คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เวนคืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 555 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3197/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดราคาเวนคืนที่ดิน: ความล่าช้าของจำเลยทำให้ต้องใช้ราคาในปัจจุบันเพื่อความเป็นธรรม
จำเลยเพิ่งมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินหลังจากมีพระราชกฤษฎีกาตามฟ้องออกมาแล้วกว่า 16 ปี นับว่าล่าช้าเกินสมควรไปมากจนผิดปกติ ต้องถือว่าเป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่เร่งดำเนินการเวนคืนให้แล้วเสร็จภายในเวลาอันควร ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ จากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาตามฟ้องในปี 2517 มาเป็นปี 2531 ก่อนวันที่จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 23 สิงหาคม 2533 แจ้งให้โจทก์ไปรับค่าทดแทนที่ดินประมาณ 2 ปี จึงชอบตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและความมุ่งหมายของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ที่ต้องการให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3197/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: พิจารณาจากราคาตลาด ณ เวลาที่แจ้งเวนคืน และความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน
แม้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มดำเนินการโดยอาศัยพระราชกฤษฎีกา กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ - แขวงลาดยาวฯ และต่อมาที่ดินพิพาทของโจทก์ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2526 แต่ในเมื่อจำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืน จนกระทั่งต่อมามีพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ออกมาใช้บังคับ ดังนั้น การดำเนินการเวนคืนที่ดินพิพาทซึ่งยังค้างคาไม่เสร็จสิ้นอยู่นั้น หากมีการดำเนินการอย่างใดที่จะต้องกระทำต่อไปในเรื่องนี้ก็จะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 36 วรรคสอง การพิจารณาว่าโจทก์ควรได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเท่าใดจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 23 สิงหาคม 2533 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินหลังจากมีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ - แขวงลาดยาวฯ ออกมาแล้วกว่า 16 ปี นับว่าล่าช้าเกินสมควรไปมากจนผิดปกติ ต้องถือว่าเป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่เร่งดำเนินการเวนคืนให้แล้วเสร็จภายในเวลาอันสมควร ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงไม่สมควรจะนำราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ซึ่งผ่านพ้นไปกว่า 16 ปี มาคำนึงศาลอุทธรณ์เปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ จากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาตามฟ้องในปี 2517 มาเป็นปี 2531 ก่อนวันที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินประมาณ 2 ปีนั้น ชอบตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินต่ำกว่าราคาตลาดเมื่อผู้ถูกเวนคืนได้ที่ดินมาภายใน 5 ปี และไม่ได้ใช้ประโยชน์ที่ดิน
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาก่อนการเวนคืนภายในระยะเวลา 5 ปี ในราคาเฉลี่ยตารางวาละ 2,383.50 บาท โดยโจทก์มิได้ใช้ที่ดินพิพาทอยู่อาศัยหรือใช้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพหรือทำประโยชน์ที่ดินพิพาทอย่างแท้จริง เข้ากรณีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 22 ที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ดินพิพาทในขณะที่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมา ทั้งที่ดินพิพาทอยู่ในทำเลที่ห่างไกล แม้จะอยู่ติดถนนสาธารณะและถมดินไว้แล้ว แต่จากสภาพความเจริญของท้องถิ่นในระยะเวลาที่ผ่านไป 5 ปี ไม่น่าจะทำให้ที่ดินพิพาทมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวได้ ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น ฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตารางวาละ 6,000 บาท เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การประเมินค่าทดแทนที่ดินโดยพิจารณาจากราคาที่ซื้อขายจริงและสภาพการใช้ประโยชน์
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาก่อนการเวนคืนภายในระยะเวลา 5 ปี ในราคาเฉลี่ยตารางวาละ 2,383.50 บาท โดยโจทก์มิได้ใช้ที่ดินพิพาทอยู่อาศัยหรือใช้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพหรือทำประโยชน์ที่ดินพิพาทอย่างแท้จริง เข้ากรณีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 22 ที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ดินพิพาทในขณะที่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมา ทั้งที่ดินพิพาทอยู่ในทำเลที่ห่างไกล แม้จะอยู่ติดถนนสาธารณะและถมดินไว้แล้ว แต่จากสภาพความเจริญของท้องถิ่นในระยะเวลาที่ผ่านไป 5 ปี ไม่น่าจะทำให้ที่ดินพิพาทมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวได้ ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตารางวาละ 6,000 บาท เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนเวนคืน: รั้วลวดหนามรื้อถอนและติดตั้งใหม่ได้ง่าย ไม่ถือเป็นการสร้างใหม่ จึงคิดเฉพาะค่ารื้อถอน ขนย้าย
รั้วลวดหนามของโจทก์ต้องรื้อถอนเฉพาะส่วนที่อยู่ในเขตเวนคืนเป็นความยาว160 เมตร โจทก์เพียงแต่จ้างคนงานมารื้อถอน ขนย้ายเสาไปปักตามแนวเขตใหม่แล้วขนย้ายลวดหนามที่ม้วนเก็บได้นำไปยึดติดกับเสาเหล่านั้นเท่านั้น วัสดุที่ใช้เป็นวัสดุเดิมขนย้ายไปใกล้ ๆ และคนงานก็คงไม่ต้องใช้มาก เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างรั้วลวดหนามจำนวน 22,253.78 บาท ที่กำหนดให้มากเพียงพอแล้ว จะคิดราคาเป็นตารางเมตรเหมือนกับสร้างขึ้นมาใหม่ไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18(5) บัญญัติไว้ว่า "พึงกำหนดให้เฉพาะค่ารื้อถอนค่าขนย้าย และค่าปลูกสร้างใหม่เท่านั้น"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเวนคืน, การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทน, และหน้าที่วางเงินค่าทดแทน
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์อีก 146,400 บาท เมื่อรวมกับดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องแล้วไม่เกิน 200,000 บาท จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ควรได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของจำเลยจึงไม่เกิน 200,000 บาท ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองเพิ่มเงินค่าทดแทนโดยปราศจากพยานหลักฐานในเรื่องราคาที่ดินของโจทก์ จึงไม่ถูกต้องเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีฯวินิจฉัยเพิ่มให้เป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมชอบด้วยกฎหมายตามความหมายของมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
กรมทางหลวงจำเลยที่ 2 เป็นกรมในสังกัดกระทรวงคมนาคม จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ก่อสร้างและดูแลทางหลวงแผ่นดิน การสร้างทางหลวงแผ่นดินเป็นงานราชการภายใต้การบริหารของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้สั่งการและรับผิดชอบ โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ดังนั้น การใดที่อธิบดีกรมทางหลวงกระทำไปในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนย่อมเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 โดยมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และการดำเนินการเพื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์อยู่ในวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ยังไม่พอใจเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมวินิจฉัยเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เพียงบางส่วนไม่เต็มตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นอีกได้
คำว่า วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม หมายถึงวันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่กันในครั้งแรกซึ่งผ่านไปก่อนการฟ้องคดีแล้ว มิใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อโจทก์กับฝ่ายจำเลยไม่ได้ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2538 แต่โจทก์ไม่ไปรับ ฝ่ายจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสองประกอบมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าฝ่ายจำเลยต้องนำเงินไปวางในวันถัดจากวันที่24 กุมภาพันธ์ 2538 คือ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2538

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน พิจารณาจากที่ดินที่เหลืออยู่และราคาตลาด
การพิจารณาว่าที่ดินแปลงใดมีที่ดินเหลือจากการเวนคืนหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ดินแปลงนั้นที่มีอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ หาได้มีความหมายเลยไปถึงที่ดินของโจทก์แปลงอื่นที่อยู่ข้างเคียงซึ่งมิได้ถูกเวนคืนด้วยเลยกลายเป็นที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังแลกเปลี่ยน-เวนคืน แม้สัญญาโมฆะ แต่สิทธิครอบครองยังคงอยู่
การที่โจทก์จำเลยต่างมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกันครอบครองโดยเด็ดขาด เมื่อจำเลยโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และแม้การแลกเปลี่ยนที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจะตกเป็นโมฆะ เพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 ประกอบมาตรา 519 ก็ตาม แต่เมื่อต่างฝ่ายต่างได้สละการครอบครองและส่งมอบที่ดินให้อีกฝ่ายยึดถือครอบครองแล้วเช่นนี้ โจทก์และจำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินส่วนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 มาตรา 1377 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1378
แม้ที่ดินพิพาทจะถูกเวนคืนไปแล้ว และโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินและโอนเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนให้แก่โจทก์ เนื่องจากสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็เห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินส่วนดังกล่าวในขณะที่ที่ดินถูกเวนคืน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการรับเงินค่าทดแทนจากทางราชการซึ่งไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เพราะเป็นสิทธิอย่างเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6775/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน ต้องพิจารณาหลายปัจจัยประกอบกัน เพื่อความเป็นธรรมทั้งผู้ถูกเวนคืนและสังคม
การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้มีสิทธิจะได้รับเงินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ประกอบกับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น พร้อมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนรวม 5 ข้อ ประกอบกัน มิใช่พิจารณาข้อใดข้อหนึ่งแต่เพียงข้อเดียวเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งผู้ถูกเวนคืนและสังคม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทนตามราคาตลาดในวันพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ และผลกระทบจากการดำเนินการที่ล่าช้า
จำเลยที่ 1 เป็นกระทรวงในรัฐบาลและมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 4 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้นเป็นผู้แทน ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นกรมในสังกัดของจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมทางหลวงในขณะนั้นเป็นผู้แทน จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีอำนาจหน้าที่ในการจัดให้มีทางหลวงรวมทั้งมีหน้าที่ดำเนินการสำรวจที่ดินเพื่อเวนคืนสำหรับสร้างทางหลวงอันเป็นสิ่งสาธารณูปโภค ดังนั้น การเวนคืนที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงเพื่อให้ได้ที่ดินมาใช้สร้างทางหลวงแผ่นดิน ย่อมเป็นกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยตรง นอกจากนี้ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2515 ซึ่งบัญญัติให้เวนคืนที่ดิน จำเลยที่ 2 ยังกำหนดให้จำเลยที่ 3เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และกำหนดให้จำเลยที่ 4เป็นผู้รักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ออกประกาศแจ้งการเวนคืนและให้ความเห็นชอบกับการกำหนดเงินค่าทดแทนของคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ อันเป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ส่วนจำเลยที่ 4 มีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กำหนดให้ แต่จำเลยที่ 4มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 4เพื่อให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ใหม่ให้เหมาะสม โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 และที่ 4 ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ได้
คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ทราบและไม่พอใจในค่าทดแทนนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ทันทีโดยไม่จำต้องรอให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนก่อน กำหนดเวลายื่นอุทธรณ์การกำหนดเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 25 วรรคหนึ่งเป็นกำหนดเวลาสิ้นสุดแห่งการใช้สิทธิอุทธรณ์ ไม่ใช่กำหนดเวลาเริ่มต้นให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ โจทก์จึงชอบที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้แม้เป็นเวลาก่อนที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนก็ตาม
หลังจากที่มีการเวนคืนที่ดินพิพาทแล้วได้มีการโอนสิทธิในที่ดินไปยังโจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาตรา 16 วรรคท้าย และเมื่อไม่มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดบัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ การพิจารณาว่าโจทก์ควรได้รับเงินค่าทดแทนเท่าใดจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯที่บัญญัติให้กำหนดโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา จะถือเอาราคาภายหลังจากที่มีการสร้างทางแล้วเสร็จมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาไม่ได้เพราะเมื่อมีการสร้างทางหลวงแผ่นดินเสร็จสมบูรณ์แล้วย่อมทำให้สภาพของที่ดินในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงจากในขณะเริ่มต้นดำเนินการเวนคืนและมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมมาก อย่างไรก็ดี การที่ฝ่ายจำเลยเพิ่งนำเงินค่าทดแทนที่ดินไปฝากไว้ที่ธนาคารออมสินเมื่อวันที่ 22เมษายน 2536 ภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายธนบุรี-สมุทรสาคร-สมุทรสงคราม-ปากท่อฯ มีผลใช้บังคับแล้วถึงเกือบสามสิบปีเป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในเวลาอันควรเป็นการดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ล่าช้าไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นที่เห็นได้อยู่ในตัวว่าการกระทำดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินพิพาท ดังนั้น การที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามในราคาตารางวาละ 10 บาท โดยใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(3) เพียงประการเดียว ซึ่งใช้ฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 10กรกฎาคม 2508 ย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ แต่อย่างไรก็ตามสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนมีเพียงเท่ากับเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมกรณีนี้ฝ่ายจำเลยเพิ่งกลับมามีหนังสือลงวันที่ 1 มิถุนายน 2535ขอให้ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเขตทางหลวงหลักเกณฑ์ที่จะนำมาคำนึงในการกำหนดเงินค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมต้องเปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์จากวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับมาเป็นกลางปี 2533 อันเป็นช่วงเวลาก่อนที่ฝ่ายจำเลยจะมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเขตทางหลวงประมาณ 2 ปีซึ่งเทียบเคียงกับระยะเวลาที่ควรต้องใช้ในกรณีปกติที่มีการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์
of 56