คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,045 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ต้องเป็นการลดจำนวนลูกจ้างจากเทคโนโลยีใหม่ มิใช่จากการปรับโครงสร้างหรือโยกย้าย
การเลิกจ้างลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 121 และมาตรา 122 ต้องเป็นการเลิกจ้างลูกจ้างเพื่อลดจำนวนลูกจ้างเนื่องจากนำเครื่องจักรมาใช้ หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรือนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ทดแทนการใช้แรงงานของลูกจ้าง คดีนี้จำเลยที่ 1 ได้ปรับปรุงโครงสร้างงานฝ่ายสินเชื่อโดยนำระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์คาร์สมาใช้ทำงานปรับปรุงหน่วยงานและบริการ ระบบโปรแกรมคาร์สเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในงานฝ่ายสินเชื่อธนาคารจำเลยที่ 1 โดยเฉพาะ ใช้งานด้านวิเคราะห์ความเสี่ยงสินเชื่อ ทำรายงานสินเชื่อและใช้แทนแรงงานคนได้ เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีความสามารถเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลกโดยได้มีการติดตั้งระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์คาร์สเพื่อทดลองใช้บางจุด เนื่องจากจำเลยที่ 1 คิดว่าอาจได้รับมอบหมายจากสำนักงานใหญ่ให้เป็นศูนย์กลางของการวิเคราะห์สินเชื่อ แต่ต่อมาประเทศอินเดียได้รับการพิจารณาเป็นศูนย์กลางของการวิเคราะห์สินเชื่อ จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้นำระบบโปรมแกรมคอมพิวเตอร์คาร์สมาใช้ แต่จำเลยที่ 1 ได้เปลี่ยนแปลงจอภาพคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกับระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์คาร์ส ทำให้จำเลยที่ 1 ปรับลดพนักงานสินเชื่อและยุบเลิกฝ่ายสินเชื่อในเดือนมีนาคม 2543 แล้วย้าย ก. หัวหน้าฝ่ายสินเชื่อไปประจำที่ประเทศสิงคโปร์และเลิกจ้างโจทก์ในเดือนธันวาคม 2543 โจทก์จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรเลขานุการ ไม่มีความรู้และประสบการณ์งานด้านการตลาดและสินเชื่อโดยตรง แม้โจทก์จะทำงานในฝ่ายสินเชื่อแต่โจทก์มิได้มีตำแหน่งหน้าที่เป็นพนักงานสินเชื่อที่ต้องรับผิดชอบในส่วนงานสินเชื่อโดยตรง โจทก์มีตำแหน่งเป็นเพียงเลขานุการบริหารของ ก. หัวหน้าฝ่ายสินเชื่อ จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นเลขานุการของ ก. เนื่องจาก ก. ได้รับคำสั่งให้ไปประจำที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์มิใช่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรภายในฝ่ายสินเชื่อ อีกทั้งไม่ใช่เลิกจ้างโจทก์เนื่องจากจำเลยที่ 1 นำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาใช้ทดแทนการทำงานของโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5026/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: นิยามทรัพย์สินใช้สิ้นเปลืองตาม ป.พ.พ. และข้อตกลงสภาพการจ้าง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ใช้ตำแหน่งหน้าที่พิจารณาอนุมัติการยืมทรัพย์สินที่ไม่สามารถยืมได้ เพราะเป็นทรัพย์สินประเภทยืมใช้สิ้นเปลืองออกนอกบริเวณโรงงาน แต่จำเลยไม่ได้นำระเบียบข้อบังคับมาแสดง ทั้งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของจำเลยก็มิได้ระบุนิยามคำว่า ทรัพย์สินประเภทใช้สิ้นเปลืองไว้ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 ซึ่งหมายถึงทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป แต่ทรัพย์สินที่โจทก์อนุมัติให้ พ. ยืม คือ สายไฟฟ้า ท่อหุ้มสายไฟฟ้า ปลั๊กไฟฟ้าตัวผู้ ปลั๊กไฟฟ้าตัวเมีย เบ้าปลั๊กไฟฟ้า ไม่ใช่ทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป จึงไม่ใช่ทรัพย์สินประเภทยืมใช้สิ้นเปลือง การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย การเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าโทรศัพท์ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในคดีเลิกจ้าง: สั่งให้รับกลับทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้มิได้มีคำขอ
บทบัญญัติ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ที่ห้ามศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เป็นบทบัญญัติที่ใช้ในคดีแรงงานกรณีทั่วไป แต่บทบัญญัติในมาตรา 49 เป็นกรณีให้อำนาจศาลแรงงานเป็นพิเศษเฉพาะคดีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง โดยหากศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานจะสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานก็ได้ แต่หากเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานจะกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้แทนก็ได้ โดยให้ศาลแรงงานพิพากษาไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากทางพิจารณาว่านายจ้างกับลูกจ้างจะทำงานร่วมกันต่อไปได้หรือไม่ บทบัญญัติในมาตรานี้เห็นได้ว่า ศาลแรงงานไม่จำต้องมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ แม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้มีคำขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน คงขอค่าเสียหายจากการเลิกจ้างมาเพียงอย่างเดียว ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าโจทก์กับจำเลยยังสามารถทำงานร่วมกันได้ ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแทนได้ กรณีกลับกันแม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้มีคำขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ คงขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานเพียงอย่างเดียว ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แทนได้เช่นกัน ที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์มิได้กระทำผิดวินัยใด ๆ มาก่อน ทั้งจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงเห็นสมควรให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานต่อไป แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอให้รับโจทก์เข้าทำงาน ก็เป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยมาตรา 49 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการเลิกจ้าง: แม้การแต่งตั้งมีข้อบกพร่อง หากจำเลยรับรองย่อมผูกพัน
พ. เป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลย การที่ พ. เลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจแม้ว่าการแต่งตั้งจะมีข้อบกพร่องหรือในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลย เมื่อจำเลยรับรองการแสดงเจตนาของ พ. ที่บอกเลิกจ้างโจทก์เป็นการแสดงเจตนาของจำเลย จึงมีผลเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยกรรมการ/ตัวแทนที่มีข้อบกพร่องในการแต่งตั้ง ผลผูกพันจำเลยตามกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 1166 บัญญัติว่า บรรดาการซึ่งกรรมการได้ทำไปแม้ในภายหลังความปรากฏว่าการแต่งตั้งกรรมการคนนั้นมีข้อบกพร่องหรือบกพร่องด้วยองค์คุณควรแก่ตำแหน่งกรรมการ การมิได้ทำนั้นย่อมสมบูรณ์เสมือนดังว่าบุคคลนั้นได้รับการแต่งตั้งโดยถูกต้องและบริบูรณ์ด้วยองค์คุณของกรรมการ และตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 บัญญัติว่า นายจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และหมายความรวมถึง (1) ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง (2) ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้กระทำการแทนด้วย การที่ พ. ซึ่งตามหนังสือรับรองที่เจ้าหน้าที่รับรองว่า พ. เป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลย มีอำนาจลงชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยมีผลผูกพันจำเลยได้บอกเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจ แม้ว่าการแต่งตั้งจะมีข้อบกพร่องหรือในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลย เมื่อจำเลยรับรองการแสดงเจตนาของ พ. ที่บอกเลิกจ้างโจทก์เป็นการแสดงเจตนาของจำเลย จึงมีผลเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4874/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างโดยอาศัยเหตุผลทางธุรกิจและการไม่นำโครงการอาสาสมัครลาออกมาใช้โดยเท่าเทียมกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
ปัญหาตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่อ้างว่า ผู้ร้องมีโครงการอาสาสมัครลาออกเพื่อลดขนาดขององค์กรผู้ร้องและพนักงานก็ลาออก เมื่อผู้คัดค้านไม่สมัครใจลาออกก็ต้องถือว่าผู้คัดค้านได้ปฏิบัติตามโครงการดังกล่าวแล้ว หากผู้ร้องจะบังคับให้ผู้คัดค้านออกก็เท่ากับว่าผู้ร้องเลือกปฏิบัติไม่เอาโครงการดังกล่าวมาใช้เท่าเทียมกัน การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้เลิกจ้างผู้คัดค้านได้ ถือว่าเป็นคำสั่งที่ขัดต่อโครงการอาสาลาออกและขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญในข้อบุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันนั้น เป็นข้อที่ผู้คัดค้านไม่ได้ให้การไว้ ทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านมิได้แถลงรับว่ามีโครงการดังกล่าวจริงอุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4732/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกษียณอายุและการเลิกจ้าง: ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแม้ใช้สิทธิเกษียณอายุเอง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ในหัวข้อเรื่องการเกษียณอายุนั้น เมื่อพิจารณาประกอบกันจะเห็นได้ว่า โจทก์แยกลูกจ้างเป็น 2 ประเภท โดยลูกจ้างประเภทที่ 2 โจทก์จะให้เกษียณเมื่ออายุครบ 60 ปี ซึ่งการจะให้ลูกจ้างเกษียณอายุไปหรือไม่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของโจทก์ฝ่ายเดียว ส่วนลูกจ้างประเภทที่ 1 แม้อายุครบ 60 ปีแล้ว การจะให้ลูกจ้างเกษียณอายุไปหรือไม่มิได้ขึ้นอยู่กับโจทก์ แต่ขึ้นอยู่กับลูกจ้าง ดังนั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างให้ลูกจ้างไม่ว่าลูกจ้างประเภทที่ 1 หรือลูกจ้างประเภทที่ 2 เกษียณอายุ เป็นกรณีที่โจทก์ไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้เนื่องจากการเกษียณอายุดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง และแม้จะเป็นกรณีที่ลูกจ้างประเภทที่ 1 ใช้สิทธิเกษียณอายุตนเองโดยโจทก์มอบสิทธิดังกล่าวให้ลูกจ้างประเภทที่ 1 เป็นผู้พิจารณาเองก็ยังเป็นเรื่องที่โจทก์เลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุนั่นเอง หาใช่เป็นเรื่องลูกจ้างขอลาออกในกรณีปกติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ไม่ การที่ ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างประเภทที่ 1 ซึ่งมีอายุ 63 ปีแล้ว ไม่มีความประสงค์จะทำงานให้โจทก์อีกต่อไป ขอใช้สิทธิเกษียณอายุตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน จึงเป็นกรณีที่โจทก์เลิกจ้าง ส. เมื่อ ส. ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี ขึ้นไป โจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ ส. ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (5) คำสั่งของจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานที่ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยส่วนที่ขาดจำนวน 545,000 บาท จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยเลิกจ้าง: งานรักษาความปลอดภัยเป็นงานปกติธุรกิจ แม้มีสัญญาจ้างครบกำหนด ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยหากเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด
งานรักษาความปลอดภัยเป็นงานที่จำเลยรับจ้างทำเป็นปกติธุรกิจของจำเลยไม่ใช่งานที่ทำเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือถือเอาความสำเร็จของงานตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสุดท้าย จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานเป็นลูกจ้างในงานดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำผิดหรือกระทำการอันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามมาตรา 118

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีระยะเวลาทดลองงาน ทำให้สัญญาเป็นสัญญาไม่มีกำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
แม้สัญญาจ้างแรงงานจะกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ 1 ปี แต่ในข้อ 2 ของสัญญามีข้อความว่า นายจ้างจัดให้มีระยะเวลาทดลองงานเป็นระยะเวลา 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา หากนายจ้างเห็นว่าความรู้ความสามารถ ฝีมือหรือความเอาใจใส่ของลูกจ้างไม่เป็นที่น่าพอใจ นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาฉบับนี้ในเวลาใด ๆ ในระหว่างอายุสัญญาทดลองงานก็ได้ เช่นนี้ ย่อมหมายถึงโจทก์ตกลงจ้างให้จำเลยทำงานโดยมีเวลาทดลองงาน 4 เดือน หากจำเลยผ่านการทดลองงานโจทก์จะจ้างต่อไป ถ้าหากไม่ผ่านการทดลองงานโจทก์มีสิทธิเลิกจ้างได้ ซึ่งไม่แน่นอนว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อใด จึงเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4055-4056/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานในคดีแรงงาน และการเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยกรณีฝ่าฝืนระเบียบ
ป.วิ.พ. มาตรา 84 หมายความว่า คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใดคู่ความฝ่ายนั้นต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์สนับสนุนข้อเท็จจริงนั้น แต่ว่าคู่ความไม่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป หรือซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้หรือซึ่งศาลเห็นว่าไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์เนื่องจากข้อเท็จจริงนั้นอีกฝ่ายหนึ่งได้รับแล้ว การที่ศาลแรงงานกลางได้ตรวจสำนวนโดยพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การ พยานหลักฐานต่าง ๆ ที่คู่ความส่งต่อศาลและสอบถามข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับกันแล้ว เห็นว่าข้อเท็จจริงรับฟังยุติเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้ว จึงสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย และวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้นั้น เป็นการรับฟังพยานหลักฐานและวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 84 และ 104 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 แล้ว
การฝ่าฝืนคำสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง ซึ่งนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) ต้องเป็นการฝ่าฝืนในกรณีร้ายแรงหรือกระทำผิดซ้ำหนังสือเตือนสำหรับการฝ่าฝืนในกรณีไม่ร้ายแรง ปรากฏว่าในระหว่างเวลาทำงานและในที่ทำงานโจทก์ทั้งสองโต้เถียงกันในเรื่องการทำงาน เมื่อหัวหน้างานห้ามปรามให้เงียบ โจทก์ทั้งสองก็ยังคงโต้เถียงกันอีก และโจทก์ที่ 2 ได้เขวี้ยงท่อพีวีซีใส่โจทก์ที่ 1 แต่ไม่โดน และทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้เสียหาย เป็นการกระทำที่มีลักษณะไม่รุนแรงและไม่เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหาย จึงเป็นการฝ่าฝืนในกรณีที่ไม่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองทันทีโดยไม่เคยตักเตือนโจทก์ทั้งสองเป็นหนังสือมาก่อน จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 (2) และ (3)
of 205