คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เอกสารปลอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 368 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7093/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงศาลด้วยเอกสารราคาประเมินที่ดินปลอมเพื่อขอประกันตัว มีลักษณะร้ายแรงและไม่สมควรให้รอการลงโทษ
ผู้ถูกกล่าวหาทราบดีอยู่แล้วว่า หนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินไม่ถูกต้อง เพราะราคาประเมินที่ดินสูงเกินความเป็นจริง การที่ผู้ถูกกล่าวหานำหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวมาใช้ยื่นขอประกันตัวจำเลยต่อศาล ย่อมเป็นการหลอกลวงศาลให้หลงเชื่อถึงความถูกต้องของหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินนั้นพฤติการณ์ดังกล่าวมีลักษณะร้ายแรง กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษให้ผู้ถูกกล่าวหา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7093/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอมเพื่อประกันตัว ถือเป็นการหลอกลวงศาลและเป็นภัยต่อกระบวนการยุติธรรม
ผู้ถูกกล่าวหานำที่ดินมาเป็นหลักประกันในการขอประกันตัวจำเลย พร้อมทั้งแสดงหนังสือรับรองราคาประเมินของสำนักงานที่ดินอันเป็นเอกสารปลอมเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาเคยยื่นคำร้องขอใบประเมินราคาที่สำนักงานที่ดินมาแล้วครั้งหนึ่งต่อมามีผู้ชักชวนให้ผู้ถูกกล่าวหานำที่ดินแปลงดังกล่าวมาประกันตัวจำเลยในคดีนี้อีก โดยบอกว่ารู้จักเจ้าพนักงานที่ดินสามารถทำให้ราคาประเมินที่ดินสูงขึ้นได้โดยเสียค่าธรรมเนียม 1,500 บาท ย่อมแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่า ผู้ถูกล่าวหาทราบดีอยู่แล้วว่าหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินฉบับนี้ไม่ถูกต้อง เพราะราคาประเมินที่ดินสูงเกินความเป็นจริง การที่ผู้ถูกกล่าวหานำหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินฉบับที่ไม่ถูกต้องมาใช้ยื่นขอประกันตัวจำเลยต่อศาลย่อมเป็นการหลอกลวงศาลให้ลงเชื่อถึงความถูกต้องของหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินนั้น พฤติการณ์ดังกล่าวจึงมีลักษณะร้ายแรง นับว่าเป็นภัยต่อกระบวนการยุติธรรมอันเป็นช่องทางให้จำเลยที่ได้รับการประกันตัวไปอาจหลบหนี้ได้ อีกทั้งเมื่อนายประกันผิดสัญญาประกันต่อศาล การบังคับคดีกับที่ดินแปลงที่เอาประกันอาจได้เงินไม่เพียงพอที่จะชำระตามสัญญาประกันอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการศาลได้แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรและมารดาที่แก่ชราก็ตาม ก็ไม่มีเหตุสมควรที่จะลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษให้ผู้ถูกกล่าวหา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงและใช้เอกสารปลอม: พฤติการณ์ร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายโดยใช้เอกสารสิทธิปลอมเป็นหลักประกัน
การที่จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินทั้งเข้าร่วม ลงชื่อเป็นพยานยิ่งกว่าผู้เป็นนายหน้าหาเงินกู้ทั่วไปจะ พึงกระทำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยรู้ว่า น.ส.3 ก. ที่อ. นำมาให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นเอกสารปลอม และนอกจากการกู้ยืมเงิน รายนี้แล้วบุคคลที่จำเลยพามากู้ยืมเงินจากผู้เสียหายล้วนแต่ ใช้ น.ส.3 ก. ปลอมวางเป็นหลักประกันทั้งสิ้น ทั้งเมื่อ ผู้เสียหายมอบเงินให้แล้ว จำเลยน. และอ. ช่วยกันนับเงินและแบ่งใส่กระเป๋าแต่ละคนแล้วพูดกันว่ายืมเงินกันใช้ก่อน ครั้นเมื่อ อ. ไม่ชำระเงินคืน ผู้เสียหายบอกจำเลยให้ช่วยติดต่อจำเลยบอกว่าอย่าเพิ่งแจ้งความจะนำเงินมาชำระให้ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมกับพวกแบ่งหน้าที่กัน ทำโดยนำ น.ส.3 ก. ปลอมไปวางเป็นหลักประกันเงินกู้และแจ้ง ข้อความอันเป็นเท็จแก่ผู้เสียหายว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง เพื่อให้ได้เงินจากผู้เสียหายไปพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกง และใช้เอกสารสิทธิอันเป็น เอกสารราชการปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ปลอมไม่กระทบสิทธิการเรียกร้องตามจำนวนเงินที่กู้จริง
จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจากโจทก์30,000 บาท ต่อมาโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญาเป็น60,000 บาท โดยไม่เป็นความจริงแล้วโจทก์นำสัญญานั้นมาฟ้อง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่า สัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ กู้ยืมเงินโจทก์ 30,000 บาท เป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยต้องรับผิด แม้ภายหลังโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้น จึงทำให้สัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทเป็นเอกสารปลอม ก็ไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินที่ทำไว้แต่เดิมและมีผลสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไป ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามจำนวนเงินเท่าที่จำเลยกู้ไปจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน กรณีใช้เอกสารปลอมและการปลอมแปลงเอกสารประเภทต่างๆ
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์เพื่อโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยในการกระทำอันเป็นความผิดของจำเลยว่าเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยให้การรับสารภาพในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบและเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าไม่จำเป็นต้องส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัย ในปัญหานี้ไปเสียเลย
การที่จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจตรวจดูหลักฐานเพราะมีพฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัยเนื่องจากแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่ทะเบียนที่ทางราชการออกให้ โดยตรวจพบว่าแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้น การกระทำของจำเลยทั้งหมดคือ การปลอมใช้และอ้างแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอม แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอมเป็นความผิดกรรมเดียวเพราะเป็นเอกสารและหลักฐานที่ติดอยู่ที่รถยนต์คันเดียวกันและตามฟ้องของโจทก์ก็ปรากฏว่าจำเลยแสดงเอกสารดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานตำรวจในเวลาเดียวกัน ซึ่งตามพฤติการณ์เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็นรถยนต์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยในจึงเป็นกรรมเดียวตาม ป.อ.มาตรา 90
สำหรับข้อหาใช้หรืออ้างแผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอม ใช้หรืออ้างใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอม และใช้หรืออ้างใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ปลอม แม้ตามฟ้องจะปรากฏว่าจำเลยได้แสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทกันโดยเจตนาของการปลอม การใช้และอ้างซึ่งเอกสารดังกล่าวมีเจตนาก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ การใช้หรืออ้างแผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535จริง การใช้หรืออ้างใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าจำเลยที่ 1มีความสามารถขับรถยนต์ได้ซึ่งทางราชการได้ออกใบอนุญาตให้แก่จำเลยแล้วและการใช้หรืออ้างใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนดังกล่าวได้ ซึ่งทางราชการได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 มีและใช้อาวุธปืนดังกล่าวแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1ส่วนนี้จึงเป็นคนละกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91
แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมิใช่เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงมิใช่เอกสารราชการการปลอมและใช้แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจึงเป็นเพียงความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา264 วรรคแรก การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ.มาตรา 268โดยไม่ได้ระบุบทมาตราประกอบ และไม่ได้ระบุวรรคในความผิดอื่น ๆ ให้ครบถ้วนถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์เอกสารปลอมและผลต่อการกู้ยืมเงิน สัญญาที่ไม่สมบูรณ์ทำให้สิทธิเรียกร้องตกไป
เมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้ว โจทก์แถลง ขอส่งสัญญากู้เงินเอกสารฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจตรวจพิสูจน์ว่าข้อความหมึกสีดำกับข้อความหมึกสีน้ำเงิน เป็นลายมือของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต พันตำรวจโทก. ผู้เชี่ยวชาญ ของ ศาล ได้ ตรวจ พิจารณา แล้ว ลงความเห็นว่า ไม่ใช่ ลายมือ ของ บุคคล คนเดียวกัน การ ที่ ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ มี การ ตรวจ พิสูจน์ เอกสาร โดย ผู้เชี่ยวชาญ ตาม ความประสงค์ ของ โจทก์ และ ผู้เชี่ยวชาญ ของ ศาล ได้ ตรวจ และ ทำ ความเห็น โดย ละเอียด ชัดแจ้ง แล้ว เพียงแต่ ผู้เชี่ยวชาญ แสดงความเห็น ไม่ สม ความประสงค์ ของ โจทก์ ย่อม ไม่ เป็น เหตุ พอ ที่ จะ ให้ ผู้เชี่ยวชาญ อื่น ตรวจ พิสูจน์ เอกสาร อีก เพราะ เป็น การ ตรวจ พิสูจน์ ซ้ำ ไม่มี ผล เปลี่ยนแปลง จาก เดิม เป็นการฟุ่มเฟือย และ ประวิง คดี ให้ ล่าช้า จึงชอบ ที่ ศาล จะ มี คำสั่งยกคำร้อง ของ โจทก์ ที่ ขอ ให้ ส่ง เอกสาร ไปให้ ผู้เชี่ยวชาญ อื่นตรวจ พิสูจน์ ใหม่ ดังกล่าว จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อ ในสัญญากู้ฉบับพิพาทในช่องผู้กู้และเขียนข้อความอื่นซึ่ง เขียนด้วยหมึกสีดำส่วนจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินจำเลยไม่ได้เขียนแต่มีการกรอกข้อความที่ระบุจำนวนเงินเป็น 250,000 บาทกำหนดเวลาใช้คืน และดอกเบี้ย ซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินเพิ่มเติมขึ้นโดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้เงินฉบับพิพาทจึงเป็นเอกสารปลอมถือว่าการกู้ยืมเงินคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์เอกสารและการกู้ยืมเงินที่เป็นเอกสารปลอม ศาลพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
เมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้วโจทก์แถลงขอส่งสัญญากู้เงินเอกสารฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ว่าข้อความหมึกสีดำกับข้อความหมึกสีน้ำเงินเป็นลายมือของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต พันตำรวจโทก. ผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจพิจารณาแล้วลงความเห็นว่า ไม่ใช่ลายมือของบุคคลคนเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้มีการตรวจพิสูจน์เอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญตามความประสงค์ของโจทก์ และผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจและทำความเห็นโดยละเอียดชัดแจ้งแล้ว เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นไม่สมความประสงค์ของโจทก์ ย่อมไม่เป็นเหตุพอที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์เอกสารอีกเพราะเป็นการตรวจพิสูจน์ซ้ำจึงไม่น่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงจากเดิม เป็นการฟุ่มเฟือย และประวิงคดีให้ล่าช้า จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์ใหม่อีก จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อ ในสัญญากู้ฉบับพิพาทในช่องผู้กู้และเขียนข้อความอื่นซึ่งเขียนด้วยหมึกสีดำส่วนจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินจำเลยไม่ได้เขียนแต่มีการกรอกข้อความที่ระบุจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินซึ่งจำนวนเงินเกินไปจากความจริง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้เงินฉบับพิพาทจึงเป็นเอกสารปลอม ถือว่าการกู้ยืมเงินคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารกู้เงินและค้ำประกันปลอม การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และสิทธิในการนำสืบพยานบุคคล
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 30,000 บาท มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน โดยจำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อใน หนังสือสัญญากู้เงินในหนังสือสัญญาค้ำประกันให้โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ ให้โจทก์ไว้การที่โจทก์มากรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินและค้ำประกันในภายหลังผิดไปเกินกว่าความเป็นจริงว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ไป 300,000 บาทโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันโดยไม่ได้รับความยินยอมของจำเลยทั้งสอง สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้โจทก์เพียง 30,000 บาทและได้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ปลอมแปลงเอกสารสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินเป็น 300,000 บาท โดยจำเลยทั้งสองมิได้ยินยอม แม้ตามสัญญาทั้งสองจะระบุจำนวนเงินไว้ 300,000 บาทและสัญญากู้จะระบุว่าได้รับเงินครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วนหรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารสัญญากู้และค้ำประกันที่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงภายหลังโดยไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นเอกสารปลอม สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ มีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกัน โดยจำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญากู้และหนังสือสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไว้โดยไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ ไว้ การที่ต่อมาโจทก์มากรอกข้อความลงในหนังสือสัญญากู้และค้ำประกันให้เกินกว่าความเป็นจริงว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไป300,000 บาท โดยไม่ได้รับความยินยอมของจำเลยทั้งสองสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันรายนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้โจทก์เพียง 30,000 บาทและได้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ปลอมแปลงเอกสารสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินเป็น 300,000 บาทโดยจำเลยทั้งสองมิได้ยินยอม แม้ตามสัญญาทั้งสองจะระบุจำนวนเงินไว้ 300,000 บาท และสัญญากู้จะระบุว่าได้รับเงินครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอมประเภทต่างๆ เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ถูกลักมา มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและเอกสารราชการปลอม
มีคนร้ายลักเอารถยนต์คันของกลางของผู้เสียหายไป ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ดังกล่าวได้จากจำเลย รถที่ยึดได้มีการติดแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีและแผ่นป้ายทะเบียนรถซึ่งเป็นของปลอม รถยนต์ที่จำเลยขับได้ติดเอกสารปลอมทั้งหมดไว้ที่รถในลักษณะเปิดเผยเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจหรือผู้อื่นที่พบเห็นเข้าใจว่าเอกสารปลอมเหล่านั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและเข้าใจว่ารถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นรถที่ถูกคนร้ายลักมาและจำเลยจะนำรถยนต์ของกลางไปขาย ถือได้ว่าเป็นการใช้เอกสารปลอมโดยเจตนา จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม
จำเลยได้ใช้เอกสารคือแผ่นป้ายทะเบียนรถปลอม ใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี พ.ศ. 2540 ปลอม ซึ่งเป็นความผิด ป.อ.มาตรา268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 และใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 สำหรับการใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถปลอมและการใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีพ.ศ. 2540 ปลอม โดยปิดไว้ที่รถยนต์ของกลางคันเดียวกัน โดยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์ของกลางคันที่จำเลยขับได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจำเลยจะใช้รถยนต์โดยชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ส่วนการใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 นั้น แม้จะใช้พร้อมกับแผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกจากกันต่างหากจากความผิดฐานใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอม เป็นความผิดสองกระทง ต้องเรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 91
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยใช้เอกสารปลอมทั้งสามรายการในคราวเดียวกันเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ารถยนต์กระบะของผู้เสียหายที่จำเลยขับไปมีหมายเลขทะเบียนตามที่ระบุในเอกสารปลอมเหล่านั้น จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกัน ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษตาม มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวนั้นเป็นการไม่ชอบแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ให้ลงโทษจำเลยไม่เกินโทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
of 37