พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย่งการครอบครองที่ดิน: ฟ้องเกิน 1 ปี ถือหมดสิทธิ
แม้โจทก์จะได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาฐานบุกรุกที่พิพาทซึ่งเป็นที่มี น.ส.3 ก. ขณะที่จำเลยทั้งสองปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทยังไม่เกิน 1 ปี และคดีอาญาดังกล่าวยังไม่เสร็จเด็ดขาด แต่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ไม่ใช่อายุความฟ้องร้องจึงนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 มาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองมิฉะนั้นหมดสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนการครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาฟ้องแย่งการครอบครองไม่ใช่ อายุความ การดำเนินคดีอาญาไม่สะดุดอายุความฟ้องแพ่ง
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง แม้จะได้กำหนดว่าต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองก็ไม่ถือว่าเป็นอายุความฟ้องร้อง ดังนั้นแม้จะได้มีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยฐานบุกรุก ก็จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไม่ใช่อายุความ สิทธิที่โจทก์จะฟ้องดำเนินคดีแพ่งหาได้สะดุดหยุดลงไม่โจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทตามบทบัญญัติดังกล่าวภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน: สิทธิระหว่างราษฎร vs. รัฐ
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ ดังนั้นศาลจะพิพากษาว่าที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นของโจทก์ไม่ได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อน ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่น โจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์ในที่พิพาทอยู่ก่อนแล้ว จำเลยเข้าไปแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท & เกินกำหนดฟ้องแย่งการครอบครอง
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ร่วมกันในที่ดินพิพาทซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้โอนชื่อทางทะเบียนให้ ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโอนชื่อทางทะเบียนให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าที่ดินแปลงดังกล่าวได้โอนให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้ว จากนั้นจำเลยที่ 2 ได้เข้ารบกวนการครอบครองและเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นการเข้าแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนเพิกถอนชื่อออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และขับไล่จำเลยที่ 2 ออกไป กับให้จำเลยที่ 1 โอนชื่อทางทะเบียนให้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และเข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นเวลา 4 ปี9 เดือนเศษ โจทก์ทั้งสองมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทและขัดขวางจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด ดังนี้ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือเป็นของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยที่ 2 เพิกถอนชื่อออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์กับให้จำเลยที่ 1 โอนชื่อทางทะเบียนให้แก่โจทก์ทั้งสองก็เป็นผลต่อเนื่องในเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของใคร ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีมีคำขออันไม่มีทุนทรัพย์แยกกันได้จากคำขอที่เป็นทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาทและขาดอายุความฟ้องแย่งการครอบครอง ทำให้ฎีกาต้องห้าม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ร่วมกันในที่พิพาทซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้โอนชื่อทางทะเบียนให้ ต่อมาจำเลยที่ 1ขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยโอนชื่อทางทะเบียนโดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าที่พิพาทได้โอนให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้วทำให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ และจำเลยที่ 2 เข้าไปแย่งการครอบครองที่พิพาทขอให้ขับไล่จำเลยที่ 2 ออกไป กับให้จำเลยที่ 1 โอนชื่อทางทะเบียนแก่โจทก์ทั้งสองจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 และเข้าครอบครองที่พิพาทโดยโจทก์ทั้งสองมิได้ครอบครองที่พิพาท ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้จึงมีว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือจำเลยที่ 2 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยที่ 2 เพิกถอนชื่ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ กับให้จำเลยที่ 1 โอนชื่อทางทะเบียนแก่โจทก์ทั้งสองก็เป็นผลต่อเนื่องในเรื่องที่พิพาทเป็นของใครเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีมีคำขออันไม่มีทุนทรัพย์ แยกกันได้จากคำขอที่เป็นทุนทรัพย์เมื่อราคาที่พิพาทไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท สิทธิเจ้าของที่ดินต้องฟังตามข้อเท็จจริง การแจ้งความไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง
แม้ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทมาจากมารดาโจทก์ก็ตาม แต่ด้วยผลของกฎหมายคงสันนิษฐานได้แต่เพียงว่าจำเลยมีเพียงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้น การที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎ
แม้จำเลยจะแจ้งความกล่าวหาโจทก์ว่าบุกรุกที่ดินพิพาทอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยก็ยังมิได้เข้าไปครอบครองที่ดินพิพาท จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทไปจากโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาตลอดถึงวันฟ้อง โจทก์จึงไม่หมดสิทธิที่จะฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375
แม้จำเลยจะแจ้งความกล่าวหาโจทก์ว่าบุกรุกที่ดินพิพาทอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยก็ยังมิได้เข้าไปครอบครองที่ดินพิพาท จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทไปจากโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาตลอดถึงวันฟ้อง โจทก์จึงไม่หมดสิทธิที่จะฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2801/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินต่อเนื่องโดยสงบและเปิดเผย แม้มีการฟ้องแย่งการครอบครองก่อน ก็ไม่ทำให้สิทธิครอบครองขาดอายุ
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ขอให้จำเลยส่งคืนแก่โจทก์และห้ามจำเลยกับบริวารเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่าเดิมที่พิพาทด้านทิศเหนือเป็นของ ท. ตอนกลางถัดมาเป็นของโจทก์ และตอนด้านล่างทิศใต้เป็นของ ว.ท.และโจทก์ได้ขายที่ดินให้จำเลยและจำเลยได้รับยกให้ที่ดินจากบิดามารดาของ ว. จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทตลอดมา ดังนี้ตามคำให้การของจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่พิพาทเนื่องจากจำเลยครอบครองที่พิพาทของจำเลยเอง ศาลจึงไม่อาจยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง ขึ้นวินิจฉัยเองได้ เพราะไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องขับไล่หลังซื้อที่ดินประมูล แม้ยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ แต่ถูกแย่งการครอบครอง
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลชั้นต้นโดยสุจริตและวางเงินมัดจำไว้บางส่วน แต่ก่อนที่จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ดังนี้ แม้โจทก์จะยังมิได้ชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วนหรือยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยผู้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายและการแย่งการครอบครอง
โจทก์บรรยายฟ้องโดยสรุปว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน 1 แปลง เนื้อที่ 44 ไร่ 1 งาน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3ตำบลบางนอน อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้อง โดยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ตลอดมา เมื่อประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2530 จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกต้นไม้ในที่ดินของโจทก์เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ 50 ตารางวา โดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ปรากฏตามแผนที่สังเขปแสดงตำแหน่งที่ดินพิพาทในบริเวณระบายสีแดง การละเมิดของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายเดือนละ 12,100 บาท ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และให้บังคับจำเลยดังนี้คำฟ้องได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่ดินที่ทางราชการออกประทานบัตรทำเหมืองแร่ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. แล้วห้างฯ ดังกล่าวเลิกดำเนินการไป ทางราชการจึงให้ราษฎรเข้าจับจองโดยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขตามบทกฎหมายข้างต้นที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นที่ดินของรัฐ โจทก์ได้ดำเนินการขออนุญาตจับจองตามที่กฎหมายกำหนด จนทางราชการอนุญาตให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้เป็นการชั่วคราวโดยออกใบจอง (น.ส.2) ให้เป็นหลักฐานโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน แม้ทางนำสืบของจำเลยจะได้ความว่าจำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2528 อันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีก็ตาม ก็เป็นการเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาต ดังนั้นจำเลยจะอ้างเอาระยะเวลาการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดมูลค่าทุนทรัพย์ในคดีแย่งการครอบครองที่ดินเมื่อโจทก์ฟ้องรวมกัน แต่สิทธิเป็นของแต่ละคน
คดีนี้โจทก์ทั้งสองกล่าวฟ้องเป็นสาระสำคัญว่า โจทก์ที่ 1กับโจทก์ที่ 2 ต่างเป็นเจ้าของที่ดินคนละแปลง จำเลยเข้ามาแย่งการครอบครองและขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่ละคน ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์แต่ละคน เห็นได้ว่าที่ดินพิพาทมีสองแปลงซึ่งโจทก์แต่ละคนอ้างว่าเป็นเจ้าของเพียงแต่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีเขตติดต่อกันเท่านั้น เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างถูกโต้แย้งสิทธิ แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน ดังนั้น ทุนทรัพย์ของคดีนี้ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่งหรือไม่จึงต้องคิดแยกเป็นของโจทก์แต่ละคน