พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การเรื่องอายุความ, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, การส่งเอกสารสืบพยาน และดุลพินิจศาล
โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้เงิน 2 ฉบับ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2518ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืน มีจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามสำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง จำเลยทั้งห้ายื่นคำให้การแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2532ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันชี้สองสถาน จำเลยทั้งห้าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพิ่มข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 10 ปีดังนี้ เห็นได้ว่าวันที่โจทก์ยื่นฟ้องและวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ปรากฏอยู่ในฟ้องแล้ว และจำเลยทั้งห้าทราบมาแต่แรกที่ได้รับสำเนาฟ้องแล้วว่าการกู้เงินตามที่กล่าวในฟ้องเป็นการกู้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืน ซึ่งอายุความฟ้องร้องย่อมเริ่มนับทันทีที่โจทก์ให้กู้ไป จึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งห้าอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อเพิ่มเติมข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความได้ก่อนวันชี้สองสถาน แม้จำเลย-ทั้งห้าจะยังไม่ได้รับสำเนาสัญญากู้เงินจากโจทก์ก็ตาม ข้อเท็จจริงที่จำเลยอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความก็ปรากฏอยู่ในคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานแล้วจำเลยทั้งห้าหาจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องจากสำเนาสัญญากู้แต่อย่างใดไม่ทั้งเรื่องที่ขอแก้ไขคำให้การนี้ก็ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่จำเลยทั้งห้ายื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อให้มีข้อต่อสู้เกี่ยวกับอายุความภายหลังวันชี้สองสถาน จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา180 วรรคสอง (เดิม)
ตามฟ้องโจทก์ปรากฏอยู่แล้วว่า โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งห้าตามสัญญากู้เงิน 2 ฉบับ เป็นเงิน 544,600 บาท และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้กู้ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว คงค้างอยู่ในวันคิดบัญชีคือวันที่ 4พฤศจิกายน 2531 เป็นต้นเงิน 164,600 บาท และดอกเบี้ย 150,564.09 บาทดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแจ้งชัดแล้วว่า หนี้ต้นเงินจำนวน 164,600 บาทที่ค้างชำระคิดมาจากยอดหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับดังกล่าว และการกล่าวถึงดอกเบี้ยก็เข้าใจได้อยู่แล้วว่าหมายถึงดอกเบี้ยของต้นเงินที่ค้างชำระอยู่ดังกล่าวโดยนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 นั่นเอง ส่วนรายละเอียดในการคิดบัญชีนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ได้แสดงความจำนงอ้างสัญญากู้เป็นพยานโดยยื่นบัญชีระบุพยานตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคแรกแล้ว แต่ในการสืบพยาน โจทก์มิได้ส่งสำเนาสัญญากู้ดังกล่าวให้จำเลยทั้งห้าก่อนวันสืบพยานอย่างน้อย 3 วัน ดังที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 90 (เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว ก็ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารสัญญากู้ดังกล่าวได้
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งห้าแก้ไขคำให้การในข้อที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นเรื่องอายุความตามที่จำเลยทั้งห้าฎีกาขึ้นมา
ตามฟ้องโจทก์ปรากฏอยู่แล้วว่า โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งห้าตามสัญญากู้เงิน 2 ฉบับ เป็นเงิน 544,600 บาท และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้กู้ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว คงค้างอยู่ในวันคิดบัญชีคือวันที่ 4พฤศจิกายน 2531 เป็นต้นเงิน 164,600 บาท และดอกเบี้ย 150,564.09 บาทดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแจ้งชัดแล้วว่า หนี้ต้นเงินจำนวน 164,600 บาทที่ค้างชำระคิดมาจากยอดหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับดังกล่าว และการกล่าวถึงดอกเบี้ยก็เข้าใจได้อยู่แล้วว่าหมายถึงดอกเบี้ยของต้นเงินที่ค้างชำระอยู่ดังกล่าวโดยนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 นั่นเอง ส่วนรายละเอียดในการคิดบัญชีนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ได้แสดงความจำนงอ้างสัญญากู้เป็นพยานโดยยื่นบัญชีระบุพยานตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคแรกแล้ว แต่ในการสืบพยาน โจทก์มิได้ส่งสำเนาสัญญากู้ดังกล่าวให้จำเลยทั้งห้าก่อนวันสืบพยานอย่างน้อย 3 วัน ดังที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 90 (เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว ก็ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารสัญญากู้ดังกล่าวได้
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งห้าแก้ไขคำให้การในข้อที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นเรื่องอายุความตามที่จำเลยทั้งห้าฎีกาขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังนัดชี้สองสถาน: ข้อจำกัดและเหตุผลที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในวันนัดชี้สองสถาน เนื้อหาสาระที่ขอแก้ไขมิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งเป็นข้อต่อสู้ที่มีพื้นฐานข้อเท็จจริงที่มีอยู่ก่อนจำเลยที่ 1 และที่ 2 อาจยกขึ้นต่อสู้ได้ก่อนวันชี้สองสถาน และจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ระบุอ้างเหตุขัดข้องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวได้ก่อนวันชี้สองสถาน คำร้องของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำสั่งศาล: การแก้ไขคำให้การและฟ้องแย้งภายในกำหนดเวลา แม้จะยืดยาวแต่ยังอ่านเข้าใจได้
จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับไว้แล้วคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นเห็นว่าเยิ่นเย้อ และสับสน มีคำสั่งให้จำเลยทำรวมเป็นฉบับเดียวกันใน 15 วันจำเลยได้ทำคำให้การและฟ้องแย้งยื่นมาใหม่ภายในกำหนด ถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นสั่งแล้วแม้คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ยื่นมาใหม่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมแล้วจะยืดยาวแต่สามารถอ่านเข้าใจได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังวันชี้สองสถานต้องเป็นเรื่องแก้ไขข้อบกพร่องเล็กน้อย ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงข้อต่อสู้ใหม่
การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การโดยยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ เป็นข้อแก้ข้อหาเดิม เปลี่ยนแปลงข้ออ้าง ข้อเถียงเพื่อสนับสนุน ข้อหา หรือเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179(3) และไม่ใช่กรณีแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเล็กน้อย ในรายละเอียด ทั้งเรื่องดังกล่าวมิใช่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนด้วยแล้ว จำเลยจะต้องขอแก้ไขเสียก่อนวันชี้สองสถาน มิฉะนั้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา180 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังวันชี้สองสถานต้องไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อหาเดิม หากทำเช่นนั้นถือเป็นการยื่นคำร้องที่ไม่ชอบ
ข้อความที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเป็นเรื่องจำเลยยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่เป็นข้อแก้ข้อหาเดิม เปลี่ยนแปลงข้ออ้างข้อเถียงเพื่อสนับสนุนข้อหา หรือเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(3)ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเล็กน้อยในรายละเอียดจำเลยจึงต้องขอแก้ไขเสียก่อนวันชี้สองสถาน เมื่อจำเลยได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังจากวันชี้สองสถาน โดยไม่ปรากฏว่ามิอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถานและมิใช่เรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6303/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: ศาลรับแก้ไขคำให้การได้ แม้หลังชี้สองสถาน หากเป็นปัญญาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องและข้อพิพาท
จำเลยขอแก้ไขคำให้การภายหลังจากวันชี้สองสถานว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้นำข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยเสียก่อนตามเงื่อนไขในสัญญาว่าจ้างที่ตกลงกันไว้กับจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้ศาลชอบที่จะรับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: เมื่อข้อเท็จจริงใหม่ปรากฏหลังการชี้สองสถาน จำเลยมีสิทธิแก้ไขคำให้การได้
เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานในวันที่ 18 มิถุนายน 2527 แล้วจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งว่าจากการตรวจสภาพอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2527 ปรากฏว่าคานคอนกรีตรองรับชั้นดาดฟ้าแตกร้าวรวม 18 แห่ง ซึ่งจำเลยทั้งสองได้แจ้งให้โจทก์ทราบในวันเดียวกัน โจทก์ไม่ยอมรับผิดในงานที่ชำรุดบกพร่องดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงจ้างให้บุคคลภายนอกซ่อมแซมสิ้นค่าใช้จ่ายไปเป็นเงิน 81,800 บาท จำนวนค่าเสียหายที่โจทก์ต้องรับผิดจึงเพิ่มขึ้นเป็นเงิน 258,490 บาท ข้อความที่จำเลยทั้งสองขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองเพิ่งทราบภายหลังจากการชี้สองสถานแล้ว ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งหลังจากชี้สองสถานแล้วได้เพราะเป็นข้อที่จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถานตามมาตรา 180(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2337/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและการแก้ไขคำให้การ: ศาลพิพากษาได้แม้จำเลยไม่ขอแก้ไขคำให้การก่อนฟังคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนการชี้สองสถานกับวันนัดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษา ดังนี้ จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนศาลพิพากษา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2337/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการแก้ไขคำให้การก่อนศาลพิพากษา และผลของการงดสืบพยาน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนการชี้สองสถานกับวันนัดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษา ดังนี้ จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนศาลพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังวันชี้สองสถาน และการยกเว้นความรับผิดจากเหตุสุดวิสัยในสัญญาซื้อขาย
จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในวันชี้สองสถาน และข้อที่ขอแก้ไขก็เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏชัดแจ้งในคำให้การแต่แรกอยู่แล้ว จึงเป็นคำร้องที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 (2) ชอบที่จะยกคำร้องของจำเลย
จำเลยอ้างเหตุส่งมอบดินขาวให้โจทก์ตามสัญญาไม่ได้เพราะมีโจรแบ่งแยกดินแดนข่มขู่เรียกค่าคุ้มครองจากโรงงานที่ผลิตดินขาวของจำเลยจนคนงานไม่กล้าเข้าไปทำงาน ดังนี้ เมื่อตามสัญญามิได้เจาะจงให้ส่งมอบดินขาวจากแหล่งผลิตของโรงงานจำเลย จำเลยจึงย่อมจัดหาดินขาวจากแหล่งอื่นได้ ดินขาวมิใช่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง จำเลยจะอ้างว่าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยและปฏิเสธความรับผิดไม่ได้
จำเลยอ้างเหตุส่งมอบดินขาวให้โจทก์ตามสัญญาไม่ได้เพราะมีโจรแบ่งแยกดินแดนข่มขู่เรียกค่าคุ้มครองจากโรงงานที่ผลิตดินขาวของจำเลยจนคนงานไม่กล้าเข้าไปทำงาน ดังนี้ เมื่อตามสัญญามิได้เจาะจงให้ส่งมอบดินขาวจากแหล่งผลิตของโรงงานจำเลย จำเลยจึงย่อมจัดหาดินขาวจากแหล่งอื่นได้ ดินขาวมิใช่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง จำเลยจะอ้างว่าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยและปฏิเสธความรับผิดไม่ได้