พบผลลัพธ์ทั้งหมด 598 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5319/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้บัตรเครดิต: เริ่มนับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้อง ไม่ใช่วันเลิกสัญญา
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด (มหาชน) ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ จำเลยเป็นลูกค้าโจทก์ ตามบัตรเครดิต 2 ประเภท คือ เพื่อซื้อสินค้าและชำระราคาค่าบริการต่าง ๆ แทนเงินสดประเภทหนึ่ง กับใช้เบิกเงินสดจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน หรือธนวัฎบัตรเครดิตอีกประเภทหนึ่ง การให้บริการบัตรเครดิตเป็นวัตถุประสงค์ ของโจทก์ การที่โจทก์ให้บริการใช้บัตรเครดิตแก่สมาชิกโดยเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกไปก่อน รวมทั้งการที่โจทก์ยอมให้จำเลยนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลัง เป็นการเรียกเอาค่าทดรองที่ได้ออกไปก่อน กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) โจทก์แจ้งให้จำเลยงดใช้บัตรเครดิตตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 และมีการแจ้งชำระหนี้ครั้งสุดท้าย ก่อนวันดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงอาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่ต้นปี 2535 มิใช่นับแต่วันที่คำบอกกล่าวเลิกสัญญา มีผล โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 9 สิงหาคม 2539 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงดอกเบี้ยในสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสาระสำคัญของสัญญา หากผิดนัดจำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาได้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้ระบุข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยไว้ในข้อ 2.2 ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท เมื่อเช็คฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายนไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ จำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญามาครั้งหนึ่งแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยถือเอาข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายด้วย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวซึ่งเป็นเช็คชำระดอกเบี้ยในงวดที่ 2โจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2121/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้าหลังเลิกสัญญา การจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ถือเป็นการละเมิด
โจทก์ให้สิทธิจำเลยประกอบการสถานีบริการน้ำมันภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ซึ่งมีข้อผูกพันที่จำเลยต้องซื้อเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์เท่านั้นเพื่อนำไปขาย โดยมีการกำหนดราคาซื้อขายกันไว้อันมีลักษณะที่เป็นประโยชน์ทางด้านการตลาดของโจทก์ด้วย ต่อมาจำเลยเลิกสัญญาดังกล่าวกับโจทก์โดยตกลงว่าจำเลยไม่มีสิทธิดำเนินกิจการสถานบริการน้ำมันภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์อีกต่อไปแล้ว แต่หลังจากนั้น จำเลยกลับจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์อีกโดยไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันที่จำเลยตกลงกับโจทก์เมื่อมีการเลิกสัญญาดังกล่าวดังนี้ เป็นการปฏิบัติผิดข้อตกลงกับโจทก์และเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหายจากการไม่คืนทรัพย์, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหลายงวดติดต่อกัน โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบแล้ว จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่าได้ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ทุกงวดไม่เคยผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาก่อน สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน ฎีกาของจำเลยที่ 1 เรื่องนี้ไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่จะรับวินิจฉัย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ย่อมมีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 , 392 และ 369 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโดยยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม โจทก์รับว่า จำเลยที่ 1 นำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่โจทก์อีกบางส่วน ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องพึงชดใช้ให้แก่โจทก์ด้วย และค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงให้คำพิพากษามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ย่อมมีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 , 392 และ 369 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโดยยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม โจทก์รับว่า จำเลยที่ 1 นำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่โจทก์อีกบางส่วน ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องพึงชดใช้ให้แก่โจทก์ด้วย และค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงให้คำพิพากษามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: ข้อกำหนดชำระค่าเช่าค้างก่อนเลิกสัญญาเป็นเบี้ยปรับ ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดได้
ข้อกำหนดตามสัญญาเช่าซื้อที่ว่า ถ้าสัญญาต้องเลิกกันผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของ จนถึงวันที่เจ้าของได้รับรถยนต์คืนหรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อนั้น เป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 574 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิใช่บทบัญญัติอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา 379 ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้เหมาะสมได้เองตามมาตรา 383 วรรคหนึ่งไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด, การหักกลบลบหนี้จากเงินฝากจำนำ, และดอกเบี้ยที่ไม่ทบต้น
สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันใดโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไปเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
หนังสือทวงถามมีข้อความชัดเจนว่า ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ ได้รับหนังสือ หากจำเลยไม่ชำระหนี้ก็ให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันเลิกกันจำเลยได้รับหนังสือวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2536 กำหนดเวลาชำระหนี้วันสุดท้ายเป็นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2536 เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในวันดังกล่าวสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเลิกกันตั้งแต่วันพ้นกำหนด
สัญญาจำนำสิทธิการรับเงินฝากทำขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้สิทธิแก่โจทก์ในการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระก็มิได้หมายความว่าโจทก์จะใช้สิทธินี้ตามอำเภอใจเมื่อใดก็ได้ จึงต้องนำเงินตามบัญชีเงินฝากประจำมาหักจากยอดหนี้ ณ วันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกัน โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินคงเหลือแบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ครบถ้วน
หนังสือทวงถามมีข้อความชัดเจนว่า ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ ได้รับหนังสือ หากจำเลยไม่ชำระหนี้ก็ให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันเลิกกันจำเลยได้รับหนังสือวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2536 กำหนดเวลาชำระหนี้วันสุดท้ายเป็นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2536 เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในวันดังกล่าวสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเลิกกันตั้งแต่วันพ้นกำหนด
สัญญาจำนำสิทธิการรับเงินฝากทำขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้สิทธิแก่โจทก์ในการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระก็มิได้หมายความว่าโจทก์จะใช้สิทธินี้ตามอำเภอใจเมื่อใดก็ได้ จึงต้องนำเงินตามบัญชีเงินฝากประจำมาหักจากยอดหนี้ ณ วันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกัน โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินคงเหลือแบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ครบถ้วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในค่าเสียหายและราคาขาดประโยชน์จากการไม่ส่งมอบรถยนต์
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันนับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม และมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 และตามมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดจากการเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 อันเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์ตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อยังครอบครองรถยนต์อยู่ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย
ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยให้ผู้ค้ำประกันชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ แต่วินิจฉัยว่าที่ศาลชั้นต้นฟังว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อมีราคาแท้จริงเท่าใด และกำหนดให้ผู้ค้ำประกันใช้ราคาแทนตามจำนวนดังกล่าวหากผู้ค้ำประกันไม่สามารถส่งมอบรถยนต์คืนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบและเหมาะสมแล้ว ผู้ค้ำประกันมิได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าราคารถยนต์ที่ศาลอุทธรณ์ให้ผู้ค้ำประกันชดใช้แทนในกรณีที่ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์คืนสูงเกินไปหรือไม่ ถูกต้องอย่างไรแต่กลับฎีกาว่าผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เพราะหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อระงับไป ดังนี้ฎีกาของผู้ค้ำประกันมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
สัญญาเช่าซื้อมิได้ระบุถึงการสิ้นสุดของสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อจึงสิ้นสุดลงเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและให้ผู้ค้ำประกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน หากไม่สามารถส่งมอบคืนให้ใช้ราคาแทน เป็นเรื่องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ใช้สิทธิในฐานะลูกหนี้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เรียกเอารถยนต์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิยึดครอบครองรถยนต์ของลูกหนี้ ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาในการใช้สิทธิเช่นนี้ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายความได้สิทธิ ส่วนค่าเสียหายอันเกิดจากการที่ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3
ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยให้ผู้ค้ำประกันชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ แต่วินิจฉัยว่าที่ศาลชั้นต้นฟังว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อมีราคาแท้จริงเท่าใด และกำหนดให้ผู้ค้ำประกันใช้ราคาแทนตามจำนวนดังกล่าวหากผู้ค้ำประกันไม่สามารถส่งมอบรถยนต์คืนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบและเหมาะสมแล้ว ผู้ค้ำประกันมิได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าราคารถยนต์ที่ศาลอุทธรณ์ให้ผู้ค้ำประกันชดใช้แทนในกรณีที่ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์คืนสูงเกินไปหรือไม่ ถูกต้องอย่างไรแต่กลับฎีกาว่าผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เพราะหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อระงับไป ดังนี้ฎีกาของผู้ค้ำประกันมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
สัญญาเช่าซื้อมิได้ระบุถึงการสิ้นสุดของสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อจึงสิ้นสุดลงเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและให้ผู้ค้ำประกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน หากไม่สามารถส่งมอบคืนให้ใช้ราคาแทน เป็นเรื่องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ใช้สิทธิในฐานะลูกหนี้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เรียกเอารถยนต์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิยึดครอบครองรถยนต์ของลูกหนี้ ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาในการใช้สิทธิเช่นนี้ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายความได้สิทธิ ส่วนค่าเสียหายอันเกิดจากการที่ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7945/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาเงินกู้: การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา, ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกัน
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีตราสำคัญของโจทก์ประทับเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็น ซึ่งจำเลยทั้งสี่เพิ่งยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง อุทธรณ์ข้อนี้จึงมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
โจทก์จำเลยทำสัญญาตกลงอัตราดอกเบี้ยไว้ชัดเจนและไม่ต้องห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งโจทก์เป็นสถาบันการเงินได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีที่พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ และตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดแล้ว ก็ต้องผูกพันตามนั้น
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่ากำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาทบเป็นต้นเงินได้ และสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญา หรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันระบุว่าจำเลยที่ 1 ใช้เช็คถอนเงินสดครั้งสุดท้ายวันที่ 6 มีนาคม 2535 จำนวน850,000 บาท แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่หักทอนบัญชีคิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระในแต่ละเดือน โดยมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31มีนาคม 2535 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สูงกว่าวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีมาก ทั้งตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันก็ระบุว่า ห้ามผ่านเช็ค ซึ่งแสดงว่าโจทก์ระงับการจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่าย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะเลิกการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือน สัญญาจึงเลิกกันในวันที่ 31 มีนาคม 2535
โจทก์จำเลยทำสัญญาตกลงอัตราดอกเบี้ยไว้ชัดเจนและไม่ต้องห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งโจทก์เป็นสถาบันการเงินได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีที่พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ และตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดแล้ว ก็ต้องผูกพันตามนั้น
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่ากำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาทบเป็นต้นเงินได้ และสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญา หรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันระบุว่าจำเลยที่ 1 ใช้เช็คถอนเงินสดครั้งสุดท้ายวันที่ 6 มีนาคม 2535 จำนวน850,000 บาท แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่หักทอนบัญชีคิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระในแต่ละเดือน โดยมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31มีนาคม 2535 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สูงกว่าวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีมาก ทั้งตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันก็ระบุว่า ห้ามผ่านเช็ค ซึ่งแสดงว่าโจทก์ระงับการจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่าย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะเลิกการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือน สัญญาจึงเลิกกันในวันที่ 31 มีนาคม 2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7236/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกห้างหุ้นส่วนสามัญโดยเจตนาของคู่สัญญา ทำให้สิทธิในที่ดินระงับ โอนขายได้โดยชอบ
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อร่วมกันสร้างอาคารพาณิชย์ขายแบ่งผลกำไรกัน โดยโจทก์ลงหุ้นเป็นเงินค่าก่อสร้างจำเลยลงหุ้นเป็นที่ดิน ต่อมาจำเลยขายฝากที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ ระหว่างสัญญาจำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกห้างหุ้นส่วนกับโจทก์ โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความแจ้งให้จำเลยไถ่ถอนการขายฝากที่ดินที่นำมาขายฝากไว้กับโจทก์และให้จำเลยชำระเงินค่าก่อสร้างอาคารพาณิชย์ที่โจทก์ได้ใช้ไปให้แก่โจทก์ อันเป็นการแสดงเจตนาสนองรับการบอกเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญของจำเลยแล้วโดยปริยาย สัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจึงเลิกกัน โดยชอบ กรณีมิใช่การขอเลิกห้างหุ้นส่วนโดยบทบัญญัติของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1056
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว ข้อตกลงตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นอันระงับไม่มีผลบังคับอีกต่อไป ทั้งได้มีการตกลงกันให้จำเลยชำระเงินที่ได้ใช้ไป อันเป็นการตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นภายหลัง เลิกห้างหุ้นส่วนในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน แสดงว่าคู่สัญญาไม่ได้ถือว่าที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของ ห้างหุ้นส่วนสามัญอีกต่อไป โจทก์กับจำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้กันในที่ดินดังกล่าว อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับเอาแก่ที่ดินของจำเลยได้ จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวจึงมีสิทธิโอนขายที่ดิน ดังกล่าวได้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการฉ้อฉลต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนที่ดินดังกล่าว
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว ข้อตกลงตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นอันระงับไม่มีผลบังคับอีกต่อไป ทั้งได้มีการตกลงกันให้จำเลยชำระเงินที่ได้ใช้ไป อันเป็นการตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นภายหลัง เลิกห้างหุ้นส่วนในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน แสดงว่าคู่สัญญาไม่ได้ถือว่าที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของ ห้างหุ้นส่วนสามัญอีกต่อไป โจทก์กับจำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้กันในที่ดินดังกล่าว อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับเอาแก่ที่ดินของจำเลยได้ จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวจึงมีสิทธิโอนขายที่ดิน ดังกล่าวได้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการฉ้อฉลต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7236/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกห้างหุ้นส่วนสามัญโดยเจตนาของคู่สัญญา ผลกระทบต่อการโอนทรัพย์สิน
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือสัญญาร่วมลงทุนขึ้นเพื่อร่วมกันสร้างอาคารพาณิชย์ขายแบ่งผลกำไรกันเป็นสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญระหว่างสัญญาจำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกห้างหุ้นส่วนกับโจทก์ โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความแจ้งให้จำเลยไถ่ถอนการขายฝากที่ดินที่นำมาขายฝากไว้กับโจทก์และให้จำเลยชำระเงินค่าก่อสร้างอาคารพาณิชย์ที่โจทก์ได้ใช้ไปให้แก่โจทก์อันเป็นการแสดงเจตนาสนองรับการบอกเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญของจำเลยแล้วโดยปริยาย สัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันโดยเจตนาของคู่สัญญา มีผลให้ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันโดยชอบ กรณีมิใช่การขอเลิกห้างหุ้นส่วนโดยบทบัญญัติของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1056
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว ข้อตกลงตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นอันระงับไม่มีผลบังคับอีกต่อไป ทั้งได้มีการตกลงกันให้จำเลยชำระเงินที่โจทก์ได้ใช้ไป อันเป็นการตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นภายหลังเลิกห้างหุ้นส่วนในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน แสดงว่าคู่สัญญาไม่ได้ถือว่าที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญอีกต่อไป โจทก์กับจำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้กันในที่ดินดังกล่าว อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับเอาแก่ที่ดินของจำเลยได้ จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวจึงมีสิทธิโอนขายที่ดินดังกล่าวได้การกระทำของจำเลยไม่เป็นการฉ้อฉลต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนที่ดินดังกล่าว
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว ข้อตกลงตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นอันระงับไม่มีผลบังคับอีกต่อไป ทั้งได้มีการตกลงกันให้จำเลยชำระเงินที่โจทก์ได้ใช้ไป อันเป็นการตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นภายหลังเลิกห้างหุ้นส่วนในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน แสดงว่าคู่สัญญาไม่ได้ถือว่าที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญอีกต่อไป โจทก์กับจำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้กันในที่ดินดังกล่าว อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับเอาแก่ที่ดินของจำเลยได้ จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวจึงมีสิทธิโอนขายที่ดินดังกล่าวได้การกระทำของจำเลยไม่เป็นการฉ้อฉลต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนที่ดินดังกล่าว