่มีสิทธิที่จะฝาก ถอน หรือติดต่อกับธนาคารได้ต่อไปจึงฟังได้ว่าการที่เจ้ามรดกใส่ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของบัญชีร่วมกับเจ้ามรดกนั้นมีเจตนาให้จำเลยที่ 2 ร่วมเป็นเจ้าของเงินของเจ้ามรดกที่มีในบัญชีนั้น ๆ ด้วยแต่เนื่องจากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้ามรดกต้องการให้จำเลยที่ 2 มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมเป็นจำนวนเท่าใด จึงต้องสันนิษฐานว่าเจ้ามรดกและจำเลยที่ 2มีส่วนเป็นเจ้าของเงินในบัญชีคนละครึ่ง
ข้อความตามที่ปรากฏในคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินทั้งเจ้ามรดกและจำเลยที่ 2 ต่างแจ้งเจตนาต่อธนาคารว่า ต่างประสงค์จะยกเงินฝากในส่วนของแต่ละคนให้อีกฝ่ายหนึ่งถ้าตนถึงแก่กรรมก่อนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของแต่ละคน จึงมีต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน และพยานทั้งสองคนนั้นลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น จึงเป็นพินัยกรรมที่ทำถูกต้องตามแบบในป.พ.พ.มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง ย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย หากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม เงินสดตามบัญชีเงินฝากในส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกได้แก่จำเลยที่ 2แต่ต่อมาเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทขึ้นอีกฉบับหนึ่ง ตามเอกสารหมาย จ.6ยกทรัพย์สมบัติที่เป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่โจทก์ โดยให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินสดจากบัญชีของเจ้ามรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว จึงเห็นได้ว่าพินัยกรรมฉบับแรกดังกล่าวขัดกับพินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.6 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ได้รับเงินในบัญชีเงินฝากส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกทั้งหมด หรือจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกจะต้องแบ่งเงินในบัญชีดังกล่าวส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกแก่โจทก์เป็นจำนวน 1,000,000 บาท ตามพินัยกรรมเอกสารหมาย จ.6ซึ่งทำขึ้นภายหลัง จึงต้องถือว่าพินัยกรรมฉบับแรกเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.6 ในส่วนที่มีข้อความขัดกัน คือเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จะต้องตกได้แก่โจทก์เท่านั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา1697 จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.เจ้ามรดกต้องแบ่งมรดกของเจ้ามรดกเป็นเงินสดจากบัญชีเงินฝากแก่โจทก์ จำนวน 1,000,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาเช่าซื้อฉบับใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสาระสำคัญ ถือเป็นการแปลงหนี้ สัญญาเดิมระงับสิ้นผล
หลังจากจำเลยที่1ทำสัญญาเช่าซื้อรถขุดจากโจทก์แล้วจำเลยที่1ก็ชำระค่าเช่าซื้องวดแรกให้แก่โจทก์ตามกำหนดโดยขณะนั้นรถที่เช่าซื้อได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเอาไว้เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติเหมืองแร่ฯโจทก์สมัครใจทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่1ใหม่โดยสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองทำก่อนถึงกำหนดชำระค่าเช่าซื้องวดที่สองตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกข้อความตามสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองมีการเปลี่ยนแปลงยอดเงินที่จะต้องชำระราคาเช่าซื้อกันทั้งหมดตลอดจนจำนวนเงินที่จำเลยที่1จะต้องผ่อนชำระในแต่ละงวดซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการชำระหนี้อันเป็นการเปลี่ยนสิ่งสาระสำคัญแห่งหนี้แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองรถขุดที่เช่าซื้อถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไปแล้วแต่ก็แสดงความประสงค์ของโจทก์กว่ามีเจตนาเพียงต้องการได้รับค่าเช่าซื้อเท่านั้นจึงได้ทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่1ชำระเงินแต่ละงวดเพื่อระงับหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกโดยให้ใช้สัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองแทนจึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่สัญญาเช่าซื้อฉบับแรกเมื่อระงับไปแล้วก็ไม่มีผลใช้บังคับโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060-1061/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและการเปลี่ยนแปลงเจ้าของกรรมสิทธิ์ทำให้ไม่อาจบังคับได้
การที่จำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ของตนในอันที่จะจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์ทั้งสามตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ทำไว้โจทก์ทั้งสามย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนภารจำยอมตามสัญญาดังกล่าวนั้นได้แต่เมื่อปรากฎว่าภายหลังโจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยแล้วจำเลยได้จดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นถนนพิพาทให้แก่มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จำเลยจึงมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไปและไม่อยู่ในฐานะจะไปจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์ทั้งสามเพราะสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องที่จะบังคับให้จำเลยทำเช่นนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา213การกระทำของจำเลยดังกล่าวแม้หากจะฟังว่าทำให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายแต่โจทก์ทั้งสามมิได้ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายมาด้วยจึงไม่อาจวินิจฉัยให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ชอบที่โจทก์ทั้งสามจะไปว่ากล่าวเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6022/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของความผิดตามฟ้อง และผลกระทบต่อการลงโทษจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันเป็นตัวการทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตามป.อ. มาตรา 297, 83 ทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายเพราะมีการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป โดยมีจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมอยู่ในที่ชุลมุนด้วย สาระสำคัญในการกระทำความผิดที่พิจารณาได้ความคือการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป แต่ตามฟ้องไม่มีข้อความตอนใดบรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของความผิดฐานเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปอันเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้รับอันตรายสาหัส ซึ่งจะมีผลให้ลงโทษจำเลยที่ 1และ ที่ 3 ตาม ป.อ. มาตรา 299 ได้ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญจึงลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3ตามทางพิจารณาที่ได้ความไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
of 40