พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานกำหนดอายุพ้นหน้าที่ ศาลฎีกายืนตามสัญญา ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าการเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือเทียบเท่า ศาลฎีกาพิพากษายืน เมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 3 กำหนดว่าลูกจ้างจะต้องพ้นหน้าที่เมื่อมีอายุ 30 ปีบริบูรณ์ กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับตามความในข้อ 3 ของสัญญาจ้างดังกล่าวอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2529 โจทก์มีอายุครบ 30 ปีบริบูรณ์วันที่ 23 เมษายน 2529 ในชั้นบังคับคดี ขณะนั้นโจทก์มีอายุเกิน 30 ปีแล้ว จำเลยได้มีคำสั่งที่ 08/2530 ให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2529 ถึงวันที่โจทก์มีอายุครบ 30 ปีบริบูรณ์ กับได้จ่ายค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยนำมาวางศาลดังนี้ ถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาครบถ้วนและถูกต้องแล้ว การบังคับคดีเป็นอันสิ้นสุด ที่โจทก์จำเลยได้ทำข้อตกลงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2530 เป็นเรื่องนอกเหนือจากคำพิพากษา ไม่อาจนำมาบังคับในคดีนี้ได้.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 397/2524)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานสั่งเยียวยาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้โจทก์ไม่ขอรับกลับเข้าทำงาน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยถ้าปรากฏต่อศาลแรงงานว่าการเลิกจ้างลูกจ้างรายใดไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่เคยได้รับในขณะที่ถูกเลิกจ้างแต่ ถ้าศาลแรงงานเห็นว่า ลูกจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ศาลแรงงานก็มีอำนาจกำหนดให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างแทน การรับกลับเข้าทำงานและตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ หรือขั้นตอนในการที่ลูกจ้างจะฟ้องเรียกค่าเสียหายไว้ การที่ศาลสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปเป็นอำนาจของศาลแรงงานที่จะวินิจฉัยสั่งตามบทบัญญัติดังกล่าวในเมื่อปรากฏว่าลูกจ้างอาจทำงานร่วมกับนายจ้างต่อไปได้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ขอให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปด้วยนั้น หาใช่เป็นเหตุที่จะแสดงว่าโจทก์พอใจในการที่ถูกเลิกจ้างแล้วและจะถือว่าเป็นกรณีที่ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ การเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่ต้องพิจารณาถึงเหตุเลิกจ้างว่ามีเหตุอันสมควรเพียงพอหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานสั่งเยียวยาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้โจทก์ไม่ขอรับกลับเข้าทำงาน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยถ้าปรากฏต่อศาลแรงงานว่าการเลิกจ้างลูกจ้างรายใดไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่เคยได้รับในขณะที่ถูกเลิกจ้างแต่ถ้าศาลแรงงานเห็นว่า ลูกจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ศาลแรงงานก็มีอำนาจกำหนดให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างแทนการรับกลับเข้าทำงานและตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ หรือขั้นตอนในการที่ลูกจ้างจะฟ้องเรียกค่าเสียหายไว้ การที่ศาลสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปเป็นอำนาจของศาลแรงงานที่จะวินิจฉัยสั่งตามบทบัญญัติดังกล่าวในเมื่อปรากฏว่าลูกจ้างอาจทำงานร่วมกับนายจ้างต่อไปได้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ขอให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปด้วยนั้น หาใช่เป็นเหตุที่จะแสดงว่าโจทก์พอใจในการที่ถูกเลิกจ้างแล้วและจะถือว่าเป็นกรณีที่ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ การเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่ต้องพิจารณาถึงเหตุเลิกจ้างว่ามีเหตุอันสมควรเพียงพอหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, การเรียกบุคคลภายนอกเป็นจำเลยร่วม, สิทธิการได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง
กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) นั้น ศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบ จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 54
การที่โจทก์ทำงานบกพร่อง ขาดความสามารถ หรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่น เป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์
กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) นั้น ศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบ จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 54
การที่โจทก์ทำงานบกพร่อง ขาดความสามารถ หรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่น เป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การกำหนดวันทำงานใหม่ต้องไม่เพิ่มภาระและสอดคล้องกับสภาพการจ้างเดิม
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างในขณะที่เลิกจ้าง เดิมโจทก์ทำงานตำแหน่งหัวหน้าผู้ควบคุมบัญชีของบริษัทจำเลยที่เมืองพัทยา ทำงานเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตำแหน่งเดิม แต่ให้ไปปฏิบัติหน้าที่ ณ สำนักงานที่กรุงเทพมหานครโดยกำหนดให้โจทก์ปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารของบริษัทจำเลย โดยให้โจทก์มีหน้าที่เฉพาะตรวจและให้คำแนะนำในทางบัญชีตามที่ได้รับมอบหมายเป็นครั้งคราว เป็นเรื่องที่นายจ้างมอบหมายงานที่เห็นสมควรให้ทำจำเลยมีอำนาจทำได้ ส่วนสถานที่ทำงาน เมื่อโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานครย่อมเป็นการสะดวกแก่โจทก์ยิ่งขึ้น โจทก์ก็มิได้อ้างว่าเป็นการเพิ่มภาระ จำเลยจึงมีคำสั่งได้เช่นกัน แต่การกำหนดให้โจทก์ทำงานในวันศุกร์และวันเสาร์ โดยที่ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์โจทก์มีภาระที่อื่นประจำอยู่แล้วจึงไม่ถูกต้องตามสภาพการจ้างเดิมและก่อภาระหน้าที่ให้แก่โจทก์ จำเลยต้องให้โจทก์ทำงานเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน การกำหนดวันทำงานที่ขัดแย้งกับสภาพการจ้างเดิม
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างในขณะที่เลิกจ้างเดิมโจทก์ทำงานตำแหน่งหัวหน้าผู้ควบคุมบัญชีของบริษัทจำเลยที่เมืองพัทยา ทำงานเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตำแหน่งเดิมแต่ให้ไปปฏิบัติหน้าที่ณ สำนักงานที่กรุงเทพมหานครโดยกำหนดให้โจทก์ปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารของบริษัทจำเลยโดยให้โจทก์มีหน้าที่เฉพาะตรวจและให้คำแนะนำในทางบัญชีตามที่ได้รับมอบหมายเป็นครั้งคราวเป็นเรื่องที่นายจ้างมอบหมายงานที่เห็นสมควรให้ทำจำเลยมีอำนาจทำได้ส่วนสถานที่ทำงานเมื่อโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานครย่อมเป็นการสะดวกแก่โจทก์ยิ่งขึ้นโจทก์ก็มิได้อ้างว่าเป็นการเพิ่มภาระจำเลยจึงมีคำสั่งได้เช่นกันแต่การกำหนดให้โจทก์ทำงานในวันศุกร์และวันเสาร์โดยที่ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์โจทก์มีภาระที่อื่นประจำอยู่แล้วจึงไม่ถูกต้องตามสภาพการจ้างเดิมและก่อภาระหน้าที่ให้แก่โจทก์จำเลยต้องให้โจทก์ทำงานเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการทำงาน ศาลฎีกายืนว่าการกำหนดวันทำงานใหม่ขัดต่อสภาพการจ้างเดิม
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างในขณะที่เลิกจ้างเดิมโจทก์ทำงานตำแหน่งหัวหน้าผู้ควบคุมบัญชีของบริษัทจำเลยที่เมืองพัทยาทำงานเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตำแหน่งเดิมแต่ให้ไปปฏิบัติหน้าที่ณสำนักงานที่กรุงเทพมหานครโดยกำหนดให้โจทก์ปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารของบริษัทจำเลยโดยให้โจทก์มีหน้าที่เฉพาะตรวจและให้คำแนะนำในทางบัญชีตามที่ได้รับมอบหมายเป็นครั้งคราวเป็นเรื่องที่นายจ้างมอบหมายงานที่เห็นสมควรให้ทำจำเลยมีอำนาจทำได้ส่วนสถานที่ทำงานเมื่อโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานครย่อมเป็นการสะดวกแก่โจทก์ยิ่งขึ้นโจทก์ก็มิได้อ้างว่าเป็นการเพิ่มภาระจำเลยจึงมีคำสั่งได้เช่นกันแต่การกำหนดให้โจทก์ทำงานในวันศุกร์และวันเสาร์โดยที่ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์โจทก์มีภาระที่อื่นประจำอยู่แล้วจึงไม่ถูกต้องตามสภาพการจ้างเดิมและก่อภาระหน้าที่ให้แก่โจทก์จำเลยต้องให้โจทก์ทำงานเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281-2282/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน และดอกเบี้ย
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 49 นั้น หมายถึงการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควร มิได้หมายความว่าถ้านายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้กระทำผิดแล้วจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่จำเลยให้การว่าจำเลยประสบปัญหาเรื่องการเงินและขาดเงินทุนดำเนินการ จำเลยจึงปรับปรุงกิจการโดยยุบเลิกตำแหน่งและหน่วยงานซึ่งโจทก์ดำรงอยู่และไม่สามารถจัดหาตำแหน่งอื่นทดแทนแก่โจทก์ได้คำให้การของจำเลยดังนี้ แสดงเหตุของการเลิกจ้างไว้โดยชัดแจ้ง หาใช่คำให้การ ที่ไม่มีประเด็นไม่
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมว่าจำเลยเลิกจ้างโดยอ้างว่ายุบเลิกตำแหน่งและหน่วยงานที่โจทก์ดำรงอยู่ ซึ่งไม่เป็นความจริงและหาได้กล่าวอ้างถึงเหตุอื่นไม่ ฉะนั้นโจทก์จะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากเหตุที่กล่าวในฟ้องมาเป็นข้ออุทธรณ์หาได้ไม่ เพราะมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ใช่หนี้เงินซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้าง ดังนั้นนายจ้างจะผิดนัดต่อเมื่อลูกจ้างทวงถามเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง ส่วนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 45 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ต้องทวงถาม เมื่อจำเลยไม่จ่าย จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้าง
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมว่าจำเลยเลิกจ้างโดยอ้างว่ายุบเลิกตำแหน่งและหน่วยงานที่โจทก์ดำรงอยู่ ซึ่งไม่เป็นความจริงและหาได้กล่าวอ้างถึงเหตุอื่นไม่ ฉะนั้นโจทก์จะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากเหตุที่กล่าวในฟ้องมาเป็นข้ออุทธรณ์หาได้ไม่ เพราะมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ใช่หนี้เงินซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้าง ดังนั้นนายจ้างจะผิดนัดต่อเมื่อลูกจ้างทวงถามเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง ส่วนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 45 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ต้องทวงถาม เมื่อจำเลยไม่จ่าย จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษซ้ำซ้อนทางวินัย การเตือนด้วยวาจาไม่ใช่คำเตือนเป็นหนังสือ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
เอกสารที่เป็นแต่เพียงคำรับสารภาพของลูกจ้างว่าได้กระทำผิดอย่างใดมาแล้วโดยมีบันทึกแสดงเป็นหลักฐานว่าได้มีการตักเตือนด้วยวาจาจากผู้บังคับบัญชาด้วยเท่านั้นไม่ใช่คำเตือนเป็นหนังสือตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(3) เมื่อการตักเตือนด้วยวาจาเป็นโทษทางวินัยอย่างหนึ่งตามระเบียบของนายจ้างดังนั้นการที่ลูกจ้างกระทำผิดและนายจ้างลงโทษโดยการเตือนด้วยวาจาไปแล้วนายจ้างก็จะยกเอาการกระทำเดียวกันนี้มาลงโทษเลิกจ้างลูกจ้างอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลใช้เกณฑ์โบนัส/ส่วนแบ่งกำไรคำนวณค่าเสียหายได้ แม้ลูกจ้างไม่มีสิทธิโดยตรง
แม้ศาลจะวินิจฉัยว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องโบนัสและส่วนแบ่งกำไรเมื่อถูกเลิกจ้างก็ตาม แต่เมื่อการเลิกจ้างนั้นเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลย่อมมีอำนาจที่จะนำโบนัสและส่วนแบ่งกำไรมาเป็นเกณฑ์คำนวณค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 49 ได้