คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขคำฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง, อำนาจฟ้อง, และผลของการแปรสภาพนิติบุคคลต่อสิทธิหน้าที่เดิม
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์โดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยและมิได้ฟังคำคัดค้านของจำเลยก่อน เป็นการไม่ชอบเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นพิจารณาคดีผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 นั้น แต่จำเลยมิได้ยื่นคำคัดค้านเสียภายในแปดวันนับแต่วันที่จำเลยทราบ จำเลยจึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกาไม่ได้
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อโจทก์ไม่ได้ เพราะเป็นนิติบุคคลคนละคน มิใช่เป็นการแก้ชื่อให้ถูกต้อง แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ไว้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การฟ้องคดีเป็นการใช้สิทธิอย่างหนึ่ง การที่โจทก์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเป็นเพียงเปลี่ยนสภาพตามกฎหมายจากบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ถึงแม้ว่า บริษัทจำกัดเดิมหมดสภาพไปตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 184 แต่บริษัทมหาชนจำกัดที่เกิดจากการแปรสภาพก็ได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของบริษัทจำกัดเดิมทั้งหมดตามมาตรา 185 โจทก์จึงไม่ต้องมอบอำนาจในการฟ้องคดีและแต่งทนายความใหม่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของนิติบุคคล: การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ทำให้ฟ้องคดีเสีย และการแก้ไขคำฟ้องไม่สามารถใช้ได้
โจทก์ฟ้องคดีโดยมอบอำนาจให้ พ. เป็นผู้ดำเนินคดีแทน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ธ. มีอำนาจกระทำการ แทนโจทก์ที่จะลงชื่อมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ การที่ ธ. ลงชื่อมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์ขัดต่อข้อบังคับของโจทก์เรื่องจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ เป็นกรณีโจทก์ในฐานะนิติบุคคลฟ้องคดี โดยผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนได้ ความประสงค์ของโจทก์จึงไม่เป็นการแสดงให้ปรากฏโดยผู้แทนของนิติบุคคล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง
ตามคำให้การจำเลยที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากการมอบอำนาจไม่สมบูรณ์โดยไม่ได้ระบุว่าการมอบอำนาจไม่สมบูรณ์อย่างไร เป็นคำให้การที่ไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คำให้การใน เรื่องนี้จึงไม่มีประเด็น แต่อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ไขจากเดิม พ. ผู้รับมอบอำนาจเป็น ส. ผู้รับมอบอำนาจโดยที่จำเลยไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องได้นั้น เมื่อ ธ. ไม่มีอำนาจลงชื่อมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ พ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์มาแต่แรกฟ้อง ถึงแม้ต่อมาภายหลังโจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีนี้ยื่นเข้ามา ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่เสียมาแต่ต้นแล้วกลับคืนดีเป็นฟ้องที่ยื่นฟ้องและดำเนินคดีโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ขึ้นมาในภายหลังได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องและการพิจารณาคดีเมื่อจำเลยไม่มาศาล ศาลมีอำนาจพิพากษาได้
โจทก์ฟ้องข้อ 1 โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาท แล้วต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่าเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2531 จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ เนื่องจากก่อนทำสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าวจำเลยเป็นหนี้ค่าสินค้าโจทก์อยู่จำนวน 33,000 บาท วันที่2 มีนาคม 2531 จำเลยได้มาขอกู้เงินโจทก์จำนวน 20,000 บาท และได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว รวมกับหนี้ที่จำเลยค้างค่าสินค้าเป็นหนี้ทั้งสิ้น 53,000 บาท เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดว่าหนี้ตามสัญญากู้เงินมีมูลมาจากอะไรบ้าง จึงเป็นการแก้ไขคำฟ้องโดยยังคงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไว้เหมือนเดิม คือจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาท ไม่ใช่เป็นการถอนฟ้องในข้อ 1 เดิมทั้งหมดออกไปแล้วเอาข้อความใหม่เข้าแทน ศาลจึงอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยจำเลยทราบวันนัดโดยชอบแล้วเมื่อจำเลยไม่มาศาลในเวลานัด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา ดังนี้ถือได้ว่าการพิจารณาคดีเป็นอันสิ้นสุดลง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาคดีไปในวันที่มีคำสั่งนั้นได้โดยไม่ต้องแจ้งกำหนดวันเวลานัดฟังคำพิพากษาดังกล่าวให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 133 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องและการพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยไม่ต้องแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องข้อ 1 โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาท แล้วต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่าเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2531 จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ เนื่องจากก่อนทำสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าวจำเลยเป็นหนี้ค่าสินค้าโจทก์อยู่จำนวน 33,000 บาทวันที่ 2 มีนาคม 2531 จำเลยได้มาขอกู้เงินโจทก์จำนวน20,000 บาท และได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว รวมกับหนี้ที่จำเลยค้างค่าสินค้าเป็นหนี้ทั้งสิ้น 53,000 บาท เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดว่าหนี้ตามสัญญากู้เงินมีมูลมาจากอะไรบ้างจึงเป็นการแก้ไขคำฟ้องโดยยังคงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไว้เหมือนเดิม คือจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาทไม่ใช่เป็นการถอนฟ้องในข้อ 1 เดิมทั้งหมดออกไปแล้วเอาข้อความใหม่เข้าแทน ศาลจึงอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยจำเลยทราบวันนัดโดยชอบแล้วเมื่อจำเลยไม่มาศาลในเวลานัด ศาลชั้นต้นจึงมี คำสั่งว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา ดังนี้ถือได้ว่าการพิจารณาคดี เป็นอันสิ้นสุดลง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาคดีไปในวันที่มีคำสั่ง นั้นได้โดยไม่ต้องแจ้งกำหนดวันเวลานัดฟังคำพิพากษาดังกล่าว ให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 133 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังจำเลยให้การแล้ว หากเป็นการฟ้องผิดตัวบุคคล ศาลย่อมไม่รับคำขอแก้ไข
เดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยคือนางประไพพรรณหรือซายิดจันจุมอัมพาหรือนางประไพพรรณอับบาส โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท บุคคลที่ถูกฟ้องดังกล่าวมีเพียงคนเดียวเป็นหญิง มีชื่อ 2 ชื่อ ชื่อสกุล 2 ชื่อ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขหลังจากที่จำเลยยื่นคำให้การต่อศาลแล้วว่า จำเลยมิได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายคือเจ้าของบัญชีร่วมกับจำเลยแม้ศาลชั้นต้นจะยังไม่ได้สั่งรับคำให้การก็ตามแต่ก็ทำให้ ปรากฏว่าผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นผู้อื่นที่ไม่ใช่บุคคลซึ่งมีชื่อตามที่โจทก์ฟ้อง การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่เป็นเพียงการขอแก้ไขชื่อจำเลย แต่เป็นเรื่อง ที่โจทก์ฟ้องผิดคนแล้วขอแก้ไขคำฟ้อง ซึ่งถ้าศาลสั่งอนุญาต จะมีผลเป็นการเปลี่ยนตัวบุคคลซึ่งเป็นจำเลย จากบุคคลหนึ่งเป็นอีกบุคคลหนึ่ง ศาลจึงต้องสั่งยกคำร้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังจำเลยให้การว่าไม่ใช่ผู้ลงลายมือชื่อเช็ค ถือเป็นการฟ้องผิดคน ศาลไม่รับแก้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท บุคคลที่ ถูกฟ้องมีเพียงคนเดียวเป็นหญิง มีชื่อ 2 ชื่อ การที่โจทก์ ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ชื่อจำเลยเป็น นาย ช. เป็นการแก้ทั้งชื่อและเพศของจำเลย ทั้งเป็นการขอแก้ไข หลังจากที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การต่อสู้คดี ว่าจำเลยมิได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทแม้ศาลชั้นต้น จะยังไม่ได้สั่งรับคำให้การก็ตาม แต่ก็ทำให้ปรากฏว่า ผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นผู้อื่นที่ไม่ใช่บุคคล ซึ่งมีชื่อตามที่โจทก์ฟ้อง การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องผิดคนแล้วขอแก้ไขคำฟ้อง ซึ่งถ้าศาลสั่งอนุญาตจะมีผลเป็นการเปลี่ยนตัวบุคคลซึ่งเป็นจำเลยจากบุคคลหนึ่งเป็นอีกบุคคลหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7544/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ และข้อจำกัดการยกปัญหาใหม่ในฎีกา
การที่ศาลจะออกคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 นั้น ต้องมีเหตุสมควรอันจะพึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์เว้นแต่กรณีมีเหตุสุดวิสัยจึงจะมีคำสั่งภายหลังได้ ที่จำเลยที่ 3 อ้างเหตุว่า ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาโดยไม่มีการอ่านและให้จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 8 รับทราบการอ่านภายหลังทั้งที่บุคคลดังกล่าวมิได้รับทราบการอ่านและศาลใช้บทบัญญัติขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540ต้องส่งความเห็นโต้แย้งของจำเลยที่ 3 ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยนั้นถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษและไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะออกคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 ได้ ทั้งมิได้อ้างว่าบทบัญญัติกฎหมายมาตราใดขัดรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีเหตุที่จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 3 แก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์จำเลยที่ 3ไม่อาจยกปัญหาที่ตั้งขึ้นโดยคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ แม้จะขอให้รับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำขอโต้แย้งหรือคำแถลงขอโต้แย้งก็ตาม เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของจำเลยที่ 3 ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6563/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังพ้นกำหนด – เหตุผลที่ไม่สมควร – การทราบราคาหุ้นก่อนยื่นฟ้อง
โจทก์ทราบดีตั้งแต่วันฟ้องตลอดมาว่า หุ้นของบริษัทฟ.มีราคาลดต่ำลงโดยตลอด หาใช่เพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่ตกต่ำลงภายหลังจากที่มีการดำเนินการสืบพยานโจทก์แล้วไม่ โจทก์จึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ตามที่กฎหมายกำหนดแต่กลับมายื่นหลังจากวันสืบพยานมาถึง 8 เดือนเศษโดยอ้างเหตุผลเพียงลอย ๆ ว่าขณะที่ฟ้องยังไม่ทราบราคาหุ้นที่แท้จริงเท่านั้น คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ไม่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นได้ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำฟ้องนอกเหนือจากประเด็นเดิมและไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถรวมการพิจารณาได้
ตามคำฟ้องและคำขอแก้ไขคำฟ้องเดิมของโจทก์ สภาพแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 และบุคคลอื่นเข้าหุ้นกัน มีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอเปิดบัญชีทดรองจ่ายเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสดตามบัญชีทดรองจ่ายเลขที่ 1146555-1 โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมหรือยินยอมชำระหนี้สินแทนทุกประเภทของจำเลยที่ 1 นอกจากนี้สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ยังฟ้องเน้นหนักถึงความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องรับผิดแก่โจทก์โดยการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 และ/หรือจำเลยที่ 3เป็นผู้มีอำนาจสั่งให้โจทก์ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์ตามบัญชีทดรองจ่ายของจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้สั่งให้โจทก์ซื้อหลักทรัพย์ (หุ้น) การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 โดยเพิ่มข้อความว่าระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2535 กับระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม 2535 ถึงวันที่ 24พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 2 ได้สั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นของสามบริษัท ตามบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146888-1 ของจำเลยที่ 2 และเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2535จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 2 โดยค้ำประกันเต็มมูลหนี้และยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ส่วนบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146012-1ของจำเลยที่ 3 นั้น วันที่ 5 พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 3 สั่งซื้อหุ้นโดยมีจำเลยที่ 2ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 3 ดังนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแห่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 นี้จึงไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ตามที่โจทก์ตั้งฟ้องมา และข้อหาของโจทก์ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 จะขอบังคับให้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ต้องร่วมรับผิดไม่ได้ ทั้งมีผลทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของจำเลยที่ 2ที่ 3 ตามบัญชีซื้อขายหุ้นดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญกับจำเลยอื่น ๆเห็นได้ประจักษ์ว่าความเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และความรับผิดเต็มตามมูลหนี้ ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146888-1 ของจำเลยที่ 2 กับหนี้ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146012-1 ของจำเลยที่ 3 เป็นจำนวนหนี้นอกเหนือจากสัญญาขอเปิดบัญชีทดรองจ่ายเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสดที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ข้อความที่ขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2จึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและไม่ใช่การเพิ่มเติมข้อเท็จจริงในฟ้องเดิมให้สมบูรณ์ย่อมไม่อาจรวมการพิจารณาด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำฟ้องนอกเหนือจากฟ้องเดิมไม่สมบูรณ์ ไม่อาจรวมพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179
ตามคำฟ้องและคำขอแก้ไขคำฟ้องเดิมของโจทก์ สภาพแห่งข้อหา คือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 และบุคคลอื่นเข้าหุ้นกัน มีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่จดทะเบียน จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอเปิดบัญชีทดรองจ่ายเงิน เพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสดตามบัญชีทดรองจ่าย เลขที่ 1146555-1 โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นผู้ค้ำประกัน รับผิดร่วมหรือยินยอมชำระหนี้สินแทนทุกประเภทของจำเลยที่ 1 นอกจากนี้สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ยังฟ้องเน้นหนัก ถึงความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องรับผิดแก่โจทก์โดยการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจ ให้จำเลยที่ 2 และ/ หรือจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอำนาจสั่งให้โจทก์ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์ตามบัญชีทดรองจ่ายของจำเลยที่ 1ต่อมาจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้สั่งให้โจทก์ซื้อหลักทรัพย์ (หุ้น) การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2โดยเพิ่มข้อความว่าระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2535 กับระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม 2535 ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 2 ได้สั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นของสามบริษัท ตามบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146888-1 ของจำเลยที่ 2 และเมื่อวันที่ 11กันยายน 2535 จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 2 โดยค้ำประกันเต็มมูลหนี้และยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ส่วนบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146012-1ของจำเลยที่ 3 นั้น วันที่ 5 พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 3สั่งซื้อหุ้นโดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 3 ดังนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแห่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 นี้จึงไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8ตามที่โจทก์ตั้งฟ้องมา และข้อหาของโจทก์ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 จะขอบังคับให้จำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ต้องร่วมรับผิดไม่ได้ ทั้งมีผลทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามบัญชีซื้อขายหุ้นดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญกับจำเลยอื่น ๆ เห็นได้ประจักษ์ว่าความเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และความรับผิดเต็มตามมูลหนี้ในบัญชี ซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146888-1 ของจำเลยที่ 2 กับหนี้ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146012-1 ของจำเลยที่ 3เป็นจำนวนหนี้นอกเหนือจากสัญญาขอเปิดบัญชีทดรองจ่ายเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสดที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ข้อความที่ขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและไม่ใช่การเพิ่มเติมข้อเท็จจริงในฟ้องเดิมให้สมบูรณ์ย่อมไม่อาจรวมการพิจารณาด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179
of 19