พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสระหว่างร้าง: ทรัพย์สินที่ได้มาขณะแยกกันอยู่ไม่เป็นสินสมรส จำเลยมีสิทธิยกให้ได้
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5. ต่อมาร้างกัน แต่ยังมิได้หย่าขาดจากกัน. ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างกันแม้ยังมิได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมายก็ไม่เป็นสินสมรส. เพราะเหตุว่าทรัพย์สินมิใช่ได้มาโดยการอยู่กินสมรสร่วมกัน. หากเป็นโดยฝ่ายหนึ่งหามาได้ตามลำพังและแยกไว้เป็นส่วนตัวแล้ว (อ้างฎีกาที่ 1235/2494,991/2501). เมื่อไม่เป็นสินสมรส. จำเลยก็มีสิทธิยกให้โดยเสน่หาได้. โดยไม่จำต้องรับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยาก่อน.
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าพันบาท. และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คงฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย.และในการวินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน.แต่ข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างกันหรือไม่. ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยถึง. ศาลฎีกาจึงยังมิอาจที่จะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามฎีกาจำเลยได้เพราะข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย. ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างโจทก์จำเลยร้างกันจริงหรือไม่. แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าพันบาท. และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คงฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย.และในการวินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน.แต่ข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างกันหรือไม่. ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยถึง. ศาลฎีกาจึงยังมิอาจที่จะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามฎีกาจำเลยได้เพราะข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย. ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างโจทก์จำเลยร้างกันจริงหรือไม่. แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินร่วมจากการอยู่กินฉันสามีภริยา แม้ภริยาเดิมยังมิได้หย่าขาด
ผู้ตายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อน ต่อมาภริยาได้แยกร้างไปอยู่ต่างหากโดยมิได้หย่าขาดจากกัน โจทก์ผู้ตายจึงมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์กับผู้ตายได้ช่วยกันทำมาหากินโดยภริยาเก่ามิได้มาร่วมปะปนด้วย โจทก์ได้นำทรัพย์ของโจทก์มาให้ผู้ตายหาดอกผล และได้ทำการค้าขาย ช่วยผู้ตายเก็บค่าเช่า ดังนี้ ถือได้ว่าผู้ตายและโจทก์ทำนามาได้ร่วมกัน จึงเป็นเจ้าของร่วมและมี่ส่วนเท่ากัน เมื่อผู้ตาย ตายภรรยาเก่าจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์ส่วนที่เป็นของภรรยาใหม่แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วมทรัพย์สินจากการอยู่กินฉันสามีภริยา แม้ภริยาเดิมยังไม่หย่าขาด
ผู้ตายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อน ต่อมาภริยาได้แยกร้างไปอยู่ต่างหากโดยมิได้หย่าขาดจากกัน โจทก์ผู้ตายจึงมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์กับผู้ตายได้ช่วยกันทำมาหากินโดยภริยาเก่ามิได้มาร่วมปะปนด้วย โจทก์ได้นำทรัพย์ของโจทก์มาให้ผู้ตายหาดอกผล และได้ทำการค้าขาย ช่วยผู้ตายเก็บค่าเช่าดังนี้ ถือได้ว่าผู้ตายและโจทก์ทำมาหาได้ร่วมกัน จึงเป็นเจ้าของร่วมและมีส่วนเท่ากัน เมื่อผู้ตายตายภรรยาเก่าจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์ส่วนที่เป็นของภรรยาใหม่แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ทรัพย์สินโดยเสน่หาหลังแยกกันอยู่ ไม่ถือเป็นทรัพย์สินร่วม
โจทก์จำเลยได้ประกอบพิธีสมรสโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้อยู่ร่วมกันที่ร้านของโจทก์ ต่อมาจำเลยไม่ถูกกับบุตรโจทก์ จึงได้แยกไปอยู่ที่อื่น โจทก์จำเลยต่างก็ประกอบอาชีพของตนและมีทรัพยสมบัติแยกกันต่อมาโจทก์หวังจะคืนดีกับจำเลยจึงมอบเช็คให้จำเลยไปซื้อที่ใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของและปลูกบ้านลงในที่ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวดังนี้ ถือว่าการให้เช็คและการปลูกบ้านให้เป็นการให้โดยเสน่หา มิใช่เป็นทรัพย์ที่ประกอบทำมาหาได้ร่วมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับให้จดทะเบียนหย่าหลังทำหนังสือหย่าโดยความสมัครใจ แม้ฝ่ายหนึ่งไม่ไปจดทะเบียน
สามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายแล้ว ได้ทำหนังสือหย่ากันเองด้วยความสมัครใจ มีพยาน 2 คนลงชื่อในหนังสือหย่า อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ ศาลบังคับให้ไปจดทะเบียนหย่าได้ถ้าไม่ไปก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนเจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสภาพการสมรสโดยการแยกกันอยู่เป็นเวลานานและการสมรสใหม่ ย่อมทำให้การสมรสเดิมสิ้นสุดลงตามกฎหมาย
คดีพิพาทกันว่า ใครควรเป็นทายาทอันจะมีสิทธิรับบำนาญตกทอดของผู้ตายตาม พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2494 เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
สามีกับภรรยาคนแรกแยกจากกัน มิได้อยู่ร่วมกันฉันทก์สามีภรรยาทั่ว ๆ ไป เป็นเวลา 35-36 ปี จนกระทั่งสามีถึงแก่กรรม เมื่อภรรยาคนแรกแยกจากสามี ๆ ได้ภรรยาคนที่สองอยู่กินด้วยกันรวม 15 ปี ก็เลิกร้างกันไป แล้วสามีจึงได้จดทะเบียนสมรสกับภรรยาคนที่สามและอยู่กินร่วมกันประมาณ 20 ปี จนกระทั่งสามีถึงแก่กรรม และปรากฏว่าก่อนที่สามีจะแยกทางกับภรรยาคนแรก ได้มีเรื่องขึ้งโกรธกันขึ้น โดยภรรยาคนแรกประพฤตินอกใจสามี ่จึงต้องละทิ้งสามีไปเที่ยวอาศัยคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง ต่างฝ่ายต่างขาดการติดต่อซึ่งกันและกันฉันท์สามีภรรยา จนเป็นที่เห็นว่าทั้งสองหมดเยื่อใยต่อกัน พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่า สามีและภรรยาคนแรกได้สมัครในหย่าขาดจากสามีภรรยากันแล้วตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 51 แม้มิได้ทำพิธีหย่าเป็นหนังสือ ก็เป็นการใช้ได้ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2502)
สามีกับภรรยาคนแรกแยกจากกัน มิได้อยู่ร่วมกันฉันทก์สามีภรรยาทั่ว ๆ ไป เป็นเวลา 35-36 ปี จนกระทั่งสามีถึงแก่กรรม เมื่อภรรยาคนแรกแยกจากสามี ๆ ได้ภรรยาคนที่สองอยู่กินด้วยกันรวม 15 ปี ก็เลิกร้างกันไป แล้วสามีจึงได้จดทะเบียนสมรสกับภรรยาคนที่สามและอยู่กินร่วมกันประมาณ 20 ปี จนกระทั่งสามีถึงแก่กรรม และปรากฏว่าก่อนที่สามีจะแยกทางกับภรรยาคนแรก ได้มีเรื่องขึ้งโกรธกันขึ้น โดยภรรยาคนแรกประพฤตินอกใจสามี ่จึงต้องละทิ้งสามีไปเที่ยวอาศัยคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง ต่างฝ่ายต่างขาดการติดต่อซึ่งกันและกันฉันท์สามีภรรยา จนเป็นที่เห็นว่าทั้งสองหมดเยื่อใยต่อกัน พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่า สามีและภรรยาคนแรกได้สมัครในหย่าขาดจากสามีภรรยากันแล้วตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 51 แม้มิได้ทำพิธีหย่าเป็นหนังสือ ก็เป็นการใช้ได้ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสภาพสมรสโดยการแยกกันอยู่เป็นเวลานาน และการรับบำนาญตกทอดหลังการสมรสใหม่
คดีพิพาทกันว่า ใครควรเป็นทายาทอันจะมี สิทธิรับบำนาญตกทอดของผู้ตายตาม พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ พ.ศ.2494 เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
สามีกับภรรยาคนแรกแยกจากกัน มิได้อยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาทั่วๆ ไป เป็นเวลา 35-36 ปี จนกระทั่งสามีถึงแก่กรรม เมื่อภรรยาคนแรกแยกจากสามีได้ภรรยาคนที่สองอยู่กินด้วยกันรวม 15 ปีก็เลิกร้างกันไป แล้วสามีจึงได้จดทะเบียนสมรสกับภรรยาคนที่สามและอยู่กินร่วมกันประมาณ 20 ปี จนกระทั่งสามีถึงแก่กรรมและปรากฏว่าก่อนที่สามีจะแยกกับภรรยาคนแรก ได้มีเรื่องขึ้งโกรธกันขึ้นโดยภรรยาคนแรกประพฤตินอกใจสามี จึงต้องละทิ้งสามีไปเที่ยวอาศัยคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง ต่างฝ่ายต่างขาดการติดต่อซึ่งกันและกันฉันท์สามีภรรยา จนเป็นที่เห็นว่าทั้งสองหมดเยื่อใยต่อกัน พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่า สามีและภรรยาคนแรกได้สมัครใจหย่าขาดจากสามีภรรยากันแล้วตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 51 แม้มิได้ทำพิธีหย่าเป็นหนังสือ ก็เป็นการใช้ได้ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2502)
สามีกับภรรยาคนแรกแยกจากกัน มิได้อยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาทั่วๆ ไป เป็นเวลา 35-36 ปี จนกระทั่งสามีถึงแก่กรรม เมื่อภรรยาคนแรกแยกจากสามีได้ภรรยาคนที่สองอยู่กินด้วยกันรวม 15 ปีก็เลิกร้างกันไป แล้วสามีจึงได้จดทะเบียนสมรสกับภรรยาคนที่สามและอยู่กินร่วมกันประมาณ 20 ปี จนกระทั่งสามีถึงแก่กรรมและปรากฏว่าก่อนที่สามีจะแยกกับภรรยาคนแรก ได้มีเรื่องขึ้งโกรธกันขึ้นโดยภรรยาคนแรกประพฤตินอกใจสามี จึงต้องละทิ้งสามีไปเที่ยวอาศัยคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง ต่างฝ่ายต่างขาดการติดต่อซึ่งกันและกันฉันท์สามีภรรยา จนเป็นที่เห็นว่าทั้งสองหมดเยื่อใยต่อกัน พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่า สามีและภรรยาคนแรกได้สมัครใจหย่าขาดจากสามีภรรยากันแล้วตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 51 แม้มิได้ทำพิธีหย่าเป็นหนังสือ ก็เป็นการใช้ได้ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังการแยกกันอยู่และการซื้อทรัพย์สินแทนเดิมตาม ป.พ.พ. บรรพ 5
สมรสก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 ขณะจะขาดจากการสมรสใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 แล้ว เหตุที่จะขาดจากการสมรสต้องใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 บังคับและการที่สามีภริยามาร้างกันระหว่างใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 สามีขายทรัพย์สินสมรสไปแล้วซื้อทรัพย์อื่นมาแทน ทรัพย์นั้นก็ต้องเป็นสินสมรส แต่ทรัพย์ที่สามีหาได้มาระหว่างร้างกันไม่เป็นสินสมรส
ในชั้นฎีกา ผู้ฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในชั้นฎีกา ถ้าทรัพย์ที่เรียกร้องมีหลายอย่างตีราคารวมกันมา แต่ผู้ฎีกา ๆ เฉพาะทรัพย์บางอย่าง การคำนวณค่าขึ้นศาลศาลควรจัดการตีราคาทรัพย์แยกจากกันก่อน แล้วจึงเรียกค่าขึ้นศาล
ในชั้นฎีกา ผู้ฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในชั้นฎีกา ถ้าทรัพย์ที่เรียกร้องมีหลายอย่างตีราคารวมกันมา แต่ผู้ฎีกา ๆ เฉพาะทรัพย์บางอย่าง การคำนวณค่าขึ้นศาลศาลควรจัดการตีราคาทรัพย์แยกจากกันก่อน แล้วจึงเรียกค่าขึ้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าที่ไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจากเหตุหย่าไม่เข้าข่ายตามกฎหมาย และการแยกกันอยู่ด้วยความสมัครใจ
สามีทำร้ายภริยาไม่ถึงบาดเจ็บ ภริยาไม่ยอมอยู่กับสามี สามีส่งเงินไปให้ทางธนาณัติ ภริยาไม่ยอมรับ ภริยาฟ้องหย่าไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจละทิ้งร้างต้องพิจารณาพฤติการณ์โดยรวม แม้แยกบ้านแต่ยังมีความสัมพันธ์และอุปการะบุตรย่อมไม่ถือเป็นการละทิ้ง
ถึงแม้สามีจะได้แยกไปอยู่กับภริยาใหม่แล้วก็ดี แต่ก็ยังไปมาที่บ้านภริยาเดิม ไปร่วมรับประทานอาหารกับบุตรเกือบทุกวันและทั้งยังเป็นผู้อุปการะบุตรอยู่ด้วย ภริยาเดิมสั่งคนเฝ้าบ้านไม่ให้ใครเข้าห้องนอกจากตนเองกับลูกๆ แม้กระนั้นสามีก็ยังอุตส่าห์ไปมาที่บ้านภริยาเดิมอยู่แทบทุกวัน.สามีไปบ้านภริยาเดิมทีไร ก็ตั้งข้อสังเกตสอบถามคนในบ้านว่ามีใครไปมาหาโจทก์ เป็นการแสดงกิริยาหวงแหนสนใจในความเป็นอยู่ของโจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวนี้ จะถือว่าสามีจงใจละทิ้งภริยาเดิมเพื่ออ้างมาเป็นเหตุฟ้องหย่าหาได้ไม่