คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุสุดวิสัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7143/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัย อุบัติเหตุทางรถยนต์ และความรับผิดชอบทางกฎหมาย
ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แซงรถโดยสารประจำทางที่จำเลยขับห่าง 1 เมตรเศษ แล้วรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับได้เสียหลักล้มลงรถยนต์โดยสารประจำทางที่จำเลยขับจึงได้แล่นทับผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ การที่รถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับแซงแล้วเสียหลักล้มลงอย่างกะทันหันหน้ารถยนต์โดยสารประจำทางที่จำเลยขับห่าง 1 เมตรเศษ เป็นระยะกระชั้นชิดจนเหลือวิสัยที่จำเลยจะหยุดรถได้ทัน กรณีเป็นเหตุสุดวิสัยที่บุคคลในภาวะเช่นจำเลยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงมิใช่เกิดจากความประมาทของจำเลย
หลังเกิดเหตุแล้วจำเลยหลบหนีไปโดยไม่ได้แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง จำเลยจะอ้างว่าไม่มีเจตนาไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทันทีเพราะไปแจ้งให้เจ้าของรถทราบเหตุหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7066/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยต้องมีจริง ผู้ถูกกล่าวหาต้องขวนขวายติดตามคดีด้วยตนเอง
ที่จำเลยอ้างว่า ได้มอบคดีและค่าทนายความให้ อ.ทนายความดำเนินการยื่นอุทธรณ์ให้แล้ว แต่ อ.มิได้ ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดและไม่แจ้งให้จำเลยทราบ ทั้งจำเลยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้านคดี แต่จำเลยจบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีวุฒิภาวะพอที่จะเข้าใจได้ว่าผลของการคำพิพากษากระทบต่อเสรีภาพของตน จำเลยน่าจะต้องขวนขวายติดตามคดีเพื่อรักษาสิทธิและประโยชน์ของตนแต่กลับมิได้ใส่ใจหรือขวนขวาย ทั้งข้ออ้างว่า รู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้านคดีความ ก็มิใช่เหตุที่ยกขึ้นอ้างได้ และการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์พ้นกำหนดก็เป็นข้อผิดพลาดบกพร่องของทนายความ มิใช่เหตุสุดวิสัยจึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์ – การขยายเวลา และการยื่นคำร้องต่อศาลอื่น
จำเลยได้รับอนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 28 กันยายน 2541 จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนี้ภายในวันที่ 28 กันยายน 2541 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 หากไม่อาจยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลชั้นต้นได้โดยเหตุสุดวิสัย จำเลยจะยื่นอุทธรณ์โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลซึ่งตนอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 10 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ทนายจำเลยได้รับมอบหมายจากจำเลยให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดลพบุรี) และทนายจำเลยได้ ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไป 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาขอขยายวันที่ 29 กันยายน 2541 แต่ศาลชั้นต้น ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีนี้ไปเพียงวันที่ 28 กันยายน 2541 ซึ่งในวันที่ 28 กันยายน 2541 ทนายจำเลยไปดูที่เกิดเหตุคดีอื่นภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา เวลาประมาณ 8 นาฬิกา ปรากฏว่ารถยนต์ของทนายจำเลยขับไปชนก้อนหินขนาดใหญ่ เป็นเหตุให้ก้นถังน้ำมันเครื่องแตก ช่างไม่สามารถทำการซ่อมให้เสร็จในวันเดียวกันหรือหากเสร็จก็จะเป็นเวลาเย็น เป็นเหตุให้ทนายจำเลยกลับมายื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดลพบุรีไม่ทัน ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็นศาลที่ทนายจำเลยอยู่ภายในเขตศาล เนื่องจากทนายจำเลยไปคนเดียวและรถยนต์ ของทนายจำเลยมีราคาประมาณสองล้านบาทและไม่รู้จักกับเจ้าของอู่ซ่อมรถ จึงไม่อาจทิ้งรถยนต์ไว้ที่อู่ซ่อมรถ เมื่อมีเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจที่จะกลับไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดลพบุรี) ได้ทัน ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อันเป็นเหตุสุดวิสัย ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทนายจำเลยอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 10 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์ – อุบัติเหตุทางรถยนต์ทำให้ไม่สามารถยื่นภายในกำหนดได้ ศาลอนุญาตให้ยื่นต่อศาลในเขตที่อยู่
ทนายจำเลยไปดูที่เกิดเหตุคดีอื่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา เวลา 8 นาฬิกา รถยนต์ที่ทนายจำเลยขับไปกระทบก้อนหิน ทำให้ก้นถังน้ำมันเครื่องแตกไม่สามารถซ่อมให้เสร็จในวันที่ครบกำหนดอุทธรณ์หรือหากเสร็จก็จะเป็นเวลาเย็น การที่ทนายจำเลยไปคนเดียวและรถของทนายจำเลยมีราคาสองล้านบาท ทั้งไม่รู้จักกับเจ้าของอู่ซ่อมรถจึงไม่อาจทิ้งรถไว้ได้ ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อันเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทนายจำเลยไม่อาจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดลพบุรีซึ่งเป็นศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้ ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอยื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทนายจำเลยอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต้องพิจารณาเจตนาและเหตุสุดวิสัยของผู้ประกันตน
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์เป็นคำสั่งในหน่วยงานของสำนักงานประกันสังคมจำเลย ทั้งพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ. 2533 มาตรา 87 วรรคท้าย ก็บัญญัติอีกว่า ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยดังกล่าวให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ ดังนี้ เมื่อจำเลยแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีเจตนารมณ์เพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างและบุคคลอื่น บทบัญญัติใดที่กำหนดเงื่อนไขให้บุคคลดังกล่าวต้องสิ้นสิทธิจึงต้องตีความอย่างเคร่งครัดว่าต้องเป็นกรณีกระทำโดยเจตนาเท่านั้น ดังนั้น บทบัญญัติ มาตรา 41(4)ที่ให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน จึงหมายถึงกรณีที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบโดยจงใจและไม่มีพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบ เมื่อโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าบริษัทนายจ้างยกเลิกการส่งเงินสมทบแทนโจทก์ และโจทก์ไม่ได้จงใจไม่ส่งเงินสมทบทั้งไม่มีพฤติการณ์ซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชอบ ความเป็นผู้ประกันตนของโจทก์จึงยังไม่สิ้นสุดลงตามมาตรา 41(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางค่าธรรมเนียมฎีกาไม่ทันกำหนด และเหตุผลที่ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ศาลฎีกายกคำสั่งรับฎีกา
ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอฎีกาอย่างคนอนาถาและกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาวางศาลภายในวันที่ 11 กรกฎาคม จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 13 กรกฎาคม ขออนุญาตวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาอ้างว่าเป็นช่วงเปิดเทอมซึ่งบุตรของจำเลยต้องใช้เงินมาก จำเลยติดต่อยืมเงินจากเพื่อนแล้ว แต่เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่ได้รับเงินตามที่ยืม จำเลยจึงเดินทางไปหาพี่ชายแต่พี่ชายไปทำงานต่างอำเภอ วันรุ่งขึ้นจึงพบและได้เงินมารวมกับเงินที่จำเลยมีอยู่แล้วนำมาวางศาล ดังนี้ เป็นกรณีที่ จำเลยไม่ขวนขวายหาเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาเสียแต่เนิ่น ๆ หาใช่เหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาให้แก่จำเลยได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาตามคำร้องจึงมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณา จึงเห็นควรให้ยกคำสั่งอนุญาตของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(2) และมาตรา 247 กรณีเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 142(5) ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาจึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและประกันตามคำสั่งศาล การไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดและการขาดเหตุสุดวิสัย
จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นภายในวันที่ 21 มีนาคม 2544แต่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในวันที่ 11 เมษายน 2544 โดยจำเลยแสดงไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด โดยเฉพาะใบสำคัญความเห็นแพทย์ท้ายคำร้องก็ระบุว่าพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลถึงวันที่ 18 มีนาคม 2544 เท่านั้นดังนั้น กรณีจึงไม่มีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยต้องทำให้ไม่อาจยื่นคำขอขยายได้ทัน ไม่ใช่จากความบกพร่องภายใน
การที่โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาเป็นเหตุให้ไม่อาจ ทำอุทธรณ์ยื่นได้ภายในกำหนด ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แต่ต้องยื่นขอก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนด โจทก์เพิกเฉยมิได้ยื่นคำขอขยายระยะเวลา เสียก่อนสิ้นระยะเวลาโดยอ้างว่าเข้าใจผิดอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อในการตรวจดูคำสั่งศาลชั้นต้นของเสมียนทนายโจทก์ เหตุดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องความบกพร่องภายในของโจทก์เอง ยังไม่อาจถือได้ว่า เป็นเหตุสุดวิสัยตามความหมายของมาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6921/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมอุทธรณ์: เหตุผลพิเศษและเหตุสุดวิสัยที่ใช้ได้ตามกฎหมาย
คำร้องของจำเลยขอให้กำหนดเวลาให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์เป็นเรื่องการขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ย่อมเป็นผลสืบเนื่องมาจากการยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินของจำเลย หากศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินก็จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไม่ได้ การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาวางเงิน จำเลยชอบที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 หากศาลอุทธรณ์ขยายระยะเวลาวางเงินให้แก่จำเลย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยย่อมเป็นอันตกไปเนื่องจากจำเลยยังสามารถวางเงินได้อีกจึงไม่ใช่กรณีอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ศาลอุทธรณ์จึงต้องวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยว่าสามารถขยายระยะเวลาวางเงินให้จำเลยหรือไม่ แล้วมีคำพิพากษาไปตามรูปคดี การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไปในกรณีอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินไปถึงวันที่ 17 มีนาคมการที่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินอีกครั้งในวันที่ 21 เมษายนจึงเป็นการขอขยายระยะเวลาภายหลังจากระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้สิ้นไปแล้ว ในกรณีเช่นนี้จะขยายระยะเวลาให้จำเลยได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัย แต่ตามคำร้องของจำเลยอ้างว่าทนายจำเลยคนเดิมมิได้แจ้งให้ทนายจำเลยคนใหม่ทราบถึงเรื่องที่ยังไม่ได้วางเงิน ซึ่งเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง จึงไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาวางเงินให้จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4968-5050/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นวิสัยของการชำระหนี้จากเหตุสุดวิสัยทางการเงินของลูกหนี้ และผลกระทบต่อสัญญาซื้อขายหุ้น
ในวันที่โจทก์ทั้งแปดสิบสามถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้างนั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะนำหุ้นในส่วนที่เหลือของโจทก์ทั้งแปดสิบสามออกขายให้แก่บุคคลอื่นตามเงื่อนไขในบันทึกเสนอขายหุ้นแล้ว เนื่องจากถูกกระทรวงการคลังมีคำสั่งห้ามมิให้ทำธุรกรรมทางการเงินหรือค้าหลักทรัพย์อีกต่อไป ถือได้ว่าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งมีภาระหรือมีหนี้ที่จะต้องนำหุ้นออกขายให้แก่บุคคลอื่นดังกล่าวกลายเป็นคนไม่สามารถชำระหนี้ได้ ถือเสมือนว่าเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ จำเลยที่ 1 จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้และถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ผิดข้อตกลงหรือยกเลิกเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่ระบุในบันทึกการเสนอขายหุ้นโดยพลการ จำเลยทั้งสองไม่ต้องชำระค่าหุ้น ค่าเสียหายและดอกเบี้ยแก่โจทก์ดังกล่าว
of 52