คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โต้แย้งสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9389/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการยกให้และครอบครองปรปักษ์ โดยมีการโต้แย้งสิทธิเจ้าของตลอดเวลา
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยบิดามารดาโจทก์ยกให้ แต่มิได้จดทะเบียนการให้ จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ ไม่ยอมส่งมอบให้โจทก์ ในฐานะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทนั้น เป็นการบรรยายสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นโดยชัดแจ้งแล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยบิดามารดายกให้และในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินพิพาทด้วย แต่จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ โดยมิได้ส่งมอบคืนให้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก เมื่อโจทก์ทวงถามการกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินและในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อ 3 ว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องโดยการยกให้จากเจ้าของที่ดินหรือไม่ และประเด็นข้อ 4 ว่า จำเลยได้ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การยกให้ที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และจำเลยครอบครองที่ดินพิพาท โดยโจทก์โต้แย้งตลอดมา ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองในประเด็นข้อ 3 โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ ประเด็นจึงยุติ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของต่อจากบิดาจำเลยเกินสิบปี จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นเพื่อวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงไม่ตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถานและที่จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เท่ากับศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมา เนื่องจากโจทก์จำเลยสืบพยานกันมาจนสิ้นกระบวนพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ตลอดระยะเวลาที่จำเลยอ้างว่าบิดาจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทและจำเลยครอบครองต่อจากบิดาจำเลย โจทก์ได้โต้แย้งจำเลยตลอดมา การครอบครองดังกล่าวนั้นย่อมไม่ใช่การครอบครองโดยสงบ ประเด็นข้อนี้ ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยพิสูจน์ไม่ได้จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9389/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ต้องสงบเปิดเผยและต่อเนื่อง โต้แย้งสิทธิเจ้าของเดิมไม่ได้
โจทก์ บรรยาย ฟ้อง กล่าว อ้าง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ ที่ดิน พิพาท โดย บิดา มารดา โจทก์ ยก ให้ แต่ มิได้ จด ทะเบียน การ ให้ จำเลย ยึด ถือโฉนด ที่ดิน พิพาท ไว้ ไม่ ยอม ส่ง มอบ ให้ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดกตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ขอ ให้ บังคับ จำเลย ส่ง มอบ โฉนด ที่ดิน พิพาทนั้น เป็น การ บรรยาย สภาพ แห่ง ข้อหา ของ โจทก์ และ คำ ขอ บังคับ ทั้ง ข้ออ้าง ที่ อาศัย เป็น หลัก แห่ง ข้อหา เช่น ว่า นั้น โดย ชัด แจ้ง แล้วคำฟ้อง ของ โจทก์ จึง ไม่ เคลือบคลุม โจทก์ ฟ้อง อ้าง สิทธิ ใน การ เป็น เจ้าของ ที่ดิน พิพาท โดย บิดามารดา ยกให้ และ ใน ฐานะ เป็น ผู้จัดการมรดก ที่ดิน พิพาท ด้วย แต่ จำเลย ยึด ถือ โฉนด ที่ดิน พิพาท ไว้ โดย มิได้ ส่ง มอบ คืน ให้ โจทก์ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก เมื่อ โจทก์ ทวง ถาม การกระทำ ของ จำเลยจึง เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ ใน ฐานะ เจ้าของ ที่ดิน และ ใน ฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ จึง มี อำนาจ ฟ้อง จำเลย ได้ ศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็น ข้อ 3 ว่า โจทก์ ได้ กรรมสิทธิ์ ที่ดินตาม ฟ้อง โดย การ ยกให้ จาก เจ้าของ ที่ดิน หรือไม่ และ ประเด็น ข้อ 4ว่า จำเลย ได้ ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง ปรปักษ์ หรือ ไม่ นั้นศาลชั้นต้น วินิจฉัยว่า การ ยกให้ ที่ดิน พิพาท โดย ไม่ได้ ทำ เป็น หนังสือและ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ย่อม ไม่ สมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 525 โจทก์ จึง ไม่ ได้กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท และ จำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาทโดย โจทก์ โต้แย้ง ตลอดมา ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น การ ครอบครอง โดย สงบจำเลย จึง ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง ใน ประเด็น ข้อ 3 โจทก์ มิได้ อุทธรณ์ หรือ แก้ อุทธรณ์ ประเด็น จึง ยุติศาลอุทธรณ์ ไม่มี อำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย จำเลย อุทธรณ์ ว่า จำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาท โดย สงบ เปิด เผยด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ ต่อ จาก บิดา มารดา จำเลย เกิน สิบ ปี จำเลยย่อม ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง แต่ ศาลอุทธรณ์กำหนด ประเด็น เพื่อ วินิจฉัย ว่า ที่ดิน พิพาท เป็น ของ โจทก์ หรือ จำเลยจึง ไม่ตรง ประเด็น ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ไว้ ใน ชั้นชี้สองสถาน และ ที่จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลอุทธรณ์ เท่ากับ ศาลอุทธรณ์ ยัง มิได้ วินิจฉัยประเด็น ที่ จำเลย อุทธรณ์ ขึ้น มา เนื่อง จาก โจทก์ จำเลย สืบพยาน กัน มาจน สิ้น กระบวน พิจารณา แล้ว ศาลฎีกา เห็น สมควร วินิจฉัย ให้ โดยไม่ ต้อง ย้อน สำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ใหม่ ข้อเท็จจริง ได้ ความ ว่า ตลอด ระยะ เวลา ที่ จำเลย อ้าง ว่า บิดาจำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาท และ จำเลย ครอบครอง ต่อ จาก บิดา จำเลยโจทก์ ได้ โต้แย้ง จำเลย ตลอด มา การ ครอบครอง ดังกล่าว นั้น ย่อม ไม่ใช่การ ครอบครอง โดย สงบ ประเด็น ข้อ นี้ ภาระการพิสูจน์ ตก อยู่ แก่ จำเลยเมื่อ จำเลย พิสูจน์ ไม่ได้ จำเลย ย่อม ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาทโดย การ ครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามคำสั่งศาลของเจ้าหน้าที่ที่ดิน ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ และการทิ้งฟ้องฎีกา
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินจังหวัดผู้มีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้รับคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของโจทก์ไว้แล้วไม่ดำเนินการโอนให้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้รอการโอนกรรมสิทธิ์ไว้ก่อน อันเป็นการกระทำตามหน้าที่โดยชอบและเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการอย่างใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว ต้องถือว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาจึงไม่ถูกต้อง แต่เมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),132(1)และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8384/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การประเมินอากรต้องแจ้งเป็นหนังสือ หากยังไม่มีการแจ้ง ถือว่ายังไม่มีการโต้แย้งสิทธิ
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ว่า หลังจากที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้ ผู้นำเข้าสินค้าวางเงินประกันค่าอากรเพิ่มเติมตามมาตรา 112 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินอากรอันพึงต้องเสียและแจ้งให้ผู้นำเข้าทราบซึ่งผู้นำเข้าจะต้องชำระเงินอากรตามจำนวนที่ได้รับแจ้งให้ครบถ้วนภายในกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งหากไม่เห็นด้วยกับการประเมิน ผู้นำเข้ามีสิทธิที่จะอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 112 ทวิ วรรคสามต่อไปได้ แต่การที่กรมศุลกากรจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปทำความตกลงเพื่อระงับคดีอาญากับจำเลยไม่ใช่เป็นหนังสือแจ้งการประเมินอากรตามมาตรา 112 ทวิ วรรคหนึ่ง ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7986/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องครอบครองปรปักษ์: จำเลยต้องโต้แย้งสิทธิครอบครองโจทก์จึงจะพิพากษาได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทและครอบครองตลอดมาโจทก์ขอรังวัดออกโฉนดทั้งแปลง เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งว่ารังวัดล้ำที่ดินจำเลยไม่ออกโฉนดให้โจทก์ จำเลยทอดทิ้งไม่เคยทำประโยชน์พิพาท โจทก์จึงได้สิทธิครอบครองที่ดินของจำเลย แม้ฟ้องโจทก์จะอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินของจำเลยจนได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 และ 1375 แล้วก็ตามแต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้ความว่าจำเลยได้โต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิครอบครองของโจทก์ดังกล่าวอย่างใด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7900/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนและการโต้แย้งสิทธิรับเงินบำเหน็จตกทอด การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การที่จำเลยจดทะเบียนสมรสซ้อนกับ บ. สามีโจทก์ เป็นการสมรสซ้อนต้องห้ามตามกฎหมายและจำเลยไปขอรับเงินบำเหน็จตกทอดของ บ.อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มิได้รับเงินนั้น เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอรับเงินบำเหน็จตกทอดของ บ.เท่านั้นทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้จดทะเบียนสมรสและอยู่กินฉันสามีภริยากับชายอื่น โดยโจทก์มิได้ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู บ. แต่อย่างใด และต่างฝ่ายต่างทิ้งร้างกันไปมีคู่สมรสใหม่แล้ว จำเลยย่อมไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์ยังมิได้หย่าขาดจาก บ. การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมใช้สิทธิในที่ดินต้องไม่ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น การปลูกสร้างกีดขวางทางพิพาทถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิในที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมแต่ต้องไม่ขัดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมเช่นกันการที่จำเลยปลูกบ้านคร่อมทางพิพาทที่โจทก์ใช้เดินเป็นปกติจนได้รับความเดือดร้อนถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิของตนขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นแล้วทั้งเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา421จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยรื้อถอนบ้านที่ปลูกคร่อมปิดทางพิพาทออกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7226/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดในคดีไม่มีข้อพิพาท: ผู้มีส่วนได้เสียและถูกโต้แย้งสิทธิสามารถร้องสอดได้
ในคดีไม่มีข้อพิพาทบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียและถูกโต้แย้งสิทธิก็ร้องสอดเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีกรรมสิทธิ์ที่ดิน: แม้เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้สอบสวนเปรียบเทียบ ก็ฟ้องได้หากสิทธิถูกโต้แย้ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) จากผู้มีชื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอให้รังวัดที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจาก น.ส.3เป็น น.ส.3 ก. เจ้าหน้าที่ที่ดินอำเภอไปรังวัดตรวจสอบเขตที่ดินให้โจทก์ จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านที่ดินอำเภออ้างว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลย ดังนี้ แม้การยื่นคำคัดค้านดังกล่าวจะเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 60แต่เนื้อหาในคำคัดค้านที่จำเลยอ้างว่าที่ดินที่โจทก์ขอเปลี่ยนหนังสือรับรองการทำประโยชน์จาก น.ส.3 เป็น น.ส.3 ก.เป็นที่ดินของจำเลยนั้นเป็นการโต้เถียงเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินระหว่างโจทก์จำเลย ถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นกับโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลได้ เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอมีหนังสือให้จำเลยซึ่งเป็นผู้คัดค้านการที่โจทก์ขอเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจาก น.ส.3 เป็น น.ส.3 ก. ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนเปรียบเทียบและดำเนินการตามระเบียบต่อไปโดยได้ส่งหนังสือให้จำเลยตามที่อยู่ของจำเลยแล้ว แต่เมื่อถึง วันนัดจำเลยไม่ได้ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหนังสือนัดหมาย ทางพนักงานเจ้าหน้าที่จึงทำการสอบสวนเปรียบเทียบไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สามารถสั่งการใด ๆ ให้โจทก์จำเลยปฏิบัติตามได้และตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 60 หาได้มีข้อห้ามมิให้โจทก์ฟ้องคดีหากมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้เองหากสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดก ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครอง จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การกระทำของจำเลยซึ่งเพียงแต่ไปคัดค้านคำร้องขอของด.ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งด. เป็นผู้จัดการมรดกของค. เพื่อที่จะไปดำเนินการโอนที่ดินให้แก่โจทก์เท่านั้นยังมิได้เป็นการรบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์หรือแย่งสิทธิครอบครองของโจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 23