พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินจากการหย่าและการโอนสิทธิในที่ดินหลังการหย่า ไม่ถือเป็นการฉ้อฉลหรือทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
บันทึกข้อตกลงต่อท้ายทะเบียนการหย่าซึ่งระบุว่าจำเลยที่1ในฐานะภริยายกที่พิพาทให้แก่ ม. ซึ่งเป็นสามีเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1532และเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนให้ประชาชนได้ตรวจดูและอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้จึงเป็นเอกสารมหาชนต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127ว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นจึงรับฟังได้ว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้วที่พิพาทจึงตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่าการที่จำเลยที่1จดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นทายาทของ ม. ในภายหลังมีผลเป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงหาใช่เป็นการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินอันจะเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้เสียเปรียบและขอเพิกถอนตามมาตรา237ไม่แม้จำเลยที่1ที่3มิได้ฎีกาแต่เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จึงให้จำเลยที่1ที่3ได้รับผลจากคำพิพากษาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า แม้ตกลงในสัญญาว่าไม่มีทรัพย์สิน ศาลยังคงมีอำนาจแบ่งได้ตามส่วน
การที่โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบข้อตกลงหย่าว่า"เรื่องทรัพย์สินไม่มี"แต่ต่อมาภายหลังจดทะเบียนหย่าแล้วโจทก์ทราบว่ามีสินสมรสที่โจทก์มีสิทธิจะแบ่งได้ตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งแม้โจทก์จะตั้งสิทธิเรียกร้องในการขอแบ่งว่านิติกรรมหย่าเป็นโมฆียะและคดีฟังไม่ได้ว่าข้อตกลงหย่าเป็นโมฆียะก็ตาม ในการแบ่งสินสมรสศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1533ที่ศาลล่างพิพากษาให้จดทะเบียนโอนหุ้นให้โจทก์ครึ่งหุ้นนั้นแม้จะไม่อาจแบ่งแยกหุ้นออกเป็นครึ่งหุ้นได้ก็ตามแต่ในการบังคับตามคำพิพากษาในกรณีเช่นนี้เป็นการฟ้องขอแบ่งสินสมรสซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364เว้นแต่ศาลจะพิพากษาเป็นอย่างอื่นเมื่อศาลมิได้พิพากษาเป็นอย่างอื่นหากมีข้อขัดข้องในชั้นบังคับคดีก็ต้องดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการแบ่งสินสมรสและมรดก แม้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับบุคคลอื่น
โจทก์ฟ้องและจำเลยแถลงยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ตามฟ้อง แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนขายที่ดินบางแปลงตามบัญชีทรัพย์มรดกท้ายฟ้องให้แก่บุคคลอื่นและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้วก็ตามคำพิพากษาดังกล่าวก็ไม่ผูกพันโจทก์ที่1ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวและมิได้เป็นคู่ความในคดีนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินรวม แม้จำเลยไม่ประสงค์แบ่ง ศาลบังคับแบ่งได้ เหตุผลค่าขึ้นศาลต้องยกขึ้นในชั้นต้น
ปัญหาที่ว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องนั้น จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไร เพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้
การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่ เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์ จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไร เพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้
การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่ เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์ จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแบ่งทรัพย์สินของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม แม้ฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์แบ่ง ศาลบังคับได้
ปัญหาที่ว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องนั้นจำเลยที่1มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสองโจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไรเพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้ การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์แม้จำเลยที่1ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทร้องสอดคดีแบ่งมรดก และการบังคับให้แบ่งทรัพย์สินร่วม
ผู้ร้องทั้งสามเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ช. เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ช. และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องทั้งสามมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ ผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57 (1)
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เมื่อพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสามอีกต่อไป แม้ผู้ร้องทั้งสามมิได้อุทธรณ์แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาประเด็นแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี คดีของผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ถึงที่สุดในการพิพากษาใหม่ศาลชั้นต้นต้องชี้ขาดตัดสินเกี่ยวกับคำร้องสอดของผู้ร้องทั้งสามด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชี้ขาด จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนได้ 1 ส่วน ใน 5 ส่วน การแบ่งที่ดินหากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้เอาที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันระหว่างทายาทตามส่วน อันเป็นการขอให้แบ่งทรัพย์ระหว่างเจ้าของรวม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์มีส่วนได้ในที่ดินมรดก 1 ส่วน ใน 5 ส่วน และจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้แบ่งตามคำขอของโจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เมื่อพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสามอีกต่อไป แม้ผู้ร้องทั้งสามมิได้อุทธรณ์แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาประเด็นแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี คดีของผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ถึงที่สุดในการพิพากษาใหม่ศาลชั้นต้นต้องชี้ขาดตัดสินเกี่ยวกับคำร้องสอดของผู้ร้องทั้งสามด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชี้ขาด จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนได้ 1 ส่วน ใน 5 ส่วน การแบ่งที่ดินหากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้เอาที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันระหว่างทายาทตามส่วน อันเป็นการขอให้แบ่งทรัพย์ระหว่างเจ้าของรวม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์มีส่วนได้ในที่ดินมรดก 1 ส่วน ใน 5 ส่วน และจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้แบ่งตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทร้องสอด, การแบ่งมรดก, สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์สิน, เจ้าของรวม
ผู้ร้องเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของช. เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของช. ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ผู้ร้องจึงเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)แม้ผู้ร้องจะมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้พิพากษาว่าเมื่อพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องอีกต่อไปต่อศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาประเมินแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีคดีของผู้ร้องจึงยังไม่ถึงที่สุดในการพิพากษาใหม่ศาลชั้นต้นต้องชี้ขาดตัดสินคดีเกี่ยวกับคำร้องสอดของผู้ร้องด้วยตามมาตรา142 โจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินแต่ขอให้พิพากษาว่าที่ดินมีโฉนดเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนได้1ส่วนใน5ส่วนการแบ่งที่ดินหากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้เอาที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันระหว่างทายาทตามส่วนอันเป็นการขอให้แบ่งทรัพย์มรดกระหว่างเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อโจทก์มีส่วนได้ในที่ดินมรดก1ส่วนใน5ส่วนและจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้แบ่งตามคำขอของโจทก์แม้จะเป็นวิธีการแบ่งทรัพย์ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้แล้วก็ตามก็ไม่ชอบที่จะพิพากษายกคำขอส่วนนี้ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมที่ตกลงกันไม่ได้ ศาลสั่งประมูลหรือขายทอดตลาดเพื่อแบ่งทรัพย์สินตามส่วน
การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมถ้าแบ่งตามคำขอของโจทก์ทั้งสองแล้วที่ดินที่แบ่งออกแต่ละแปลงจะมีความกว้างไม่ถึง10เมตรและจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยมากถึงขนาดต้องรื้อบ้านของจำเลยเมื่อโจทก์ทั้งสองและจำเลยยังมิได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกครอบครองเป็นส่วนสัดจึงไม่ชอบที่จะแบ่งแยกที่ดินพิพาทตามความยาวของรูปที่ดินดังที่โจทก์ทั้งสองขอแต่อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทและต่างฝ่ายต่างโต้เถียงกันเกี่ยวกับวิธีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมแสดงว่าในระหว่างโจทก์ทั้งสองและจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมไม่สามารถตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรกรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ศาลฎีกาให้นำที่ดินพิพาทประมูลราคาระหว่างกันหากประมูลไม่ได้ให้นำออกขายทอดตลาดนำเงินที่ขายได้แบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยตามส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังการสิ้นสุดการสมรสด้วยการเสียชีวิต และผลของการประนีประนอมยอมความ
เมื่อ น.ถึงแก่ความตาย การสมรสย่อมสิ้นสุดลง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1501 การคิดส่วนทรัพน์สินระหว่างผู้ตายกับจำเลย มีผลตั้งแต่วันที่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น และการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้อยู่ในข้อบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625สินสมรสของ น.กับจำเลยจึงแยกออกจากกันทันทีในวันที่ น.ตาย สินสมรสครึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ น. ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังจากแยกสินสมรสแล้วว่ายอมนำทรัพย์มรดกของ น.ชำระให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำทรัพย์ส่วนของจำเลยมาชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6940/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินโดยเจ้าของรวม: ศาลต้องกำหนดวิธีแบ่งให้ชัดเจนหากตกลงกันไม่ได้
การที่ศาลพิพากษาให้โจทก์แบ่งทรัพย์ให้จำเลยกึ่งหนึ่งตามฟ้องแย้งควรระบุวิธีการแบ่งให้ชัดเจนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 คือถ้าการแบ่งไม่ตกลง ก็ให้ขายโดยประมูลราคาในระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาด เพื่อมิให้เกิดเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีเพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 การบังคับคดีจะต้องอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษา และมาตรา 272วรรคแรก บัญญัติให้ศาลออกคำบังคับโดยกำหนดวิธีที่จะปฎิบัติตามคำบังคับไว้ด้วย จำเลยฟ้องแย้งขอแบ่งทรัพย์กึ่งหนึ่ง โดยระบุราคาทรัพย์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน ซึ่งมีความหมายว่าถ้าการแบ่งตัวทรัพย์ไม่อาจเป็นไปได้ ก็ขอแบ่งส่วนเป็นเงิน การให้ขายเอาเงินแบ่งกันจึงไม่เกินคำขอในฟ้องแย้ง