คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แจ้งข้อหา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพชั้นสอบสวนเพิ่มเติม การแจ้งข้อหา และการใช้เป็นหลักฐาน
เมื่อการสอบสวนครั้งแรก เจ้าพนักงานสอบสวนได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วว่าคำให้การอาจใช้ยันเขาได้ และจำเลยปฏิเสธเมื่อมีการสอบสวนเพิ่มเติมอีกเจ้าพนักงานไม่จำต้องปฏิบัติการนั้นซ้ำอีก หากจำเลยให้การรับสารภาพในการสอบสวนเพิ่มเติมก็ฟังประกอบการลงโทษจำเลยได้ เพราะมาตรา 134 มิได้บังคับให้ปฏิบัติทุกครั้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพชั้นสอบสวนเพิ่มเติม: ไม่ต้องแจ้งข้อหาซ้ำหากผู้ถูกสอบสวนทราบเรื่องแล้ว
เมื่อการสอบสวนครั้งแรก เจ้าพนักงานสอบสวนได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วว่าคำให้การอาจใช้ยันเขาได้ และจำเลยปฏิเสธ
เมื่อมีการสอบสวนเพิ่มเติมอีกเจ้าพนักงานไม่จำต้องปฏิบัติการนั้นซ้ำอีกหากจำเลยให้การรับสารภาพในการสอบสวนเพิ่มเติมก็ฟังประกอบการลงโทษจำเลยได้ เพราะมาตรา 134 มิได้บังคับให้ปฏิบัติทุกครั้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 198/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและการมีสิทธิฟ้องคดีอาญา: การฟ้องคดีอาญาต้องอาศัยการแจ้งข้อหาที่ถูกต้องแก่จำเลย
ฟ้องฐานชิงทรัพย์ ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาในข้อนี้ให้จำเลยทราบ ต้องถือว่ายังไม่มีการสอบสวนในความผิดนั้นพนักงานอัยการจึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยในข้อหาข้อนี้
ศาลชั้นต้นลงโทษ 2 กระทงตามมาตรา 298,299,60 รวมกระทงลงโทษจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์แก้ให้ลงโทษตามมาตรา 299,60 กระทงเดียว จำคุก 2 ปี ฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ในกระทง 299,60

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการหลบหนี: การจับกุมต้องแจ้งให้ทราบ การหลบหนีต้องมีการคุมขังก่อน
กำนันตามจำเลยมาที่บ้านเพื่อสอบถามเรื่องที่จำเลยต้องหาและห้ามไม่ให้ไปไหน ไม่ถือว่าเป็นการถูกจับ เมื่อจำเลยหลบหนีไป ย่อมไม่มีผิดฐานหลบหนีที่คุมขัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวผู้ต้องหาและการแจ้งข้อหาเพียงพอต่อการพิพากษาคดีปล้นทรัพย์และหลบหนี
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ อ้าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายลักษณอาญามาตรา 301 มาก็พอแล้ว โจทก์ไม่จำต้องอ้าง ม.301 มาด้วยศาลก็ลงโทษจำเลยได้เพียงแต่เจ้าพนักงานได้บอกแก่จำเลยว่าจำเลยได้ตกอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานและเจ้าพนักงานได้ควบคุมจำเลยตลอดมาดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้อยู่ในระหว่างคุมขังกันชอบด้วยกฎหมายตามที่บัญยัติไว้ในมาตรา 163 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานขณะจับกุม: ไม่ต้องแจ้งก่อนหากมีเหตุเชื่อได้ว่าจะกระทำผิด
ผู้ที่จะถูกจับได้กระทำการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานผู้จับกุม ๆ ไม่ต้องแจ้งว่าผู้นั้นต้องถูกจับ
(หมายเหตุ เมื่อต่อสู้แล้วก็เข้ามาตรา 83 วรรค 2 จะต้องแจ้งว่าผู้นั้นถูกจับฉะเพาะแต่กรณีเข้าใน ม.83 วรรค 1)
ตำรวจเห็นผู้หญิงตกจากเรือนที่จำเลยอยู่จนมีบาดเจ็บสาหัส เข้าใจว่าจำเลยจับโยนลงมา จึงเข้าไปจับกุมจำเลยต่อสู้ขัดขวางต้องมีผิดตามกฎหมายอาญา ม.120 ถึงจะปรากฎว่าหญิงนั้นเป็นกริยาจำเลยแลตกลงมาเองเนื่องจากทะเลาะกับจำเลย เจ้าพนักงานก็มีอำนาจเข้าจับกุมได้ตามประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.80

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงแรงงาน: การแจ้งข้อหาไม่ถือเป็นการจับกุม และองค์ประกอบความผิดครบถ้วน
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 ซึ่งนำมาปรับใช้แก่คดีนี้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 นั้น การจับบุคคลใดจะกระทำมิได้เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายจับตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ การที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ซึ่งนำมาปรับใช้แก่คดีนี้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับเพราะยังไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาล และไม่เข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ที่โจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับหรือต้องผัดฟ้อง หรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คดีนี้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนทราบเรื่องความผิดและรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนจึงเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2547 โดยผู้เสียหายแต่ละคนต่างให้การในรายละเอียดกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดโดยมีเจตนาให้จำเลยได้รับโทษ ซึ่งพนักงานสอบสวนบันทึกไว้ ลงวันเดือนปี และลายมือชื่อพนักงานสอบสวนผู้บันทึกกับลายมือชื่อผู้เสียหายแต่ละคนในฐานะผู้ร้องทุกข์ จึงเป็นคำร้องทุกข์ที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) และ 123 วรรคสาม และกรณีที่มีการกระทำความผิดต่อผู้เสียหายหลายคนไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้เสียหายทุกคนต้องมาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนพร้อมกัน เพียงแต่ผู้เสียหายแต่ละคนต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเท่านั้น เมื่อคดีนี้ผู้เสียหายแต่ละคนร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด จึงฟังได้ว่า คดีนี้มีผู้เสียหายตั้งแต่สิบคนขึ้นไปครบองค์ประกอบความผิดใน ป.อ. มาตรา 344 และการที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนให้ประกอบการงาน คือ สร้างภาพยนตร์ให้จำเลย โดยเจตนาจะไม่ใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้าง จนผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนหลงเชื่อและมีการทำงานที่เกี่ยวข้องไปบางส่วน แม้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนยังสร้างภาพยนตร์ไม่แล้วเสร็จและจำเลยยังไม่ได้รับผลประโยชน์จากการสร้างภาพยนตร์นั้น การกระทำของจำเลยก็ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 344 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4559/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติม และข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นในศาลล่าง
ผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย โดยเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้พนักงานสอบสวนฟัง พนักงานสอบสวนจะต้องเป็นผู้ที่คิดตั้งข้อหาขึ้นเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการรับแจ้งความ ครั้งแรกพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหากระทำอนาจารและทำร้ายร่างกาย แต่เมื่อพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานต่อไปรวมทั้งสอบปากคำผู้เสียหายแล้ว เห็นว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดในข้อหากรรโชกอีกในคราวเดียวกันด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่ผู้ต้องหาได้
แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ปรากฏว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8272/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาจำหน่ายยาเสพติด: การแจ้งข้อหาโดยรวมครอบคลุมความผิดต่อผู้รับหลายรายถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
แม้พนักงานสอบสวนมิได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ จ.ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 แต่เมื่อพิจารณาตามคำให้การและคำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ความว่า จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับและจำหน่ายให้แก่ จ.ไปในวันเวลาเดียวต่อเนื่องกัน ณ สถานที่เกิดเหตุเดียวกัน ดังนี้เมื่อพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยมิได้ระบุว่าจำหน่ายให้แก่ผู้ใดให้จำเลยทราบแล้ว ต้องถือว่าก่อนสอบสวนพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่นาย จ. รวมมาด้วย การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาเปลี่ยนฐานความผิด การสอบสวน และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญา
การสอบสวนเป็นเพียงการที่พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการทั้งหลายตามที่กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ การแจ้งข้อหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นั้นเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งของการสอบสวน เพื่อให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าจะถูกสอบสวนในคดีอาญาเรื่องใดเท่านั้น ดังนั้น แม้เดิมจะแจ้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนไปแล้วปรากฏว่า การกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐานอื่นก็ถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวมาแล้วแต่แรก ฉะนั้น เมื่อคดีนี้ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจะแจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวก ฐานร่วมกันกรรโชกทรัพย์ แต่เมื่อโจทก์เห็นว่าพฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกเข้าองค์ประกอบความผิดร่วมกันปล้นทรัพย์โจทก์ก็มีอำนาจที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวก ในความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ได้
of 8