คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกห้างหุ้นส่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชำระบัญชีเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม ผู้รับมรดกไม่ต้องเป็นหุ้นส่วนแทน
การเป็นหุ้นส่วนกันนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนนั้น ๆ เอง ห้างหุ้นส่วนย่อมเลิกกันเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตาย ผู้รับมรดกก็ดีหรือผู้จัดการมรดกของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ตายจะยืนยันถือสิทธิ์โดยลำพังเข้าไปเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตายต่อไปนั้นไม่ได้ และนัยที่ตรงข้ามผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นจะฟ้องขอให้บังคับให้ผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกเช่นว่านั้นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตายต่อไปก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน ผู้จัดการมรดกและผู้รับมรดกจะต้องเข้ามาแทนที่ของหุ้นส่วนผู้ตายเพื่อการชำระบัญชี หลักกฎหมายในเรื่องการที่ต้องเข้ามาแทนที่เพื่อการชำระบัญชีเป็นคนละเรื่องกับการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตาย
โจทก์เป็นหุ้นส่วนกับผู้ตาย จำเลยซึ่งเป็นผู้รับมรดกและผู้จัดการมรดกของผู้ตายปฏิเสธไม่ยอมคิดบัญชี โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยได้
โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีจัดการชำระบัญชีของหุ้นส่วนตามกฎหมายลอย ๆ เช่นนี้เป็นการเพียงพอแล้ว คำขอท้ายฟ้องของโจทก์เช่นว่านี้ ไม่ขัดต่อ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 172 และการที่ศาลแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชี ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องเกินคำขอแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนเมื่อหุ้นส่วนเสียชีวิต และสิทธิในการชำระบัญชี
การเป็นหุ้นส่วนกันนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นๆ เอง ห้างหุ้นส่วนย่อมเลิกกันเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตายผู้รับมรดกก็ดีหรือผู้จัดการมรดกของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ตายจะยืนยันถือสิทธิ์โดยลำพังเข้าไปเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตายต่อไปนั้นไม่ได้ และนัยที่ตรงข้ามผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นจะฟ้องขอให้บังคับให้ผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกเช่นว่านั้นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตายต่อไปก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนผู้จัดการมรดกและผู้รับมรดกจะต้องเข้ามาแทนที่ของหุ้นส่วนผู้ตายเพื่อการชำระบัญชีหลักกฎหมายในเรื่องการที่ต้องเข้ามาแทนที่เพื่อการชำระบัญชีเป็นคนละเรื่องกับการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตาย
โจทก์เป็นหุ้นส่วนกับผู้ตายจำเลยซึ่งเป็นผู้รับมรดกและผู้จัดการมรดกของผู้ตายปฏิเสธไม่ยอมคิดบัญชี โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยได้
โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีจัดการชำระบัญชีของหุ้นส่วนตามกฎหมายลอยๆ เช่นนี้เป็นการเพียงพอแล้วคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เช่นว่านี้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา172 และการที่ศาลแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีก็ไม่ใช่เป็นเรื่องเกินคำขอแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ - การบอกปัด/ถอดถอนผู้ชำระบัญชี
ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนมีความประสงค์จะเลิกกิจการจึงได้ตั้งผู้ชำระบัญชีขึ้น ถ้าผู้ชำระบัญชีได้ลงมติในเรื่องทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนไปประการใด และหุ้นส่วนไม่เห็นด้วยก็ชอบที่จะบอกปัดหรือถอดถอนผู้ชำระบัญชีเสียกรณีเพียงเท่านี้ยังไม่พอถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิถึงขนาดจะต้องเสนอคดีต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกห้างหุ้นส่วน: การบอกปัด/ถอดถอนผู้ชำระบัญชีเป็นทางเลือกก่อนฟ้อง
ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนมีความประสงค์จะเลิกกิจการจึงได้ตั้งผู้ชำระบัญชีขึ้น ถ้าผู้ชำระบัญชีได้ลงมติในเรื่องทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนไปประการใด และหุ้นส่วนไม่เห็นด้วยก็ชอบที่จะบอกปัดหรือถอดถอนผู้ชำระบัญชีเสียกรณีเพียงเท่านี้ยังไม่พอถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิถึงขนาดจะต้องเสนอคดีต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดกับการฎีกาคดี ห้างหุ้นส่วนยังคงมีสิทธิฎีกาได้ แม้จะเลิกไปแล้ว
จำเลยเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วจำเลยได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน ดังนี้จำเลยย่อมจะต่อสู้คดีจนถึงที่สุดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเลิกห้างหุ้นส่วนและการกำหนดอำนาจศาล คดีเลิกหุ้นส่วนไม่จำต้องฟ้องทุกหุ้นส่วน ศาลมีอำนาจตามภูมิลำเนาของจำเลยบางส่วน
การที่ผู้เป็นหุ้นส่วนฟ้องเลิกหุ้นส่วนนั้น ไม่จำต้องฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน เพราะผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นอาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์หรือจำเลยได้ ไม่มีทางเสียเปรียบหรือเสียหายแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ทั้งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติบังคับให้ต้องฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนด้วย
การฟ้องขอเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนนั้น แม้ทรัพย์สินที่พิพาทจะอยู่ที่จังหวัดพังงา และจำเลยคนหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดภูเก็ต แต่เมื่อจำเลยอื่นมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดพระนครแล้ว ศาลก็ย่อมมีอำนาจที่จะใช้ดุลยพินิจอนุญาตให้โจทก์ฟ้องยังศาลในพระนครได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนโดยความตกลงของผู้เป็นหุ้นส่วน ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรม
เหตุเลิกหุ้นส่วนตามมาตรา 1055 นั้นเป็นเหตุเลิกห้างหุ้นส่วนอันมิใช่โดยความตกลงของผู้เป็นหุ้นส่วน
การที่ผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันเลิกห้างหุ้นส่วน ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือขัดต่อศีลธรรมอย่างไร ผู้เป็นหุ้นส่วนจึงตกลงกันเลิกห้างหุ้นส่วนต่อกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนโดยความตกลงเป็นไปได้ แม้มีเหตุเลิกตามกฎหมาย
เหตุเลิกหุ้นส่วนตามมาตรา 1055 นั้นเป็นเหตุเลิกห้างหุ้นส่วนอันมิใช่โดยความตกลงของผู้เป็นหุ้นส่วน
การที่ผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันเลิกห้างหุ้นส่วน ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือขัดต่อศีลธรรมอย่างไร ผู้เป็นหุ้นส่วนจึงตกลงกันเลิกห้างหุ้นส่วนต่อกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญที่เลิกแล้ว โอนหุ้นได้โดยไม่ต้องยินยอม ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องคดีอาญาได้
ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนมีมติให้เลิก ความเป็นหุ้นส่วนก็สิ้นสุดลง จะนำมาตรา 1249 - 1040 มาใช้บังคับมิได้ และผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมโอนหุ้นของตนได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนคนอื่น ผู้รับโอนหุ้นมาย่อมเป็นผู้เสียหายในทางอาญาได้
คดีอาญาที่อยู่ในชั้นพิจารณาอำนาจฟ้อง แม้ศาลจะเห็นว่าฟ้องบางข้อไม่ผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์อ้าง แต่ยังมีขอ้หาฐานอื่นอยู่ด้วย และคดีจะต้องพิจารณาพิพากษาต่อไป ศาลไม่ควรด่วนวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีความผิด
ทนายความที่ได้รับมอบอำนาจจากตัวความให้ใช้สิทธิอุทธรณ์, ฎีกาได้ ย่อมมีอำนาจลงชื่อในอุทธรณ์แทนตัวความได้
(อ้างฎีกา 1243/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชำระบัญชีโดยความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วน การวินิจฉัยศาลจำกัดเฉพาะประเด็นทางกฎหมาย
ห้างหุ้นส่วนสามัญตั้งขึ้นไม่มีกำหนดกาล เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งมีหนังสือมาบอกกล่าวเลิกห้างหุ้นส่วนพร้อมกับเสนอระบุชื่อผู้ชำระบัญชีไปด้วย ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นก็มิได้คัดค้านประการใดยังกลับตอบรับเห็นชอบและยอมตั้งผู้ชำระบัญชีผู้ที่ระบุไปนั้นด้วย เป็นแต่กำหนดเงื่อนไขไว้บางประการเท่านั้นดังนี้นับว่าการเลิกห้างหุ้นส่วนและจัดการชำระบัญชีได้กระทำไปแล้ว ตามกฎหมาย แต่การชำระบัญชีในเรื่องทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจะถูกต้องหรือไม่ย่อมเป็นประเด็นหนึ่งต่างหาก ฉะนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นจะมาฟ้องศาลขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนนั้น และตั้งผู้ชำระบัญชีจัดการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนี้อีกไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและตั้งผู้ชำระบัญชีใหม่และยังมีคำขออีกมากมายท้ายฟ้อง แต่ตั้งรูปคดีมาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ เพราะเสียค่าขึ้นศาลเพียง 15 บาท ดังนี้ศาลควรวินิจฉัยเพียงว่าการเลิกห้างหุ้นส่วน และการชำระบัญชีเป็นไปตาม ก.ม.หรือไม่เท่านั้น ส่วนทรัพย์ในห้างหุ้นส่วนจะมีเท่าใดเป็นส่วนของใครเท่าใดไม่ควรวินิจฉัยให้
of 8