พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1313/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากแก้ไขจำนวนเงินโดยไม่ได้รับความยินยอม ทำให้ไม่มีผลผูกพันและใช้เป็นหลักฐานไม่ได้
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไป 600 บาท ได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบพิมพ์สัญญากู้และค้ำประกันที่ยังไม่ได้กรอกข้อความอื่นใดไว้เลยมอบให้โจทก์ไว้ ต่อมาโจทก์ได้กรอกข้อความและจำนวนเงินลงในเอกสารสัญญากู้และค้ำประกันว่า จำเลยที่ 1 ได้กู้เงินโจทก์ไป6,000 บาท และจำเลยที่ 2 ค้ำประกันเงินกู้จำนวนดังกล่าว การที่โจทก์กรอกข้อความลงในสัญญากู้และค้ำประกันว่าได้มีการกู้และค้ำประกันในจำนวนเงินถึง 6,000 บาท เกินกว่าจำนวนหนี้ที่เป็นจริงโดยจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยนั้นสัญญากู้และค้ำประกันตามฟ้องจึงไม่สมบูรณ์ ทำให้เอกสารดังกล่าวนั้นเป็นเอกสารปลอม โจทก์จึงอ้างเอกสารนั้นมาเป็นพยานหลักฐานในคดีอย่างใดไม่ได้ ฉะนั้น การกู้เงิน 6,000 บาท และการค้ำประกันตามที่โจทก์นำมาฟ้องจึงถือว่าไม่มีพยานหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ (อ้างฎีกาที่ 286/2507 และ 1104/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การแก้ไขสัญญาและการนำสืบข้อตกลงเพิ่มเติม โดยตัวแทนของผู้ขาย
ตัวแทนของผู้ขายได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไว้กับผู้ซื้อฉบับหนึ่ง ระบุว่าผู้ขายได้รับค่าที่ดินแล้ว ต่อมาผู้ซื้อทำหนังสือสัญญาให้ตัวแทนผู้ขายอีกฉบับหนึ่งความว่า ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระค่าที่ดิน จะชำระให้ตามวันซึ่งกำหนดไว้ในหนังสือสัญญาฉบับหลังนี้ ประกอบกับผู้ขายได้ตั้งประเด็นไว้ในคำฟ้องว่า ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระราคาที่ดิน ดังนี้ ผู้ขายมีสิทธิที่จะนำสืบถึงข้อตกลงในหนังสือสัญญาฉบับหลังได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพาณิชย์มาตรา 94
สัญญาฉบับหลังดังกล่าวนี้ถือได้ว่าตัวแทนทำในฐานะตัวแทนของผู้ขาย ถึงแม้ต่อมาตัวแทนถึงแก่กรรม ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาสิ้นสุดลง หนังสือสัญญาฉบับหลังนี้ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ หรือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
สัญญาฉบับหลังดังกล่าวนี้ถือได้ว่าตัวแทนทำในฐานะตัวแทนของผู้ขาย ถึงแม้ต่อมาตัวแทนถึงแก่กรรม ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาสิ้นสุดลง หนังสือสัญญาฉบับหลังนี้ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ หรือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความ: ศาลมีอำนาจเฉพาะแก้ไขข้อผิดพลาดในคำพิพากษาเท่านั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 ให้อำนาจศาลเพิ่มเติม แก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงในคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้นมิได้ให้อำนาจศาลกระทำเช่นนั้นในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้ว
คำขอของคู่ความในชั้นฎีกาในเรื่องที่มิได้กล่าวอ้างมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นนั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยบังคับให้ไม่ได้
คำขอของคู่ความในชั้นฎีกาในเรื่องที่มิได้กล่าวอ้างมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นนั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยบังคับให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสัญญากู้ยืมและผลผูกพันทางกฎหมาย แม้ไม่มีลายมือชื่อกำกับ และการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือโดยผู้ไม่บรรลุนิติภาวะ
ขั้นแรกจำเลยขอกู้เงิน 4,000 บาท รวมกับจำนวนที่กู้เดิม 2,000 บาท เป็น 6,000 บาท เมื่อผู้เขียนสัญญาเขียนจำนวน 6,000 บาทไปแล้ว จำเลยขอเพิ่มอีก 1,000 บาทรวมเป็น 7,000 บาท ผู้เขียนจึงแก้เลข 6 เป็นเลข 7 และแก้ตัวอักษรด้วย ดังนี้ เป็นการแก้ให้ตรงตามความประสงค์ของจำเลย ก่อนที่จำเลยจะพิมพ์ลายนิ้วมือในสัญญากู้ และคู่กรณีมีเจตนาจะให้เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ตามจำนวนที่แก้ไปแล้ว คือ 7,000 บาท ฉะนั้นแม้ตัวเลขและตัวอักษรที่แก้ไปจะไม่ได้ลงชื่อกำกับ ก็ใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมโดยสมบูรณ์
ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ มาตรา 9 จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นค่าฤชาธรรมเนียม
ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ มาตรา 9 จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นค่าฤชาธรรมเนียม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขสัญญากู้ยืมหลังพิมพ์ลายนิ้วมือ และการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือโดยผู้เยาว์ ยังมีผลผูกพันตามกฎหมาย
ชั้นแรกจำเลยขอกู้เงิน 4,000 บาท รวมกับจำนวนที่กู้เดิม 2,000 บาท เป็น 6,000 บาท เมื่อผู้เขียนสัญญาเขียนจำนวน 6,000 บาทไปแล้ว จำเลยขอเพิ่มอีก 1,000 บาทรวมเป็น 7,000 บาท ผู้เขียนจึงแก้เลข 6 เป็นเลข 7 และแก้ตัวอักษรด้วย ดังนี้ เป็นการแก้ให้ตรงตามความประสงค์ของจำเลย ก่อนที่จำเลยจะพิมพ์ลายนิ้วมือในสัญญากู้ และคู่กรณีมีเจตนาจะให้เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ตามจำนวนที่แก้ไปแล้ว คือ 7,000 บาทฉะนั้นแม้ตัวเลขและตัวอักษรที่แก้ไปจะไม่ได้ลงชื่อกำกับ ก็ใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมโดยสมบูรณ์
ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นค่าฤชาธรรมเนียม
ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นค่าฤชาธรรมเนียม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสัญญากู้ยืมและการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ โดยไม่ลงชื่อกำกับ ก็ใช้เป็นหลักฐานได้
ชั้นแรกจำเลยขอกู้เงิน 4,000 บาท รวมกับจำนวนที่กู้เดิม 2,000 บาท เป็น 6,000 บาท. เมื่อผู้เขียนสัญญาเขียนจำนวน 6,000 บาทไปแล้ว จำเลยขอเพิ่มอีก 1,000บาทรวมเป็น 7,000 บาท. ผู้เขียนจึงแก้เลข 6 เป็นเลข 7 และแก้ตัวอักษรด้วย. ดังนี้ เป็นการแก้ให้ตรงตามความประสงค์ของจำเลย ก่อนที่จำเลยจะพิมพ์ลายนิ้วมือในสัญญากู้ และคู่กรณีมีเจตนาจะให้เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ตามจำนวนที่แก้ไปแล้ว คือ 7,000 บาท. ฉะนั้นแม้ตัวเลขและตัวอักษรที่แก้ไปจะไม่ได้ลงชื่อกำกับ ก็ใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมโดยสมบูรณ์.
ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ.
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นค่าฤชาธรรมเนียม.
ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ.
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นค่าฤชาธรรมเนียม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารสัญญากู้ยืมเงินหลังทำสัญญาแล้ว ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ หากจำเลยได้รับเงินกู้จริง
เดิมจำเลยทำสัญญากู้เงินไว้ให้โจทก์จำนวนหนึ่ง ต่อมาโจทก์ลอบเติมเลข 1 ลงหน้าจำนวนเงินในเอกสารนั้น ทำให้จำนวนเงินกู้มากขึ้นแล้วเอาเอกสารนั้นมาฟ้องเรียกเงินจากจำเลย ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนเดิม คือจำนวนที่จำเลยยืมไปได้ การเติมเลข 1 ลงเพื่อเพิ่มจำนวนเงินกู้เดิมไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือเดิมเสียไป.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2508)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขจำนวนเงินในหลักฐานกู้ยืม ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ แม้จะเพิ่มจำนวนเงินภายหลัง
เดิมจำเลยทำสัญญากู้เงินไว้ให้โจทก์จำนวนหนึ่งต่อมาโจทก์ลอบเติมเลข 1 ลงหน้าจำนวนเงินในเอกสารนั้นทำให้จำนวนเงินกู้มากขึ้นแล้วเอาเอกสารนั้นมาฟ้องเรียกเงินจากจำเลยศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนเดิมคือ จำนวนที่จำเลยยืมไปได้ การเติมเลข 1 ลงเพื่อเพิ่มจำนวนเงินกู้เดิมไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือเดิมเสียไป(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีกู้ยืมเงินที่มีการแก้ไขจำนวนเงินในสัญญา หากไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยประเด็นเดิม
โจทก์ฟ้องจำเลยกู้เงิน 22,500 บาทจำเลยปฏิเสธว่า ไม่ได้กู้ สัญญากู้ปลอม ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกู้จริง 2,500 บาท ส่วนเลข 2 และคำว่า สองหมื่น โจทก์เติมลงไป จึงให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 2,500 บาท โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิด 22,500 บาท จำเลยฎีกาศาลฎีกาฟังว่ามีการตกเติมจำนวนเงินให้มากขึ้นจริง แต่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยรับผิด 2,500 บาท จึงไม่มีประเด็นสำหรับเงินจำนวนนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323-1324/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสัญญายังผลได้ แม้ไม่มีเอกสารแก้ไข หากมีหลักฐานการชำระค่าเช่าตามอัตราใหม่
โจทก์ทำหนังสือสัญญาให้จำเลยเช่าโรงสี 3 ปี กำหนดค่าเช่าไว้เดือนละ 3,000 บาท จำเลยอ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงกันไว้ว่า ชั้นแรกคิดค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท แต่ต่อไปโจทก์จะยกให้เป็นเดือนละ 2,000 บาท และ 1,000 บาท ตามลำดับ แล้วจำเลยนำสืบใบรับเงินค่าเช่าอันแสดงว่าในระยะหลัง ๆ นี้โจทก์เก็บค่าเช่าเพียงเดือนละ 2,000 บาท และ 1,000 บาท ดังนี้ เป็นเรื่องจำเลยนำสืบว่าคู่สัญญาตกลงทำสัญญากันใหม่เป็นหนังสือแก้ไขหนังสือสัญญาเช่าเดิม เฉพาะเรื่องอัตราค่าเช่าอย่างเดียว จำเลยจึงนำพยานบุคคลมาสืบอธิบายถึงที่มาของใบรับเงินนี้ได้