คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขคำพิพากษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 365 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9314/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแก้ไขคำพิพากษา ศาลแก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย หากพิพากษาไม่ตรงตามคำฟ้องจำนวนมาก ถือมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระเงิน 2,973,482 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินเพียง 2,927,761 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19ต่อปีของต้นเงิน 2,927,761 บาท และศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระเงินตามจำนวนในคำขอท้ายฟ้อง จึงเท่ากับว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระไม่เต็มตามคำฟ้องของโจทก์ เงินที่ขาดไปไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆเมื่อกรณีไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลชั้นต้นย่อมไม่มีอำนาจแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5373/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษายกฟ้องและการจัดการของกลาง ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้คืนของกลางแก่เจ้าของ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมกับยึดรถจักรยานยนต์ แว่นตา กับหมวกไหมพรมเป็นของกลาง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯกับมีคำขอให้ริบของกลางดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่า พยานหลักฐานของโจทก์มีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) ด้วยการที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นให้คืนรถจักรยานยนต์ แว่นตา และหมวกไหมพรมของกลางแก่เจ้าของ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4515/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายจากการฉ้อโกง และการแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง
จำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ร่วมได้เงิน 700,000 บาท ไป ศาลก็ชอบที่จะสั่งให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินจำนวนนี้คืนให้แก่โจทก์ร่วมเพราะเมื่อร่วมกันกระทำความผิดก็ต้องร่วมกันชดใช้ การสั่งเช่นนี้เป็นการสั่งโดยคำนึงถึงความผิดทางอาญาของจำเลยทั้งสองเป็นสำคัญ ศาลอุทธรณ์จะสั่งยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้โดยคำนึงถึงคดีแพ่งที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 2ระหว่างดำเนินคดีนี้ และเห็นว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้มีการยอมความกันแล้ว หากจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติ โจทก์ร่วมมีสิทธิขอให้บังคับในคดีแพ่งดังกล่าวได้ จึงไม่ถูกต้อง เพราะคดีแพ่งดังกล่าวโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 2 คนเดียว มิได้ฟ้องจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์ยกคำขอของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในการใช้เงินคืน ย่อมทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดไป และข้อเท็จจริงได้ความตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า จำเลยที่ 2 ยังไม่ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่ง ดังกล่าวและมีทรัพย์สินไม่เพียงพอแก่การบังคับคดีด้วย ย่อมไม่เป็นการยุติธรรมต่อโจทก์ร่วม ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในเงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องคืนแก่โจทก์ร่วมตามที่ทางพิจารณาได้ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผิดพลาดในการระบุความยาวทางภารจำยอม ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาตามมาตรา 143
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า ทางพิพาทยาวประมาณ 400 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกของที่ดิน ของจำเลยขนานตลอดแนวยาวจากทางด้านทิศเหนือมาทางด้านทิศใต้บนที่ดินของจำเลย เป็นภารจำยอมและทางจำเป็นของที่ดินโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทั้งที่ความยาวของที่ดินของจำเลยมีความยาวเพียงประมาณ 27 เมตร เท่านั้น คำพิพากษา ของศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้ถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 โดยให้ตัดข้อความที่ว่ายาวประมาณ 400 เมตร ออกจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาคดีแรงงานกรณีจำนวนเงินผิดพลาด การแก้ไขเป็นไปตามเจตนาเดิมของผู้ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 21,500 บาท ในการทำงานตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 โจทก์มีสิทธิ ได้รับค่าจ้างเป็นเงิน 86,000 บาท แต่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้เพียง7,200 บาท ยังคงค้างจ่ายอีกเป็นเงิน 78,800 บาทโจทก์ทวงถามแล้ว จำเลยไม่ยอมจ่าย ดังนี้คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้อย่างชัดแจ้งว่า โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2540เป็นเวลา 4 เดือน รวมเป็นเงิน 86,000 บาท จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แล้ว 7,200 บาท คงค้างอีก 78,800 บาทและเงินจำนวนที่ค้างอยู่นี้โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าได้ทวงถามแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าประสงค์จะได้รับเงินจำนวนดังกล่าว หาใช่ต้องการได้รับเพียงจำนวน 7,880 บาท ตามที่ระบุในคำขอท้ายคำฟ้องไม่เหตุที่คำขอท้ายคำฟ้องระบุจำนวนเงินไว้ 7,880 บาทจึงเกิดจากความพลั้งเผลอเขียนตัวเลขผิดพลาดไป เป็นเหตุให้ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงิน 7,880 บาทผิดพลาดตามไปด้วย อันเป็นกรณีคำพิพากษามีข้อผิดพลาดเล็กน้อยและคู่ความไม่ได้อุทธรณ์ โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นให้ถูกต้องได้โดยแก้ไขจำนวนเงินในคำพิพากษาจาก 7,880 บาทเป็น 78,800 บาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาคดีแรงงาน: ข้อผิดพลาดเล็กน้อยเกี่ยวกับจำนวนเงินค้างจ่าย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ21,500 บาท ในการทำงานตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างเป็นเงิน 86,000 บาทแต่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้เพียง 7,200 บาท ยังคงค้างจ่ายอีกเป็นเงิน78,800 บาท โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมจ่าย ดังนี้คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้อย่างชัดแจ้งว่า โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 เป็นเวลา 4 เดือนรวมเป็นเงิน 86,000 บาทจำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แล้ว 7,200 บาท คงค้างอีก 78,800 บาท และเงินจำนวนที่ค้างอยู่นี้โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าได้ทวงถามแล้วซึ่งแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าประสงค์จะได้รับเงินจำนวนดังกล่าว หาใช่ต้องการได้รับเพียงจำนวน 7,880 บาท ตามที่ระบุในคำขอท้ายคำฟ้องไม่เหตุที่คำขอท้ายคำฟ้องระบุจำนวนเงินไว้7,880 บาท จึงเกิดจากความพลั้งเผลอเขียนตัวเลขผิดพลาดไป เป็นเหตุให้ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงิน 7,880 บาท ผิดพลาดตามไปด้วยอันเป็นกรณีคำพิพากษามีข้อผิดพลาดเล็กน้อย และคู่ความไม่ได้อุทธรณ์โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นให้ถูกต้องไดโดยแก้ไขจำนวนเงินในคำพิพากษาจาก 7,880 บาท เป็น78,800 บาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5883/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในคดีอาญา แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 144, 33และให้ริบเงินสดของกลางที่จำเลยได้ให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้เจ้าพนักงานปล่อยตัวจำเลยไป โดยไม่ต้องนำส่งพนักงานสอบสวน การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186(9) ปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องและพิพากษาให้ริบของกลางได้ ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3633/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน, การหักเงินชำระ, อายุความฟ้อง, และการแก้ไขคำพิพากษาเพื่อความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดที่ดินที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามร่วมกันซื้อมา หากไม่อาจปฏิบัติได้ให้ร่วมกัน ใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลยทั้งสาม แต่จำเลยที่ 1ได้มอบเงิน 1,000,000 บาท เป็นส่วนหนึ่งของค่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินตามฟ้องหากไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออก การที่โจทก์แก้ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์นำเงิน1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ไปหักออกจากค่าที่ดินดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่เงินที่จ่ายเป็นค่าที่ดิน ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ราคาที่ดินพิพาทให้ด้วยนั้น โจทก์จะต้องยื่นฎีกาโดยทำเป็นคำฟ้องขึ้นมาจะขอมาในคำแก้ฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบแต่เป็นความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสามระบุชื่อในที่ดินพิพาทแต่โดยลำพังเอง จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 มาบังคับไม่ได้และการกระทำของจำเลยทั้งสามมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จะนำอายุความละเมิดมาบังคับไม่ได้ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความจำเลยทั้งสามฎีกาเพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องเกินกำหนด 1 ปีแล้วเท่านั้น มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่า ไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าในกรณีที่โอนที่ดินไม่ได้ให้จำเลย ทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออก แต่ในกรณีที่สามารถโอนที่ดิน ให้โจทก์ได้ ศาลอุทธรณ์มิได้นำยอดเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์แล้ว จำนวน 1,000,000 บาท มาหักทอนด้วย กรณีอาจมีผลทำให้โจทก์ ได้รับประโยชน์เกินกว่าสิทธิที่ตนควรได้รับ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ สมควรให้โจทก์คืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ในกรณี ที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาศาลฎีกาเนื่องจากข้อผิดพลาดในการระบุตัวจำเลย
คู่ความที่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1คือ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกาคำพิพากษาศาลฎีกาที่กล่าวถึงจำเลยที่ 2 เป็นเพราะการพิมพ์ผิดพลาด หาใช่ผิดพลาดในเนื้อหาสาระไม่ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดเช่นนี้ให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 190

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีขับไล่ และอำนาจศาลฎีกาในการแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท โดยมิได้ระบุว่าที่ดินพิพาทคือที่ดินตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 987 แต่จำเลยที่ 2 ให้การทำนองว่า ที่ดินพิพาทคือที่ดินตาม น.ส.3 ก.เลขที่ดังกล่าวและทางนำสืบของทั้งสองฝ่ายก็นำสืบรับกัน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทคือที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 987 แล้วพิพากษาขับไล่จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้มีผลทำให้โจทก์ทั้งสองได้ที่ดินน้อยกว่าที่ขอก็ตามและเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งยังได้แก้อุทธรณ์ว่าที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินตาม น.ส.3 ดังกล่าวชอบแล้วการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอและพิพาทแก้ให้ขับไล่จำเลยทั้งสามและบริวารออกจากที่ดินพิพาทย่อมเป็นการไม่ชอบ แม้คู่ความทั้งสองฝ่ายจะมิได้ฎีกาโต้แย้งขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาแก้ให้ขับไล่ออกจากที่ดินตาม น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้
of 37