คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เสน่หา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินโดยเสน่หา: กรรมสิทธิ์และการฟ้องขอคืน
ที่ดินยกให้โดยเสน่หาประมวล กฎหมายแพ่งแลพาณิชย์ใช้ได้เพียงไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14860/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์เพื่อการล้มละลาย: การสันนิษฐานการฉ้อฉลและการยกให้โดยเสน่หา
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ถ้านิติกรรมที่ขอเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 นั้น เกิดขึ้นภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น หรือเป็นการทำให้โดยเสน่หาหรือเป็นการที่ลูกหนี้ได้รับค่าตอบแทนน้อยเกินสมควร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่ลูกหนี้และผู้ที่ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ จำเลยเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ตามคำพิพากษา ของศาลแพ่ง โดยก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาบังคับคดีแพ่งและก่อนโจทก์นำมูลหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย จำเลยได้จดทะเบียนการให้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านบุตรของจำเลย การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทดังกล่าวเป็นนิติกรรมที่กระทำภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายและเป็นการทำให้โดยเสน่หา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่ลูกหนี้จำเลยและผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ต้องเสียเปรียบ จำเลยและผู้คัดค้านมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวตามมาตรา 114
การที่ผู้คัดค้านเป็นบุตรซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับจำเลยกล่าวอ้างว่า ก่อนรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทได้นำเงินมาชำระหนี้เจ้าหนี้อื่นแทนจำเลยมารดาของตนเพื่อปลดภาระจำนอง แสดงว่าผู้คัดค้านย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้เจ้าหนี้ได้และจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่บุตรชำระหนี้แทนมารดาเป็นหน้าที่ทางศีลธรรมประการหนึ่ง ไม่มีสิทธิได้รับคืนทรัพย์แต่ประการใด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 408 (3) นิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านจึงเป็นการยกให้โดยเสน่หาตามที่ระบุไว้ในสารบัญจดทะเบียน มิอาจรับฟังเป็นอื่นได้ ทั้งในชั้นพิจารณาทนายผู้คัดค้านแถลงไม่ติดใจนำพยานเข้าไต่สวน จึงไม่มีข้อเท็จจริงใดนำมาหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ การที่จำเลยทำนิติกรรมยกกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านบุตรของจำเลยโดยเสน่หาในขณะที่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยไม่เพียงพอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ พฤติการณ์ฟังได้ว่า จำเลยและผู้คัดค้านรู้อยู่ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทดังกล่าวเป็นทางให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เสียเปรียบอันเป็นการกระทำโดยการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10451/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินโดยเสน่หาเป็นสินสมรส การให้โดยเสน่หาต้องสมควรแก่ฐานานุรูปครอบครัว และการจำนองโดยผู้รับยก
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ พ. และได้ที่ดินพิพาทมาเมื่อปี 2520 อันเป็นเวลาภายหลังที่บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับแล้ว ที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นสินบริคณห์แต่เป็นสินสมรสตามบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1476 (5)
พ. มีทรัพย์สินเป็นที่ดินราคาเป็นหมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับที่ดินพิพาททั้งสามแปลงที่ยกให้แก่จำเลยที่ 1 บุตรของ พ. กับภริยาคนก่อนซึ่งมีราคาเพียงเล็กน้อย ทั้ง พ. ก็เคยยกที่ดินให้แก่บุตรทั้งสามคนที่เกิดกับโจทก์ การยกที่ดินพิพาททั้งสามแปลงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการยกให้แก่บุตรทุกคนอย่างเสมอกันตามกำลังทรัพย์ของผู้ยกให้ จึงเป็นการยกให้โดยเสน่หาที่พอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวหรือตามหน้าที่ธรรมจรรยาตามมาตรา 1476 (5) แม้โจทก์จะไม่ให้ความยินยอมก็ฟ้องเพิกถอนการให้โดยเสน่หาระหว่าง พ. กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10451/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินโดยเสน่หาหลังสมรส: สินสมรส, การยกให้บุตร, ความยินยอม, ผลสมบูรณ์
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ พ. ซึ่งได้ที่ดินพิพาทมาเมื่อปี 2520 อันเป็นเวลาภายหลังที่บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับแล้ว ที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นสินบริคณห์ แต่เป็นสินสมรสตามบทบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมา
พ. มีทรัพย์สินเป็นที่ดินราคาเป็นหมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับที่ดินพิพาทที่ยกให้แก่จำเลยที่ 1 บุตรของ พ. กับภริยาคนก่อนซึ่งมีราคาเพียงเล็กน้อย ทั้ง พ. ก็เคยยกที่ดินให้แก่บุตรทั้งสามคนที่เกิดกับโจทก์ การยกที่ดินพิพาทดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการยกให้แก่บุตรทุกคนอย่างเสมอกันตามกำลังทรัพย์ของผู้ยกให้ จึงเป็นการให้โดยเสน่หาที่พอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวหรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ตาม มาตรา 1476 (5) แม้โจทก์จะไม่ให้ความยินยอมก็ฟ้องเพิกถอนการให้โดยเสน่หาระหว่าง พ. กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14934/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนที่ดินที่ทำโดยเสน่หาหลังทำสัญญาซื้อขายก่อนหน้า เพื่อคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้
การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาหลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วมีระยะเวลาห่างกันเพียง 1 เดือนเศษ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เมื่อเป็นการให้โดยเสน่หาจึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทราบหรือไม่ว่าการทำนิติกรรมดังกล่าวเป็นทางทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 และมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 21585 เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 63 ตารางวา จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว 1 ไร่ และต่อมาจดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 2 ทั้งแปลง อันเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จึงต้องเพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองเท่ากับจำนวนเนื้อที่ตามที่จำเลยที่ 1 ขายให้โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองโดยไม่ระบุเนื้อที่เท่ากับเป็นการเพิกถอนการโอนทั้งแปลงย่อมเป็นการมิชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4481/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ: การโอนทรัพย์สินโดยเสน่หาให้บิดา ไม่ถือเป็นการขายเพื่อหากำไร
การวินิจฉัยปัญหาว่าโจทก์ทั้งสี่อุทธรณ์คัดค้านการประเมินหรือเพียงแต่อุทธรณ์เนื้อหาของหนังสือตอบข้อหารือของโจทก์ทั้งสี่ ศาลจะต้องรับฟังเจตนาและพฤติการณ์ของโจทก์ทั้งสี่และจำเลยว่า ยอมรับคำอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่เป็นการอุทธรณ์การประเมินที่ถูกต้องแล้วหรือไม่เพื่อประกอบการตีความเนื้อหาของเอกสารดังกล่าว อุทธรณ์ข้อนี้เป็นปัญหาข้อเท็จจริงนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงถือว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริง แม้จำเลยจะให้การไว้ แต่เมื่อศาลภาษีอากรกลางชี้สองสถาน โดยไม่กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและจำเลยไม่คัดค้านใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลภาษีอากรกลางชี้สองสถาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสาม ถือว่าสละประเด็นดังกล่าว ทั้งศาลภาษีไม่ได้วินิจฉัย ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัย
การโอนที่ดินให้บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายโดยไม่มีค่าตอบแทน แม้ทำภายใน 5 ปี นับแต่ได้มาถือเป็นการขายก็ตาม แต่ไม่ใช่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ทั้งสี่จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามการประเมิน และแม้จากการตรวจสอบจะพบว่าโจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เคยชำระภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น ก็ไม่เป็นเหตุให้การโอนที่ดินดังกล่าวเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4475/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สิ่งมีค่าภาระติดพัน ไม่มีสิทธิถอนคืนการให้แม้สัญญาจะระบุเป็นการให้โดยเสน่หา
โจทก์กับจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลย เป็นการตอบแทนที่จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทที่โจทก์เป็นหนี้ธนาคารอยู่ อันเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. มาตรา 535 (2) แม้หนังสือสัญญาให้ที่ดินระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลให้เห็นว่าการให้ตามสัญญาให้ที่ดินเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันได้ เพราะเป็นการฟ้องถอนคืนการให้ ไม่ใช่ฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาให้ จึงไม่ใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร อันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
of 6