พบผลลัพธ์ทั้งหมด 279 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิซื้อขายที่ดิน: การแปลงหนี้ใหม่ต้องทำเป็นหนังสือจึงสมบูรณ์ ผู้รับโอนไม่มีอำนาจฟ้องหากไม่มีสัญญาโดยตรงกับผู้ขาย
ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยกับอ. ข้อ2วรรคสองที่กำหนดไว้ว่า"ส่วนเงินที่เหลือจำนวน6,900,000บาทผู้ซื้อจะต้องชำระให้แก่ผู้ขายครบถ้วนในวันที่ผู้ขายไปจดทะเบียนขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อหรือบุคคลอื่นที่ผู้ซื้อกำหนดเป็นผู้รับโอนแทนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ณสำนักงานที่ดิน"นั้นมิได้มีข้อความใดที่แสดงว่าจำเลยกับอ.ตกลงกันให้อ.โอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่บุคคลอื่นแต่อย่างใดได้เลยข้อความดังกล่าวเป็นเพียงข้อความต่อเนื่องจากวรรคหนึ่งเกี่ยวกับการชำระราคาที่พิพาทว่าจะชำระกันอย่างไรเมื่อใดโดยระบุเป็นข้อตกลงไว้ว่าผู้รับโอนที่พิพาทอาจเป็นอ.ผู้ซื้อหรือหากไม่รับโอนด้วยตนเองก็จะให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับโอนแทนก็ได้คำว่า"บุคคลอื่น"จึงมีความหมายเพียงเป็นบุคคลผู้ที่จะมีชื่อในขณะที่รับโอนต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อการซื้อขายนั้นสำเร็จสมบูรณ์แทนชื่อของผู้ซื้อที่แท้จริงเท่านั้นคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทรายนี้ก็คือจำเลยกับอ. โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องว่าจำเลยยินยอมให้อ. โอนสิทธิการซื้อที่พิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา349วรรคสามซึ่งจะต้องบังคับตามมาตรา306เรื่องโอนสิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ปรากฏว่าการโอนหนี้ระหว่างโจทก์กับอ. ได้ทำเป็นหนังสือการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ไม่อาจใช้ยันจำเลยได้และมิใช่เป็นกรณีรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา226ส่วนการที่โจทก์ทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับจ.และอ.ในการซื้อที่พิพาทเพื่อนำไปขายเอากำไรก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้เป็นหุ้นส่วนกันเองจำเลยมิได้รู้เห็นหรือรู้ด้วยแต่อย่างใดถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทจากอ. โจทก์มิใช่คู่สัญญากับจำเลยจึงไม่อาจมีอำนาจฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในสัญญาซื้อขายที่ดินต้องมีการทำสัญญาใหม่ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350
โจทก์รับโอนสิทธิตามสัญญาแบ่งขายที่ดินจาก ท. และโจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้คือจำเลยกับลูกหนี้คนใหม่คือโจทก์ เมื่อโจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำสัญญากันใหม่ หนี้ก็ไม่เกิดขึ้น โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาโอนสิทธิดังกล่าวและมิอาจอ้างสิทธิเพื่ออยู่ในที่พิพาทต่อไป การที่โจทก์ยังคงอยู่ในที่พิพาทต่อมาจึงเป็นการละเมิด จำเลยย่อมมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินตามฟ้องให้แก่ ท.ท.ชำระราคาที่ดินยังไม่ครบถ้วน และได้ขายสิทธิตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์กับ ท.มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่า ท. มิได้ชำระราคาให้เป็นไปตามข้อตกลงสัญญาระหว่าง ท. กับจำเลยจึงสิ้นสุดลง จำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยกับการโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ท. ดังนี้ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า การโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับ ท. เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อขายระหว่าง ท.กับจำเลยยังไม่สิ้นสุดท. สามารถโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้ แต่เมื่อมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 350 คือ มิได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อพิพาทแห่งคดี หาได้นอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2921/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้เดิม แม้ไม่ใช่หนี้เดิมโดยตรง ก็ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็คได้
แม้การที่จำเลยออกเช็คนำไปแลกเงินสดจากโจทก์จะมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายก็ตามแต่การที่จำเลยออกเช็คแล้วนำไปแลกเงินสดจากโจทก์และเช็คดังกล่าวไม่มีการชำระเงินตามที่จำเลยสั่งจ่ายนั้นย่อมเกิดเป็นหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ตามจำนวนเงินที่ระบุในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา898,900ซึ่งในกรณีนี้หากจำเลยออกเช็คฉบับใหม่เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ดังกล่าวเช็คที่จำเลยออกในภายหลังนี้ย่อมถือว่าเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากใช้เช็คฯมาตรา4ได้เมื่อปรากฎว่าต่อมาโจทก์และจำเลยได้แปลงหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ตามเช็คมาเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมและจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมจึงต้องถือว่าจำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อโจทก์นำไปเรียกเก็บเงินและธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงินจึงถือว่าจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2921/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่แปลงจากหนี้เดิม แม้ไม่ใช่หนี้เดิมโดยตรง ก็ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คได้
จำเลยออกเช็คนำไปแลกเงินสดจากโจทก์แม้การออกเช็คของจำเลยดังกล่าวจะมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4ก็ตามแต่การที่จำเลยออกเช็คแล้วนำไปแลกเงินสดจากโจทก์และเช็คดังกล่าวไม่มีการชำระเงินตามที่จำเลยสั่งจ่ายนั้นย่อมเกิดเป็นหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ตามจำนวนเงินที่ระบุในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา898,900ในกรณีนี้หากจำเลยออกเช็คฉบับใหม่เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ดังกล่าวเช็คที่จำเลยออกในภายหลังนี้ย่อมถือว่าเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4ได้ คดีนี้โจทก์และจำเลยได้แปลงหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ตามเช็คมาเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมและจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมจึงต้องถือว่าจำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4แล้วจำเลยจึงมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมและเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดโจทก์นำไปเรียกเก็บเงินปรากฎว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า"บัญชีปิดแล้ว"แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้ทีการใช้เงินตามเช็คนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4ตามที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญากู้เงินเป็นสัญญาจำนอง และสิทธิการรับชำระหนี้คงเหลือ
เมื่อระหว่างปี 2522 ถึงปี 2524 เจ้าหนี้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ม. กรรมการผู้จัดการลูกหนี้ได้ร่วมกันให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปรวม 7 ครั้ง คิดเป็นเงิน2,093,300 บาท โดยไม่ได้กำหนดเวลาใช้เงินคืนและอัตราดอกเบี้ยไว้เมื่อปี 2528 เจ้าหนี้แต่เพียงผู้เดียวรับจดทะเบียนจำนองที่ดินจากลูกหนี้เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืมดังกล่าวในวงเงิน2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี และให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วย ดังนั้นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์กับเจ้าหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้ร่วมกันและต่างมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงและลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนหนึ่งคนใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298เจ้าหนี้แต่ผู้เดียวจึงมีสิทธิจดทะเบียนจำนองกับลูกหนี้เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวได้โดยลำพังตนเอง หาจำต้องให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร่วมเข้าเป็นคู่สัญญาจำนองด้วยไม่การกระทำของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ หนี้ตามสัญญากู้เงินมีอยู่อย่างไร ก็คงมีอยู่เช่นเดิม เพียงแต่เจ้าหนี้ทำให้หนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นหนี้ที่ประกันเท่านั้นเมื่อเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองจึงมีผลให้หนี้ที่มีประกันเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเช่นเดิม หนี้ตามสัญญากู้เงินยังหาระงับไปไม่ หนี้ดังกล่าวจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนสัญญาจำนองที่ว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยนั้นก็มีความหมายตรงตัวว่า นอกจากสัญญากู้เงินเดิมแล้วก็ยังถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินอีกชั้นหนึ่งเท่ากับเจ้าหนี้มีหลักฐานทั้งสัญญากู้เงินและหลักฐานตามสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการฟ้องคดีได้ทั้งสองอย่างนั่นเองเมื่อในวันไถ่ถอนจำนองเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เพียง 980,000 บาท เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนที่เหลือได้ตามสัญญากู้เงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญากู้เป็นจำนอง และสิทธิในการขอรับชำระหนี้ที่เหลือ
เมื่อระหว่างปี2522ถึงปี2524เจ้าหนี้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นภริยาม. กรรมการผู้จัดการลูกหนี้ได้ร่วมกันให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปรวม7ครั้งคิดเป็นเงิน2,093,300บาทโดยไม่ได้กำหนดเวลาใช้เงินคืนและอัตราดอกเบี้ยไว้เมื่อปี2528เจ้าหนี้แต่เพียงผู้เดียวรับจดทะเบียนจำนองที่ดินจากลูกหนี้เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืมดังกล่าวในวงเงิน2,000,000บาทอัตราดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยดังนั้นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์กับเจ้าหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้ร่วมกันและต่างมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงและลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนหนึ่งคนใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา298เจ้าหนี้แต่ผู้เดียวจึงมีสิทธิจดทะเบียนจำนองกับลูกหนี้เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวได้โดยลำพังตนเองหาจำต้องให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร่วมเข้าเป็นคู่สัญญาจำนองด้วยไม่การกระทำของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้หนี้ตามสัญญากู้เงินมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นเดิมเพียงแต่เจ้าหนี้ทำให้หนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นหนี้ที่ประกันเท่านั้นเมื่อเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองจึงมีผลให้หนี้ที่มีประกันเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเช่นเดิมหนี้ตามสัญญากู้เงินยังหาระงับไปไม่หนี้ดังกล่าวจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วส่วนสัญญาจำนองที่ว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยนั้นก็มีความหมายตรงตัวว่านอกจากสัญญากู้เงินเดิมแล้วก็ยังถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินอีกชั้นหนึ่งเท่ากับเจ้าหนี้มีหลักฐานทั้งสัญญากู้เงินและหลักฐานตามสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการฟ้องคดีได้ทั้งสองอย่างนั่นเองเมื่อในวันไถ่ถอนจำนองเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เพียง980,000บาทเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนที่เหลือได้ตามสัญญากู้เงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้, การถอนฟ้อง, ผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน, การแปลงหนี้, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ในฐานะผู้กู้ และจำเลยที่ 4 ชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันให้โจทก์ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) ให้ถือว่า บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยคู่ความร่วมคนหนึ่งให้ถือว่าได้ทำโดยคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย แต่หลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ผลย่อมเป็นไปตามมาตรา 176 โดยกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกไว้ถือว่าเป็นอันลบล้างไปด้วย จึงไม่มีกำหนดอายุความที่จะนำมาพิจารณาได้อีก
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินจึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินจึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้สัญญาเช่าซื้อ: สัญญาฉบับหลังแทนที่สัญญาฉบับเดิมเมื่อมีเจตนาใหม่
หลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถขุดจากโจทก์ ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ชำระค่าเช่าซื้องวดแรกให้แก่โจทก์ตามกำหนด โดยขณะนั้นรถขุดที่เช่าซื้อได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเอาไว้เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.เหมืองแร่ พ.ศ.2510 ซึ่งตามพฤติการณ์แห่งคดีน่าเชื่อว่าโจทก์จะรู้ถึงการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ดังจะเห็นได้ว่าโจทก์สมัครใจทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 ใหม่ ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สอง โดยสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองทำก่อนถึงกำหนดชำระค่าเช่าซื้องวดที่สองตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกและเมื่อพิจารณาถึงข้อความตามสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองมีการเปลี่ยนแปลงยอดเงินที่จะต้องชำระราคาค่าเช่าซื้อกันทั้งหมดตลอดจนจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องผ่อนชำระในแต่ละงวดซึ่งเป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขในการชำระหนี้ อันเป็นการเปลี่ยนสิ่งสาระสำคัญแห่งหนี้ แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สอง รถขุดที่เช่าซื้อถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไปแล้ว แต่ก็แสดงความประสงค์ของโจทก์ว่ามีเจตนาเพียงต้องการได้รับค่าเช่าซื้อเท่านั้น จึงได้ทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแต่ละงวดเพื่อระงับหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรก โดยให้ใช้สัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองแทน จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่สัญญาเช่าซื้อฉบับแรกเมื่อระงับไปแล้วก็ไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงในการทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองนั่นเอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาเช่าซื้อฉบับใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสาระสำคัญ ถือเป็นการแปลงหนี้ สัญญาเดิมระงับสิ้นผล
หลังจากจำเลยที่1ทำสัญญาเช่าซื้อรถขุดจากโจทก์แล้วจำเลยที่1ก็ชำระค่าเช่าซื้องวดแรกให้แก่โจทก์ตามกำหนดโดยขณะนั้นรถที่เช่าซื้อได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเอาไว้เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติเหมืองแร่ฯโจทก์สมัครใจทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่1ใหม่โดยสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองทำก่อนถึงกำหนดชำระค่าเช่าซื้องวดที่สองตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกข้อความตามสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองมีการเปลี่ยนแปลงยอดเงินที่จะต้องชำระราคาเช่าซื้อกันทั้งหมดตลอดจนจำนวนเงินที่จำเลยที่1จะต้องผ่อนชำระในแต่ละงวดซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการชำระหนี้อันเป็นการเปลี่ยนสิ่งสาระสำคัญแห่งหนี้แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองรถขุดที่เช่าซื้อถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไปแล้วแต่ก็แสดงความประสงค์ของโจทก์กว่ามีเจตนาเพียงต้องการได้รับค่าเช่าซื้อเท่านั้นจึงได้ทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่1ชำระเงินแต่ละงวดเพื่อระงับหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกโดยให้ใช้สัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองแทนจึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่สัญญาเช่าซื้อฉบับแรกเมื่อระงับไปแล้วก็ไม่มีผลใช้บังคับโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้, การรับสภาพหนี้, และขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้
คำฟ้องบรรยายว่า นับตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กู้เงินไปจากโจทก์ด้วยวิธีการนำเช็คมาขายลดและกู้เงินแบบทั่วไปหลายครั้ง ทุกครั้งที่กู้เงินไปก็ได้รับเงินไปครบถ้วนทุกครั้งและจำเลยทั้งสามได้ร่วมกันทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์หลายครั้งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2531 คำฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยชัดเจนแล้ว ส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้ง กู้เงินกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดของลูกหนี้ตามหนังสือรับสารภาพหนี้ ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมประเด็นเรื่องนี้ในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้รวมถึงจำเลยที่ 2 ด้วยจึงเป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งถึงแม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ในประเด็นนี้ไว้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์โดย ผ. และ น.กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญลงในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์ แม้ต่อมา ผ. และ น.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์หนังสือมอบอำนาจนี้หาระงับไปไม่ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวระบุว่ามอบอำนาจให้ ป. หรือ อ. คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์ได้เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7(2) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อ ป. ร่วมกับ น.มอบอำนาจช่วงให้ ว. ฟ้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้มาทำสัญญารับสภาพหนี้ไว้กับโจทก์เป็นสัญญา 2 ฝ่ายอันมีลักษณะเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งมาตรา 350มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด ดังนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่ และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้คนใหม่ให้ลูกหนี้คนเดิมทราบ เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจลูกหนี้เดิมแล้ว สัญญาแปลงหนี้ใหม่ดังกล่าวจึงใช้บังคับได้